คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อันตราย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาไม่ถือเป็นการป้องกันโดยชอบธรรม เนื่องจากไม่มีเหตุอันตรายที่ต้องป้องกัน
ผู้ตายกับจำเลยเป็นสามีภริยากัน แต่มีเรื่องทะเลาะกันเป็นประจำจึงแยกกันอยู่ วันเกิดเหตุผู้ตายกับจำเลยไปบ้านเกิดเหตุเพื่อตกลงปัญหาเรื่องครอบครัวแต่ตกลงกันไม่ได้ จำเลยจึงจะออกจากบ้าน ผู้ตายนำอาวุธปืนออกมาวางที่ปลายเตียงเพื่อขู่ให้จำเลยอยู่กับผู้ตายและที่ผู้ตายพูดขู่จำเลยขณะจำเลยขยับตัวจะวิ่งก็เป็นเพียงขู่ไม่ใช่จำเลยหนีไปเท่านั้น แต่จำเลยเกรงว่าผู้ตายจะใช้อาวุธปืนของกลางยิงจำเลย ทั้งที่ไม่ปรากฏพฤติการณ์ที่จะส่อว่าผู้ตายจะทำเช่นนั้น จึงถือว่าไม่มีภยันตรายที่จำเลยจำต้องป้องกันแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายไม่ถึงแก่ความตายหรืออันตรายร้ายแรง ไม่มีเหตุให้รับผิดชอบในความเสียหายทางจิตใจ
จำเลยที่ 1 ใช้กำลังชกต่อยที่หัวไหล่ขวาและบีบคอจนศรีษะของโจทก์กระแทกฝาห้องน้ำ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 คดีถึงที่สุดแล้ว คดีส่วนแพ่งจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีดังกล่าวว่าการทำร้ายของจำเลยที่ 1 ไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของโจทก์ และเมื่อพยานหลักฐานโจทก์ไม่อาจรับฟังได้ว่าอาการเจ็บป่วยของโจทก์เป็นผลมาจากการทำร้ายของจำเลยที่ 1 โดยตรง กรณีไม่มีความจำเป็นต้องวินิจฉัยเรื่องค่าเสียหาย เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 722/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วางเพลิงทรัพย์สินราคาไม่สูง ผู้เสียหายดับไฟได้ทัน การกระทำไม่น่าเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
ทรัพย์ที่เป็นอันตรายจากการวางเพลิงของจำเลยเป็นเพียงประตูบ้านซึ่งทำด้วยไม้มะค่าและต้นไม้ประดับ คิดเป็นเงินประมาณ 5,000 บาท ถือได้ว่าเป็นทรัพย์ที่มีราคาน้อย และขณะเกิดเหตุผู้เสียหายก็อยู่ในที่เกิดเหตุและสามารถดับไฟได้ทัน การกระทำของจำเลยจึงไม่น่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น กรณีเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218(1) ประกอบด้วยมาตรา 223

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่า vs. พยายามทำร้าย: การหลบหนีการจับกุมและการเล็งเห็นอันตรายต่อเจ้าพนักงาน
การที่จำเลยขับรถยนต์บรรทุกแซงออกไปทางด้านขวาเพื่อหลบหนีการจับกุมโดยมิได้ชนผู้เสียหายทั้งสองและรถที่จอดขวางทางนั้น มีเหตุสงสัยตามสมควรว่า จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งสองหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสองแต่การที่จำเลยขับรถแซงออกทางด้านขวาเพื่อหลบหนีการจับกุมดังกล่าว จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่าอาจชนผู้เสียหายทั้งสองให้ได้รับอันตรายแก่กายได้ อันเป็นความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ และเป็นการกระทำรวมอยู่ในความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่จึงลงโทษจำเลยฐานพยายามทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามที่พิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษชิงทรัพย์โดยมีอาวุธและทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตราย ไม่ถือเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยชิงทรัพย์ผู้เสียหายโดยมีอาวุธมีดและเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 ทั้งวรรคสองและวรรคสาม โจทก์ไม่จำต้องระบุวรรคของบทมาตราที่ขอให้ลงโทษมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(6) มิได้บังคับไว้เช่นนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม ตรงตามที่โจทก์บรรยายฟ้องศาลก็ชอบที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยตามนั้นได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9275/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งบรรจุยาเสพติดต้องมีเจตนาสร้างอันตรายร้ายแรง จึงถือเป็นผลิตตามกฎหมาย และการริบของกลางต้องเชื่อมโยงกับความผิดที่ฟ้อง
การผลิตโดยการแบ่งบรรจุตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ต้องเป็นการแบ่งบรรจุที่เป็นอันตรายแก่สังคม อย่างร้ายแรงทำนองเดียวกับการเพาะปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป หรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
ไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่าจำเลยแบ่งบรรจุเฮโรอีนของกลางโดยมีวัตถุประสงค์ที่เป็นอันตรายแก่สังคม อย่างร้ายแรงทำนองเดียวกับการเพาะปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป หรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ทั้งการที่จำเลยร่วมกันตัดหลอดกาแฟและกรอกเฮโรอีนของกลาง อาจเป็นการแบ่งบรรจุเพื่อความสะดวกในการเสพ ของตนก็เป็นได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการผลิตเฮโรอีน
โจทก์มิได้ฟ้องในความผิดฐานเสพยาเสพติดด้วย แม้กระบอกและเข็มฉีดยาของกลางจำเลยจะมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด แต่ก็เป็นความผิดฐานอื่นไม่เกี่ยวกับฐานความผิดในคดีที่โจทก์ฟ้อง หากศาลพิพากษาให้ริบ ย่อมมีผลเป็นการพิพากษาเกินไปจากหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องอันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่อาจริบกระบอกและเข็มฉีดยาของกลางดังกล่าวได้
(วรรคแรกและวรรคสองวินิจฉัยโดยมติประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2544)
(ตัดสินก่อนแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8534/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตนเองโดยชอบด้วยกฎหมาย: การยิงขึ้นฟ้าเพื่อข่มขู่และเหตุการณ์ต่อเนื่องที่ทำให้เกิดอันตราย
จำเลยใช้อาวุธปืนยิงขึ้นฟ้าเพื่อขู่มิให้กลุ่มวัยรุ่นกลุ้มรุมทำร้าย ถ. เมื่อจำเลยยิงปืนขึ้นฟ้านัดที่ 3 แล้ว ได้มีกลุ่มวัยรุ่นเข้ามาทุบที่ด้านหลังของจำเลยจนเป็นเหตุให้จำเลยล้มลงและกระสุนจากอาวุธปืนที่จำเลยถืออยู่ได้ลั่นขึ้น 1 นัด ถูกผู้เสียหายซึ่งขับรถจักรยานยนต์ผ่านมาได้รับอันตรายแก่กายและถูกผู้ตายซึ่งนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ดังกล่าวถึงแก่ความตาย พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน จึงย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนและของผู้อื่นให้พ้นภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ทั้งเป็นกรณีที่จำเลยกระทำพอสมควรแก่เหตุ แม้การกระทำของจำเลยก่อให้เกิดผลร้ายแก่ผู้เสียหายและผู้ตายโดยพลาดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 60 จำเลยก็ไม่มีความผิดเพราะการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 68

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนายิงทำร้ายร่างกาย แม้ไม่ถูกตัว แต่ก่อให้เกิดอันตราย ถือความผิดฐานทำร้ายร่างกาย
จำเลยใช้อาวุธปืนยิงไปที่โหลใส่พริกน้ำปลาซึ่งวางอยู่บนโต๊ะรับประทานอาหารใกล้กับที่ผู้เสียหายนั่งอยู่จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้เสียหายได้ กรณีถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายให้ได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ แม้กระสุนปืนไม่ถูกผู้เสียหาย และไม่ว่ากระสุนปืนที่จำเลยยิงไปจะถูกขอบโต๊ะทำให้หัวกระสุนแตกกระจายตามที่ผู้เสียหายเบิกความ หรือไปถูกโหลใส่พริกน้ำปลาแตกตามที่พยานให้การในชั้นสอบสวน แต่เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บมีรอยถากที่หน้าอกขวา ต้นขาขวายาว 1.5 เซนติเมตร และรอยถากที่แขนซ้ายลึกแค่ผิวหนัง จึงถือได้ว่าการได้รับอันตรายแก่กายของผู้เสียหายเกิดจากการกระทำของจำเลย และจากคำเบิกความของแพทย์ว่าบาดแผลของผู้เสียหายใช้เวลารักษาประมาณ 10 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน เมื่อพิจารณาพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยประกอบแล้ว กรณีถือได้ว่า จำเลยกระทำให้เกิดอันตรายแก่กายและจิตใจของผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 295

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2895/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายทำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย ศาลฎีกาแก้โทษจำคุกเป็นปรับและรอการลงโทษ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 295 จำเลยให้การรับสารภาพ และตามรายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ท้ายฟ้องระบุว่าสภาพทั่วไปผู้เสียหายรู้สึกตัวดี มีอาการปวดศีรษะ ลักษณะการบาดเจ็บ ฟกซ้ำบริเวณคางใต้ตาซ้าย ริมผีปากล่าง ชายโครงซ้ายและน่อง ใช้ระยะเวลาในการรักษาประมาณ5 วัน การบาดเจ็บเช่นนี้ถือว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายแล้ว การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 295
ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยและเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน จำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายและในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาในปัญหาที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเนื่องจากปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219 ตรี ก็ตาม แต่ศาลฎีกาเห็นว่า ตามพฤติการณ์ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เมื่อคำนึงถึงอายุ ประวัติความประพฤติของจำเลยตลอดจนสภาพความผิดประกอบกันแล้ว กรณีมีเหตุอันควรปรานีเพื่อให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดี และประกอบสัมมาชีพหาเลี้ยงตนเองได้ต่อไปศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็น ไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขัง แต่ให้ลงโทษปรับจำเลย อีกสถานหนึ่ง โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้และคุมความประพฤติจำเลยไว้นับตั้งแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟัง ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ.มาตรา 29,30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7547/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาจากการใช้เรือโดยประมาทและเจตนาจนน่าเกิดอันตราย เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1(ข) โดยสรุปว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันดัดแปลงต่อเติมเรือเอี้ยมจุ๊นซึ่งมิใช่เรือที่ทำขึ้นสำหรับขนส่งคนโดยสารโดยไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและไม่ได้มาตรฐานโดยต่อเติมชั้นสองของเรือเป็นดาดฟ้าให้บรรทุกขนส่งคนโดยสารได้ ส่วนของโครงหลังคาชั้นสองมีเสาเหล็กรองรับ 17 ต้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว พื้นดาดฟ้าชั้นสองเป็นเหล็กแผ่นเรียบ หนาประมาณ 1 หุน ยึดติดกับเสาเหล็กไม่แข็งแรง คานรับดาดฟ้าเล็ก และดาดฟ้าสูงจากพื้นชั้นล่าง 2.10 เมตร ซึ่งสูงเกินไปไม่สามารถบรรทุกคนโดยสารได้อย่างปลอดภัยและไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานกรมเจ้าท่าจะออกใบอนุญาตใช้เรือให้เป็นเรือรับจ้างขนส่งคนโดยสารได้และตามวันเวลาในฟ้องข้อ 1 จำเลยทั้งห้าใช้เรือลำเกิดเหตุบรรทุกคนโดยสารมากถึง 70 คน ซึ่งลักษณะและการบรรทุกน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือ แล้วแล่นไปในบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์และการกระทำของจำเลยทั้งห้าเป็นความประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งจำเลยทั้งห้าจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ แต่จำเลยทั้งห้าหาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เมื่อดาดฟ้าชั้นสองไม่สามารถรับน้ำหนักคนโดยสารเป็นจำนวนมากหักลง เรือเสียการทรงตัวและพลิกคว่ำเป็นเหตุให้คนโดยสารจมน้ำตาย 39 คน ดังนี้ คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งห้าเข้าใจข้อหาได้ดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 233 และองค์ประกอบของการกระทำโดยประมาทตามมาตรา 59 วรรคสี่ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้การตกลงว่าจ้างเรือทั้งสองลำกระทำในคราวเดียวกันและมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน แต่เรือที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ใช้กระทำความผิดในคดีนี้กับเรือที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ใช้กระทำความผิดในคดีอาญาของศาลแขวงขอนแก่น เป็นเรือคนละลำกัน สามารถแยกการกระทำออกจากกันได้กรณีจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฉะนั้น แม้ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาของศาลแขวงขอนแก่น โจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2และที่ 4 ในคดีนี้ หาเป็นฟ้องซ้ำไม่
พยานโจทก์ทั้งสองจบการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ หลักสูตร 5 ปี เรือโท ส. รับราชการที่กรมเจ้าท่าในตำแหน่ง เจ้าพนักงานตรวจเรือเป็นเวลาประมาณ 3 ปี มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจเรือมาโดยตลอด ส่วนเรือเอก ช. รับราชการเป็นเจ้าท่าภูมิภาคที่ 7 มีตำแหน่งเป็นเจ้าพนักงานตรวจเรือตั้งแต่ปี 2510 ถึง 2530 พยานทั้งสองจึงเป็นผู้ชำนาญการพิเศษในการตรวจเรือความเห็นของพยานทั้งสองจึงเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดและมีน้ำหนักให้รับฟังได้
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมทุนกันซื้อเรือลำเกิดเหตุซึ่งเป็นเรือเอี้ยมจุ๊นมาต่อเติมดัดแปลงเป็นเรือสองชั้นเพื่อรับจ้างขนส่งคนโดยสารไปชมทิวทัศน์ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ โดยจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ยื่นขอใบอนุญาตใช้เรือต่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ดูแลเขื่อนอุบลรัตน์ จำเลยที่ 3มีหน้าที่จัดหาผู้โดยสารเรือ จำเลยที่ 4 มีหน้าที่ออกแบบต่อเติมเรือและได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ควบคุมเรือลำเกิดเหตุซึ่งมีลักษณะน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น ไปใช้รับจ้างขนส่งคนโดยสารด้วยการบรรทุกจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 233 ประกอบด้วยมาตรา 83เมื่อการกระทำนั้นเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 238 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ใช้เรือลำเกิดเหตุรับจ้างขนส่งคนโดยสารโดยเจตนาจนน่าจะเกิดอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 233 กรณีไม่ใช่กระทำโดยประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่ ซึ่งจะต้องเป็นการกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แม้ผลแห่งการกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายอันนอกเหนือจากเจตนาที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 238 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับโทษหนักขึ้นในผลแห่งการกระทำความผิดตามมาตรา 233จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายอีกบทหนึ่ง
of 15