พบผลลัพธ์ทั้งหมด 703 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 582/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจสอบสวน: การสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญา
เหตุคดีนี้เกิดในพื้นที่อำเภอเมืองอำนาจเจริญซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองอำนาจเจริญ มิได้เกิดในเขตอำนาจสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญจึงไม่มีอำนาจสอบสวนความผิดซึ่งได้เกิดขึ้นในคดีนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ข้อที่โจทก์อ้างในฎีกาว่าเป็นกรณีพยานโจทก์ผู้จับกุมไม่แน่ใจว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดระหว่างหลายท้องที่ พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 นั้น หมายความเฉพาะเมื่อสภาพการกระทำผิดอาญานั้นเองเป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่ในตัวว่า เป็นการไม่แน่ว่ากระทำขึ้นในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ต่างเขตอำนาจสอบสวน มิได้หมายความถึงกรณีที่ตัวพนักงานสอบสวนหรือผู้จับกุมสับสนในเรื่องพื้นที่เขตอำนาจของตนเสียเอง ทั้งที่เป็นการแน่นอนแล้วว่าความผิดนั้นได้กระทำในท้องที่ใด เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญยังขืนสอบสวนความผิดนี้ การสอบสวนนั้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือได้ว่าคดีนี้ไม่มีการสอบสวน เมื่อยังมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้น โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีต่อศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5788/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญาซ้ำ หากกระทำผิดใหม่ภายใน 5 ปีหลังพ้นโทษ แม้ความผิดไม่เหมือนเดิม
ตาม ป.อ. มาตรา 92 ไม่ได้บัญญัติว่า ความผิดครั้งหลังจะต้องเป็นความผิดอย่างเดียวกันกับความผิดครั้งแรก เมื่อจำเลยกระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนและฐานพาอาวุธปืนเป็นคดีนี้ภายใน 5 ปีนับแต่วันพ้นโทษในคดีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แม้ความผิดคดีนี้จะมิใช่ความผิดเดียวกันกับความผิดดังกล่าว ก็อยู่ในหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่ศาลจะเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5318/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ผู้อื่นกระทำความผิดทางอาญา แม้ผู้ถูกใช้ไม่รู้ว่าเป็นการกระทำผิด ผู้ว่าจ้างก็ยังมีความผิด
จำเลยจ้างให้บุคคลที่ไม่รู้มาก่อนว่าที่ดินบริเวณที่เกิดเหตุเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ให้นำรถไถไปไถที่ดินบริเวณดังกล่าว จึงไม่ใช่เป็นการใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด เพราะผู้ถูกใช้ไม่รู้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด แต่เป็นการใช้บุคคลเหล่านั้นเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด ถือว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเองโดยอ้อม จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 และมาตรา 31 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4436/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญา: วันพ้นโทษสำคัญกว่าวันครบกำหนดรอการลงโทษ
ตาม ป.อ. มาตรา 92 นั้น ผู้ที่จะถูกเพิ่มโทษได้จะต้องเป็นผู้ที่ถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกและได้กระทำความผิดขึ้นอีกภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษคำคุกในคดีก่อน ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีก่อนโดยให้รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยไว้มีกำหนด 2 ปี กรณีเช่นนี้จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษได้ แม้ว่าจำเลยจะมาทำความผิดคดีนี้ขึ้นอีกภายใน 5 ปี นับแต่วันครบกำหนดรอการลงโทษก็ตาม ก็เพิ่มโทษมิได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3823/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานยักยอกทรัพย์ – การครอบครองทรัพย์ก่อนกระทำผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้กระทำความผิดฐานยักยอกเงินของผู้เสียหายระหว่างวันที่ 2 พฤศจิกายน 2546 ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2546 และระหว่างวันที่ 6 พฤศจิกายน 2546 ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2546 จำนวนเงิน 2,000 บาท และ 3,150 บาท โดยเงินดังกล่าวจำเลยได้รับจากผู้สมัครเรียนเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2546 ถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2546 ตามลำดับ เป็นการบรรยายฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหายก่อนวันที่จำเลยได้ครอบครองทรัพย์ การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาต้องระบุชัดเจนถึงความเป็นเจ้าของรถ หากคำฟ้องไม่ชัดเจน แม้จำเลยรับสารภาพก็ลงโทษไม่ได้
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ฯ มาตรา 7 วรรคแรก บัญญัติว่าภายใต้บังคับมาตรา 8 เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยโดยประกันภัยกับบริษัท และมาตรา 37 บัญญัติว่า เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 7 หรือมาตรา 9 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แสดงว่า การกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ ไม่จัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยตามมาตรา 37 ประกอบมาตรา 7 นั้น จะต้องได้ความว่า ผู้กระทำความผิดเป็นเจ้าของรถ แต่ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า จำเลยเป็นเจ้าของรถคันที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายแต่อย่างใด คำฟ้องของโจทก์ในความผิดดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษในความผิดฐานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความระหว่างจำเลยและผู้เสียหายในคดีฉ้อโกงทำให้สิทธิฟ้องอาญาและคำขอชดใช้ค่าเสียหายระงับ
การที่ผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยและไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งทางแพ่งและทางอาญาอีกต่อไป ถือได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ทั้ง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ก็มิได้บัญญัติให้พนักงานอัยการโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7981/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทของพนักงานขับรถไฟและการพิสูจน์ความรับผิดทางอาญา รวมถึงอำนาจโจทก์ร่วม
จำเลยขับรถไฟมาไม่เร็ว เสียงเงียบและไม่ได้เปิดหวีดรถไฟ บริเวณที่เกิดเหตุเป็นชุมนุมชน มีบ้านเรือนอยู่สองข้างทางรถไฟเป็นจำนวนมาก มีร่องรอยเป็นทางเดินชัดเจน จำเลยควรเปิดหวีดรถไฟเพื่อให้คนที่สัญจรไปมาทราบเป็นระยะๆ การที่จำเลยไม่เปิดหวีดรถไฟเป็นสัญญาณเพื่อเตือนคนที่สัญจรไปมาให้ทราบว่ามีขบวนรถไฟขับผ่านมาทำให้รถไฟที่จำเลยขับชนและทับเด็กหญิง ส. ผู้ตาย และเด็กหญิง ว. ผู้เสียหายเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย และผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส จึงเป็นการกระทำโดยประมาท จำเลยมีความผิดฐานกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายสาหัส ส่วนผู้ตายและผู้เสียหายแม้จะมีส่วนประมาทด้วยหรือไม่ ก็ไม่ใช่เหตุที่จำเลยจะยกขึ้นอ้างเพื่อปัดความรับผิดได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ตายและผู้เสียหายมีส่วนประมาท โจทก์และโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่าเหตุที่เกิดเนื่องมาจากผู้ตายมีส่วนกระทำโดยประมาท ดังนั้น ผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ตายและผู้เสียหายมีส่วนประมาท โจทก์และโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่าเหตุที่เกิดเนื่องมาจากผู้ตายมีส่วนกระทำโดยประมาท ดังนั้น ผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6480/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมกระทำความผิดอาญา แม้ไม่ได้ลงมือทำร้ายร่างกายโดยตรง แต่มีส่วนร่วมวางแผน
ก่อนเกิดเหตุโจทก์ร่วมเห็น อ. นั่งดื่มสุราอยู่ที่หน้าร้านของจำเลย ต่อมาจำเลยเข้ามาทวงหนี้จากโจทก์ร่วมโดยจำเลยกับ อ. พากันเข้ามาในร้านเกมของโจทก์ร่วมพร้อมกัน แล้วจำเลยชี้ตัวโจทก์ร่วมให้ อ. ดูพร้อมกับพูดว่า คนนี้แหละชื่อยันต์ หลังจากนั้น อ. พูดว่า มึงพากูออกไปตามหาพ่อมึง ติดหนี้แล้วต้องใช้หนี้ เมื่อโจทก์ร่วมบอกว่าไม่ทราบว่าพ่ออยู่ที่ไหนและไม่ยอมไป อ. ก็เดินเข้ามาเตะโจทก์ร่วม พฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยดังกล่าวเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยสมคบร่วมกันกับ อ. มาเตะทำร้ายโจทก์ร่วมแล้ว แม้ขณะที่ อ. เข้ามาเตะทำร้ายโจทก์ร่วม จำเลยจะเพียงแต่ยืนอยู่เฉย ๆ ไม่ได้พูดอะไรก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6142/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจสอบสวนอาญา: การสอบสวนที่เกินเขตอำนาจและผลกระทบต่อการฟ้องคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคหนึ่ง พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตน นอกจากสามกรณีดังกล่าวแล้วพนักงานสอบสวนจะมีอำนาจสอบสวนต่อเมื่อมีการอ้างหรือเชื่อว่าความผิดนั้นได้เกิดภายในเขตอำนาจของตนโดยพนักงานสอบสวนเข้าใจหรือมีความเชื่อว่าความผิดได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน ซึ่งผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงที่ความผิดไม่ได้เกิดในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวน แต่ได้เกิดในสถานที่อื่น
เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมพบความผิดเกิดขึ้นในที่เกิดเหตุและจับกุมจำเลยในที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเลิงนกทา จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมและพนักงานสอบสวนทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่เกิดเหตุโดยชัดแจ้งแล้ว ไม่มีข้ออ้าง ข้อสงสัยหรือความเชื่อเกี่ยวกับที่เกิดเหตุที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่ใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนอ้างหรือเชื่อว่าความผิดได้เกิดในเขตอำนาจของตนซึ่งอยู่ในเขตอำเภอไทยเจริญ อันจะทำให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญมีอำนาจสอบสวนได้ตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ใช่ผู้มีที่อยู่หรือถูกจับในเขตอำเภอไทยเจริญ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญจึงไม่มีอำนาจสอบสวนและมีผลห้ามโจทก์ฟ้องคดีตามมาตรา 120
เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมพบความผิดเกิดขึ้นในที่เกิดเหตุและจับกุมจำเลยในที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเลิงนกทา จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมและพนักงานสอบสวนทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่เกิดเหตุโดยชัดแจ้งแล้ว ไม่มีข้ออ้าง ข้อสงสัยหรือความเชื่อเกี่ยวกับที่เกิดเหตุที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่ใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนอ้างหรือเชื่อว่าความผิดได้เกิดในเขตอำนาจของตนซึ่งอยู่ในเขตอำเภอไทยเจริญ อันจะทำให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญมีอำนาจสอบสวนได้ตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ใช่ผู้มีที่อยู่หรือถูกจับในเขตอำเภอไทยเจริญ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญจึงไม่มีอำนาจสอบสวนและมีผลห้ามโจทก์ฟ้องคดีตามมาตรา 120