คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อัตราโทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 110 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3170/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คดีเยาวชน: การพิจารณาอัตราโทษตามฟ้อง มิใช่ความผิดที่พิจารณาได้ความ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ซึ่งต้องระวางโทษสองในสามของโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 แม้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบมาตรา 83 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมิได้มีการอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี ก็ตาม จำเลยยังมีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เพราะการอุทธรณ์คดีอาญาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น ศาลจะต้องพิจารณาอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายตามฟ้องว่าต้องห้ามหรือไม่ ไม่ใช่ความผิดที่พิจารณาได้ความ เมื่อจำเลยอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกับพวกทำร้ายผู้เสียหาย จำเลยมิได้กระทำผิดอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของจำเลยไม่ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7371/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 ต้องลดอัตราโทษก่อนลงโทษ ไม่ใช่กำหนดโทษแล้วค่อยลด
การลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 นั้น หมายความว่า ลดอัตราโทษขั้นสูงและขั้นต่ำลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งจากกำหนดโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดที่จำเลยที่ 1 กระทำ แล้วจึงลงโทษในระวางโทษนั้น มิใช่กำหนดโทษจำเลยที่ 1 ไว้ก่อนแล้วจึงลดจากโทษที่กำหนดไว้ คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (3) (4) (7) (8) วรรคสอง ประกอบมาตรา 83 และ 336 ทวิ ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีหกเดือนถึงสิบปีหกเดือน และปรับตั้งแต่สามพันบาทถึงสองหมื่นหนึ่งพันบาท โดยศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่งจากอัตราโทษดังกล่าวตาม ป.อ. มาตรา 76 แล้ววางโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 4 ปี และลดโทษให้แก่จำเลยที่ 1 อีกกึ่งหนึ่ง เพราะมีเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 2 ปี จึงเป็นการชอบแล้วโดยไม่จำต้องระบุอัตราโทษของความผิดที่จำเลยที่ 1 กระทำทั้งก่อนและหลังลดมาตราส่วนโทษแล้วลงในคำพิพากษาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5943/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษจำคุกเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดโดยผู้พิพากษาคนเดียว ทำให้คำพิพากษาไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี และให้คุมความประพฤติจำเลยไว้ แต่มีผู้พิพากษาลงนามในคำพิพากษาคนเดียว จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) ทั้งนี้เพราะผู้พิพากษาคนเดียวจะพิพากษาลงโทษจำคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3572-3583/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการรวมโทษจำคุกหลายกระทงตาม ป.อ. มาตรา 91 กรณีอัตราโทษจำคุกสูงเกิน 3 ปี
บทบัญญัติที่ว่า กรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91 (1) หมายความถึง อัตราโทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดที่ลงโทษจำเลย หาใช่โทษจำคุกที่ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดในการลงโทษไม่ คดีนี้ศาลลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 91 ตรี ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 10 ปี โทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดในกรณีนี้จึงเกินกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี กรณีเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 91 (2) แม้ศาลจะใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุกจำเลยเพียงกระทงละ 3 ปี ก็หาทำให้เป็นกรณีตามบทบัญญัติมาตรา 91 (1) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดหลายกรรมต่างกันจากการทำสุราเถื่อนและการจำหน่าย โดยแยกพิจารณาบทบัญญัติและอัตราโทษที่ถูกต้อง
สุรากลั่นของกลางคดีนี้จะเป็นจำนวนเดียวกัน แต่ก็เห็นได้ว่าในความผิดแต่ละฐานต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดที่แตกต่างกัน และสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ และ พ.ร.บ.สุราฯ มาตรา 5, 30, 32 บัญญัติความผิดและบทลงโทษฐานทำสุราโดยไม่ได้รับใบอนุญาต กับการมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่รู้ว่าทำขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมายไว้คนละมาตรากัน ดังนั้น การที่จำเลยทำสุรากลั่นโดยไม่ได้รับใบอนุญาตกับการมีไว้ในครอบครองซึ่งสุรากลั่นนั้น จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดตาม ป.อ. มาตรา 91
สำหรับความผิดฐานขายสุรานั้น ตาม พ.ร.บ.สุราฯ มาตรา 31 มีระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท สำหรับมาตรา 30 เป็นบทบัญญัติความผิดฐานฝ่าฝืนมาตรา 5 คือการทำสุรา หรือมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและถ้าได้ขายสุราที่ทำขึ้นนั้นด้วยต้องระวางโทษหนักขึ้น เป็นบทเพิ่มโทษจากการทำสุราเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่บทบัญญัติให้การขายสุราที่ทำขึ้นเป็นความผิดตามมาตรานี้อีกบทหนึ่ง ดังนั้น ที่จำเลยขายสุรากลั่นที่จำเลยทำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 30 แต่เป็นความผิดตามมาตรา 31
ศาลล่างทั้งสองลงโทษเกินกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3315/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะ 'ทหารกองประจำการ' ไม่ใช่ข้าราชการ ทำให้ไม่ถูกลงโทษตามอัตราโทษทวีคูณในคดียาเสพติด
ทหารกองประจำการไม่ใช่ทหารประจำการ ไม่ใช่ข้าราชการทหารและไม่ได้เป็นข้าราชการตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหารฯ จำเลยที่ 2 เป็นทหารกองประจำการจึงไม่เป็นข้าราชการอันจะต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1504/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โทษจำคุกเกินอัตรากฎหมายกำหนดในคดีลักทรัพย์ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษได้แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) วรรคแรก ประกอบมาตรา 336 ทวิ มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีหกเดือนถึงเจ็ดปีหกเดือน และปรับตั้งแต่สามพันบาทถึงหนึ่งหมื่นห้าพันบาท ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 โดยลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งแล้ว วางโทษจำคุก 4 ปี นั้น จึงเป็นการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เกินกว่าอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนด ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5377/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษทางอาญา: เหตุบรรเทาโทษ, การปรับบทลงโทษ, และอัตราโทษขั้นต่ำ
ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยว่าคดีมีเหตุบรรเทาโทษและเห็นสมควรลดโทษให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้งมิได้พิพากษาให้ลดโทษแก่จำเลยที่ 2 ข้อที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าควรจะมีข้อความว่ามีเหตุอันควรปรานี มีเหตุบรรเทาโทษ และลดโทษให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการอ้างข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจากคำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่ใช่การแก้ไขถ้อยคำที่พิมพ์ผิดพลาด แต่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งอ่านแล้ว ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 190
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 181(1) คำว่า "เป็นการกระทำในกรณีแห่งข้อหาว่าผู้ใดกระทำความผิดที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไป" นั้น หมายความว่ากรณีแห่งข้อหาว่าผู้ใดกระทำความผิดจะต้องมีอัตราโทษขั้นต่ำจำคุกสามปีเป็นอย่างน้อยที่สุด แต่การที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์กับพวกโดยมีข้อหาว่าโจทก์กระทำความผิดฐานบุกรุกทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ ขอให้ลงโทษตามมาตรา 365(2)(3) ประกอบด้วยมาตรา 362 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ตามมาตรา 358 ซึ่งมีระวางโทษจำคุก ไม่เกินสามปี และมาตรา 335(7) ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 335 วรรคหนึ่ง จำคุกตั้งแต่หนึ่งถึงห้าปี อัตราโทษขั้นต่ำแต่ละฐานความผิดดังกล่าวไม่ถึงสามปี การเบิกความเท็จของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องด้วยกรณีที่ต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 181(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4313/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษจำคุกโดยผู้พิพากษาคนเดียวเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ทำให้คำพิพากษาไม่ชอบและศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี แต่มีผู้พิพากษาลงนามเพียงคนเดียวจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 17ประกอบด้วยมาตรา 25(5) โดยผู้พิพากษาคนเดียวจะพิพากษาลงโทษจำคุกเกินหกเดือนหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8802/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถานและการบุกรุก หากข้อเท็จจริงต่างจากฟ้อง ศาลต้องพิจารณาตามความผิดที่มีอัตราโทษเบากว่า
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 265 , 268 , 335 (3) (8) , 336 ทวิ และกล่าวในฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันงัดกุญแจประตูหน้าบ้านพักอาศัยอันเป็นเคหสถานของผู้เสียหาย และเข้าไปในเคหสถานงัดประตูห้องนอนของผู้เสียหาย แล้วร่วมกันลักสายยู 1 อัน ซึ่งใช้ล่ามบานประตูให้ติดกับกุญแจของผู้เสียหายซึ่งเก็บรักษาไว้ในเคหสถานไปโดยทุจริต ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยพยายามเข้าไปลักทรัพย์ที่มิใช่สายยูที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องในเคหสถานของผู้เสียหาย ดังนี้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง และเป็นข้อสาระสำคัญในความผิดฐานลักทรัพย์ เพราะโจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเข้าไปในเคหสถานของ ผู้เสียหายเพื่อลักทรัพย์อื่นที่อยู่ในเคหสถานนั้นด้วย ทั้งไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานพยายามลักทรัพย์อย่างอื่นของผู้เสียหาย จึงลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานพยายามลักทรัพย์อื่นของผู้เสียหายไม่ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง และวรรคสี่ แต่จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันงัดประตูบ้านและประตูห้องนอนเพื่อเข้าไปลักทรัพย์ในเคหสถานของผู้เสียหาย ซึ่งนอกจากจะเป็นความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ในเคหสถานโดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์แล้ว ยังเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานตาม ป.อ. มาตรา 365 ประกอบด้วยมาตรา 364 รวมอยู่ด้วยซึ่งโจทก์ได้กล่าวมาในฟ้องด้วยแล้ว ทั้งมีอัตราโทาเบากว่าความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ตามที่ศาลล่างทั้งสองโทษจำเลยทั้งสองมา ศาลฎีกาจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานตาม ป.อ. มาตรา 365 ประกอบด้วยมาตรา 364 , 83 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
ความผิดฐานทำเอกสารราชการปลอมตาม ป.อ. มาตรา 265 ศาลชั้นต้นยกฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานนี้มาด้วยจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
of 11