พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งคดีอาญาโดยอัยการพิเศษประจำเขต, การสอบสวนเพิ่มเติม, และเจตนาใส่ร้าย - ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษา
การที่จำเลยให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า"การที่อัยการเขต8(หมายถึงตัวโจทก์)สั่งกลับคำสั่งของอัยการจังหวัดไม่ให้ฟ้องนายโสภณกิจประสานเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหากก่อให้เกิดบรรทัดฐานเช่นนี้จะทำให้เกิดการทุจริตกันอย่างใหญ่โต..."และว่าจำเลยจะสอบสวนกรมอัยการซึ่งทุกวันนี้เละเทะจนไม่น่าจะปล่อยปละละเลยอีกต่อไปได้ประเด็นที่จะสอบคืออัยการพิเศษประจำเขต8สั่งไม่ฟ้องนายโสภณไม่รู้ว่าไปสอบสวนเพิ่มเติมจากพนักงานสอบสวนที่ไหนมาสั่งคดีสำคัญและเรื่องนี้จำเลยจะจัดการสะสางทั้งตัวเล็กและตัวใหญ่และว่าจำเลยรู้ว่ามีการรับเงินรับทองนั้นเป็นการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์สั่งไม่ฟ้องนายโสภณกิจประสานแม้โจทก์จะอ้างว่ามีอำนาจสั่งไม่ฟ้องนายโสภณแต่การสั่งไม่ฟ้องมีพฤติการณ์ที่ทำให้น่าสงสัยหลายประการและจำเลยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นและเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รับการร้องเรียนจากภริยาและมารดาผู้ตายว่าการที่โจทก์มีคำสั่งดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยเห็นว่าพฤติการณ์ในการสั่งไม่ฟ้องเป็นที่น่าสงสัยว่าจะเป็นการไม่ชอบประกอบกับเป็นคดีที่มีอิทธิพลซึ่งประชาชนรวมทั้งสื่อมวลชนให้ความสนใจเมื่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไปสัมภาษณ์ความเห็นของจำเลยจำเลยก็ให้สัมภาษณ์ไปตามความเห็นของตนแม้ถ้อยคำที่ใช้จะรุนแรงอยู่บ้างแต่ก็เห็นได้ว่าแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตและติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของจำเลยในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนและในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงกระทำเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามที่โจทก์ฟ้อง.
คดีที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเองและต้องห้ามฎีกาโดยมาตรา218,219และ220แห่งป.วิ.อ.ถ้าอธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัยก็รับฎีกาไว้พิจารณาได้ตามป.วิ.อ.มาตรา221.
คดีที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเองและต้องห้ามฎีกาโดยมาตรา218,219และ220แห่งป.วิ.อ.ถ้าอธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัยก็รับฎีกาไว้พิจารณาได้ตามป.วิ.อ.มาตรา221.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5234-5238/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของอัยการพิเศษ, การปรับบทลงโทษ, และความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
ตาม พ.ร.บ.องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 14 (2) ระบุว่าในคดีอาญาพนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ตาม ป.วิ.อ. และตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ ประกอบกับการมีคำสั่งมอบหมายของอัยการสูงสุดให้พนักงานอัยการ ซึ่งเป็นพนักงานแห่งท้องที่ตามเขตอำนาจศาลที่รับผิดชอบดำเนินคดีอาญาฟ้องจำเลย หาต้องมอบอำนาจให้กระทำการแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่องตัวแทน ดังนั้น การที่โจทก์ขอแก้ไขและเพิ่มเติมฟ้องในคดีที่จำเลยที่ 5 ที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 27 และที่ 34 โดยระบุว่า อัยการสูงสุดได้มอบหมายให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 รับผิดชอบฟ้องคดีและดำเนินคดีแทนอัยการสูงสุด จึงมิใช่เป็นการขอแก้ไขและเพิ่มเติมฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ให้เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 163 และ 164 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต