พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานหญิงก่อนอายุเกษียณโดยอาศัยระเบียบที่ไม่เป็นธรรม ขัดต่อหลักความเท่าเทียมทางเพศ
พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 เป็นบทบัญญัติทั่วไป รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งสามารถกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่จะพ้นจากตำแหน่งพนักงานนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายดังกล่าวได้ เมื่อมติคณะรัฐมนตรีมิให้นำคำสั่ง กฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจทั่วไปมาใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจที่เกิดจากการแทรกแซงเข้าถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเช่นจำเลย จำเลยจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของระเบียบเดิม ส่วนในข้อที่เกี่ยวกับความแตกต่างกันระหว่างการเกษียณอายุของพนักงานที่เป็นหญิงและเป็นชายตามระเบียบดังกล่าวนั้น แม้จำเลยจะมีระเบียบเกี่ยวกับพนักงานฉบับแก้ไข พ.ศ.2530 กำหนดให้พนักงานหญิงทั่วไปซึ่งมีตำแหน่งต่ำกว่าผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบรูณ์ แต่สำหรับตำแหน่งของโจทก์คือตำแหน่งหัวหน้าส่วนที่เรียกว่าผู้จัดการส่วน ไม่ปรากฏว่าโดยลักษณะหรือสภาพของงานในตำแหน่งนี้ไม่อาจกำหนดให้พนักงานหญิงเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์อย่างพนักงานชายได้ ในเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยระเบียบนี้จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ในข้อนี้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานกลาง แต่การเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยเป็นการเลิกจ้างโดยอาศัยระเบียบซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะขัดแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้จึงเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งโจทก์ย่อมอุทธรณ์ได้แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานกลาง และในเมื่อการเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแล้วก็เป็นเรื่องที่ศาลแรงงานกลางจะต้องใช้ดุลพินิจสั่งให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1611/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุเกษียณพนักงานรัฐวิสาหกิจไม่ได้ผูกมัดการจ้างตลอดไป นายจ้างเลิกจ้างได้หากมีเหตุ
พระราชบัญญัติ คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พุทธศักราช 2518 ไม่ได้บังคับให้นายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจะต้องจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจตลอดไปจนกว่าลูกจ้างจะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ดังนั้น ในระหว่างการจ้างหากมีเหตุการณ์อันใดเกิดขึ้นที่นายจ้างจำเป็นต้องเลิกจ้างคนใดแล้ว นายจ้างย่อมแสดงเจตนาเลิกจ้างก่อนที่ลูกจ้างจะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ได้เสมอ.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุเกษียณกับการจ่ายค่าชดเชยและค่าวันหยุดพักผ่อน: ข้อบังคับบริษัทมิใช่สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำเลย ตาม ข้อบังคับของธนาคารฯ จำเลย ฉบับ ที่ 4 ข้อ 15(4) และ ข้อ 18 ที่กำหนดว่าพนักงานต้อง ออกจากงานเมื่อเกษียณอายุคือการที่พนักงานมีอายุครบ60 ปีบริบูรณ์นั้น มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้าง เพราะมิได้กำหนดข้อผูกพันให้จ้างกันจนกว่าพนักงานจะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แต่ เป็นการกำหนดคุณสมบัติพนักงานของจำเลยเป็นการทั่วไป ดัง นั้นพนักงานผู้มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ จึงมิใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน เมื่อธนาคารฯ จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ธนาคารฯ จำเลยจึงต้อง จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ เงินบำเหน็จที่ธนาคารฯ จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ เป็นเงินที่มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายแตกต่าง กับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จึงถือ ไม่ได้ว่าเป็นค่าชดเชย ข้อบังคับของธนาคารฯ จำเลย ฉบับ ที่ 17 ว่าด้วยการลา และการจ่ายเงินเดือน ระหว่างลา ข้อ 11 วรรคแรก กำหนดว่า "ผู้ปฏิบัติงานมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีในปีหนึ่งได้ 10 วัน โดย ไม่ถือ เป็นวันลา"และความในวรรคท้ายกำหนดว่า "การลา การอนุญาตให้ลาพักผ่อนประจำปีให้เป็นไปตาม ที่ผู้จัดการกำหนด" เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าผู้จัดการได้ กำหนดวันให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปีไว้ การที่โจทก์มิได้ใช้ สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี จึงหาตัด สิทธิโจทก์ที่จะได้ รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับบริษัทกำหนดอายุเกษียณไม่ใช่สัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลา จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ข้อบังคับของการเคหะแห่งชาติว่าด้วย การจ้าง การแต่งตั้งการออกจากตำแหน่ง วินัย และการลงโทษของลูกจ้างว่า"ลูกจ้างคนใดมีอายุหกสิบปีบริบูรณ์ ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อสิ้นปีงบประมาณ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณในปีงบประมาณที่ลูกจ้างนั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์" นั้นเป็นกรณีกำหนดคุณสมบัติของลูกจ้างไว้เป็นการทั่วไป อาจมีอยู่ก่อนที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดเข้าเป็นลูกจ้างหรือเพิ่งมีขึ้นหลังจากบุคคลนั้นเข้าเป็นลูกจ้างแล้วก็ได้ มิใช่เป็นการตกลงกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเป็นรายๆ ไปว่าจะจ้างกันเป็นระยะเวลานานเท่าใด แม้โจทก์ซึ่งเกิดปี พ.ศ.2463 อาจคำนวณอายุของตนและทราบล่วงหน้าอยู่แล้วว่า จำเลยจะจ้างโจทก์เพียงวันที่ 30 กันยายน 2523 ก็ตาม ก็ไม่ทำให้โจทก์กลายเป็นลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน