คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อากรเกิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4452/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนอากรเกินเมื่อสำแดงพิกัดผิด กรมศุลกากรต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและภาษาที่ใช้
การเรียกร้องขอคืนอากรที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงจะต้องเป็นกรณีผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก่อนการส่งมอบหรือส่งออกว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากรที่ชำระไว้เกินนั้นประการหนึ่งกับพนักงานเจ้าหน้าที่พึงต้องรู้อยู่ก่อนส่งมอบหรือส่งออกว่าอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสียสำหรับของที่ส่งมอบหรือส่งออกอีกประการหนึ่ง ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา10 วรรคห้า การที่โจทก์นำเข้ากล้องถ่ายโทรทัศน์ซึ่งเป็นของตามพิกัดประเภทที่ 8525.30 ต้องเสียอากรร้อยละ 5 โดยยื่นใบขนสินค้าและแบบแสดงรายการการค้าว่าเครื่องบันทึกภาพวีดีโอครบชุด มีภาษาอังกฤษกำกับไว้ว่า "1/2InchHSCompactMovie,CameraW/Accessories" และเสียอากรร้อยละ 30 ตามพิกัดประเภทที่ 8521.10 ซึ่งไม่ถูกต้อง กรณีนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยพึงต้องรู้ เพราะใบขนสินค้านั้นจะทำขึ้นเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 113 จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องคัดเลือกพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความเข้าใจภาษาอังกฤษพอสมควรมาทำหน้าที่ตรวจสอบใบขนสินค้าและตรวจสอบของก่อนสั่งปล่อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4929/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนค่าอากร และการประเมินราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 40 กำหนดให้โจทก์สามารถนำสินค้าออกจากอารักขาของศุลกากรได้โดยชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกันก็ได้ แต่โจทก์เลือกชำระค่าภาษีอากรตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนด ถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีอากรส่วนที่เกินโดยสมัครใจ การฟ้องเรียกร้องขอคืนเงินอากรส่วนที่เสียไว้เกินจึงต้องนำอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 10 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ โจทก์มาฟ้องเรียกร้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า คดีจึงขาดอายุความ ลวดเหล็กชุบ ทองแดง สินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้าจากต่างประเทศใช้ผลิตยางรถยนต์ ส่วนสินค้าของบริษัท อ. ใช้ผลิตยางรถจักรยานยนต์และต่างมีขนาดหน้าตัดไม่เท่ากัน ทั้งมีปริมาณการนำเข้าแต่ละครั้งแตกต่างกันมาก ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นสินค้าชนิดและประเภทเดียวกันหรือใกล้เคียงกันพอที่จะเปรียบเทียบราคากันได้ จึงไม่อาจนำราคาสินค้าของบริษัท อ. มาประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาท ขณะที่โจทก์นำเข้าได้ เมื่อไม่มีหลักเกณฑ์ที่จะชี้ให้เห็นได้ว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาทควรจะเป็นอย่างอื่น จึงพออนุมานได้ว่าราคาสินค้าพิพาทตามที่โจทก์ซื้อมานั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด.