คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อัมพาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างป่วยอัมพาต นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แม้ระเบียบธนาคารจะให้อำนาจเลิกจ้างได้
ลูกจ้างป่วยเป็นอัมพาตเนื่องจากเส้นเลือดในสมองตีบ ไม่สามารถปฏิบัติงานได้เป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แม้ตามระเบียบธนาคารออมสินจะให้อำนาจนายจ้างปลดลูกจ้างออกจากงานได้เมื่อลูกจ้างลาครบกำหนดระยะเวลาแล้วก็ตาม ก็เป็นเพียงให้สิทธิที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเท่านั้น จะถือว่าลูกจ้างกระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอย่างร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47 หาได้ไม่ เมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง (บำเหน็จ) เป็นเงินที่นายจ้างผูกพันต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามระเบียบของนายจ้าง ส่วนค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ46 บังคับให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างสิทธิของลูกจ้างที่จะได้เงินบำเหน็จและค่าชดเชยจึงกำหนดให้โดยอาศัยกฎหมายและระเบียบต่างกัน ทั้งตามระเบียบดังกล่าวกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งมีเวลาทำงานต่ำกว่า 5 ปี ไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จ จึงเห็นได้ว่า ระเบียบของนายจ้างกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จแตกต่างกับประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ซึ่งกำหนดให้ลูกจ้างประจำซึ่งทำงานติดต่อกันเพียงครบ 120 วัน ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้วดังนี้เงินทุนเลี้ยงชีพและค่าชดเชยเป็นเงินคนละประเภท การที่นายจ้างจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพให้ลูกจ้างแล้ว ไม่ทำให้นายจ้างพ้นความรับผิดที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอีก.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างป่วยอัมพาต นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แม้มีระเบียบภายใน
ลูกจ้างป่วยเป็นอัมพาตเนื่องจากเส้นเลือดในสมองตีบ ไม่สามารถปฏิบัติงานได้เป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แม้ตามระเบียบธนาคารออมสิน จะให้อำนาจนายจ้างปลดลูกจ้างออกจากงานได้เมื่อลูกจ้างลาครบกำหนดระยะเวลาแล้วก็ตาม ก็เป็นเพียงให้สิทธิที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเท่านั้น จะถือว่าลูกจ้างกระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอย่างร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 หาได้ไม่ เมื่อเลิกจ้างนายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง (บำเหน็จ) เป็นเงินที่นายจ้างผูกพันต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามระเบียบของนายจ้าง ส่วนค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46บังคับให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างสิทธิของลูกจ้างที่จะได้เงินบำเหน็จและค่าชดเชยจึงกำหนดให้โดยอาศัยกฎหมายและระเบียบต่างกัน ทั้งตามระเบียบกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งมีเวลาทำงานต่ำกว่า 5 ปี ไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จ จึงเห็นได้ว่า ระเบียบของนายจ้างกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จแตกต่างกับประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งกำหนดให้ลูกจ้างประจำซึ่งทำงานติดต่อกันเพียงครบ 120 วัน ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้ว เงินทุนเลี้ยงชีพและค่าชดเชยจึงเป็นเงินคนละประเภท การที่นายจ้างจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพให้ลูกจ้างแล้ว ไม่ทำให้นายจ้างพ้นความรับผิดที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นอัมพาต: การคุ้มครองตามมาตรา 31 และเหตุสมควรในการเลิกจ้าง
การที่ลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 31 ซึ่งห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในระหว่างการเจรจาการไกล่เกลี่ย หรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน นั้นลูกจ้างจะต้องบรรยายฟ้องว่าลูกจ้างเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องและจะได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอย่างไร เมื่อลูกจ้างมิได้บรรยายฟ้องว่าลูกจ้างเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องอย่างไรแล้ว ลูกจ้างจะอาศัยประโยชน์จากบทบัญญัติมาตรา 31 มาเป็นการตัดสิทธินายจ้างมิให้ เลิกจ้างลูกจ้างในระหว่างที่ยังไม่มีการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานมิได้
โจทก์เป็นอัมพาตทำงานให้จำเลยไม่ได้ จำเลยย่อมเลิกจ้าง โจทก์ได้กรณีเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม