พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพกพาอาวุธมีดเป็นความผิดสำเร็จ แม้ไม่ได้ใช้ในการกระทำผิด และการบังคับค่าปรับต้องเป็นไปตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ใช้คำว่า "ผู้ใดพาอาวุธไปในเมือง" ฉะนั้นเมื่อจำเลยมีอาวุธมีดติดตัวไปในเมืองก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว หาจำต้องใช้ในการกระทำผิดไม่
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 บัญญัติว่า ในการกักขังแทนค่าปรับให้ถืออัตรา 70 บาทต่อหนึ่งวัน ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 37.50 บาท การบังคับค่าปรับจึงกักขังแทนค่าปรับไม่ได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 บัญญัติว่า ในการกักขังแทนค่าปรับให้ถืออัตรา 70 บาทต่อหนึ่งวัน ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 37.50 บาท การบังคับค่าปรับจึงกักขังแทนค่าปรับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6721/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชัดแจ้ง - การแก้ไขค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดเกินอัตราตามกฎหมาย
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อ้างเหตุคนละอย่างกับเหตุที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย การที่จำเลยฎีกาโดยคัดลอกเอาข้อความที่อุทธรณ์มาเป็นฎีกาโดยไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร ที่ถูกแล้วศาลอุทธรณ์ควรวินิจฉัยอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความ 20,000 บาทแทนโจทก์ เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดน่าจะเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด ตามป.วิ.พ. มาตรา 143 จึงให้แก้ไขค่าทนายความในศาลชั้นต้นเป็น 3,000 บาท
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความ 20,000 บาทแทนโจทก์ เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดน่าจะเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด ตามป.วิ.พ. มาตรา 143 จึงให้แก้ไขค่าทนายความในศาลชั้นต้นเป็น 3,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินฝากกระแสรายวันไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด คิดดอกเบี้ยไม่ได้ตามอัตราธนาคารพาณิชย์ แต่คิดได้ตามอัตรากฎหมาย
สัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันระหว่างธนาคารโจทก์กับจำเลยที่ 1 กำหนดเงื่อนไขไว้หลายข้อที่แสดงว่าโจทก์จะจ่ายเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเงินจากบัญชีไม่เกินจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ฝากเข้าบัญชี จำเลยที่ 1 จึงไม่มีเจตนาตกลงกันโดยตรงว่าสืบแต่นั้นไป หรือในชั่วระยะเวลากำหนดอันใดอันหนึ่งให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหักกลบลบกันคงชำระแต่ส่วนที่เหลือโดยดุลยภาค อันเป็นลักษณะสำคัญของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 และถือไม่ได้โดยปริยายว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้เดินสะพัดบัญชีกัน ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น โจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ตกลงให้คิดดอกเบี้ยไว้ในสัญญาและจำเลยที่ 1 ก็มิได้ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยตามอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ถือว่าโจทก์และจำเลยไม่ได้ตกลงกันเรื่องดอกเบี้ย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีโดยวิธีธรรมดานับแต่วันผิดนัดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากธุรกิจขนส่ง ต้องใช้ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด แม้เป็นกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502มาตรา 8 เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) ประเภทการขนส่งหรือรับจ้างด้วยยานพาหนะให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 80โจทก์เป็นผู้ประกอบการขนส่ง แม้ พระราชกฤษฎีกา ฉบับนี้ใช้บังคับแก่กรณีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่เมื่อจำเลยนำมาใช้เป็นเกณฑ์หักค่าใช้จ่ายเพื่อประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลก็ต้องหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 80 จะหักเป็นการเหมาร้อยละ 70 โดยอ้างมติ กพอ. ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการกำหนดค่าทนายความที่เกินอัตราตามกฎหมาย
ตามคำร้องของจำเลยที่ 3 ได้ความว่า จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์แล้วจำนวน 106,500 บาท จำเลยที่ 3 ไม่ได้ชำระหนี้แก่โจทก์เลยทั้ง ๆ ที่ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ จำนวน 569,624.30 บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี โดยการผ่อนชำระภายในวันที่ 16 ของทุกเดือน เป็นเงินไม่น้อยกว่าเดือนละ 10,000 บาท และจะต้อง ชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 16 กรกฎาคม 2531 เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1และที่ 3 มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธิ ที่จะขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้ และตามคำร้องของจำเลยที่ 3 หาได้กล่าวอ้างว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนหรือ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ แห่งลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างใดไม่ ดังนี้ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะยก คำร้องของจำเลยที่ 3 เสียได้โดย ไม่จำต้องทำการไต่สวนต่อไปเพราะถึงจะไต่สวนได้ความตามคำร้อง ศาลก็จะงด การ บังคับ คดีไว้ตามมาตรา 296 ที่จำเลยที่ 3 อ้างไม่ได้ อยู่แล้ว จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 3และมีคำสั่งเพิกถอนหมายบังคับคดี คดีของจำเลยที่ 3 ในชั้นนี้ จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งขั้นสูงในศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกากำหนดไว้ไม่เกิน 1,500 บาทศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดค่าทนายความ 2,000 บาท เกินอัตราขั้นสูงตามตารางดังกล่าวจึงเป็นการไม่ถูกต้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัตรเครดิต: การคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ทำให้สัญญาส่วนนั้นเป็นโมฆะ และจำเลยไม่ต้องรับผิด
ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่โจทก์นำสืบ 2 ฉบับ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 6 (1) และข้อ 8 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ได้ออกข้อกำหนดที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามที่กำหนดในประกาศข้อ 4.4 (4) ว่า การให้บริการเบิกถอนเงินสดผ่านบัตรเครดิต ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใด ๆ รวมกันได้ไม่เกินร้อยละ 3 ของจำนวนเงินสดที่เบิกถอนนั้น และ (5) ว่า ภายใต้ (4) ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตอาจเรียกเก็บดอกเบี้ยในหนี้ค้างชำระหรือดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดชำระหนี้ หรือค่าปรับในการชำระหนี้ล่าช้ากว่ากำหนด หรือค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการอื่นใดจากผู้ถือบัตรหรือผู้บริโภคได้ แต่ดอกเบี้ย ค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมและค่าบริการนั้น เมื่อคำนวณรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 18 และ 20 ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าวมีความหมายว่า โจทก์มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการและค่าธรรมเนียมใด ๆ โดยอัตรารวมสูงสุดไม่เกินร้อยละ 18 และ 20 ต่อปี ตามลำดับ แต่ข้อเท็จจริงตามสัญญาการใช้บัตรเครดิต ใบบันทึกยอดหนี้ และคำเบิกความของผู้รับมอบอำนาจช่วงโจทก์ว่า โจทก์อนุมัติวงเงินตามสัญญาบัตรเครดิต 55,000 บาท นั้น คิดค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินตั้งแต่ 25,000 บาท ขึ้นไป คิดอัตราร้อยละ 18 ต่อปี และคิดดอกเบี้ยในยอดเงินที่ค้างชำระอัตราร้อยละ 10 ต่อปี เมื่อรวมอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินเข้าด้วยกันแล้วเกินกว่าอัตราร้อยละ 18 และ 20 ต่อปี ที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ทั้งสองฉบับดังกล่าว การคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในอัตราดังกล่าวจึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย และตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เมื่อข้อสัญญาเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ตกเป็นโมฆะ ก็เท่ากับสัญญาบัตรเครดิตมิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยก่อนผิดนัด และไม่อาจนำเงินที่จำเลยชำระแก่โจทก์มาแล้วไปหักออกจากดอกเบี้ยที่โจทก์ไม่มีสิทธิคิดได้ จึงต้องนำไปชำระต้นเงินทั้งหมด เมื่อปรากฏตามใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิตและใบบันทึกรายการยอดหนี้ว่า จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ไปแล้วเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 183,455 บาท สูงกว่าจำนวนเงินต้นที่จำเลยใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตโจทก์เพียง 130,953.74 บาท จึงถือว่าจำเลยได้ชำระหนี้บัตรเครดิตให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรม: ยาสูบเถื่อน & เครื่องหมายการค้าปลอม - โทษปรับตามอัตรากฎหมาย
การมีไว้ในครอบครองและมีไว้เพื่อขายซึ่งบุหรี่ซิกาแรต ซึ่งเป็นยาสูบที่ผลิตในต่างประเทศอันเป็นยาสูบที่มีน้ำหนักเกินกว่าห้าร้อยกรัมซึ่งมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ยาสูบ ฯ ส่วนการมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ฯ ความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ที่มีโทษทางอาญาคนละฉบับกันมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างกัน สามารถแยกการกระทำต่างหากจากกันได้ประกอบกับโจทก์บรรยายฟ้องข้อหามียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายไว้ในครอบครองเกินกว่าห้าร้อยกรัม และข้อหามีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายในฟ้องข้อหนึ่ง และบรรยายความผิดข้อหามีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมแยกมาในฟ้องอีกข้อหนึ่ง โดยอ้าง ป.อ. มาตรา 91 มาด้วยเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ จึงรับฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ส่วนการที่จำเลยมียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบไว้ในครอบครองเกินกว่าห้าร้อยกรัมและมีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ จำเลยมีเจตนามุ่งประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกันคือการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษในความผิดฐานมีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตาม พ.ร.บ.ยาสูบ ฯ มาตรา 24 วรรคหนึ่ง, 50 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด
ส่วนการที่จำเลยมียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบไว้ในครอบครองเกินกว่าห้าร้อยกรัมและมีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ จำเลยมีเจตนามุ่งประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกันคือการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษในความผิดฐานมีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตาม พ.ร.บ.ยาสูบ ฯ มาตรา 24 วรรคหนึ่ง, 50 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด