คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อาคารสูง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 721/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตดัดแปลงอาคารสูง ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง การฟ้องต้องระบุสิทธิที่ชัดเจน
พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 50 บัญญัติว่า ให้มีคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และมาตรา 51 (1) บัญญัติว่า ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ส่วนมาตรา 52 วรรคสี่ บัญญัติว่า ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสนอคดีต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 ซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์แล้วมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่เห็นด้วย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 ได้
คำสั่งที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนนั้น แม้จะลงนามโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการโยธา แต่ก็เป็นการลงนามในฐานะเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนั้น ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงคือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 หาใช่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนไม่ ทั้งกรณีไม่ใช่การฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
แม้โจทก์จะฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตตามคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารก็ตาม แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิโดยชอบที่จะดัดแปลงอาคารพิพาทของโจทก์ชั้นที่ 5 ซึ่งเดิมใช้เป็นที่จอดรถยนต์ให้เป็นโรงมหรสพ ตามคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่กลับบรรยายฟ้องยืนยันว่าคำขอดังกล่าวเป็นคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารพิพาทระหว่างชั้นที่ 6 และที่ 7 ซึ่งไม่ตรงกับข้อความที่ระบุในคำขออนุญาตดัดแปลงอาคาร เท่ากับโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 11 โต้แย้งสิทธิของโจทก์ในการขออนุญาตดัดแปลงอาคารพิพาทที่บริเวณชั้น 5 แม้โจทก์จะแนบสำเนาคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารมาท้ายฟ้องก็ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ เพราะตามคำฟ้องไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการดัดแปลงอาคารพิพาทที่บริเวณชั้น 5 ว่าเข้าข้อยกเว้นข้อ 49 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 33ฯ หรือไม่ ศาลไม่อาจพิพากษาบังคับคดีให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2524/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ชอบด้วยกฎหมาย: การปิดหมายที่สำนักงานในอาคารสูง และการจงใจขาดนัด
อาคารที่ตั้งสำนักงานของจำเลยที่ 1 เป็นตึกสูง 20 ชั้นในอาคารนั้นเป็นที่ตั้งสำนักงานบริษัทอื่น ๆ ประมาณ50 บริษัท สำนักงานของจำเลยที่ 1 อยู่ที่ชั้น 19ซึ่งตามปกติพนักงานของศาลที่ไปส่งหมายต่าง ๆ ให้บริษัทจำเลยที่ 1 จะปิดหมายไว้ที่บริเวณใกล้ตู้โทรศัพท์ซึ่งเป็นทางเดินเล็ก ๆ ไปยังห้องน้ำอยู่แล้ว ดังนั้น ที่พนักงานเดินหมายของกรมบังคับคดีนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องซึ่งได้กำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไปส่งให้แก่จำเลยที่ 1โดยการปิดไว้ชั้นล่างของอาคารดังกล่าว จึงเป็นวิธีปฏิบัติตามปกติในการส่งหมายให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ย้ายภูมิลำเนาไปที่อื่น การปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตลอดจนการแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการปิดคำคู่ความและเอกสารไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคหนึ่งแล้วเมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องกับได้ทราบถึงวันนัดสืบพยานโจทก์โดยชอบแล้ว การที่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดและไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดีจึงเป็นการจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาไม่มีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6250/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารเกินกว่าที่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการเพิ่มเติมโครงสร้างอาคารที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
จำเลยขออนุญาตก่อสร้างอาคารสูงสี่ชั้น แต่ทำการก่อสร้างเป็นอาคารสูงห้าชั้นเป็นการก่อสร้างเพิ่มทั้งจำนวนชั้นและความสูงของอาคาร เมื่อความสูงของอาคารเป็นส่วนที่จะต้องนำมาใช้คำนวณโครงสร้างของอาคารตามที่กฎหมายกำหนดไว้ การก่อสร้างอาคารของจำเลยจึงเป็นการเพิ่มเติมส่วนที่เป็นโครงสร้างของอาคาร เป็นการต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2949/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างอาคารสูงเกินกำหนดในพื้นที่อยู่อาศัย ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญและละเมิดสิทธิของผู้อื่น
ตามเทศบัญญัติของเทศบาลนครหลวงกรุงเทพ เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2483 ข้อ 59 และ 60 การปลูกสร้างอาคารซึ่งอยู่ริมถนนที่มีความกว้างไม่ถึง 8 เมตร แต่ไม่น้อยกว่า4 เมตร อนุญาตให้ปลูกสร้างได้สูงไม่เกิน 8 เมตร บริเวณหน้าอาคารของจำเลยที่ 1 ติดขอบซอยหรือขอบถนนกว้าง 4.60 หรือ 5.40 เมตรเท่านั้น การที่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 โดยหัวหน้าเขตจำเลยที่ 4 อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารพิพาทสูงเกิน 8 เมตรจึงไม่ชอบด้วยเทศบัญญัติดังกล่าว แม้จะกำหนดให้ปลูกสร้างร่นห่างจากซอยเข้าไปด้านหลังอีก 3 เมตรก็ตาม การที่ศาลพิพากษาเพิกถอนใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารพิพาทส่วนที่สูงเกิน 8 เมตร หาเป็นการก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยในเรื่องการใช้ดุลพินิจของฝ่ายบริหารไม่ เพราะการอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารพิพาทเกิดขึ้นจากฝ่ายบริหารปฏิบัติฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย ศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ว่าคำสั่งของฝ่ายบริหารนั้นถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ก่อนจำเลยสร้างอาคารพิพาท บ้านของโจทก์ได้รับลมและแสงสว่างจากภายนอกพอสมควร เมื่อจำเลยสร้างอาคารพิพาทแล้ว ลมไม่พัดเข้าไปในบ้านของโจทก์และแสงสว่างก็ลดน้อยลง อาคารพิพาทสูงกว่าบ้านโจทก์มากอาคารที่จำเลยสร้างปิดกั้นทางลมที่พัดจากทางด้านทิศใต้ถึงปีละ 6 เดือนและปิดกั้นแสงสว่างเป็นเหตุให้โจทก์ต้องใช้แสงไฟฟ้าในเวลากลางวัน ดังนี้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ แม้จำเลยจะมีแดนกรรมสิทธิ์เหนือพ้นดินของตน แต่ก็ต้องอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 การใช้สิทธิปลูกสร้างอาคารของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านได้รับความเดือดร้อนรำคาญเกินที่ควรคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันสมควร เพราะตรงที่จำเลยปลูกสร้างอาคารพิพาทเป็นย่านประชาชนอยู่อาศัย ไม่ใช่ย่านการค้าหรือประกอบธุรกิจ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะกำจัดความเดือดร้อนรำคาญให้สิ้นไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2526)