พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3572-3583/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษจำคุกหลายกระทงตาม ป.อ.มาตรา 91 ต้องพิจารณาอัตราโทษสูงสุดของความผิดที่ลงโทษจริง ไม่ใช่โทษที่ศาลใช้ดุลพินิจ
กรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91 (1) หมายความถึงอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตามที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่ลงโทษจำเลย มิใช่โทษจำคุกที่ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดในการลงโทษ
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 10 ปี โทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดในกรณีนี้จึงเกินกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี กรณีเป็นไปตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) แม้ศาลชั้นต้นจะใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุกจำเลยเพียงกระทงละ 3 ปี ก็ไม่ทำให้เป็นกรณีตามบทบัญญัติมาตรา 91 (1)
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 10 ปี โทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดในกรณีนี้จึงเกินกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี กรณีเป็นไปตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) แม้ศาลชั้นต้นจะใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุกจำเลยเพียงกระทงละ 3 ปี ก็ไม่ทำให้เป็นกรณีตามบทบัญญัติมาตรา 91 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7719/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เกณฑ์การลงโทษบทหนัก-บทเบา: ใช้บทที่มีโทษจำคุกสูงสุด แม้บทหนักไม่มีโทษขั้นต่ำ
การวินิจฉัยว่าบทกฎหมายใดมีโทษหนักกว่ากัน ต้องถือตามลำดับที่วางไว้ใน ป.อ.มาตรา 18 ถ้าเป็นโทษในลำดับเดียวกันต้องถือบทที่มีอัตราโทษขั้นสูงกว่าเป็นเกณฑ์ เมื่อ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 54วรรคหนึ่ง กำหนดอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 วรรคหนึ่งกำหนดอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 ถึง50,000 บาท โทษจำคุกตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา54 วรรคหนึ่ง จึงเป็นบทหนักกว่า และเมื่อใช้บทบัญญัติที่มีโทษหนักแล้ว ก็ใช้บทดังกล่าวเป็นบทลงโทษแต่บทเดียว ถึงแม้บทหนักจะไม่มีโทษขั้นต่ำ แต่บทเบากว่ามีโทษขั้นต่ำศาลก็ชอบที่จะลงโทษตามบทที่หนักโดยไม่ต้องคำนึงถึงโทษขั้นต่ำในบทที่เบากว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับโทษกรณีความผิด พ.ร.บ.อากรฆ่าสัตว์ ศาลมีอำนาจปรับเรียงตัวจำเลยได้หากไม่เกินอัตราโทษสูงสุด
จำเลยหลายคนที่กระทำผิด พ.ร.บ.อากรฆ่าสัตว์ซึ่งกฎหมายให้ปรับเรียงตัวสัตว์นั้น ศาลจะปรับจำเลยรวมกันหรือปรับเรียงตัวจำเลยก็ได้ เมื่อจำนวนค่าปรับแต่ละคนไม่เกินอัตราโทษคั่นสูงที่กฎหมายกำหนดไว้เรียงตัวสัตว์
กรณีที่จำเลยมีเหตุในส่วนตัวต่างกัน เช่นบางคนจะต้องลดโทษให้ ฐานรับสารภาพ ดังนี้ ศาลควรแยกปรับเรียงตัวจำเลย.
(อ้างฎีกาที่ 1716/2492)
กรณีที่จำเลยมีเหตุในส่วนตัวต่างกัน เช่นบางคนจะต้องลดโทษให้ ฐานรับสารภาพ ดังนี้ ศาลควรแยกปรับเรียงตัวจำเลย.
(อ้างฎีกาที่ 1716/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5441/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดพยายามวิ่งราวทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ การคำนวณโทษตามมาตรา 80 และการพิจารณาอัตราโทษสูงสุด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยทั้งสองเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งไม่รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งจำเลยทั้งสองอาจฎีกาเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นนั้นต่อศาลฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 224 แต่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อดังกล่าวให้จำเลยทราบ จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนและให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาจำเลยทั้งสองชอบแล้ว ศาลฎีกาไม่จำเป็นต้องสั่งให้ส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อแจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อดังกล่าวให้จำเลยทั้งสองทราบแต่อย่างใด
ป.อ. มาตรา 80 วรรคสอง บัญญัติว่า "ผู้ใดพยายามกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น" หมายถึง การกำหนดโทษที่จะลงโดยคำนวณโทษจากสองในสามของอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด หาใช่ต้องระวางโทษที่จะลงแก่จำเลยทั้งสองก่อนและกำหนดโทษสำหรับความผิดของจำเลยทั้งสองแล้วจึงลดโทษให้แก่จำเลยทั้งสองดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานพยายามวิ่งราวทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ ตาม ป.อ. มาตรา 336 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 80, 336 ทวิ ซึ่งผู้กระทำผิดตามมาตรา 336 ทวิ ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่ง เมื่อมาตรา 336 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี อัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 336 ทวิ คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี 6 เดือน เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการพยายามกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดดังกล่าว จึงเป็นจำคุกไม่เกิน 5 ปี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลงโทษจำคุกจำเลยคนละ 4 ปี จึงไม่เกินอัตราโทษสูงสุดดังกล่าว
ป.อ. มาตรา 80 วรรคสอง บัญญัติว่า "ผู้ใดพยายามกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น" หมายถึง การกำหนดโทษที่จะลงโดยคำนวณโทษจากสองในสามของอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด หาใช่ต้องระวางโทษที่จะลงแก่จำเลยทั้งสองก่อนและกำหนดโทษสำหรับความผิดของจำเลยทั้งสองแล้วจึงลดโทษให้แก่จำเลยทั้งสองดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานพยายามวิ่งราวทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ ตาม ป.อ. มาตรา 336 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 80, 336 ทวิ ซึ่งผู้กระทำผิดตามมาตรา 336 ทวิ ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่ง เมื่อมาตรา 336 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี อัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 336 ทวิ คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี 6 เดือน เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการพยายามกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดดังกล่าว จึงเป็นจำคุกไม่เกิน 5 ปี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลงโทษจำคุกจำเลยคนละ 4 ปี จึงไม่เกินอัตราโทษสูงสุดดังกล่าว