พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3033/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาอากรขาเข้าใหม่โดยศุลกากรชอบด้วยกฎหมาย แม้ราคาสำแดงไม่ตรงกับราคาตลาด
โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มภายหลังนำของไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า แม้โจทก์มิได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจะเรียกร้องเงินอากรที่ชำระเพิ่มคืนก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ในการฟ้องคดี
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง 4 ฉบับ ที่พิพาทเป็นราคาที่โจทก์ซื้อและเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่โจทก์นำเข้า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยย่อมมีอำนาจประเมินราคาใหม่ได้โดยปฏิบัติตามคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 44/2540 ว่าด้วยระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดราคาที่ใช้ในการประเมินอากรและการตรวจสอบใบขนสินค้าขาเข้า แม้คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรฉบับดังกล่าวจะมิใช่กฎหมายก็ตาม แต่ก็เป็นคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งใช้เป็นหลักปฏิบัติทั่วไป มิใช่เลือกปฏิบัติเฉพาะโจทก์ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าทั้ง 4 เที่ยวใหม่ จึงชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง 4 ฉบับ ที่พิพาทเป็นราคาที่โจทก์ซื้อและเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่โจทก์นำเข้า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยย่อมมีอำนาจประเมินราคาใหม่ได้โดยปฏิบัติตามคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 44/2540 ว่าด้วยระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดราคาที่ใช้ในการประเมินอากรและการตรวจสอบใบขนสินค้าขาเข้า แม้คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรฉบับดังกล่าวจะมิใช่กฎหมายก็ตาม แต่ก็เป็นคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งใช้เป็นหลักปฏิบัติทั่วไป มิใช่เลือกปฏิบัติเฉพาะโจทก์ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าทั้ง 4 เที่ยวใหม่ จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6842/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้าของผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการผลิตเพื่อส่งออก
จำเลยได้รับการส่งเสริมการลงทุนตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนพ.ศ. 2520 ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้สิทธิและประโยชน์แก่จำเลยโดยให้จำเลยได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้าดังกล่าว แต่มีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องนำวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่นำเข้าดังกล่าวนั้นไปใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก และไม่ปรากฏข้อยกเว้นให้จำเลยไม่ต้องเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้าในกรณีอื่น นอกเหนือจากข้อที่ให้นำวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศไปทำการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกไว้ จึงต้องถือว่าจำเลยจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้าดังกล่าวเพียงกรณีเดียวเป็นเด็ดขาดกล่าวคือ จำเลยต้องนำไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกเท่านั้น
พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 54 วรรคสองใช้ถ้อยคำว่า คณะกรรมการจะสั่งให้สำนักงานเตือนผู้ได้รับการส่งเสริมก่อนก็ได้ในกรณีที่ผู้ได้รับการส่งเสริมมิได้จงใจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข แสดงว่านอกจากในกรณีผู้ได้รับการส่งเสริมได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยจงใจ ซึ่งคณะกรรมการต้องเพิกถอนสิทธิและประโยชน์แล้ว แม้เป็นกรณีผู้ได้รับการส่งเสริมมิได้จงใจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข กฎหมายก็ยังให้อำนาจคณะกรรมการสามารถสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ เมื่อจำเลยนำเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้าตามฟ้อง 2 ครั้งหากจำเลยไม่ใช่ผู้ได้รับการส่งเสริมโดยได้รับสิทธิและประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระอากรขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้าตามฟ้องตั้งแต่ขณะนำเข้าเพราะวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ตามปกติแล้วผู้นำเข้าจะต้องเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้า เมื่อจำเลยเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้าในขณะนำเข้าในกรณีเช่นนี้ไปแล้ว แม้ต่อมาสินค้าดังกล่าวจะสูญหาย ถูกทำลาย หรือเกิดเหตุเพลิงไหม้เสียหายจำเลยก็หาอาจร้องขอคืนอากรขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับสินค้าที่เสียหายไปได้ไม่
จำเลยเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมได้รับสิทธิและประโยชน์โดยไม่ต้องชำระอากรขาเข้าและภาษีการค้าในขณะนำเข้า แต่จำเลยไม่ได้นำวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่นำเข้าดังกล่าวไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกเนื่องจากเกิดเพลิงไหม้ จึงไม่อาจนำไปผลิตสินค้าเพื่อส่งออกตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกรณีก็ต้องถือว่าจำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนดจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้า
พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 54 วรรคสองใช้ถ้อยคำว่า คณะกรรมการจะสั่งให้สำนักงานเตือนผู้ได้รับการส่งเสริมก่อนก็ได้ในกรณีที่ผู้ได้รับการส่งเสริมมิได้จงใจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข แสดงว่านอกจากในกรณีผู้ได้รับการส่งเสริมได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยจงใจ ซึ่งคณะกรรมการต้องเพิกถอนสิทธิและประโยชน์แล้ว แม้เป็นกรณีผู้ได้รับการส่งเสริมมิได้จงใจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข กฎหมายก็ยังให้อำนาจคณะกรรมการสามารถสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ เมื่อจำเลยนำเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้าตามฟ้อง 2 ครั้งหากจำเลยไม่ใช่ผู้ได้รับการส่งเสริมโดยได้รับสิทธิและประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระอากรขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้าตามฟ้องตั้งแต่ขณะนำเข้าเพราะวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ตามปกติแล้วผู้นำเข้าจะต้องเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้า เมื่อจำเลยเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้าในขณะนำเข้าในกรณีเช่นนี้ไปแล้ว แม้ต่อมาสินค้าดังกล่าวจะสูญหาย ถูกทำลาย หรือเกิดเหตุเพลิงไหม้เสียหายจำเลยก็หาอาจร้องขอคืนอากรขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับสินค้าที่เสียหายไปได้ไม่
จำเลยเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมได้รับสิทธิและประโยชน์โดยไม่ต้องชำระอากรขาเข้าและภาษีการค้าในขณะนำเข้า แต่จำเลยไม่ได้นำวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่นำเข้าดังกล่าวไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกเนื่องจากเกิดเพลิงไหม้ จึงไม่อาจนำไปผลิตสินค้าเพื่อส่งออกตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกรณีก็ต้องถือว่าจำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนดจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5871/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าต้องต่อเมื่อมีการส่งมอบสินค้าให้ผู้นำเข้าออกจากอารักขาของศุลกากรแล้ว
ผู้นำของเข้าจะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ส่งมอบจนถึงวันที่นำเงินมาชำระตามมาตรา 112 จัตวา แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ต่อเมื่อกรมศุลกากรโจทก์ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยผู้นำเข้านำสินค้าออกไปจากอารักขาของศุลกากรแล้วเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบสินค้ารถยนต์ให้จำเลยนำออกไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่จำเลยต้องนำมาชำระตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5871/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้า ต้องมีการส่งมอบสินค้าให้ผู้นำเข้าก่อน จึงจะมีผลบังคับใช้
ผู้นำของเข้าจะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ส่งมอบจนถึงวันที่นำเงินมาชำระตามมาตรา 112 จัตวา แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ต่อเมื่อกรมศุลกากรโจทก์ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยผู้นำเข้านำสินค้าออกไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบสินค้ารถยนต์ให้จำเลยนำออกไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่จำเลยต้องนำมาชำระตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร กรณีสำแดงราคานำเข้าต่ำกว่าราคาตลาด
การที่จะเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20 ตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ตรี นั้น มีได้เฉพาะ 2 กรณี คือ กรณีมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดในวรรคหนึ่งแห่งมาตรา 112 ทวิซึ่งสืบเนื่องจากการวางประกันค่าอากรตามมาตรา 112 ประการหนึ่ง กับกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดตามมาตรา 40 หรือมาตรา 45 อีกประการหนึ่ง
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่า จำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงให้จำเลยวางหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติมสูงกว่าจำนวนค่าอากรที่จำเลยได้สำแดงไว้ พร้อมทั้งประทับตรา "ตีราคา" ไว้หลังใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาและค่าภาษีอากรที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม และแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง โจทก์จึงเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่า จำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงให้จำเลยวางหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติมสูงกว่าจำนวนค่าอากรที่จำเลยได้สำแดงไว้ พร้อมทั้งประทับตรา "ตีราคา" ไว้หลังใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาและค่าภาษีอากรที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม และแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง โจทก์จึงเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้ากรณีสำแดงราคาต่ำกว่าราคาตลาด และไม่ชำระภายในกำหนดตามกฎหมายศุลกากร
การที่จะเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ตรี นั้นมิได้เฉพาะ 2 กรณี คือ กรณีมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดในวรรคหนึ่งแห่งมาตรา 112 ทวิ ซึ่งสืบเนื่องจากการวางประกันค่าอากรตามมาตรา 112 ประการหนึ่ง กับกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดตามมาตรา 40 หรือมาตรา 45 อีกประการหนึ่ง
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่า จำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงให้จำเลยวางหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติมสูงกว่าจำนวนค่าอากรที่จำเลยได้สำแดงไว้พร้อมทั้งประทับตรา "ตีราคา" ไว้หลังใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาและค่าภาษีอากรที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม และแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งโจทก์จึงเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่า จำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงให้จำเลยวางหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติมสูงกว่าจำนวนค่าอากรที่จำเลยได้สำแดงไว้พร้อมทั้งประทับตรา "ตีราคา" ไว้หลังใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาและค่าภาษีอากรที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม และแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งโจทก์จึงเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาและเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าเมื่อสำแดงราคาสินค้าน้อยกว่าราคาตลาด
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 มีความเห็นว่าจำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงให้จำเลยวางหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติมพร้อมทั้งประทับตรา "ตีราคา" ไว้หลังใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรแล้ว เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาและค่าภาษีอากรที่จำเลยต้องชำระเพิ่มและแจ้งให้จำเลยทราบ แต่จำเลยมิได้ชำระเงินให้ครบถ้วนภายในกำหนดระยะเวลา กรณีของจำเลยจึงอยู่ในข่ายที่โจทก์จะเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ตรีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8174/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าเมื่อผิดเงื่อนไขการนำเข้าเพื่อผลิตส่งออก และการประเมินราคาต่ำกว่าราคาตลาด
การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20 ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ตรี มีได้เฉพาะ 2 กรณี คือ 1. กรณีไม่ได้ชำระเงินอากรครบถ้วนตามมาตรา 112 ทวิ และ 2. กรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 40 หรือ 45
สินค้าพิพาทตามรายการที่ 1 จำเลยนำเข้าสินค้าโดยแสดงความจำนงว่าจะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้า โดยวางหนังสือค้ำประกันของธนาคาร แล้วจำเลยไม่ได้นำสินค้าไปผลิตเพื่อส่งออกให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี จำเลยจึงไม่มีสิทธิในการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 112 ตรี และการที่จำเลยนำสินค้าออกไปจากอารักขาของศุลกากรโดยได้วางประกันไว้เป็นหนังสือของธนาคารถือว่าเป็นกรณีที่ยังไม่ได้ชำระอากรไว้ตามที่โจทก์อุทธรณ์นั้น เมื่อเกิดกรณีที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้ว โจทก์ที่ 1 ก็มีสิทธิเรียกให้ธนาคารที่เป็นประกันชำระเงินได้ทันทีอยู่แล้ว จะถือว่าการที่จำเลยไม่ชำระค่าอากรเป็นการผิดบทบัญญัติตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 112 ตรี แล้วไม่ได้
ส่วนสินค้าพิพาทตามรายการที่ 2 แม้จำเลยนำสินค้าเข้าโดยแสดงความจำนงว่าจะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้า โดยวางหนังสือค้ำประกันของธนาคารและมิได้นำสินค้าไปผลิตเพื่อส่งออกภายใน 1 ปี เช่นกัน แต่เนื่องจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่าจำเลยสำแดงราคาต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงทำการประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้น การประเมินดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลยสำแดงราคาสินค้าไม่ถูกต้อง กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการที่ผู้นำเข้าจะนำของออกจากอารักขาของศุลกากรตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้
สินค้าพิพาทตามรายการที่ 1 จำเลยนำเข้าสินค้าโดยแสดงความจำนงว่าจะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้า โดยวางหนังสือค้ำประกันของธนาคาร แล้วจำเลยไม่ได้นำสินค้าไปผลิตเพื่อส่งออกให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี จำเลยจึงไม่มีสิทธิในการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 112 ตรี และการที่จำเลยนำสินค้าออกไปจากอารักขาของศุลกากรโดยได้วางประกันไว้เป็นหนังสือของธนาคารถือว่าเป็นกรณีที่ยังไม่ได้ชำระอากรไว้ตามที่โจทก์อุทธรณ์นั้น เมื่อเกิดกรณีที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้ว โจทก์ที่ 1 ก็มีสิทธิเรียกให้ธนาคารที่เป็นประกันชำระเงินได้ทันทีอยู่แล้ว จะถือว่าการที่จำเลยไม่ชำระค่าอากรเป็นการผิดบทบัญญัติตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 112 ตรี แล้วไม่ได้
ส่วนสินค้าพิพาทตามรายการที่ 2 แม้จำเลยนำสินค้าเข้าโดยแสดงความจำนงว่าจะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้า โดยวางหนังสือค้ำประกันของธนาคารและมิได้นำสินค้าไปผลิตเพื่อส่งออกภายใน 1 ปี เช่นกัน แต่เนื่องจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่าจำเลยสำแดงราคาต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงทำการประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้น การประเมินดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลยสำแดงราคาสินค้าไม่ถูกต้อง กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการที่ผู้นำเข้าจะนำของออกจากอารักขาของศุลกากรตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8174/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้า กรณีไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการขอคืนอากรและสำแดงราคาต่ำกว่าราคาตลาด
การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20 ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 112 ตรี นั้น มีได้เฉพาะ 2 กรณีคือ 1. กรณีไม่ได้ชำระเงินอากรครบถ้วนตามมาตรา 112 ทวิ และ 2. กรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 40 หรือ 45 แต่คดีนี้ปรากฏว่าสินค้าพิพาทตามรายการที่ 1 จำเลย นำเข้าสินค้าโดยแสดงความจำนงว่าจะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้า โดยวางหนังสือค้ำประกันของธนาคาร แล้วจำเลยไม่ได้นำสินค้าไปผลิตเพื่อส่งออกให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี จำเลยจึงไม่มีสิทธิในการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 112 ตรี และการที่จำเลยนำสินค้าออกไปจากอารักขาของศุลกากรโดยได้วางประกันไว้เป็นหนังสือของธนาคารซึ่งเป็นการยังไม่ได้ชำระค่าอากรไว้นั้น เมื่อเกิดกรณีที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้ว โจทก์ที่ 1 ก็มีสิทธิเรียกให้ธนาคารที่เป็นประกันชำระเงินได้ทันทีอยู่แล้ว จะถือว่าการที่จำเลยไม่ชำระเงินค่าอากรเป็นการผิดบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 112 ตรี แล้วไม่ได้ ส่วนสินค้าพิพาทตามรายการที่ 2 พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่าจำเลยสำแดงราคาต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงทำการประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้นการประเมินดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลยยื่นใบขนสินค้าไม่ถูกต้อง กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการที่ผู้นำเข้าจะนำของออกจากอารักขาของศุลกากรตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งออกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้เสียสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้า แม้ผู้นำเข้าจะอ้างว่าไม่ทราบการกระทำของผู้ส่งออก
แม้มาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 ประกอบมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 19 และ ข้อ 9 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 จะเพียงแต่ บัญญัติให้ผู้นำเข้าต้องส่งสินค้าที่ผลิตด้วยของที่นำเข้า ดังกล่าวออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันนำเข้า จึงจะได้รับคืนเงินอากรขาเข้าก็ตาม แต่การส่งออก ดังกล่าวต้องเป็นการส่งออกโดยชอบตามมาตรา 45แห่ง พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งบัญญัติให้ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติศุลกากรและกฎหมาย อื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรและยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้องด้วยการที่บริษัทว.ส่งสินค้าของโจทก์ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ ทั้งยังระบุใน ใบกำกับสินค้าว่าส่งออกไปยังเมืองฮ่องกงนั้น ถือเป็นการส่งออกที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 45 ซึ่งการกระทำดังกล่าวผูกพันโจทก์ด้วย โจทก์จะอ้างว่าตนไม่ทราบถึงการกระทำของบริษัทดังกล่าวหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยคืนเงินอากรขาเข้าตาม พระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 19 ทวิ