พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5,764 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9009-9014/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม อายุความ และการโต้แย้งดุลพินิจศาลแรงงาน ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยไม่เคยประสบภาวะขาดทุนและไม่ปรากฏว่าแนวโน้มในการประกอบกิจการของจำเลยในปีต่อๆไป จะประสบภาวะวิกฤติจนถึงขั้นไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ เมื่อจำเลยอุทธรณ์เพื่อให้ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต มิใช่ให้ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงอื่นนอกจากที่รับฟังไว้แล้ว จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ทั้งหกครบถ้วนแล้ว เมื่อคำนึงถึงอายุงานที่โจทก์ทั้งหกทำงานกับจำเลยมาคนละหลายปี แต่โจทก์ทั้งหกก็มีอายุไม่มากนักยังสามารถหางานทำใหม่ได้ และมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างมิได้เกิดจากการกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งหก จึงเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายโดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประกอบการพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 แล้ว มิใช่เป็นการกำหนดค่าเสียหายตามจำเลยอ้าง อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งหกบรรยายฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกโดยโจทก์ทั้งหกไม่ได้กระทำความผิดอันเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมมิได้ฟ้องให้จำเลยชำระค่าจ้างหรือค่าเสียหายอันเกิดจากสัญญาจ้างจึงมิใช่ค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นที่มีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 แต่เป็นกรณีที่ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติถึงอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 193/30
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ทั้งหกครบถ้วนแล้ว เมื่อคำนึงถึงอายุงานที่โจทก์ทั้งหกทำงานกับจำเลยมาคนละหลายปี แต่โจทก์ทั้งหกก็มีอายุไม่มากนักยังสามารถหางานทำใหม่ได้ และมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างมิได้เกิดจากการกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งหก จึงเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายโดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประกอบการพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 แล้ว มิใช่เป็นการกำหนดค่าเสียหายตามจำเลยอ้าง อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งหกบรรยายฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกโดยโจทก์ทั้งหกไม่ได้กระทำความผิดอันเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมมิได้ฟ้องให้จำเลยชำระค่าจ้างหรือค่าเสียหายอันเกิดจากสัญญาจ้างจึงมิใช่ค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นที่มีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 แต่เป็นกรณีที่ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติถึงอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8839/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเอกสารเพื่อหลีกเลี่ยงอายุความถือเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์แก้ไขเดือนในใบส่งของเพื่อไม่ให้คดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แล้วนำมาฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาซื้อขายและใช้อ้างเป็นพยานในคดี เป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชำระราคาค่าสินค้าตามใบส่งของดังกล่าวได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การต่อสู้ในศาลชั้นต้น จำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8696/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการครอบครองทรัพย์สินหลังเลิกสัญญาเช่า: กำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ฟ้องขอเรียกค่าเสียหายที่จำเลยยังคงครอบครองรถแท็กซี่ของโจทก์ ทำให้โจทก์ผู้ให้เช่าต้องขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการเอาทรัพย์สินที่เช่าออกให้เช่าโดยอาศัยเหตุมาจากการเลิกสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลย แม้จะเรียกวันละ 400 บาท ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับค่าเช่า แต่ก็เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์มิใช่ฟ้องเรียกค่าเช่าค้างชำระ กรณีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8458/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดี, การระงับหนี้ด้วยการชำระหนี้, และการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่ตกลง
เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2525 และจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนในวันที่ 30 ธันวาคม 2525 อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในวันดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลาเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 ดังนั้นแม้อายุความจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2525 ตามข้ออ้างของจำเลยก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีก่อนในวันที่ 19 พฤษภาคม 2535 นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2525 ถึงวันฟ้องคดีก่อน ไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องกรณีนี้มีอายุความสิบปี ฟ้องโจทก์ในคดีก่อนก็ยังไม่ขาดอายุความและอายุความสะดุดหยุดลงอีกครั้งนับแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) เมื่อคดีก่อนศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องอันถือได้ว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง อายุความจึงครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณาคดีก่อน แต่ศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีก่อนเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2539 ให้ยกฟ้องโจทก์โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่ โจทก์จึงฟ้องคดีใหม่เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2540 นับตั้งแต่วันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีใหม่เป็นเวลาไม่เกิน 60 วัน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่คดีนั้นศาลไม่รับหรือคืนหรือให้ยกคำฟ้องเพราเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล หรือศาลให้ยกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ และปรากฏว่าอายุความครบกำหนดไปแล้วในระหว่างการพิจารณา หรือจะครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด ให้เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องคดี เพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด" ดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามบทบัญญัติดังกล่าว
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง สาระสำคัญว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งใดๆ ให้ถือว่าผูกพันคู่ความ ดังนั้นการที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีก่อนย่อมผูกพันจำเลยทั้งสอง เมื่อคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยและโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองได้ตามสัญญาอัตราร้อยละ 18 ต่อปี คดีนี้จึงต้องฟังว่า จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ได้ไม่เป็นโมฆะ
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง สาระสำคัญว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งใดๆ ให้ถือว่าผูกพันคู่ความ ดังนั้นการที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีก่อนย่อมผูกพันจำเลยทั้งสอง เมื่อคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยและโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองได้ตามสัญญาอัตราร้อยละ 18 ต่อปี คดีนี้จึงต้องฟังว่า จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ได้ไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7875/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องเรียกค่าสินค้า พิจารณาจากวัตถุประสงค์การค้าและระยะเวลาส่งมอบสินค้า
โจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าเครื่องเคหภัณฑ์ เครื่องเฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้า รวมทั้งอะไหล่และอุปกรณ์ของสินค้าดังกล่าว การที่โจทก์จำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องเฟอร์นิเจอร์ให้แก่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการประกอบธุรกิจหรือดำเนินกิจการในวัตถุประสงค์ของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 นั้น ประกอบกิจการโรงแรม การที่จำเลยที่ 1 ซื้อสินค้าประเภทเครื่องเฟอร์นิเจอร์จากโจทก์ก็เพื่อนำไปใช้ในกิจการโรงแรมของจำเลยที่ 1 อันเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 จึงเข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ฉะนั้นการที่โจทก์ฟ้องเรียกราคาค่าสินค้าประเภทเครื่องเฟอร์นิเจอร์ที่ค้างชำระจากจำเลยที่ 1 จึงต้องใช้อายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5)
การซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้กำหนดเวลาอันพึงชำระหนี้ไว้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันและฝ่ายจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ก็ย่อมชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 ดังนั้นเมื่อโจทก์ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว สิทธิในการเรียกร้องเอาเงินค่าสินค้าจากจำเลยที่ 1 ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับมอบสินค้าจากโจทก์แต่ละคราว
การซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้กำหนดเวลาอันพึงชำระหนี้ไว้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันและฝ่ายจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ก็ย่อมชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 ดังนั้นเมื่อโจทก์ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว สิทธิในการเรียกร้องเอาเงินค่าสินค้าจากจำเลยที่ 1 ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับมอบสินค้าจากโจทก์แต่ละคราว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7721/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีข่มขืน, ภาวะเสียเปรียบ, และอำนาจศาลในการลงโทษตามความผิดที่ปรากฏ
การกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำต่อเนื่องมาโดยตลอดตั้งแต่เดือนเมษายน 2545 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2546 ผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2546 เป็นการร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดแล้ว คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ผู้เสียหายทำงานเป็นลูกจ้างอยู่ในบ้านของจำเลยและถูกจำเลยข่มขู่ว่าหากไม่ยิมยอมให้จำเลยกระทำชำเราจะส่งตัวผู้เสียหายให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีในข้อหาหลบหนีเข้าเมือง ผู้เสียหายอยู่ในภาวะเสียเปรียบไม่อาจต่อสู้ขัดขืนจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของตนได้ ถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยกระทำชำเรา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก อันเป็นความผิดที่รวมการกระทำตามที่โจทก์ฟ้องอยู่ด้วยแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามความผิดที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ได้
ผู้เสียหายทำงานเป็นลูกจ้างอยู่ในบ้านของจำเลยและถูกจำเลยข่มขู่ว่าหากไม่ยิมยอมให้จำเลยกระทำชำเราจะส่งตัวผู้เสียหายให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีในข้อหาหลบหนีเข้าเมือง ผู้เสียหายอยู่ในภาวะเสียเปรียบไม่อาจต่อสู้ขัดขืนจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของตนได้ ถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยกระทำชำเรา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก อันเป็นความผิดที่รวมการกระทำตามที่โจทก์ฟ้องอยู่ด้วยแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามความผิดที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7650/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีซื้อขายคอนกรีตผสมเสร็จ พิจารณาจากลักษณะธุรกิจและข้อยกเว้นตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ซื้อคอนกรีตผสมเสร็จจากโจทก์เพื่อนำไปจำหน่ายแก่ลูกค้าของจำเลยที่ 1 หากำไรอีกทอดหนึ่งอันเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 นั้นเอง ซึ่งเข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) ฉะนั้น การที่โจทก์ฟ้องเรียกราคาคอนกรีตผสมเสร็จที่ค้างชำระจากจำเลยที่ 1 จึงต้องใช้อายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7611/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าขาดประโยชน์จากสัญญาเช่าซื้อ: ไม่ใช่อายุความค่าเช่าซื้อ แต่เป็น 10 ปี
โจทก์ฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถที่เช่าหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ไม่ได้ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อ ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถที่เช่าซื้อมีอายุความ 10 ปี มิใช่อายุความ 2 ปี ตามที่จำเลยที่ 2 ฎีกา ดังนั้น สิทธิเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถที่เช่าซื้อของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7610/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้บัตรเครดิต: ไม่ใช่หนี้เงินกู้ แต่เป็นค่าบริการ มีอายุความ 2 ปี
การที่จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเฉพาะสินเชื่อธนวัฏบัตรเครดิตกับโจทก์ก็มีความประสงค์เพื่อการชำระหนี้ค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตรวมทั้งเพื่อถอนเงินสดจากบัญชีเงินฝากผ่านเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ ซึ่งเป็นกิจกรรมเกี่ยวเนื่องจากการใช้บัตรเครดิตทั้งสิ้น ดังนั้น หนี้ในคดีนี้จึงไม่ใช่หนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือหนี้บัญชีเดินสะพัดโดยตรง แต่เป็นการที่โจทก์ให้บริการการใช้บัตรเครดิตแก่จำเลยที่เป็นสมาชิกโดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปก่อน สิทธิเรียกร้องโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7585/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงิน: การฟ้องเรียกหนี้ถูกต้องตามกฎหมาย แม้จำนวนเงินดอกเบี้ยในฟ้องไม่ถูกต้อง ศาลปรับปรุงได้ และอายุความดอกเบี้ย
ตามคำฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยชำระดอกเบี้ย แม้จำนวนเงินค่าดอกเบี้ยจะไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงก็เป็นเรื่องการเรียกดอกเบี้ยผิดพลาดเท่านั้น ศาลย่อมจะคิดคำนวนให้ถูกต้องได้ เมื่อคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์คือ จำเลยได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์จำนวนเท่าใด เมื่อใด และจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้แล้ว กับคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำให้การของจำเลยที่ต่อสู้ว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างส่งเกิน 5 ปี ไม่ได้ ต้องห้ามมิให้เรียกตามกฎหมาย เท่ากับต่อสู้ว่าหนี้ ดอกเบี้ยเกิน 5 ปี ขาดอายุความแล้ว ที่ศาลล่างวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยย้อนหลังไปเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จึงชอบแล้ว
คำให้การของจำเลยที่ต่อสู้ว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างส่งเกิน 5 ปี ไม่ได้ ต้องห้ามมิให้เรียกตามกฎหมาย เท่ากับต่อสู้ว่าหนี้ ดอกเบี้ยเกิน 5 ปี ขาดอายุความแล้ว ที่ศาลล่างวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยย้อนหลังไปเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จึงชอบแล้ว