พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5711-5723/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและค่าชดเชย: เงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าชดเชย, การนับอายุการทำงาน, ผู้ผิดนัดและดอกเบี้ย
พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องพ้นจากตำแหน่ง มิได้หมายความว่าเมื่อพนักงานผู้ใดขาดคุณสมบัติ หรือมีเหตุต้องพ้นจากตำแหน่ง การจ้างเป็นอันระงับไปทันที แต่รัฐวิสาหกิจจะต้องดำเนินการให้พนักงานผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วยเท่านั้น โจทก์ที่ 1 ถึง 12 บกพร่องต่อหน้าที่หรือมีผลงานต่ำกว่ามาตรฐานอันถือว่าเป็นผู้ไม่สามารถทำงานให้แก่จำเลยได้เต็มเวลา และเป็นการขาดคุณสมบัติ แต่ก็มิใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ที่จำเลยให้โจทก์ที่ 1 ถึง 12 ออกจากงานจึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหมายความว่าเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นการจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานเมื่อออกจากงานของจำเลยตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ มีหลักเกณฑ์การจ่ายแตกต่างจากการจ่ายค่าชดเชย ถือมิได้ว่าเงินที่จ่ายตามข้อบังคับดังกล่าวเป็นการจ่ายค่าชดเชย แม้จะมีข้อบังคับระบุว่าพนักงานมีสิทธิรับเงินบำเหน็จเพียงอย่างเดียว และถือเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายก็ไม่มีผลบังคับ อุทธรณ์ที่มิได้โต้แย้ง คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางโดยยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงโดยชัดแจ้ง เป็นอุทธรณ์ที่มิชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่ายก็ตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้าง ข้ออ้างว่าไม่เจตนาหาเป็นเหตุให้พ้นความรับผิดไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5967/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินบำนาญ: อายุการทำงานลูกจ้างชั่วคราวไม่รวมกับเงินบำนาญตามข้อบังคับกองทุนสงเคราะห์
เมื่อข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงานของจำเลยกำหนดให้จ่ายเงินบำนาญตามอายุการทำงาน เฉพาะแก่พนักงานและลูกจ้างประจำซึ่งพ้นจากงานเพราะเกษียณอายุ ก็ต้องเริ่มนับอายุการทำงานของโจทก์ในการคำนวณเงินบำนาญตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานของจำเลยเป็นต้นไป แม้โจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวก่อนได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานของจำเลยเป็นเวลา 10 ปีเศษก็ตาม โจทก์ก็ไม่อาจอ้างได้ว่าในช่วงเวลาที่เป็นลูกจ้างชั่วคราว โจทก์มีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานเพราะทำงานติดต่อกันเกิน 120 วัน เพื่อให้นับอายุการทำงานในการคำนวณเงินบำนาญตั้งแต่วันที่โจทก์เริ่มเป็นลูกจ้างชั่วคราว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและอายุการทำงานใหม่: สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้ระบุการนับอายุงานเดิม
เลิกจ้างเพราะการปฏิบัติงานไม่เป็นที่พอใจไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานใหม่มิได้กล่าวถึงอายุการทำงานว่าจะนับต่อกับอายุการทำงานเดิมหรือไม่ต้องเริ่มนับอายุการทำงานใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการทำงาน: สัญญาประนีประนอมยอมความทำให้สภาพการจ้างเดิมสิ้นสุดลง การนับอายุการทำงานใหม่เริ่มต้นจากสัญญาใหม่
โจทก์เคยทำงานกับจำเลยต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกล่าวหาว่าจำเลยผิดสัญญาเรียกค่าเสียหายและเงินต่างๆหลายประเภทคดีดังกล่าวตกลงกันได้โดยการประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้วว่าบริษัทจำเลยยอมจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์ยอมรับโจทก์กลับเข้าทำงานตั้งแต่วันที่1มีนาคม2527เป็นต้นไปดังนี้สภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยที่มีอยู่เดิมยุติลงแล้วด้วยการที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางเมื่อโจทก์จำเลยยอมความกันก็มิได้กล่าวถึงว่าจะนับอายุการทำงานเดิมต่อกับอายุการทำงานใหม่หรือไม่ทั้งคดีดังกล่าวโจทก์ก็มิได้ขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานใหม่โจทก์จึงจะนับอายุการทำงานที่ตกลงกันใหม่ต่อจากอายุการทำงานเดิมมิได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุการทำงานต่อเนื่องกรณีโอนพนักงานจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ การนับอายุงานต้องต่อเนื่อง แม้ข้อบังคับจำกัดสิทธิ
เดิมโจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ต่อมามี ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ให้โอนโจทก์มาเป็นลูกจ้าง ของการเคหะแห่งชาติจำเลย การโอนเช่นนี้ฐานะความเป็น ลูกจ้างของโจทก์ยังคงมีอยู่ มิได้สิ้นสุดลงเช่นการ เลิกจ้าง เมื่อมิได้ตกลงกันไว้ เป็นอย่างอื่น การนับอายุ การทำงานของโจทก์จึงต้องนับต่อเนื่องกันตั้งแต่โจทก์เข้า ทำงานกับธนาคาร ข้อบังคับของจำเลยซึ่งให้นับอายุการทำงาน ตั้งแต่เมื่อเริ่มเข้าทำงานกับจำเลย ต้องใช้บังคับเฉพาะพนักงานหรือลูกจ้างที่สมัครเข้าทำงานใหม่เท่านั้น มิใช่ ถูกโอนมาเช่นกรณีของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างทดลองงานก่อนบรรจุเป็นลูกจ้างประจำ มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเมื่อทำงานครบ 1 ปี
การรับลูกจ้างทดลองงาน 3 เดือนก่อนบรรจุเป็นลูกจ้างประจำนั้น เป็นการจ้างในฐานะลูกจ้างประจำแล้ว เพียงแต่ลูกจ้างไม่มีสิทธิ ได้รับค่าชดเชยหากถูกเลิกจ้างในระหว่างทดลองงานเท่านั้น ส่วนอายุการทำงานในฐานะลูกจ้างประจำเริ่มนับแต่วันที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: การตักเตือน, ความร้ายแรงของความผิด, และอายุการทำงาน
หนังสือของโจทก์ผู้ให้สัญญาแต่ฝ่ายเดียวเพื่อรับทราบการลงโทษและทำทัณฑ์บนไว้ต่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง เนื่องในการที่โจทก์ขับรถประมาทเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุและเกิดความเสียหายแก่จำเลย ถือไม่ได้ว่ามีลักษณะเป็นหนังสือตักเตือนของจำเลย การที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ประมาทเลินเล่ออีกซึ่งเป็นการกระทำผิดวินัย แต่ตามข้อบังคับของจำเลยมิได้ถือว่าเป็นความเสียหายร้ายแรง จำเลยจึงจะเลิกจ้างโจทก์และไม่จ่ายค่าชดเชย โดยมิได้มีการตักเตือนเป็นหนังสือก่อน หาได้ไม่
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชย 90 วันของค่าจ้างอัตราสุดท้าย จึงเท่ากับได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงแล้วว่าโจทก์ได้ทำงานติดต่อกันถึงวันเลิกจ้างครบ 1 ปีฉะนั้นการที่จำเลยอุทธรณ์ว่าอายุการทำงานของโจทก์ถึงวันเลิกจ้างไม่ครบ 1 ปีจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมาย
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชย 90 วันของค่าจ้างอัตราสุดท้าย จึงเท่ากับได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงแล้วว่าโจทก์ได้ทำงานติดต่อกันถึงวันเลิกจ้างครบ 1 ปีฉะนั้นการที่จำเลยอุทธรณ์ว่าอายุการทำงานของโจทก์ถึงวันเลิกจ้างไม่ครบ 1 ปีจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2676-2687/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุการทำงานเพื่อคำนวณค่าชดเชย: เริ่มนับจากวันเริ่มทำงานจริง ไม่ใช่วันที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานมีผลบังคับใช้
การนับระยะเวลาการทำงานเพื่อให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำซึ่งเลิกจ้างนั้น หมายถึงการนับระยะเวลาที่ลูกจ้างเริ่มเข้าทำงาน มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2515 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ใช้บังคับ