พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7213/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: สิทธิลูกจ้างในการกลับเข้าทำงาน, ค่าเสียหาย, และการนับอายุงานต่อเนื่อง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลแรงงานใช้ดุลพินิจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างแทนการรับกลับเข้าทำงานในกรณีลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานแล้วจะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายหรือจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างจนรับกลับเข้าทำงานอีกไม่ได้เพราะมาตรา 49 ไม่ได้ให้อำนาจไว้ แต่คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องมาโดยชัดแจ้งว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่ทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง และได้รับความเดือดร้อนเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายจนถึงวันเกษียณอายุ ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์ตั้งประเด็นข้อพิพาทมาโดยตรงว่า จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้รับค่าจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เป็นการขอให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะจ้างแรงงาน ซึ่งกรณีนี้ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายในกรณีดังกล่าว เมื่อฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยได้ แม้ว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลยก็ตาม
มาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 เป็นบทบัญญัติคุ้มครองลูกจ้าง เพื่อมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โดยให้อำนาจศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน แม้บทบัญญัติดังกล่าวจะมิได้ระบุให้ศาลมีอำนาจนับอายุงานต่อเนื่องได้ แต่ก็มิได้บัญญัติห้ามไว้และการนับอายุงานต่อเนื่องเป็นการรักษาสิทธิของลูกจ้างที่มีอยู่แล้วมิให้เสียไปเพราะการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจให้นับอายุงานต่อเนื่องได้ แต่จะนับระยะเวลาตั้งแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานรวมเข้าเป็นอายุงานด้วยไม่ได้ คงให้นับอายุงานใหม่ต่อกับอายุงานเดิมที่คำนวณถึงวันก่อนวันเลิกจ้างได้เท่านั้น
มาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 เป็นบทบัญญัติคุ้มครองลูกจ้าง เพื่อมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โดยให้อำนาจศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน แม้บทบัญญัติดังกล่าวจะมิได้ระบุให้ศาลมีอำนาจนับอายุงานต่อเนื่องได้ แต่ก็มิได้บัญญัติห้ามไว้และการนับอายุงานต่อเนื่องเป็นการรักษาสิทธิของลูกจ้างที่มีอยู่แล้วมิให้เสียไปเพราะการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจให้นับอายุงานต่อเนื่องได้ แต่จะนับระยะเวลาตั้งแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานรวมเข้าเป็นอายุงานด้วยไม่ได้ คงให้นับอายุงานใหม่ต่อกับอายุงานเดิมที่คำนวณถึงวันก่อนวันเลิกจ้างได้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจ้าง, วันมีผลเลิกจ้าง, และสิทธิค่าชดเชยตามอายุงาน
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลานายจ้างหรือลูกจ้างจึงอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใดเพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสอง
จำเลยมีกำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ไปถึงโจทก์เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2541 ซึ่งเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างก่อนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2541 อันเป็นวันจ่ายค่าจ้าง ตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยอาจกำหนดให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างกันในวันที่ 30 กันยายน 2541 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า แต่เมื่อจำเลยแสดงเจตนาในหนังสือเลิกจ้างกำหนดให้มีผลเป็นการเลิกจ้างในวันที่ 1 กันยายน 2541 ก็ย่อมทำได้ และถือว่าการเลิกจ้างมีผลในวันดังกล่าวตามเจตนาของจำเลยแล้วตามมาตรา 118 วรรคสองแต่จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จนถึงวันที่ 30กันยายน 2541 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 วรรคสองและพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสี่
เมื่อการเลิกจ้างมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2541 โจทก์ซึ่งเข้าทำงานเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2538 ทำงานถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2541 รวมอายุงานได้ 2 ปี 11 เดือน 27 วัน จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย90 วัน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง (2)
จำเลยมีกำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ไปถึงโจทก์เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2541 ซึ่งเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างก่อนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2541 อันเป็นวันจ่ายค่าจ้าง ตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยอาจกำหนดให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างกันในวันที่ 30 กันยายน 2541 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า แต่เมื่อจำเลยแสดงเจตนาในหนังสือเลิกจ้างกำหนดให้มีผลเป็นการเลิกจ้างในวันที่ 1 กันยายน 2541 ก็ย่อมทำได้ และถือว่าการเลิกจ้างมีผลในวันดังกล่าวตามเจตนาของจำเลยแล้วตามมาตรา 118 วรรคสองแต่จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จนถึงวันที่ 30กันยายน 2541 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 วรรคสองและพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสี่
เมื่อการเลิกจ้างมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2541 โจทก์ซึ่งเข้าทำงานเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2538 ทำงานถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2541 รวมอายุงานได้ 2 ปี 11 เดือน 27 วัน จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย90 วัน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนพนักงานรัฐวิสาหกิจและการนับอายุงานใหม่ สิทธิบำเหน็จตามกฎหมาย
พ.ร.ฎ.จัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 38วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สถาบันการบินพลเรือน จำเลยพิจารณารับโอนพนักงานหรือลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย กรมการบินพาณิชย์ ซึ่งมีอยู่ในวันที่ พ.ร.ฎ.นี้ใช้บังคับไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของ สบพ. โดยให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ เท่าที่เคยได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อนจนกว่าผู้ว่าการจะได้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แต่จะแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมไม่ได้ และวรรคสอง บัญญัติว่า การโอนลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากงานเพราะทางราชการยุบตำแหน่งหรือทางราชการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และให้ได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวได้ระบุไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่า การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยได้โอนมาทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยตาม พ.ร.ฎ.จัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ.2535สัญญาจ้างระหว่างศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยกับโจทก์ได้สิ้นสุดลงตามมาตรา38 วรรคสอง ซึ่งโจทก์ก็ได้รับเงินบำเหน็จจากศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยครบถ้วนแล้ว การที่โจทก์โอนมาทำงานกับจำเลยจึงเป็นสัญญาว่าจ้างใหม่ต่างหากจากสัญญาเดิม โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้นับอายุงานโจทก์ต่อเนื่องกันฉะนั้น สิทธิและหน้าที่ระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงต้องเป็นไปตามสัญญาว่าจ้างใหม่และเริ่มต้นนับอายุงานใหม่ และเมื่อจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจจึงต้องนำระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2534 มาใช้บังคับ โจทก์จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของระเบียบดังกล่าวด้วย ซึ่งระเบียบดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จในกรณีเลิกจ้างโจทก์เอาไว้ด้วย
โจทก์มิใช่ลูกจ้างของส่วนราชการ โจทก์จึงไม่อาจนำระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้ โจทก์อ้างว่ามีสิทธิได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ.2519 มิได้
พ.ร.ฎ.จัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 38วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เพื่อให้สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ของโจทก์ที่จะพึงได้รับจากสถาบันการบินพลเรือนในระหว่างที่โจทก์ยังไม่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจากผู้ว่าการไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับอยู่ในขณะที่เป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเท่านั้น หาได้ก่อให้เกิดสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ที่โจทก์เคยได้รับอยู่ก่อนมาคิดคำนวณด้วย และเมื่อไม่มีระเบียบหรือบทกฎหมายใดให้สิทธิโจทก์เรียกร้องเงินบำเหน็จได้ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์
โจทก์มิใช่ลูกจ้างของส่วนราชการ โจทก์จึงไม่อาจนำระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้ โจทก์อ้างว่ามีสิทธิได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ.2519 มิได้
พ.ร.ฎ.จัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 38วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เพื่อให้สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ของโจทก์ที่จะพึงได้รับจากสถาบันการบินพลเรือนในระหว่างที่โจทก์ยังไม่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจากผู้ว่าการไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับอยู่ในขณะที่เป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเท่านั้น หาได้ก่อให้เกิดสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ที่โจทก์เคยได้รับอยู่ก่อนมาคิดคำนวณด้วย และเมื่อไม่มีระเบียบหรือบทกฎหมายใดให้สิทธิโจทก์เรียกร้องเงินบำเหน็จได้ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษตามข้อตกลงสภาพการจ้างสำหรับลูกจ้างรายวันที่มีอายุงานครบ 15 ปีขึ้นไป
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ระบุว่า "จำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายและเงินช่วยเหลือพิเศษในกรณีที่ลูกจ้างเกษียณอายุและถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดสำหรับลูกจ้างรายวัน ตามอายุงานดังนี้ อายุงานครบ 15 ปี ไม่ครบ20 ปี เพิ่มให้ 2 เดือน อายุงานครบ 20 ปี ไม่ครบ 25 ปี เพิ่มให้ 3 เดือนอายุงานครบ 25 ปี ไม่ครบ 30 ปี เพิ่มให้ 4 เดือน อายุงานครบ 30 ปี เพิ่มให้5 เดือน " จึงเห็นได้ว่า จำเลยตกลงจ่ายเงินทั้ง 2 ประเภท คือ ค่าชดเชยและเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่ลูกจ้างเฉพาะค่าชดเชยเป็นการจ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย ส่วนเงินช่วยเหลือพิเศษเป็นการจ่ายเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากค่าชดเชยจำเลยตกลงจ่ายเงินเพิ่มให้เฉพาะลูกจ้างรายวันซึ่งมีอายุงานครบ 15 ปีขึ้นไปที่เกษียณอายุและถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดเท่านั้น ดังนี้ เมื่อโจทก์มิใช่ลูกจ้างที่เกษียณอายุ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความระเบียบข้อบังคับการทำงานเรื่องเงินสมทบ: 'จะสมทบ' ไม่ใช่ดุลพินิจ
ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยในหมวดสวัสดิการพนักงานกำหนดหลักเกณฑ์เงินสะสมไว้ว่า พนักงานที่มีอายุงานครบ 6 ปี จำเลยจะจ่ายเงินสมทบให้อีก 60 เปอร์เซ็นต์ของเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ยเมื่อลาออกก็ตามแต่ระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยมีข้อความที่แสดงเจตนารมณ์ไว้ว่า เพื่อให้พนักงานมีหลักประกันว่าจะได้รับเงินจำนวนหนึ่งเมื่อสิ้นสุดการเป็นพนักงานของบริษัทจำเลย ไม่ว่าเพราะลาออกหรือเกษียณอายุ ซึ่งไม่ใช่การพ้นสภาพเป็นพนักงานเนื่องจากกระทำความผิด เพื่อให้พนักงานได้รับเงินจำนวนหนึ่งคือเงินสะสมซึ่งเป็นของพนักงานเองที่จำเลยหักเก็บไว้ให้คืนพร้อมดอกเบี้ย และจำเลยจะสมทบตอบแทนให้อีกจำนวนหนึ่ง โดยคิดเป็นอัตราส่วนของเงินสะสมที่หักไว้ตามจำนวนปีที่พนักงานทำงานให้แก่จำเลยพร้อมดอกเบี้ยของจำนวนเงินดังกล่าวด้วย และสำหรับพนักงานที่ทำงานให้แก่จำเลยยังไม่ครบ 5 ปี ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ พนักงานนั้นก็ยังคงมีสิทธิได้รับแต่เพียงเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ย โดยยังไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบตามที่กำหนดไว้ ดังนี้คำว่า "จะสมทบ" ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยจึงมีความหมายเพียงบอกเวลาภายหน้าเท่าที่อายุงานของพนักงานยังไม่ครบตามหลักเกณฑ์ที่ระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะหยิบยกเอาคำว่า"จะสมทบ" มาแปลความหมายบิดเบือนให้ผิดแผกแตกต่างไปจากความหมายที่แท้จริงเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่จำเลยว่าเป็นดุลพินิจของจำเลยที่จะจ่ายเงินสมทบให้แก่โจทก์หรือไม่จ่ายสมทบให้ก็ได้ แล้วแต่จำเลยจะพิจารณาเห็นสมควรเป็นราย ๆ ไปหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณอายุงานและสิทธิรับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับบริษัท: การปัดเศษปีและระยะเวลาทำงานที่เข้าข่ายเป็นอายุงาน
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเรื่องเงินบำเหน็จ กำหนดว่า บริษัทฯ จะพิจารณาจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงาน ที่มีอายุการทำงาน ดังนี้ (ก) ทำงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นจำนวนเงินเท่ากับเงินเดือนเต็มเดือนสุดท้าย คูณด้วยจำนวนปีของอายุงาน หารด้วย 2 (ข) ทำงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 10 ปี จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นจำนวนเงินเท่ากับเงินเดือนเต็มเดือนสุดท้าย คูณด้วยจำนวนปีของอายุงาน 1 1 อายุงาน ถืออายุการทำงาน 365 วัน เป็นหนึ่งปีเศษของปี ถ้าถึง 183 วัน ให้ปัดเป็นหนึ่งปี ถ้าไม่ถึง183 วัน ตัดทิ้ง 2 อายุการทำงาน หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่พนักงาน เข้าประจำทำงานในบริษัทฯ ในฐานะพนักงานจนถึงก่อนวันพ้น จากตำแหน่งในบริษัทฯ ตามเงื่อนไข ดังนี้โดย มิได้รับเงินเดือน ไม่ให้นับเป็นอายุการทำงาน (2) ระยะเวลาที่พนักงานหยุดงานเพื่อพักรักษาตัวเนื่องจาก การประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย เพราะเหตุปฏิบัติงานให้แก่บริษัทฯ และได้รับเงินเดือนตามปกติ ให้นับเป็นอายุการทำงานเต็มตามระยะเวลานั้น เห็นได้ว่าตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยดังกล่าว คำว่า อายุงานกับ อายุการทำงาน มีความหมายแตกต่างกัน กล่าวคือ อายุงานคิดเป็นจำนวนปีเพื่อใช้ในการคำนวณเงินบำเหน็จของลูกจ้างแต่ละคนโดยใช้เป็นตัวคูณเงินเดือนเต็มเดือนสุดท้ายว่าลูกจ้าง คนใดมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจำนวนเท่าใด การนับอายุงาน ให้ถือ 365 วันเป็นหนึ่งปี เศษของปี ถ้าถึง 183 วันให้ปัดเป็นหนึ่งปี ถ้าไม่ถึง 183 วัน ก็ให้ตัดทิ้งส่วนอายุการทำงานนั้น เป็นระยะเวลาตามที่ลูกจ้างแต่ละคนได้ทำงานจริง ๆ โดยนับเวลาทำงานตั้งแต่วันที่ลูกจ้างคนนั้นเข้าทำงานกับจำเลยจนถึงวันที่ออกจากงานตามเงื่อนไขที่ว่า ระยะเวลาที่ลูกจ้างลา ขาดงาน หรือถูกสั่งพักงานโดยมิได้รับเงินเดือนไม่ให้นับเป็นอายุการทำงาน แต่ระยะเวลาที่ลูกจ้างหยุดงานเพื่อรักษาตัวเนื่องจากการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เพราะเหตุปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างและได้รับเงินเดือนตามปกติให้นับเป็นอายุการทำงานเต็มตามระยะเวลานั้นเมื่อข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า โจทก์ทำงานกับจำเลยติดต่อกันเป็นเวลา 9 ปี 6 เดือน 16 วัน หรือ 9 ปี 196 วันกรณีถือได้ว่าโจทก์มีอายุการทำงานติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10158/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุงานเพื่อสิทธิค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีมีการนัดหยุดงานและปิดงาน
การปิดงานและการนัดหยุดงาน เป็นขั้นตอนที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 บัญญัติขึ้นเพื่อให้มีการระงับกรณีพิพาทเกี่ยวกับปัญหาแรงงานการที่นายจ้างปิดงานจึงมิใช่เป็นเรื่องที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้างแม้ว่าจะมีบทบัญญัติในมาตรา 31 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้าง และกรณีที่มีการฝ่าฝืนมีโทษทางอาญาตามมาตรา 136 และความเป็นนายจ้างลูกจ้างยังคงมีอยู่ก็ตาม ดังนี้ การที่ลูกจ้าง จะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่จึงต้องเป็นไปตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหยุดงานไปในวันที่มีการนัดหยุดงานและปิดงาน กรณีมิใช่วันหยุด วันลาหรือวันที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ ของนายจ้าง จึงไม่อาจนำระยะเวลาดังกล่าวมารวม คำนวณเป็นระยะเวลาทำงานของลูกจ้างได้ โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างทดลองงานของจำเลยทำหน้าที่พนักงานทั่วไป มีระยะเวลาจ้างไม่เกิน 120 วัน และขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โจทก์ยังเป็น ลูกจ้างทดลองงานอยู่ จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีสิทธิ เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2578/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การนับอายุงานต่อเนื่อง และการจ่ายค่าชดเชย/สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
เวลาส่วนใหญ่ที่โจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานเป็นระหว่างเวลา 11 นาฬิกาเศษและ 13 นาฬิกา และตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยให้พนักงานหยุดพักได้วันละ 1 ชั่วโมง ระหว่างเวลา 11.30-13.30 นาฬิกาตามแต่ผู้บังคับบัญชาจะเห็นสมควรโจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้นเมื่อพิจารณาประกอบกับวินัยพนักงานที่เกี่ยวกับการละทิ้งหน้าที่ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ซึ่งระบุว่า"พนักงานต้องไม่ละทิ้งหน้าที่ของตนหรือขาดงานหรือไม่ปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร" แล้ว โจทก์จึงหาได้กระทำผิดวินัยพนักงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในข้อดังกล่าวไม่ จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คดีก่อน โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอบังคับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือจ่ายค่าเสียหายรวมทั้งเงินสะสมด้วย ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวกับข้อหาการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวกับเงินสะสมแต่อย่างใด โจทก์มาฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าเสียหาย รวมทั้งเงินสะสมด้วย คำฟ้องในส่วนของเงินสะสมคดีนี้จึงอาศัยเหตุเลิกจ้างคนละคราวกับคดีก่อนและยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดที่ศาลได้วินิจฉัยไว้โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้างแม้มิได้กำหนดให้นับอายุงานต่อเนื่องไว้แต่ตามผลและรูปคดีย่อมแสดงว่าเป็นการสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปในฐานะเดิมก่อนการเลิกจ้าง การนับอายุงานจึงต้องนับต่อเนื่องจากอายุงานเดิมมิใช่เริ่มนับอายุงานใหม่ เมื่อศาลแรงงานกลางฟังว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ไม่อยู่ที่โต๊ะทำงานย่อมถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งการงานไปเสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจสั่งให้นับอายุงานต่อเนื่องได้
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยไม่ถูกต้องตามพยานหลักฐานในสำนวน แปลพยานหลักฐานไม่ถูกต้อง ฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวนและหยิบยกพยาน เหตุผลต่าง ๆ ขึ้นอ้างให้ศาลฎีกาฟังว่าโจทก์ไม่ได้ป่วยแตกต่างไปจากที่ศาลแรงงานกลางฟังมาเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ในคดีที่มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น แม้ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นเรื่องค่าเสียหายไว้ โดยไม่ได้กำหนดประเด็นว่ามีเหตุควรให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือไม่ ถ้าศาลแรงงานกลางเห็นว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางก็พิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 49 ซึ่งกำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะคุ้มครองป้องกันมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรมโดยบัญญัติให้ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะเลิกจ้าง ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้นับอายุงานของโจทก์ต่อเนื่องจากอายุงานเดิมก่อนถูกเลิกจ้าง โดยอาศัยมาตราดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นการพิพากษานอกคำฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานมีอำนาจนับอายุงานต่อเนื่องตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ
ศาลแรงงานได้กำหนดประเด็นเรื่องค่าเสียหายไว้โดยไม่ได้กำหนดประเด็นว่ามีเหตุควรให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามฟ้องหรือไม่ แต่เมื่อศาลแรงงานเห็นว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมศาลแรงงานก็พิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปได้ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 49พระราชบัญญัติ ญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 กำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะคุ้มครองป้องกันมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โดยบัญญัติให้ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับขณะเลิกจ้าง ซึ่งย่อมหมายความว่าเป็นการสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปในฐานะเดิมก่อนถูกเลิกจ้างการที่ศาลแรงงานพิพากษาให้นับอายุงานของโจทก์ต่อเนื่องจากอายุงานเดิมก่อนถูกเลิกจ้าง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 49 จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นการพิพากษานอกคำฟ้อง