พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย และฐานคำนวณค่าจ้าง รวมถึงเงินชดเชยอัตราแลกเปลี่ยน
โจทก์จำเลยทำสัญญาจ้างกันไว้ 4 ฉบับ กำหนดระยะเวลาจ้างติดต่อกัน สัญญาจ้างแต่ละฉบับกำหนดเงินเดือนค่าจ้างของโจทก์ไว้เป็นเงินบาท แต่สัญญาฉบับแรกมิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับเงินชดเชยอัตราแลกเปลี่ยน เพิ่งจะมีขึ้นในฉบับที่ 2 ถึงฉบับที่ 4 ความว่า เงินเดือนของโจทก์ตามที่กำหนดไว้ต้องมีการปรับยอดประจำเดือนทุกเดือนในวันที่ 25 ของแต่ละเดือนเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสกุลบาทและสกุลเหรียญสหรัฐ โดยให้นำเงินเดือนของโจทก์ร้อยละ 50 ซึ่งถือว่ามีอัตราแลกเปลี่ยน 29 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐมาปรับยอดตามอัตราแลกเปลี่ยนหรืออัตราซื้อขายกลาง เงินชดเชยอัตราแลกเปลี่ยนที่โจทก์จะได้รับในแต่ละเดือนจึงไม่ครอบคลุมถึงเงินเดือนของโจทก์ทั้งหมด และมีจำนวนไม่แน่นอนผันแปรไปตามอัตราแลกเปลี่ยนหรืออัตราซื้อขายกลางในวันที่มีการปรับยอด เดือนใดที่อัตราแลกเปลี่ยนหรืออัตราซื้อขายกลางมีค่าเท่ากับหรือน้อยกว่า 29 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐโจทก์ก็จะไม่ได้รับเงินชดเชยอัตราแลกเปลี่ยน เงินชดเชยอัตราแลกเปลี่ยนจึงไม่ใช่เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานตามปกติ ส่วนเงินค่าเช่าบ้านแม้จะเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ทุกเดือนมีจำนวนแน่นอนและจ่ายโดยไม่มีเงื่อนไข แต่จำเลยก็จ่ายให้แก่ลูกจ้างของจำเลยที่เป็นชาวต่างประเทศต้องเดินทางมาทำงานในประเทศไทย ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงสถานที่พักอาศัยไปจากที่เคยอยู่เดิมเช่นเดียวกับโจทก์ทุกคน อันเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่งที่จำเลยจัดให้แก่ลูกจ้างที่เป็นชาวต่างประเทศเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงานไม่ใช่เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานตามปกติเช่นกัน และการจ่ายเงินทั้งสองประเภทดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงการจ่ายค้าจ้าง จึงไม่ใช่ค่าจ้าง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายเงินอื่นที่โจทก์มีสิทธิได้รับไปแล้วเมื่อจำเลยเลิกจ้าง แม้ในที่สุดศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยว่าไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างก็มีเหตุที่จำเลยจะเข้าใจว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง เพราะเมื่อจำเลยได้ทราบจากการชี้แนะของศาลในระหว่างการพิจารณาคดี จำเลยก็ได้นำค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายมาวางไว้ต่อศาลและขอให้โจทก์รับไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร อันจะทำให้จำเลยต้องเสียเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคสอง
การพิจารณาว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมอันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาที่เหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ โดยไม่คำนึงว่านายจ้างมีสิทธิที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่ ไม่ว่าสิทธินั้นจะเป็นสิทธิที่เกิดจากบทบัญญัติของกฎหมายหรือข้อตกลงในสัญญาจ้าง ปรากฏตามหนังสือเลิกจ้างว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยหมดความจำเป็นที่จะต้องมีขั้นตอนในการควบคุมดูแลโครงการก่อสร้างและออกแบบโครงสร้างใต้ดินตามโครงการรถไฟฟ้ามหานครระยะแรกส่วนเหนือช่วงห้วยขวางถึงบางซื่ออย่างที่จำเลยดำเนินการอยู่ในปี 2545 ต่อไปแล้ว ในปี 2546 จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ เหตุดังกล่าวแม้จะมีอยู่จริงก็ไม่เป็นเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ เพราะโครงการก่อสร้างและออกแบบโครงสร้างใต้ดินตามโครงการรถไฟฟ้ามหานครระยะแรกส่วนเหนือช่วงห้วยขวางถึงบางซื่อที่จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งผู้จัดการพาณิชย์แล้ว จำเลยยังรับจ้างการประปานครหลวงก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำจากโรงงานผลิตน้ำบางเขนถึงถนนงามวงศ์วานและประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทยอยู่ด้วย จำเลยจึงยังมีงานอื่นที่จะให้โจทก์ทำต่อไป เมื่อไม่ปรากฏว่างานดังกล่าวเป็นงานที่โจทก์ไม่สามารถจะทำได้จึงไม่มีเหตุจำเป็นที่จำเลยจะต้องเลิกจ้างโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายเงินอื่นที่โจทก์มีสิทธิได้รับไปแล้วเมื่อจำเลยเลิกจ้าง แม้ในที่สุดศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยว่าไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างก็มีเหตุที่จำเลยจะเข้าใจว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง เพราะเมื่อจำเลยได้ทราบจากการชี้แนะของศาลในระหว่างการพิจารณาคดี จำเลยก็ได้นำค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายมาวางไว้ต่อศาลและขอให้โจทก์รับไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร อันจะทำให้จำเลยต้องเสียเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคสอง
การพิจารณาว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมอันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาที่เหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ โดยไม่คำนึงว่านายจ้างมีสิทธิที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่ ไม่ว่าสิทธินั้นจะเป็นสิทธิที่เกิดจากบทบัญญัติของกฎหมายหรือข้อตกลงในสัญญาจ้าง ปรากฏตามหนังสือเลิกจ้างว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยหมดความจำเป็นที่จะต้องมีขั้นตอนในการควบคุมดูแลโครงการก่อสร้างและออกแบบโครงสร้างใต้ดินตามโครงการรถไฟฟ้ามหานครระยะแรกส่วนเหนือช่วงห้วยขวางถึงบางซื่ออย่างที่จำเลยดำเนินการอยู่ในปี 2545 ต่อไปแล้ว ในปี 2546 จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ เหตุดังกล่าวแม้จะมีอยู่จริงก็ไม่เป็นเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ เพราะโครงการก่อสร้างและออกแบบโครงสร้างใต้ดินตามโครงการรถไฟฟ้ามหานครระยะแรกส่วนเหนือช่วงห้วยขวางถึงบางซื่อที่จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งผู้จัดการพาณิชย์แล้ว จำเลยยังรับจ้างการประปานครหลวงก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำจากโรงงานผลิตน้ำบางเขนถึงถนนงามวงศ์วานและประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทยอยู่ด้วย จำเลยจึงยังมีงานอื่นที่จะให้โจทก์ทำต่อไป เมื่อไม่ปรากฏว่างานดังกล่าวเป็นงานที่โจทก์ไม่สามารถจะทำได้จึงไม่มีเหตุจำเป็นที่จำเลยจะต้องเลิกจ้างโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เงินตราต่างประเทศ: อัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้บังคับ & การเปลี่ยนแปลงสกุลเงิน
แม้คดีนี้จะมีการสืบพยานบุคคลของโจทก์และจำเลยเพียงฝ่ายละ 1 ปาก แต่จำเลยได้ฟ้องแย้งไว้ด้วย คดีมีทุนทรัพย์ตามคำฟ้องจำนวน 1,883,931.97 บาท และทุนทรัพย์ตามคำฟ้องแย้งจำนวน 994,076.66 บาท ศาลมีอำนาจกำหนดค่าทนายความตามอัตราค่าทนายความตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ขั้นสูงร้อยละ 5 ของทุนทรัพย์ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางกำหนดค่าทนายความจำนวน 40,000 บาท นั้น ไม่ถือว่าสูงเกินไป
โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศ ซึ่งหากจำเลยจะชำระหนี้เป็นเงินไทยก็ได้ แต่การเปลี่ยนเงินต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษากำหนดให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนในวันฟ้องเท่ากับการพิพากษานอกเหนือหรือเกินไปกว่าคำฟ้องจึงไม่ชอบ และเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
หนี้เงินต่างประเทศสกุลฟรังก์ฝรั่งเคสที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระแก่โจทก์ตามคำฟ้องเป็นเงินตราของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ในทวีปยุโรปที่มีการจัดตั้งสหภาพยุโรป ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงสกุลเงินที่ใช้ในประเทศดังกล่าวจึงเห็นสมควรกำหนดวิธีการคิดคำนวณมูลค่าเงินไว้เพื่อความสะดวกในการบังคับคดีด้วย
หากในเวลาใช้เงินจริงนั้นเงินฟรังก์ฝรั่งเคสเป็นเงินตราชนิดที่ยกเลิกไม่ใช้กันแล้ว ให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินสกุลที่ใช้แทนเงินฟรังก์ฝรั่งเคสที่มีมูลค่าเท่ากับจำนวนหนี้ต้นเงินฟรังก์ฝรั่งเศสพร้อมดอกเบี้ยดังกล่าวข้างต้นโดยคิดดอกเบี้ยถึงวันก่อนวันคำนวณเปลี่ยนจำนวนหนี้เงินฟรังก์ฝรั่งเศสเป็นเงินสกุลที่ใช้แทน ทั้งนี้ โดยการคำนวณเปลี่ยนจำนวนหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยที่เป็นเงินฟรังก์ฝรั่งเศสเป็นเงินสกุลที่ใช้แทนนั้นให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ วันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเงินฟรังก์ฝรั่งเศสเป็นเงินสกุลที่ใช้แทนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ในขณะหรือก่อนเวลาใช้เงินจริง และคิดดอกเบี้ยของต้นเงินที่เปลี่ยนเป็นเงินสกุลที่ใช้แทนนั้นนับแต่วันเปลี่ยนเงินดังกล่าวจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นแก่โจทก์
โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศ ซึ่งหากจำเลยจะชำระหนี้เป็นเงินไทยก็ได้ แต่การเปลี่ยนเงินต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษากำหนดให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนในวันฟ้องเท่ากับการพิพากษานอกเหนือหรือเกินไปกว่าคำฟ้องจึงไม่ชอบ และเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
หนี้เงินต่างประเทศสกุลฟรังก์ฝรั่งเคสที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระแก่โจทก์ตามคำฟ้องเป็นเงินตราของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ในทวีปยุโรปที่มีการจัดตั้งสหภาพยุโรป ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงสกุลเงินที่ใช้ในประเทศดังกล่าวจึงเห็นสมควรกำหนดวิธีการคิดคำนวณมูลค่าเงินไว้เพื่อความสะดวกในการบังคับคดีด้วย
หากในเวลาใช้เงินจริงนั้นเงินฟรังก์ฝรั่งเคสเป็นเงินตราชนิดที่ยกเลิกไม่ใช้กันแล้ว ให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินสกุลที่ใช้แทนเงินฟรังก์ฝรั่งเคสที่มีมูลค่าเท่ากับจำนวนหนี้ต้นเงินฟรังก์ฝรั่งเศสพร้อมดอกเบี้ยดังกล่าวข้างต้นโดยคิดดอกเบี้ยถึงวันก่อนวันคำนวณเปลี่ยนจำนวนหนี้เงินฟรังก์ฝรั่งเศสเป็นเงินสกุลที่ใช้แทน ทั้งนี้ โดยการคำนวณเปลี่ยนจำนวนหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยที่เป็นเงินฟรังก์ฝรั่งเศสเป็นเงินสกุลที่ใช้แทนนั้นให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ วันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเงินฟรังก์ฝรั่งเศสเป็นเงินสกุลที่ใช้แทนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ในขณะหรือก่อนเวลาใช้เงินจริง และคิดดอกเบี้ยของต้นเงินที่เปลี่ยนเป็นเงินสกุลที่ใช้แทนนั้นนับแต่วันเปลี่ยนเงินดังกล่าวจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาดูแลนักเรียนต่างประเทศ, ค่าเล่าเรียน, ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้, อัตราแลกเปลี่ยน, การคิดดอกเบี้ย
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาตกลงยินยอมเป็นนักเรียนในความดูแลของโจทก์ตามสัญญาเป็นนักเรียนในความดูแลของ ก.พ. มีจำเลยที่ 2 บิดาและ ก. มารดาทำหนังสือยินยอมให้จำเลยที่ 1 อยู่ในความดูแลของโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญากับโจทก์ว่าจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการศึกษาให้จำเลยที่ 1 ให้โจทก์เป็นผู้จัดหาสถานศึกษาและยินยอมที่จะจัดส่งค่าใช้จ่ายตามที่โจทก์ได้ออกทดรองจ่ายแทนไปก่อน จำเลยที่ 1 ได้เข้าเรียนในประเทศอังกฤษ เมื่อปิดการศึกษา จำเลยที่ 1 เดินทางกลับประเทศไทย และรายงานตัวต่อโจทก์ ที่สำนักงานประเทศไทยว่าจะกลับไปเรียนต่อ ต่อมา ก. ได้ทำบันทึกถึงโจทก์ประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ย้ายโรงเรียน หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองทำหนังสือแจ้งยกเลิกการไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษถึงโจทก์ โจทก์ได้ชำระค่าเล่าเรียนแทนจำเลยที่ 1 ไปแล้ว และระหว่างศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ จำเลยทั้งสองได้เบิกค่าใช้จ่ายให้โจทก์ทดรองจ่ายไปก่อนด้วย ดังนั้น เมื่อสัญญาเป็นนักเรียนในความดูแลของ ก.พ. และสัญญาฝากและออกค่าใช้จ่ายที่จำเลยทั้งสองทำไว้กับโจทก์ระบุว่า กรณีผิดนัดชำระหนี้ให้โจทก์คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามสัญญาดังกล่าว กรณีนี้ไม่ใช่เบี้ยปรับซึ่งศาลจะมีอำนาจปรับลดลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5020/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เงินตราต่างประเทศ: สิทธิลูกหนี้เลือกชำระเงินไทยหรือเงินตราต่างประเทศตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลาชำระ
กรณีที่หนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ ป.พ.พ. มาตรา 196 ให้เป็นสิทธิของลูกหนี้ที่จะเลือกว่าจะชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศหรือเงินไทย ศาลไม่มีอำนาจไปบังคับหรือเลือกแทนลูกหนี้ในการชำระหนี้ เมื่อหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีนี้เป็นหนี้เงินตามคำพิพากษาที่กำหนดไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ ลูกหนี้จึงอาจชำระเป็นเงินไทยก็ได้ โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 ซึ่งเป็นสิทธิของลูกหนี้ที่จะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ ทั้งการขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไม่ใช่กรณีศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ จึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 98 ที่ให้ต้องคิดหนี้เป็นเงินตราไทย แต่เป็นการขอรับชำระหนี้เนื่องจากศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ ซึ่งต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/26 อันเป็นกฎหมายส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ซึ่งมาตรา 90/26 วรรคสาม มิได้บัญญัติให้นำมาตรา 98 มาใช้บังคับ ส่วนกรณีตามมาตรา 90/31 ที่ว่า ถ้าหนี้ได้กำหนดไว้เป็นเงินตราต่างประเทศให้คิดเป็นเงินตราไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราประจำวันของธนาคารแห่งประเทศไทยในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการนั้น เป็นกรณีที่มีการประชุมเจ้าหนี้และเจ้าหนี้เงินตราต่างประเทศนั้นเข้าประชุมเพื่อประโยชน์ในการคำนวณหนี้ที่ใช้ในการออกเสียงลงคะแนน จึงให้คำนวณหนี้เงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทย กรณีเจ้าหนี้รายนี้ไม่มีประเด็นปัญหาการเข้าประชุมเจ้าหนี้ จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลจะไปสั่งบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องคำนวณยอดหนี้จากเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนำหุ้นจากสัญญาเงินกู้ การคิดอัตราแลกเปลี่ยน และการโต้แย้งการขายทอดตลาด
การกู้เงินรายนี้มีผู้ให้กู้หลายบริษัท ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย ส่วนผู้กู้มีสำนักงานอยู่ในประเทศไทย ดังนั้นการที่คู่สัญญาตกลงกันให้นำคดีเกี่ยวกับสัญญาฉบับนี้ ซึ่งเป็นสัญญาทางธุรกิจการค้าระหว่างประเทศไปฟ้องยังศาลแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์จึงทำได้ตามหลักกฎหมายทั่วไประหว่างประเทศ แต่ข้อตกลงเลือกศาลตามสัญญาฉบับนี้คู่สัญญาไม่ได้ตกลงให้ฟ้องร้องยังศาลแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์เพียงศาลเดียวเด็ดขาด เพราะได้เปิดโอกาสให้ผู้ให้กู้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้กู้ในศาลอื่นที่มีเขตอำนาจได้ด้วย การที่โจทก์ทั้งสามยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลในประเทศไทยจึงมีอำนาจทำได้ตามสัญญาและเนื่องจากตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 5 วรรคสองบัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีเขตตลอดกรุงเทพมหานคร กับมาตรา 7(5) และ (6) บัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าหรือตราสารการเงินระหว่างประเทศ หรือการให้บริการระหว่างประเทศ เมื่อจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพและคดีพิพาทเป็นเรื่องการกู้ยืมเงินระหว่างประเทศโจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้
กฎหมายของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ที่เกี่ยวกับคดีนี้มีอยู่อย่างไร เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้างว่าเป็นกรณีที่ศาลไทยต้องใช้กฎหมายดังกล่าวนำพยานผู้เชี่ยวชาญกฎหมายของประเทศนั้นมาสืบประกอบตัวบทกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีให้เป็นที่พอใจศาล เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างมิได้พิสูจน์กฎหมายนั้นให้เป็นที่พอใจศาล ศาลจึงต้องใช้กฎหมายภายในของประเทศไทยมาบังคับแก่คดีตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ มาตรา 8
กฎหมายของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ที่เกี่ยวกับคดีนี้มีอยู่อย่างไร เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้างว่าเป็นกรณีที่ศาลไทยต้องใช้กฎหมายดังกล่าวนำพยานผู้เชี่ยวชาญกฎหมายของประเทศนั้นมาสืบประกอบตัวบทกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีให้เป็นที่พอใจศาล เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างมิได้พิสูจน์กฎหมายนั้นให้เป็นที่พอใจศาล ศาลจึงต้องใช้กฎหมายภายในของประเทศไทยมาบังคับแก่คดีตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ มาตรา 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลไทยฟ้องคดีกู้ยืมระหว่างประเทศ, การใช้กฎหมายต่างประเทศ, และการคิดอัตราแลกเปลี่ยน
การกู้เงินพิพาทมีผู้ให้กู้ร่วมกันหลายบริษัทซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย ส่วนผู้กู้มีสำนักงานอยู่ในประเทศไทย การที่คู่สัญญาตกลงกันให้นำคดีเกี่ยวกับสัญญาทางธุรกิจการค้าระหว่างประเทศไปฟ้องยังศาลแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์จึงทำได้ตามหลักกฎหมายทั่วไประหว่างประเทศแต่ข้อตกลงเลือกศาลดังกล่าว คู่สัญญาไม่ได้ตกลงให้ฟ้องร้องยังศาลแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์เพียงศาลเดียวเด็ดขาดเพราะได้เปิดโอกาสให้ผู้ให้กู้ฟ้องผู้กู้ในศาลอื่นที่มีเขตอำนาจได้ด้วย การที่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้ให้กู้ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้กู้ต่อศาลในประเทศไทยจึงมีอำนาจทำได้ตามสัญญา
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีเขตตลอดกรุงเทพมหานคร กับมาตรา 7(5) และ (6) บัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าหรือตราสารการเงินระหว่างประเทศ หรือการให้บริการระหว่างประเทศ เมื่อจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพและคดีพิพาทเป็นเรื่องการกู้ยืมเงินระหว่างประเทศ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้
กฎหมายของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์มีอยู่อย่างไรเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้างว่าเป็นกรณีที่ศาลไทยต้องใช้กฎหมายดังกล่าวนำพยานผู้เชี่ยวชาญกฎหมายของประเทศนั้นมาสืบประกอบตัวบทกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีให้เป็นที่พอใจศาล เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างมิได้พิสูจน์กฎหมายนั้น ให้เป็นที่พอใจแก่ศาล ศาลจึงต้องใช้กฎหมายภายในของประเทศไทยมาบังคับแก่คดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 8
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีเขตตลอดกรุงเทพมหานคร กับมาตรา 7(5) และ (6) บัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าหรือตราสารการเงินระหว่างประเทศ หรือการให้บริการระหว่างประเทศ เมื่อจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพและคดีพิพาทเป็นเรื่องการกู้ยืมเงินระหว่างประเทศ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้
กฎหมายของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์มีอยู่อย่างไรเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้างว่าเป็นกรณีที่ศาลไทยต้องใช้กฎหมายดังกล่าวนำพยานผู้เชี่ยวชาญกฎหมายของประเทศนั้นมาสืบประกอบตัวบทกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีให้เป็นที่พอใจศาล เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างมิได้พิสูจน์กฎหมายนั้น ให้เป็นที่พอใจแก่ศาล ศาลจึงต้องใช้กฎหมายภายในของประเทศไทยมาบังคับแก่คดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3692/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายลงทุนทางภาษี: ผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่อาจนำมาหักลดหย่อนได้ตามมาตรา 65 ตรี (5)
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนนั้น มาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากรบัญญัติไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรออกคำสั่งยกเว้นให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ และไม่อาจนำคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 72/2540 ที่อธิบดีกรมสรรพากรออกคำสั่งเพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการคำนวณรายได้รายจ่ายของนิติบุคคลมายกเว้นบทบัญญัติในมาตรา 65 ตรี (5) ได้
การที่จะนำรายจ่ายมาหักค่าเสื่อมราคาหรือค่าสึกหรอตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องเป็นการลงทุนในทรัพย์สินที่มีสภาพพร้อมใช้งานหรือใช้ประโยชน์ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโรงงานของโจทก์อยู่ในสภาพดังกล่าว จึงไม่อาจนำผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราซึ่งเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิโดยอาศัยคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวได้เช่นกัน
การที่จะนำรายจ่ายมาหักค่าเสื่อมราคาหรือค่าสึกหรอตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องเป็นการลงทุนในทรัพย์สินที่มีสภาพพร้อมใช้งานหรือใช้ประโยชน์ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโรงงานของโจทก์อยู่ในสภาพดังกล่าว จึงไม่อาจนำผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราซึ่งเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิโดยอาศัยคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงิน: ข้อตกลงให้ชำระเพิ่มจากดอกเบี้ยตามอัตราแลกเปลี่ยน ถือเป็นดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นโมฆะ
สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ 500,000 บาทโดยมิได้ระบุให้ใช้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐแต่อย่างใด ส่วนข้อความที่ระบุว่า "วันนี้ 1 อัตราดอลลาร์อเมริกันเท่ากับ24.29บาทในกรณีที่เงินดอลลาร์อเมริกันมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นผู้กู้ยอมชำระอัตราเพิ่มขึ้นด้วย" นั้น เป็นเพียงข้อตกลงที่ให้ผู้กู้ชำระเงินเพิ่มในกรณีที่เงินดอลลาร์สหรัฐมีอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มสูงขึ้น หาใช่เป็นการแสดงว่าเป็นการกู้เงินหรือต้องใช้เงินกู้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐไม่ จำเลยต้องชำระหนี้ตามจำนวนในสัญญาให้โจทก์เป็นเงินไทย ทั้งข้อตกลงดังกล่าวก็มิใช่เป็นเบี้ยปรับหรือการกำหนดค่าเสียหาย แต่เป็นการกำหนดให้ผู้กู้ต้องรับผิดเกินกว่าหนี้ที่ผู้กู้จะต้องชำระให้แก่ผู้ให้กู้อันเป็นการให้ค่าตอบแทนเพิ่มจากดอกเบี้ยที่ตกลงกันไว้ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน กรณีจึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 จึงตกเป็นโมฆะมิอาจบังคับได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2886/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เงินตราต่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยน และดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์บรรยายฟ้องระบุจำนวนหนี้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยคิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดเป็นกรณีที่ต้องชำระหนี้กันเป็นเงินต่างประเทศ ศาลจะพิพากษาให้ใช้เงินต่างประเทศหรือจะให้ส่งใช้เป็นเงินไทยก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคหนึ่ง และ ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง บัญญัติว่า การเปลี่ยนเงินนี้ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตามมาตรานี้หมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรีในเวลาที่จำเลยได้ใช้เงินจริง ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนเงินนี้ตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ขายเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินตราไทยในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดีจึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนโดยเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในวันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา
โจทก์นำสืบเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ความตามที่อ้าง กรณีเป็นหนี้เงินจึงให้เรียกดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์นำสืบเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ความตามที่อ้าง กรณีเป็นหนี้เงินจึงให้เรียกดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2886/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ การคิดดอกเบี้ยผิดนัด และอัตราแลกเปลี่ยนเงิน
โจทก์บรรยายฟ้องระบุจำนวนหนี้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยคิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนด จึงเป็นกรณีที่ต้องชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศ ซึ่งศาลจะพิพากษาให้ใช้เงินต่างประเทศหรือจะส่งใช้เป็นเงินไทยก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคหนึ่ง และที่วรรคสองระบุให้การเปลี่ยนเงินนี้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินนั้น หมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรีในเวลาที่จำเลยได้ใช้เงินจริง ซึ่งตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ขายเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินตราไทยในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดีจึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนโดยเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในวันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราขายเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา แต่เมื่อโจทก์ขอใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในวันออกใบแจ้งหนี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 25.57 บาท โจทก์จึงไม่อาจรับชำระหนี้จากจำเลยเกินกว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินจำนวนดังกล่าวได้
แม้ตามสัญญาที่โจทก์กับจำเลยทำต่อกันจะกำหนดดอกเบี้ยที่เกิดจากการชำระราคาล่าช้าเท่ากับอัตราดอกเบี้ยไพรม์เรทของธนาคารแห่งอเมริกาบวกด้วยร้อยละ 5 ต่อปีแต่โจทก์ขอดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเพียงอัตราไพรม์เรทของธนาคารแห่งอเมริกาเท่านั้นโดยนำสืบไม่ชัดว่าดอกเบี้ยอัตราไพรม์เรทของธนาคารแห่งอเมริกาดังกล่าว ณ วันที่จำเลยผิดนัดมีอัตราเท่าไรและเปลี่ยนแปลงอย่างไร ถือว่าโจทก์นำสืบเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ตามที่อ้าง กรณีจึงเป็นหนี้เงินที่ต้องเรียกดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
แม้ตามสัญญาที่โจทก์กับจำเลยทำต่อกันจะกำหนดดอกเบี้ยที่เกิดจากการชำระราคาล่าช้าเท่ากับอัตราดอกเบี้ยไพรม์เรทของธนาคารแห่งอเมริกาบวกด้วยร้อยละ 5 ต่อปีแต่โจทก์ขอดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเพียงอัตราไพรม์เรทของธนาคารแห่งอเมริกาเท่านั้นโดยนำสืบไม่ชัดว่าดอกเบี้ยอัตราไพรม์เรทของธนาคารแห่งอเมริกาดังกล่าว ณ วันที่จำเลยผิดนัดมีอัตราเท่าไรและเปลี่ยนแปลงอย่างไร ถือว่าโจทก์นำสืบเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ตามที่อ้าง กรณีจึงเป็นหนี้เงินที่ต้องเรียกดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง