คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อัตราค่าเช่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 361/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทภาษีอากร: การประเมินค่าเช่าที่สมควร และการพิจารณาทำเลที่ตั้งในการกำหนดอัตราค่าเช่า
ชั้นกำหนดประเด็นข้อพิพาท ทนายจำเลยได้โต้แย้งด้วยวาจาขอให้กำหนดประเด็นเพิ่ม ศาลชั้นต้นสั่งว่าหากจำเลยจะคัดค้านให้คัดค้านเข้ามาเป็นหนังสือภายใน 8 วัน จำเลยยื่นคำร้องแล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่า ไม่มีเหตุสมควรเปลี่ยนแปลงคำสั่ง ให้ยกคำร้อง จึงเป็นการชี้ขาดคำคัดค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสาม จำเลยต้องโต้แย้งไว้ตามมาตรา 226 วรรคสอง จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้ง จำเลยก็ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหานี้
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยตำแหน่งจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในกิจการของกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 50 จึงอาจฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีความในศาลได้ ไม่จำต้องเอากรุงเทพมหานครซึ่งเป็นนิติบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความเสมอไป โดยเฉพาะในกรณีของภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยังเป็นผู้พิจารณาการประเมินใหม่ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2535 มาตรา 25 ประกอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครฯ มาตรา 50 และ 109นอกจากนี้พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 32 ยังกำหนดว่าเมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลซึ่งแก้คำชี้ขาดของอธิบดี กรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาล (ในคดีนี้คือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) นั้นได้ส่งไปให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แก้บัญชีการประเมินให้ถูกต้องโดยเร็ว ดังนี้ ผู้ที่จะถูกบังคับตามกฎหมายและคำพิพากษาโดยตรงก็คือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการทั้งปวงของกรุงเทพมหานคร และเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานเจ้าหน้าที่ในกรุงเทพมหานคร และเมื่อมีการแก้ไขประเมินก็หมายถึงต้องคืนเงินภาษีที่รับชำระเกินมาจากผู้รับประเมินด้วย โจทก์จึงฟ้องผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นจำเลยขอให้แก้ไขการประเมินและคืนเงินภาษีได้ เพราะเป็นการฟ้องจำเลยในฐานะเป็นผู้ชี้ขาดการประเมินและเป็นผู้แทนของกรุงเทพมหานคร มิใช่ฟ้องให้รับผิดเป็นส่วนตัว
ค่ารายปีของโรงเรือนนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพข้อเท็จจริงซึ่งอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ จึงไม่อาจนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเพียงอย่างเดียวมาเป็นหลักในการกำหนดค่ารายปีหรือค่าภาษีในปีภาษีที่พิพาทได้ ปรากฏว่าปี 2539เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อัตราค่าเช่าโรงเรือนในปีดังกล่าวจึงน่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทางลดลง ทั้งตามคำสั่งกรุงเทพมหานครที่ 63/2538 ข้อ 2.1 ก็กำหนดให้พิจารณาปรับค่ารายปีตามภาวะเศรษฐกิจ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงต้องประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯมาตรา 8 ดังนั้น การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาเพียงอย่างเดียวจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1796/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนโรงแรม: สูตรคำนวณค่ารายปี, การพิจารณาอัตราค่าเช่าและจำนวนห้องที่สมเหตุสมผล, และการคืนเงินที่ชำระเกิน
การประเมินค่ารายปีสำหรับภาษีโรงเรือนประเภทโรงแรมตามสูตร ที่จำเลยนำมาเป็นหลักเกณฑ์ในการประเมิน คือ ค่ารายปีเท่ากับค่าเช่าห้อง คูณ จำนวนห้อง คูณ 219 คูณ 15 ส่วน 100 นั้น หากมีการตกลงกำหนดจำนวนค่าเช่าห้องและจำนวนห้องที่เหมาะสมแล้ว หลักเกณฑ์หรือสูตรที่จำเลยคิดขึ้นก็จะถูกต้องตรงกับความเป็นจริงและเป็นธรรมและค่ารายปีที่คำนวณได้ตามสูตรนี้เป็นจำนวนเงินซึ่งอาคารโรงแรมสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ต้องตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 8 แล้ว ในกรณีที่คู่ความยังมีปัญหาโต้แย้งเกี่ยวกับอัตราค่าเช่าห้องและจำนวนห้องตามหลักเกณฑ์หรือสูตรดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณากำหนดตามข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของคู่ความเป็นราย ๆ ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราค่าเช่านาต้องไม่เกินที่กฎหมายกำหนด การทำนาปรังไม่ขัดต่อกฎหมายเช่านา
คณะกรรมการควบคุมการเช่านาฯ กำหนดอัตราค่าเช่านาเกินกว่าที่เคยเก็บอยู่ก่อนวันที่ พระราชบัญญัติใช้บังคับไม่ได้ คือเกินไร่ละ 10 ถังตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติฉบับก่อนที่ถูกพระราชบัญญัติฉบับนี้ ยกเลิกไปไม่ได้
ผู้เช่านาทำนาปรังนอกฤดูทำนาปกติ คณะกรรมการควบคุมการเช่านากำหนดให้ผู้ให้เช่าเก็บค่าเช่าอีกได้ ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 17, 20

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมขึ้นค่าเช่าที่ดินนอกอัตราควบคุม ไม่ขัดต่อกฎหมายควบคุมการเช่า
พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 มิใช่เป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนทั้งหมด
มาตรา 11 ห้ามแต่ผู้ให้เช่ามิให้เรียกร้องขึ้นค่าเช่า แต่มิได้ห้ามผู้เช่าที่ตกลงยินยอมให้ค่าเช่าโดยสมัครใจ
ผู้เช่ายินยอมให้ขึ้นค่าเช่าที่ดินซึ่งอยู่นอกอัตราค่าเช่าควบคุมแล้ว ย่อมไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ขึ้นค่าเช่าที่ดินนอกอัตราควบคุม ไม่อยู่ในบังคับมาตรา 11 พ.ร.บ.ควบคุมการเช่า
พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 มิใช่เป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนทั้งหมด
มาตรา 11 ห้ามแต่ผู้ให้เช่ามิให้เรียกร้องขึ้นค่าเช่า แต่มิได้ห้ามผู้เช่าที่ตกลงยินยอมให้ค่าเช่าโดยสมัครใจ
ผู้เช่ายินยอมให้ขึ้นค่าเช่าที่ดินซึ่งอยู่นอกอัตราค่าเช่าควบคุมแล้ว ย่อมไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและการกำหนดอัตราค่าเช่าใหม่ สิทธิของเจ้าของห้องในการตั้งราคาเช่า และผลของการไม่ทำสัญญาใหม่
โจทก์จำเลยทำสัญญายอมความว่า โจทก์ยอมให้จำเลยเช่าห้องพิพาทจนสิ้นเดือนตุลาคม ค่าเช่าเดือนละ 100 บาท ครบกำหนดแล้ว ถ้าโจทก์ยังไม่สร้างอาคารในที่พิพาท ยอมให้จำเลยอยู่ในห้องพิพาทได้ต่อไป โดยโจทก์จำเลยจะได้ทำสัญญากันต่างหาก ถ้าจำเลยไม่ยอมทำ ให้ถือว่าจำเลยไม่ประสงค์จะอยู่ในที่พิพาทต่อไป ดังนี้ ในการทำสัญญาเช่าใหม่ แม้โจทก์จะเอาค่าเช่าเป็นวันละ 100 บาท ก็เป็นสิทธิของโจทก์ เมื่อจำเลยเห็นว่าแพงไปและไม่ทำสัญญาเช่า ก็จะหาว่าโจทก์ขัดขวางมิให้จำเลยเข้าทำสัญญากับโจทก์ไม่ได้
อุทธรณ์ของโจทก์ได้ตั้งประเด็นมาแล้วว่าจำเลยผิดสัญญา แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ ถ้าศาลฎีกาเห็นเป็นการสมควร จะวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและสิทธิในการกำหนดค่าเช่าใหม่ ผู้เช่ามีสิทธิปฏิเสธสัญญาหากอัตราค่าเช่าไม่สมเหตุสมผล
โจทก์จำเลยทำสัญญายอมความว่า โจทก์ยอมให้จำเลยเช่าห้องพิพาทจนสิ้นเดือนตุลาคมค่าเช่าเดือนละ 100 บาท ครบกำหนดแล้วถ้าโจทก์ยังไม่สร้างอาคารในที่พิพาท ยอมให้จำเลยอยู่ในห้องพิพาทได้ต่อไปโดยโจทก์จำเลยจะได้ทำสัญญากันต่างหาก ถ้าจำเลยไม่ยอมทำให้ถือว่าจำเลยไม่ประสงค์จะอยู่ในที่พิพาทต่อไป ดังนี้ ในการทำสัญญาเช่าใหม่ แม้โจทก์จะเอาค่าเช่าเป็นวันละ 100 บาท ก็เป็นสิทธิของโจทก์ เมื่อจำเลยเห็นว่าแพงไปและไม่ทำสัญญาเช่าก็จะหาว่าโจทก์ขัดขวางมิให้จำเลยเข้าทำสัญญากับโจทก์ไม่ได้
อุทธรณ์ของโจทก์ได้ตั้งประเด็นมาแล้วว่าจำเลยผิดสัญญาแต่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยให้ถ้าศาลฎีกาเห็นเป็นการสมควรจะวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่ออายุ: อัตราค่าเช่าต้องตกลงกัน อัตราเดิมไม่ใช่สิทธิจำเลยโดยอัตโนมัติ
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาเช่าต่อกันมีข้อความว่า "ผู้ให้เช่าจะยอมให้ผู้เช่า เช่าสถานที่ต่อไปอีกคราวหนึ่งมีกำหนด 10 ปี ในอัตราค่าเช่าอย่างเดิมหรืออัตราค่าเช่าอื่นใดสุดแต่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะตกลงกัน" นั้นหมายความว่าการที่โจทก์จะยอมให้จำเลยเช่าต่อไป 10 ปีนั้น อัตราค่าเช่าจะเป็นอย่างเดิมก็ดี หรืออย่างอื่นใดก็ดี โจทก์จำเลยจะต้องตกลงซึ่งกันและกันเสียก่อน ซึ่งเป็นสาระสำคัญของการเช่าตามกฎหมาย และเป็นเจตนาของคู่สัญญาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่อ: การตกลงอัตราค่าเช่าใหม่เป็นสาระสำคัญ, 'หรือ' บ่งชี้การตกลงร่วมกัน
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาเช่าต่อกัน.มีข้อความว่า'ผู้ให้เช่าจะยอมให้ผู้เช่าเช่าสถานที่ต่อไปอีกคราวหนึ่งมีกำหนด 10 ปี ในอัตราค่าเช่าอย่างเดิมหรืออัตราค่าเช่าอื่นใดสุดแต่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะตกลงกัน' นั้นหมายความว่าการที่โจทก์จะยอมให้จำเลยเช่าต่อไป 10 ปีนั้น อัตราค่าเช่าจะเป็นอย่างเดิมก็ดี หรืออย่างอื่นใดก็ดีโจทก์จำเลยจะต้องตกลงซึ่งกันและกันเสียก่อนซึ่งเป็นสารสำคัญของการเช่าตามกฎหมาย และเป็นเจตนาของคู่สัญญาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่ออายุ: ข้อตกลงอัตราค่าเช่าใหม่ต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญา
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาเช่าต่อกัน.มีข้อความว่า'ผู้ให้เช่าจะยอมให้ผู้เช่าเช่าสถานที่ต่อไปอีกคราวหนึ่งมีกำหนด 10 ปี ในอัตราค่าเช่าอย่างเดิมหรืออัตราค่าเช่าอื่นใดสุดแต่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะตกลงกัน.' นั้นหมายความว่าการที่โจทก์จะยอมให้จำเลยเช่าต่อไป 10 ปีนั้น. อัตราค่าเช่าจะเป็นอย่างเดิมก็ดี หรืออย่างอื่นใดก็ดี. โจทก์จำเลยจะต้องตกลงซึ่งกันและกันเสียก่อน.ซึ่งเป็นสารสำคัญของการเช่าตามกฎหมาย และเป็นเจตนาของคู่สัญญาด้วย.
of 2