พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7169/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกใบลดหนี้ต้องมีเหตุตามกฎหมายเท่านั้น การออกเพื่อแก้ไขการเบิกจ่ายงบประมาณไม่ชอบ
การออกใบลดหนี้ใหม่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86/10 นั้นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ขายสินค้าจะออกใบลดหนี้ได้ต้องเป็นเรื่องมีการลดราคาสินค้าที่ขายเนื่องจากผิดข้อตกลง สินค้าชำรุดเสียหายหรือขาดจำนวน คำนวณราคาสินค้าผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริง หรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกำหนด หรือมีการคืนสินค้าตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 82/10 เท่านั้น
โจทก์ออกใบลดหนี้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสเพราะโจทก์ส่งสินค้าให้ผู้ซื้อแล้วแต่ยังไม่อาจติดตั้งได้จึงออกใบกำกับภาษีชุดใหม่ให้ผู้ซื้อ โจทก์ออกใบลดหนี้ให้โรงพยาบาลนราธิวาส เพราะผู้ซื้อได้ทำใบอนุมัติเบิกจ่ายรวมสินค้าทั้งหมด แต่โจทก์ส่งสินค้าแยกรายการ จึงออกใบกำกับภาษีรวมสินค้าให้ใหม่และโจทก์ออกใบลดหนี้ให้สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี เพราะผู้ซื้อไม่สามารถเบิกจ่ายจากปีงบประมาณต่างงบกัน โจทก์จึงออกใบกำกับภาษีให้ใหม่ ส่วนที่โจทก์ออกใบลดหนี้ให้โรงพยาบาลควนขนุน ก็เพราะผู้ซื้อไม่สามารถเบิกจ่ายจากงบประมาณปี 2537ได้โดยจะต้องเบิกจ่ายจากปีงบประมาณ 2538 ซึ่งเป็นปีถัดไป โจทก์จึงออกใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อใหม่ การออกใบลดหนี้ของโจทก์ในกรณีดังกล่าวข้างต้นเป็นการออกเพื่อยกเลิกใบกำกับภาษีที่ออกไว้เดิม หลังจากออกใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อใหม่แล้ว จึงมิใช่กรณีดังที่ระบุไว้ในมาตรา 82/10 (1) (2) (3) (4) ดังนั้น การที่โจทก์ออกใบกำกับภาษีและออกใบลดหนี้ดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ออกใบลดหนี้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสเพราะโจทก์ส่งสินค้าให้ผู้ซื้อแล้วแต่ยังไม่อาจติดตั้งได้จึงออกใบกำกับภาษีชุดใหม่ให้ผู้ซื้อ โจทก์ออกใบลดหนี้ให้โรงพยาบาลนราธิวาส เพราะผู้ซื้อได้ทำใบอนุมัติเบิกจ่ายรวมสินค้าทั้งหมด แต่โจทก์ส่งสินค้าแยกรายการ จึงออกใบกำกับภาษีรวมสินค้าให้ใหม่และโจทก์ออกใบลดหนี้ให้สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี เพราะผู้ซื้อไม่สามารถเบิกจ่ายจากปีงบประมาณต่างงบกัน โจทก์จึงออกใบกำกับภาษีให้ใหม่ ส่วนที่โจทก์ออกใบลดหนี้ให้โรงพยาบาลควนขนุน ก็เพราะผู้ซื้อไม่สามารถเบิกจ่ายจากงบประมาณปี 2537ได้โดยจะต้องเบิกจ่ายจากปีงบประมาณ 2538 ซึ่งเป็นปีถัดไป โจทก์จึงออกใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อใหม่ การออกใบลดหนี้ของโจทก์ในกรณีดังกล่าวข้างต้นเป็นการออกเพื่อยกเลิกใบกำกับภาษีที่ออกไว้เดิม หลังจากออกใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อใหม่แล้ว จึงมิใช่กรณีดังที่ระบุไว้ในมาตรา 82/10 (1) (2) (3) (4) ดังนั้น การที่โจทก์ออกใบกำกับภาษีและออกใบลดหนี้ดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีทุกครั้ง แม้ยอดขายต่อครั้งไม่เกิน 500 บาท การออกใบกำกับภาษีรวมวันไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยประกอบกิจการขายอาหารและเครื่องดื่มมีมูลค่าฐานภาษีจากยอดขายในเดือนกรกฎาคมสิงหาคมกันยายนและธันวาคม2536เกินกว่าเดือนละ100,000บาทจำเลยจึงเป็นผู้ประกอบการที่มีมูลค่าของฐานภาษีจากการขายสินค้าในเดือนหนึ่งเดือนใดถึง100,000บาทถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่7)ลงวันที่25ธันวาคม2534ข้อ1วรรคสองที่จะไม่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน500บาทตามประกาศดังกล่าวข้อ2และสามารถจัดทำใบกำกับภาษีรวบรวมการขายสินค้าที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน500บาทในหนึ่งวันทำการตามประกาศดังกล่าวข้อ3จำเลยจึงมีหน้าที่จัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับขายสินค้าหรือให้บริการทุกครั้งและต้องจัดทำในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้เกิดขึ้นพร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการตามประมวลรัษฎากรมาตรา86วรรคหนึ่งหากไม่กระทำย่อมมีความผิดและได้รับโทษตามมาตรา90/2(3)การที่จำเลยจัดทำใบกำกับภาษีเพียงวันละ1ฉบับโดยประทับตราช่องผู้ซื้อและที่อยู่ว่า"ขายปลีกรายย่อยครั้งละไม่เกิน500บาทรวมทั้งวัน"มีจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น3,557บาทแสดงว่าเป็นการเอาการขายหลายครั้งในวันหนึ่งๆมารวมยอดเงินแล้วออกใบกำกับภาษีเพียง1ฉบับต่อวันจึงเป็นการไม่จัดทำใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้งและไม่จัดทำใบกำกับภาษีทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอันเกิดจากรายรับการขายทุกครั้งเกิดขึ้นจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา86วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา90/2(3)และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่7)ลงวันที่25ธันวาคม2534 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่22)ลงวันที่27ธันวาคม2534ข้อ6(3)ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดเก็บใบกำกับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นประกอบการลงรายงานภาษีซื้อแยกเป็นรายเดือนเรียงตามลำดับเดือนปีที่รายการเกิดขึ้นก่อนหลังโดยต้องให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวเรียงตามลำดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบสำคัญนั้นๆซึ่งย่อมมีความหมายอยู่ในตัวต้องให้เลขที่กำกับใบกำกับภาษีซื้อทุกฉบับเรียงตามลำดับกันไปจะให้เลขที่กำกับใบสำคัญดังกล่าวหลายฉบับรวมเพียงเลขที่เดียวไม่ได้แม้จะเป็นการซื้อขายสินค้าในวันเดียวกันดังนั้นเมื่อจำเลยไม่ได้ให้เลขที่กำกับใบกำกับภาษีซื้อเรียงตามลำดับขึ้นใหม่ทางด้านบนขวาของใบกำกับภาษีซื้อทุกฉบับการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา87และ90(15)และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่22)ลงวันที่27ธันวาคม2534 ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยระหว่างที่อธิบดีกรมสรรพากรกำลังพิจารณาหนังสือของจำเลยต้องถือว่ายังไม่สิ้นสุดตามวิธีการของมาตรา34แห่งประมวลรัษฎากรก็ดีจำเลยไมได้ทราบถึงผลการพิจารณาประเด็นต่างๆที่เจ้าพนักงานประเมินอ้างว่าตรวจพบการกระทำผิดของจำเลยนั้นจึงต้องถือว่ายังไม่สิ้นสุดตามประมวลรัษฎากรมาตรา14,15,16,17,18,20,22และ27ทวิก็ดีเจ้าหน้าที่ของฝ่ายโจทก์ได้ทำการขูดลบแก้ไขเอกสารก็ดีล้วนเป็นข้อที่ไม่เป็นประเด็นโดยตรงกับการกระทำทั้งหลายที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดอาญาเป็นคดีนี้และไม่เป็นสาระแก่คดีศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกใบกำกับภาษีโดยไม่สุจริต และผลกระทบต่อระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
ป.รัษฎากร มาตรา 79 บัญญัติว่า ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าและการให้บริการได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าและการให้บริการ รวมทั้งภาษีสรรพสามิตตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 77/1 (19) ถ้ามีด้วย และวรรคสองบัญญัติว่า มูลค่าของฐานภาษีให้รวมถึง เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือประโยชน์ใด ๆ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ดังนั้น เงินที่โจทก์ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท อ. เพื่อทำการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์สินค้าไม่เป็นมูลค่าของฐานภาษีจากการขายสินค้าและการให้บริการแต่อย่างใด จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี
มาตรา 86/13 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้บุคคลซึ่งมิใช่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน หรือมิใช่ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ตามหมวดนี้ออกใบกำกับภาษี บุคคลใดออกใบกำกับภาษี โดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย บุคคลนั้นต้องรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่ปรากฏในใบกำกับภาษี นั้น เสมือนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน" บทบัญญัติดังกล่าวห้ามมิให้บุคคลซึ่งไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนประการหนึ่ง กับห้ามผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีตามหมวดนี้อีกประการหนึ่ง การที่โจทก์ฝ่าฝืนมาตรา 86/13 ย่อมทำให้การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์ไม่ถูกต้อง เกิดความเสียหายต่อระบบภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่ต้องพิจารณาว่าเป็นการทำไปเพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีหรือมีการทุจริตในการออกใบกำกับภาษีอันเป็นเท็จโดยเจตนาให้รัฐได้รับความเสียหายหรือไม่
มาตรา 86/13 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้บุคคลซึ่งมิใช่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน หรือมิใช่ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ตามหมวดนี้ออกใบกำกับภาษี บุคคลใดออกใบกำกับภาษี โดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย บุคคลนั้นต้องรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่ปรากฏในใบกำกับภาษี นั้น เสมือนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน" บทบัญญัติดังกล่าวห้ามมิให้บุคคลซึ่งไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนประการหนึ่ง กับห้ามผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีตามหมวดนี้อีกประการหนึ่ง การที่โจทก์ฝ่าฝืนมาตรา 86/13 ย่อมทำให้การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์ไม่ถูกต้อง เกิดความเสียหายต่อระบบภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่ต้องพิจารณาว่าเป็นการทำไปเพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีหรือมีการทุจริตในการออกใบกำกับภาษีอันเป็นเท็จโดยเจตนาให้รัฐได้รับความเสียหายหรือไม่