คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อัยการผู้ช่วย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการแต่งตั้งอัยการผู้ช่วยศาลทหาร และอำนาจการเป็นโจทก์เมื่ออัยการเป็นพยาน
คำสั่งที่ปลัดกระทรวงกลาโหมลงนามแต่งตั้งอัยการผู้ช่วยศาลทหารกรุงเทพฯ โดยวิธีคำสั่งรัฐมนตรีนั้นเป็นคำสั่งรัฐมนตรีตั้ง หาใช่ปลัดกระทรวงตั้งไม่ จึงชอบด้วย พ.ร.บ.พระธรรมนูญศาลทหาร ม. 79
เมื่ออัยการศาลทหารกรุงเทพฯเป็นพยานในคดีใด ซึ่งต้องห้ามมิให้เป็นโจทก์ตาม พ.ร.บ.พระธรรมนูญศาลทหารมาตรา 85(2) อัยการผู้ช่วยศาลทหารกรุงเทพฯ จึงมีอำนาจลงชื่อเป็นโจทก์ฟ้องคดีนั้นได้ หาขัดต่อ พ.ร.บ.พระธรรมนูญศาลทหาร ม.80 ไม่
ศาลฎีกามีอำนาจยกคำพิพากษาศาลทหารกลางแล้วให้ศาลทหารกลางวินิจฉัยข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามกระบวนความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอัยการผู้ช่วยศาลทหาร: คำสั่งแต่งตั้งชอบด้วยกฎหมายเมื่อเป็นการรับคำสั่งรัฐมนตรี และการลงชื่อฟ้องคดีเมื่ออัยการหลักเป็นพยาน
คำสั่งที่ปลัดกระทรวงกลาโหมลงนามแต่งตั้งอัยการผู้ช่วยศาลทหารกรุงเทพฯ โดยวิธีรับคำสั่งรัฐมนตรีนั้นเป็นคำสั่งรัฐมนตรีตั้งหาใช่ปลัดกระทรวงตั้งไม่ จึงชอบด้วย พระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลทหาร มาตรา 79
เมื่ออัยการศาลทหารกรุงเทพฯเป็นพยานในคดีใด ซึ่งต้องห้ามมิให้เป็นโจทก์ตาม พระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลทหาร มาตรา 85(2)อัยการผู้ช่วยศาลทหารกรุงเทพฯจึงมีอำนาจลงชื่อเป็นโจทก์ฟ้องคดีนั้นได้ หาขัดต่อ พระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลทหาร มาตรา 80ไม่
ศาลฎีกามีอำนาจยกคำพิพากษาศาลทหารกลางแล้วให้ศาลทหารกลางวินิจฉัยข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามกระบวนความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1440/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัยการผู้ช่วยมีอำนาจลงนามฟ้องคดีอาญาได้ โดยอาศัยอำนาจของพนักงานอัยการตามกฎหมาย
อัยการผู้ช่วยก็มีอำนาจลงนามเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาได้ เพราะอัยการผู้ช่วยก็เป็นพนักงานอัยการ (พ.ร.บ.อัยการ 2478 มาตรา 11) จึงอาจเป็นโจทก์ในคดีอาญาได้ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 28(1) ประกอบกับ พ.ร.บ.อัยการ 2478 มาตรา 19(1)
ศาลชั้นต้นสั่งไม่ประทับฟ้องที่อัยการเป็นโจทก์ โดยเห็นว่าผู้ลงนามเป็นโจทก์นั้นไม่มีอำนาจเป็นโจทก์ ศาลอุทธรณ์ยกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาต่อไปนั้น จำเลยย่อมฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ เพราะคดีที่อัยการเป็นโจทก์เมื่อยื่นฟ้องก็ถือว่าผู้ถูกฟ้องตกเป็นจำเลยทันทีผิดกับคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ผู้ถูกฟ้องไม่เป็นจำเลยจนกว่าศาลจะประทับฟ้อง
(ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1440/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการฟ้องคดีอาญาของอัยการผู้ช่วย: อัยการผู้ช่วยมีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้
อัยการผู้ช่วยก็มีอำนาจลงนามเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาได้ เพราะอัยการผู้ช่วยก็เป็นพนักงานอัยการ(พ.ร.บ.อัยการ 2478มาตรา 11) จึงอาจเป็นโจทก์ในคดีอาญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(1) ประกอบกับพ.ร.บ.อัยการ 2478 มาตรา 19(1)
ศาลชั้นต้นสั่งไม่ประทับฟ้องที่อัยการเป็นโจทก์ โดยเห็นว่าผู้ลงนามเป็นโจทก์นั้นไม่มีอำนาจเป็นโจทก์ ศาลอุทธรณ์ยกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาต่อไปนั้น จำเลยย่อมฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ เพราะคดีที่อัยการเป็นโจทก์ เมื่อยื่นฟ้องก็ถือว่า ผู้ถูกฟ้องตกเป็นจำเลยทันที ผิดกับคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ผู้ถูกฟ้องไม่เป็นจำเลยจนกว่าศาลจะประทับฟ้อง (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 21/2493)