คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อายุผู้กระทำผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษคดีก่อนเข้ากับคดีหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 ไม่จำกัดความผิดฐานเดียวกันหรืออายุผู้กระทำผิด
ฎีกาจำเลยที่ว่าการบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 จะต้องเป็นความผิดฐานเดียวกันและขณะกระทำผิดอายุต้องเกิน 17 ปี และตามคำขอท้ายฟ้องจะต้องระบุประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 ด้วยนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 มิได้บังคับว่าโทษในคดีก่อนที่ศาลรอการลงโทษไว้กับโทษในคดีหลังจะต้องเป็นโทษจากความผิดฐานเดียวกันจึงจะบวกโทษได้และมิได้มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับอายุของผู้กระทำผิด ดังนั้น แม้จะมีเหตุดังกล่าวศาลก็นำโทษของจำเลยในคดีก่อนที่รอการลงโทษไว้บวกกับโทษในคดีหลังได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก 6 เดือน โทษจำคุกรอไว้ 2 ปี ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนและพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง และภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษไว้ จำเลยกลับมากระทำความผิดคดีนี้อีกขอให้ศาลบวกโทษที่รอการลงโทษไว้เข้ากับโทษในคดีหลังด้วย และในคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ได้ระบุว่าขอให้ศาลสั่งบวกโทษจำเลย ศาลจึงมีอำนาจบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ แม้โจทก์จะมิได้ระบุประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง เพราะมาตราดังกล่าวมิใช่มาตราที่บัญญัติว่าเป็นการกระทำความผิดอันจำต้องอ้างมาในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3758/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำอนาจารโดยไม่ได้รับความยินยอม แม้ผู้เสียหายจะไปด้วยความสมัครใจแต่ถูกพาไปเพื่อประสงค์ต่อการกระทำผิด อายุผู้กระทำผิดขณะกระทำความผิดเป็นสำคัญ
วันเกิดเหตุมีงานศพที่วัดวังมะปราง บิดามารดาผู้เสียหายและผู้เสียหายไปช่วยงานศพที่วัดดังนี้การที่จำเลยพาผู้เสียหายอายุ17ปีออกจากวัดวังมะปราง แม้ในตอนแรกผู้เสียหายจะสมัครใจไปด้วยแต่การพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารและปลุกปล้ำกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายโดยผู้เสียหายมิได้ยินยอมด้วยนั้นถือว่าผู้เสียหายมิได้เต็มใจไปด้วยจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา278,318วรรคสาม ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีอายุ19ปีลดมาตราส่วนโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา76ไม่ถูกต้องเพราะอายุที่ถือเป็นเกณฑ์ตามบทกฎหมายดังกล่าวคืออายุขณะที่กระทำความผิดซึ่งขณะกระทำผิดจำเลยอายุ17ปีเศษยังอ่อนเยาว์ต่อความรู้สึกผิดชอบสมควรลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6045/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาชิงทรัพย์ vs. ข่มขืนใจ: การกระทำโดยมีแรงจูงใจจากความโกรธแค้น ไม่ถือเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
ก่อนเกิดเหตุคดีนี้ไม่นาน จำเลยเคยถูกนักเรียนโรงเรียนเดียวกับผู้เสียหายขู่บังคับเอาเข็มขัดไป การที่จำเลยขู่บังคับให้ผู้เสียหายถอดเข็มขัดให้ จึงเป็นเพราะความโกรธแค้นไม่มีเจตนาเป็นอย่างอื่น จำเลยมิได้ขู่บังคับให้ผู้เสียหายส่งนาฬิกาข้อมือและแหวนนาก ที่ผู้เสียหายสวมใส่ในขณะเกิดเหตุให้ด้วยเข็มขัดที่จำเลยเอาไปมีราคาเพียง 50 บาท ถือว่าจำเลยไม่มีเจตนาลักเข็มขัดของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ การที่จำเลยขู่บังคับให้ผู้เสียหายส่งเข็มขัดแก่จำเลยนั้นเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายให้กระทำตามความประสงค์ของจำเลยโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อร่างกายของผู้เสียหายอันเป็นความผิดต่อเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคแรกศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคท้าย ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่าตำรวจเรียกผู้เสียหายไปสอบปากคำ2 ครั้ง ครั้งหลังตำรวจได้ไกล่เกลี่ยไม่ให้เอาเรื่อง ผู้เสียหายจึงบอกตำรวจว่าไม่ติดใจเอาเรื่อง ดังนี้ยังฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์หรือเป็นการยอมความกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3666/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชน: อายุผู้กระทำผิดและลักษณะความผิดร้ายแรงเป็นตัวกำหนด
ศาลคดีเด็กและเยาวชนมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีที่เด็กหรือเยาวชนถูกฟ้องคดีอาญาทุกประเภท เว้นแต่เยาวชนที่มีอายุเกินกว่าสิบหกปีบริบูรณ์ในขณะกระทำความผิดได้กระทำความผิดอาญาในลักษณะร้ายแรงตามมาตราต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนพ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 163ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2515 ศาลคดีเด็กและเยาวชนจึงจะไม่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดี เมื่อปรากฏว่าขณะกระทำความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์ จำเลยอายุไม่เกินกว่า 16 ปีบริบูรณ์ แม้ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยมีอายุ 16 ปี 3 เดือนเศษ โจทก์ก็ต้องฟ้องต่อศาลคดีเด็กและเยาวชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 796-797/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจำคุกในคดีข่มขืนกระทำชำเรา โดยศาลอุทธรณ์ลดโทษตามอายุผู้กระทำผิด ทำให้ไม่อาจฎีกาได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราให้จำคุก 10 ปี ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงอย่างเดียวกับศาลชั้นต้นแต่เห็นว่าจำเลยอายุ 16 ปี พิพากษาแก้โดยลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 ให้จำคุก 5 ปี ดังนี้ เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และการลดโทษสำหรับผู้กระทำผิดอายุน้อย คดีเด็กและเยาวชน
คดีอาญาของศาลคดีเด็กและเยาวชน แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ทั้งบทและกำหนดโทษที่ศาลชั้นต้นวางมา เป็นการแก้มากแต่การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กนั้น ถือไม่ได้ว่าพิพากษาลงโทษจำเลยโดยจำคุกเกิน 1 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22
การกระทำของจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเป็นการพยายามฆ่า โดยการไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
ก่อนที่จำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหาย จำเลยกับพวกผู้เสียหายมีสาเหตุกันด้วยเรื่องผู้เสียหายขับรถเฉียดรถจำเลยแล้วมีการตะโกนท้าทายกันเล็กน้อย ทั้งสองฝ่ายมิได้หยุดรถ ต่อมาจำเลยกลับไปบ้านเอาปืนมายืนตรงที่เกิดเหตุ พอผู้เสียหายขี่รถจักรยานยนต์มา จำเลยก็ยิงเอาโดยไม่มีข้อเท็จจริงใดยืนยันว่าจำเลยมารออยู่เพื่อจะยิงผู้เสียหาย ดังนี้ การกระทำของจำเลยยังไม่ถึงขั้นพยายามฆ่าโดยการไตร่ตรองไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุผู้กระทำผิดกับการพิจารณาคดีในศาลเด็กและเยาวชน หากอายุ 18 ปีขึ้นขณะคดีมาสู่ศาล ต้องขึ้นศาลธรรมดา
ในกรณีที่เด็กกระทำผิดนั้น แม้ขณะกระทำผิดอายุจะยังไม่ถึง 18 ปี ถ้าขณะที่คดีมาสู่ศาลนั้นจำเลยมีอายุ 18 ปี หรือกว่านั้นขึ้นไป จำเลยก็ไม่เป็น "เยาวชน " ตามความหมายของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน ฯลฯ มาตรา 4 จึงต้องขึ้นศาลธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชน: อายุผู้กระทำผิด ณ วันฟ้องสำคัญกว่าวันทำผิด
ความประสงค์ที่จัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนขึ้น ก็เพื่อสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนจึงมีบทบัญญัติว่าด้วยการสอบสวนการพิจารณาและพิพากษาคดีไว้เป็นพิเศษผิดกับคดีธรรมดา ฉะนั้นแม้ขณะจำเลยทำผิด จำเลยจะมีอายุยังไม่ครบ 18 ปี บริบูรณ์ก็ตามแต่ขณะยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลนั้นอายุของจำเลยเกินกว่า 18 ปี บริบูรณ์แล้ว ดังนี้ ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางก็ไม่มีอำนาจจะพิจารณาพิพากษาคดีเช่นนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาต่างกันในผู้กระทำผิดร่วม อายุและภาวะของผู้กระทำผิดมีผลต่อการลดโทษ
ตัวการโทษไม่เท่ากัน จำเลยมีอายุน้อยศาลลดโทษได้ดุลย์พินิจ วิธีพิจารณาอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุผู้กระทำความผิดและการใช้กฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่ ศาลต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด
กรณีที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 เมื่อปรากฏว่าขณะกระทำความผิดในคดีนี้ จำเลยที่ 1 อายุ 17 ปีเศษ จึงต้องใช้บทบัญญัติมาตรา 75 ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดอันเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 2