พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5257/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับจ้างกรณีอาคารชำรุดหลังหมดอายุความรับประกัน และขอบเขตการรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่ง
สัญญาก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กบนพื้นดินระบุไว้ว่าถ้างานที่จ้างเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลา1 ปี ผู้รับจ้างต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย หมายความว่าแม้จะเลยกำหนดระยะเวลา1 ปีแล้ว หากมีความชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันส่งมอบงานที่จ้าง ผู้รับจ้างก็ยังต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องอันเกิดกับงานที่จ้างนั้นตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 600 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 276-281/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองสั่งรื้อถอนอาคารชำรุด – รัฐมนตรีชี้ขาดเป็นที่สุด – ศาลยืนตาม
พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองพ.ศ. 2503 ให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นคณะกรรมการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริง ถ้าเห็นว่าอาคารชำรุดทรุดโทรม น่ารังเกียจ ไม่อาจแก้ไขได้ก็สั่งให้รื้อถอนได้ รัฐมนตรีชี้ขาดยกอุทธรณ์แล้วให้เป็นที่สุด เมื่อไม่ปรากฏว่าได้กลั่นแกล้งหรือไม่สุจริต ไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนคำสั่งนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2141/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญายอมความที่ยังไม่ปลอดจำนองและอาคารชำรุด ศาลฎีกาพิพากษางดการบังคับคดี
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมขายที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้โจทก์โดยปลอดจำนอง ศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังมิได้ทำที่ดินและอาคารพิพาทให้ปลอดจำนองตามสัญญาและโจทก์อ้างว่าอาคารพิพาทชำรุดบกพร่อง ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์โจทก์ขำระค่าที่ดินและอาคารพิพาทตามคำขอของจำเลยนั้นเป็นการไม่ชอบและเมื่ออาคารพิพาทยังไม่ปลอดจำนอง จึงมีเหตุสมควรงดการบังคับคดีไว้ก่อน
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2521)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2521)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2141/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความซื้อขายที่ดินพร้อมอาคาร: ศาลฎีกาวางหลักงดบังคับคดีหากที่ดินยังไม่ปลอดจำนองและอาคารชำรุด
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมขายที่ดินพร้อมอาคารพิพาทให้โจทก์โดยปลอดจำนอง ศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังมิได้ทำที่ดินและอาคารพิพาทให้ปลอดจำนองตามสัญญาและโจทก์ก็อ้างว่าอาคารพิพาทชำรุดบกพร่อง ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์โจทก์ชำระค่าที่ดิน และอาคารพิพาทตามคำขอของจำเลยนั้นเป็นการไม่ชอบ และเมื่ออาคารพิพาทยังไม่ปลอดจำนอง จึงมีเหตุสมควรงดการบังคับคดีไว้ก่อน(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2521)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2140/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของ/ผู้ครอบครองอาคารต่อความเสียหายจากอาคารชำรุด
จำเลยให้เช่าตึกของจำเลยทั้งสามชั้น แต่จำเลยยังใช้ตึกของจำเลยบางส่วนเป็นที่ตั้งบริษัทและสำนักงานของจำเลยอยู่ ถือว่าจำเลยยังครองตึกของจำเลยอยู่หากความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นเพราะเหตุที่ตึกของจำเลยก่อสร้างไว้ ชำรุดบกพร่องหรือบำรุงรักษาไม่เพียงพอ จำเลยซึ่งเป็นทั้งผู้ครองและเจ้าของตึกจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2140/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของอาคารมีหน้าที่รับผิดชอบความเสียหายจากอาคารชำรุด แม้จะให้เช่าบางส่วน
จำเลยให้เช่าตึกของจำเลยทั้งสามชั้นแต่จำเลยยังใช้ตึกของจำเลยบางส่วนเป็นที่ตั้งบริษัทและสำนักงานของจำเลยอยู่ ถือว่าจำเลยยังครองตึกของจำเลยอยู่ หากความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นเพราะเหตุที่ตึกของจำเลยก่อสร้างไว้ชำรุดบกพร่องหรือบำรุงรักษาไม่เพียงพอ จำเลยซึ่งเป็นทั้งผู้ครองและเจ้าของตึกจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้ออาคารชำรุดและการบังคับผู้อยู่อาศัย: ศาลไม่อาจบังคับผู้อยู่อาศัยในคดีรื้อถอน หากไม่ได้ฟ้องเป็นคดีแยก
เทศบาลฟ้องขอให้จำเลยรื้ออาคารเพราะอาคารชำรุดตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างฯ ศาลพิพากษาให้จำเลยจัดการรื้อจำเลยว่ารื้อไม่ได้เพราะมีคนเช่าอยู่และอาศัยอยู่เช่นนี้โจทก์ชอบที่จะดำเนินการตาม พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร มาตรา 11,12 จะมาร้องขอให้ศาลบังคับผู้อาศัย ผู้เช่าให้ออกจากที่พิพาทไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น ต้องฟ้องเขาเป็นคดีต่างหากจึงจะบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4805/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการก่อสร้างอาคารชำรุด วิศวกรควบคุมงานต้องรับผิดร่วมกับผู้ก่อสร้างและเจ้าของโครงการ
การที่จำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าอาคารทาวน์เฮาส์ที่ขายให้โจทก์ก่อสร้างผิดไปจากแบบที่ขออนุญาตจากทางราชการ ยังยืนยันต่อโจทก์ว่าอาคารดังกล่าวได้ถูกออกแบบมาอย่างดีถูกต้องตามหลักวิศวกรรมไม่จำต้องมีเสากลางอาคาร จึงเป็นการจงใจปกปิดข้อความจริงเพื่อจูงใจให้โจทก์ซื้ออาคาร เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเมื่อเข้าอยู่อาศัยในอาคารได้ 1 ปีเศษ อาคารเริ่มแตกร้าว พื้นอาคารชั้นล่างแตกและโก่งงอ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังได้ตรวจสอบแล้วพบว่าฐานรากของอาคารเอียงและบิดตัว ตำแหน่งศูนย์กลางของเข็มและเสาเยื้องกันมากทำให้เกิดการแตกร้าวของโครงสร้าง อาคารดังกล่าวไม่ปลอดภัยในการอยู่อาศัยควรจะทุบและรื้อถอน ซึ่งโจทก์ได้ทุบและรื้อถอนอาคารนั้นแล้ว ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการก่อสร้างอาคารดังกล่าวของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งผิดไปจากแบบที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
จำเลยที่ 4 เป็นฐานะวิศวกรผู้ควบคุมงานก่อสร้างไม่ได้ใช้ความรู้ในวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมการก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบเพื่อให้อาคารมีความมั่นคงและปลอดภัยในการอยู่อาศัย ทั้งเข้าควบคุมงานก่อสร้างอาคารและขออนุญาตก่อสร้างจากทางราชการให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยได้รับค่าตอบแทนจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือแม้จะฟังว่าลายมือชื่อวิศวกรและผู้ควบคุมงานก่อสร้างเป็นลายมือชื่อปลอมก็มีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ยินยอมให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลงลายมือชื่อจำเลยที่ 4 ในช่องวิศวกรและผู้ควบคุมงาน และยินยอมให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของจำเลยที่ 4 ไปใช้ในการยื่นขออนุญาตก่อสร้างอาคารดังกล่าวต่อสำนักงานเขต โดยได้รับค่าตอบแทนจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 การกระทำของจำเลยที่ 4 ถือได้ว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนอาคารและค่าสูญเสียตัวอาคารอันทำให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการใช้สอยอาคารหรือนำอาคารออกขายให้แก่ผู้อื่นแม้โจทก์มิได้นำสืบว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงินจำนวนเท่าใด แต่ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายในส่วนนี้เนื่องจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 4 เป็นฐานะวิศวกรผู้ควบคุมงานก่อสร้างไม่ได้ใช้ความรู้ในวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมการก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบเพื่อให้อาคารมีความมั่นคงและปลอดภัยในการอยู่อาศัย ทั้งเข้าควบคุมงานก่อสร้างอาคารและขออนุญาตก่อสร้างจากทางราชการให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยได้รับค่าตอบแทนจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือแม้จะฟังว่าลายมือชื่อวิศวกรและผู้ควบคุมงานก่อสร้างเป็นลายมือชื่อปลอมก็มีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ยินยอมให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลงลายมือชื่อจำเลยที่ 4 ในช่องวิศวกรและผู้ควบคุมงาน และยินยอมให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของจำเลยที่ 4 ไปใช้ในการยื่นขออนุญาตก่อสร้างอาคารดังกล่าวต่อสำนักงานเขต โดยได้รับค่าตอบแทนจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 การกระทำของจำเลยที่ 4 ถือได้ว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนอาคารและค่าสูญเสียตัวอาคารอันทำให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการใช้สอยอาคารหรือนำอาคารออกขายให้แก่ผู้อื่นแม้โจทก์มิได้นำสืบว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงินจำนวนเท่าใด แต่ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายในส่วนนี้เนื่องจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการซ่อมแซมอาคารชำรุด: ไม่ใช่ 1 ปี แต่ใช้ 10 ปีตามสัญญา
โจทก์จ้างจำเลยที่ 1 ออกแบบก่อสร้าง ทำการก่อสร้างและควบคุมการก่อสร้างอาคารที่ทำการสื่อสารโทรคมนาคมยานนาวาตามสัญญาว่าจ้าง โดยมีข้อตกลงในการประกันผลงานในข้อ 5.3 ซึ่งให้สิทธิโจทก์ในฐานะผู้ว่าจ้างในการดำเนินการแก้ไขซ่อมแซมหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดได้เองในกรณีที่เกิดการชำรุดเสียหายแก่อาคารซึ่งเหตุชำรุดเสียหายเกิดจากความบกพร่องของผู้รับจ้าง และโจทก์ได้แจ้งให้ผู้รับจ้างต้องรีบทำการแก้ไข ซ่อมแซมภายในระยะเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนดแล้ว แต่ผู้รับจ้างไม่ดำเนินการแก้ไขซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องให้เสร็จภายในเวลาที่โจทก์กำหนด โดยผู้รับจ้างยินยอมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด นอกจากนี้สัญญาว่าจ้างข้อ 10.2 ในกรณีที่ผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญา ยังให้สิทธิโจทก์ที่จะว่าจ้างผู้อื่นมาทำงานแทนผู้รับจ้างได้โดยมิต้องบอกกล่าวหรือให้ผู้รับจ้างยินยอมแต่อย่างใด และค่าใช้จ่ายทั้งหมดผู้รับจ้างยินยอมให้โจทก์เรียกร้องจากผู้รับจ้างทั้งหมด สัญญาข้อที่ 10.2 นี้อยู่ในส่วนของเงื่อนไขทั่วไปของสัญญาว่าจ้าง จึงไม่ใช่ใช้เฉพาะกรณีที่งานของจำเลยที่ 1 ยังไม่แล้วเสร็จเท่านั้น แต่ใช้ได้ตลอดเวลาที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีนิติสัมพันธ์กันอยู่และยังเป็นข้อตกลงตามสัญญาอย่างหนึ่งที่ให้สิทธิโจทก์ในการว่าจ้างบุคคลภายนอกทำงานแทนผู้รับจ้างได้ในกรณีที่ผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญา สำหรับกรณีคำฟ้องของโจทก์ไม่ใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดพบพร่องอันมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 601 เพราะบทบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับกรณีที่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 กล่าวคือ ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญา เมื่อได้ส่งมอบงานกันแล้วปรากฏว่างานที่ว่าจ้างมีการชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นภายหลังจึงกำหนดให้ฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันการชำรุดบกพร่องปรากฏขึ้น แต่กรณีคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกค่าจ้างตามที่มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นพิเศษ โจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นซึ่งผูกพันกันอีกส่วนหนึ่งต่างหากตามสัญญา กรณีนี้จึงไม่ใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 601 ทั้งกรณีของโจทก์ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ดังนั้น เมื่อโจทก์พบความชำรุดบกพร่องในวันที่ 9 สิงหาคม 2545 และแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทำการซ่อมแซมแก้ไขอาคารรวม 2 ครั้งแล้วแต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะว่าจ้างบุคคลภายนอกทำการซ่อมแซมแทนจำเลยที่ 1 ได้ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชอบค่าจ้างที่โจทก์เสียไปทั้งหมดตามสัญญาข้างต้น โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2549 ซึ่งนับแต่วันที่พบความชำรุดบกพร่องถึงวันฟ้องยังไม่เงิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ