คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อาคารผิดกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และการบังคับใช้ข้อบัญญัติความปลอดภัยอาคาร
โจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางเดินหลังอาคารและพื้นชั้นลอย อันเป็นการต่อเติมดัดแปลงอาคารพิพาทให้ผิดไปจากแบบ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และมาตรา 43 ที่ให้อำนาจไว้ ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เคยฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่มีคำสั่งให้จำเลยทั้งสาม รื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมดังกล่าว และศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้มิให้ยกข้อเท็จจริงที่ยุติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเป็นประการอื่น สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็น เจ้าของที่ดินที่อาคารพิพาทตั้งอยู่จึงมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกความรับผิดออกจากกันได้ จำเลยที่ 3 จะโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นเป็นประการอื่นไม่ได้เช่นกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัย จึงมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกัน เมื่ออาคารพิพาทของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับของข้อบัญญัติดังกล่าว จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2514/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้ออาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ต้องพิจารณาความสามารถในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่ผิดกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ขอให้ลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 มาตรา 66 ทวิ วรรคสอง ซึ่งความผิดฐานขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารได้ตามกฎหมายหรือนัยหนึ่งคำสั่งดังกล่าวต้องเป็นคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายและได้มีการแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
อำนาจในการสั่งให้รื้อถอนอาคาร พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 บัญญัติว่า ถ้าการกระทำตามมาตรา 40 เป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ หรือเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 41 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ดำเนินการรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยให้ดำเนินการรื้อถอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 (11)หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ข้อเท็จจริงที่ว่าอาคารส่วนที่ก่อสร้างโดยผิดกฎหมายของจำเลยสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่จึงเป็นสาระสำคัญในการพิจารณาถึงอำนาจในการออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารของเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่ฟ้องโจทก์บรรยายเพียงว่า จำเลยได้บังอาจก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเทศบาลเมืองอุดรธานีและเป็นแบบแปลนที่ไม่อาจอนุญาตให้ก่อสร้างได้อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ย่อมไม่พอแปลหรือไม่อาจอนุมานได้ว่าเป็นกรณีเดียวกันกับที่กฎหมายบัญญัติว่า ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นการตีความให้เป็นผลร้ายเพื่อลงโทษจำเลย เมื่อฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่า การกระทำของจำเลยเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามบทบัญญัติใน มาตรา 42 กรณีย่อมรับฟังไม่ได้ว่า มีกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะใช้อำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ การที่จำเลยไม่รื้อถอนอาคารจึงไม่มีความผิด
ปัญหาที่ว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารชอบหรือไม่ ย่อมกระทบกระเทือนถึงความสงบสุขและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร แต่ดำเนินการก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต จึงไม่อาจปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 ซึ่งเป็นกรณีก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6247/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการสั่งแก้ไข/รื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จำเลยที่สั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาท โดยจำเลยอ้างเหตุว่าส่วนที่ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นมีการดัดแปลงต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522 ข้อ 75, 76 (1) (4) แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องยืนยันว่าอาคารพิพาทไม่มีการดัดแปลงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครตามคำสั่งดังกล่าว ดังนี้ คดีไม่มีประเด็นว่า อาคารพิพาทมีส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือไม่ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า อาคารพิพาทมีส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจริงซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจอนุญาตให้ดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทในส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเช่นนั้นได้
เมื่อมีการดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 (มาตรา 22 เดิม)เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอใบอนุญาตหรือให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522(ฉบับเดิม) มาตรา 40 และ 43 วรรคหนึ่ง และถ้าเจ้าของอาคารไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควรได้ตามมาตรา 43 วรรคสาม และแม้ต่อมามีการแก้ไข พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ก็ยังคงบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีต่าง ๆดังกล่าวมาแล้วนั้นไว้เช่นเดิม โดยเพียงแต่แก้ไขนำไปบัญญัติเป็นข้อความในมาตรา40, 41 และ 42 เท่านั้น ดังนี้แม้เจ้าพนักงานเพิ่งตรวจพบในปี พ.ศ.2536 ว่าอาคารพิพาทมีส่วนที่ดัดแปลงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้โดยชอบ ไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้กระทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทเองหรือไม่ก็ตาม และเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารพิพาทได้โดยชอบ
เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์เพียงพอที่จะนำไปวินิจฉัยข้อกฎหมายได้แล้ว คดีไม่จำเป็นต้องสืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดสืบพยานได้
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 ที่กำหนดระยะเวลาให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จภายในกำหนดนั้นเมื่อไม่ได้กำหนดสภาพบังคับไว้ว่าถ้าวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลานั้นแล้วถือเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ดังนั้น แม้จะวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ยังคงถือเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีประธานกรรมการไม่ได้เข้าประชุม ซึ่งที่ประชุมสามารถเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานได้ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522มาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 17 ดังนี้ คำวินิจฉัยในการประชุมเช่นนี้เป็นคำวินิจฉัยที่ชอบแล้ว
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ฉบับที่ใช้บังคับเดิมและพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ที่แก้ไขใหม่ ต่างก็บัญญัติให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคารแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารให้ถูกต้อง หากไม่ปฏิบัติตามก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารในส่วนที่เห็นสมควรได้ และเมื่อคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะอ้างบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ภายหลังการก่อสร้างอาคารพิพาท ก็มิใช่เหตุทำให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลายเป็นไม่ชอบแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8379/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารที่ผิดกฎหมาย: ข้อบัญญัติควบคุมอาคารและการดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมาย
ด้านหน้าอาคารพิพาทมิได้ร่นแนวอาคาร และด้านหลังอาคารพิพาทมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งปกคลุมผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 72 วรรคสาม และข้อ 76 (1) และ(4) ตามลำดับ ซึ่งโดยสภาพเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ ส่วนชั้นลอยที่ต่อเติมจากแบบแปลนซึ่งตามแบบแปลนชั้นลอยอยู่ช่วงหลังของอาคารระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นสองของอาคารถูกต่อเติมพื้นจนจดด้านหน้าของอาคารมีลักษณะเป็นการเพิ่มชั้นของอาคารขึ้นอีกหนึ่งชั้นมีเนื้อเกินกว่าร้อยละสี่สิบของพื้นที่ทั้งหมดของห้อง ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 35 วรรคท้าย ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้เช่นกันโจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของอาคารพิพาทรื้อถอนอาคารทั้งสามส่วนดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 วรรคหนึ่ง (เดิม)และมีอำนาจร้องขอให้ศาลบังคับให้มีการรื้อถอนตาม มาตรา 42 วรรคสาม (เดิม)
สำหรับชั้นดาดฟ้าซึ่งถูกก่อสร้างต่อเติมผิดไปจากแบบแปลน ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นการผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 30 (1) นั้น เป็นกรณีที่อาจขออนุญาตได้ โจทก์ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง (เดิม)คือสั่งให้จำเลยที่ 3 แก้ไขเปลี่ยนแปลงชั้นดาดฟ้านั้นให้ถูกต้องเสียก่อน หากจำเลยที่ 3ไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงชั้นดาดฟ้าให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด โจทก์จึงจะมีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 3 รื้อถอนชั้นดาดฟ้าที่ก่อสร้างไม่ถูกตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตได้ตามมาตรา 43 วรรคสาม (เดิม) เมื่อโจทก์ยังมิได้ดำเนินการตาม มาตรา 43 (เดิม)จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4780/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของอาคารมีหน้าที่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างผิดกฎหมาย แม้ไม่รู้เห็นการก่อสร้าง
จำเลยที่ 2 ก่อสร้างต่อเติมอาคารพิพาทผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตเจ้าพนักงานมีคำสั่งให้รื้อถอน จำเลยที่ 2 เพิกเฉย ต่อมาจำเลยที่ 1 รับโอนอาคารพิพาทมา แม้จำเลยที่ 1 จะไม่รู้เห็นในการต่อเติมอาคารดังกล่าว แต่เมื่อเจ้าพนักงานของโจทก์มีคำสั่งแจ้งให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ยอมรื้อถอน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีขอให้บังคับให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนอาคารพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4672/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจศาลในการบังคับรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และความรับผิดของผู้ก่อสร้าง
บทบัญญัติตามมาตรา 42 วรรคสามแห่ง พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯมิได้บังคับเป็นการเด็ดขาดว่า ศาลจะต้องให้เจ้าของอาคารร่วมรับผิดในการรื้อถอนเสมอไปแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจตามควรแก่กรณีว่าสมควรจะให้ผู้ใดเป็นผู้รับผิดในการรื้อถอน เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารมิได้ยินยอมอนุญาตให้มีการปลูกสร้างอาคารโรงจอดรถที่ต้องถูกรื้อถอน ทั้งเป็นผู้มาแจ้งให้เจ้าพนักงานทราบถึงการปลูกสร้างที่ผิดแบบ จึงไม่สมควรให้จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในการรื้อถอนด้วย ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการปลูกสร้างอาคารดังกล่าวต้องรับผิดในการรื้อถอน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารผิดกฎหมายเป็นของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องอาญาเท่านั้น
อำนาจในการสั่งให้รื้อถอนอาคารในกรณีที่มีผู้ต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เป็นอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40 และ 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ฐานะของผู้เสียหายตามมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีเพียงสิทธิในการดำเนินคดีในทางอาญาต่อผู้กระทำความผิดเท่านั้น ผู้เสียหายดังกล่าวหามีอำนาจที่จะฟ้องบังคับจำเลยเพื่อให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมผิดกฎหมายอันเป็นอำนาจหน้าที่ในทางแพ่งโดยเฉพาะของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย: ศาลตัดสินว่าสิทธิเป็นของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ไม่ใช่ผู้เสียหาย
อำนาจในการที่จะสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ผิดกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ในทางแพ่งโดยเฉพาะของเจ้าพนักงานท้องถิ่นฐานะของผู้เสียหายตามมาตรา73มีเพียงสิทธิในการดำเนินคดีในทางอาญาต่อจำเลยผู้กระทำความผิดเท่านั้นหาได้มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมผิดกฎหมายด้วยไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้ออาคารผิดกฎหมาย: เจ้าพนักงานท้องถิ่นเท่านั้นที่ทำได้ ผู้เสียหายฟ้องบังคับไม่ได้
อำนาจในการสั่งให้รื้อถอนอาคารในกรณีที่มีผู้ต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เป็นอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา40และ42แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522ฐานะของผู้เสียหายตามมาตรา73แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีเพียงสิทธิในการดำเนินคดีในทางอาญาต่อผู้กระทำความผิดเท่านั้นผู้เสียหายดังกล่าวหามีอำนาจที่จะฟ้องบังคับจำเลยเพื่อให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมผิดกฎหมายอันเป็นอำนาจหน้าที่ในทางแพ่งโดยเฉพาะของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายอาคารย้อนหลังกับผู้ซื้ออาคารที่ผิดกฎหมายเดิม การสั่งรื้ออาคารจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตแล้วไม่รื้อถอนตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ต่อมาจำเลยที่ 2 โอนขายที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 ในขณะที่อยู่ระหว่างการใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพุทธศักราช 2479ซึ่งตามมาตรา 11 ทวิ โจทก์ไม่มีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ใช่ผู้ปลูกสร้างอาคารตามมาตรา11 รื้อถอนอาคารพิพาทได้แม้ต่อมากฎหมายนี้จะถูกยกเลิกและใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แทนซึ่งมาตรา 40 ประกอบด้วยมาตรา 42 ให้อำนาจโจทก์สั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนอาคารนั้นได้ก็จะนำมาใช้กับจำเลยที่ 1 อันเป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังที่มีผลเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้เป็นผู้ปลูกสร้างอาคารพิพาทไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนอาคารพิพาท
of 2