พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8052/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี เพื่อการอนาจาร แม้เด็กจะยินยอม ก็เป็นความผิดตามกฎหมาย
แม้ก่อนเกิดเหตุเด็กหญิง ท. จะทะเลาะกับโจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาและหนีออกจากบ้านไปพักอาศัยอยู่กับเพื่อนที่หอพักก็ตาม แต่โจทก์ร่วมยังเคยไปตามหาเด็กหญิง ท. ที่หอพักดังกล่าว แต่ไม่พบ ย่อมแสดงให้เห็นว่าแม้ในขณะที่เด็กหญิง ท. พักอาศัยอยู่กับเพื่อนที่หอพักดังกล่าวนั้น บิดามารดาก็ยังเอาใจใส่ติดตามตัวอยู่ พฤติการณ์บ่งชี้แสดงให้เห็นว่าเด็กหญิง ท. ยังคงอยู่ในอำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ดังนั้น การที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์มารับเด็กหญิง ท.ที่หอพักแล้วพาไปนั่งรถเล่นกับพาไปนั่งฟังเพลงต่อที่ห้องพักของเพื่อนจำเลย และขณะอยู่ในห้องพักจำเลยได้กอดจูบเด็กหญิง ท. จึงเป็นการพาเด็กหญิง ท. ออกจากหอพักไปเที่ยวเล่นโดยเจตนามุ่งหมายที่จะล่วงเกินทางเพศหรือกระทำอนาจารแก่เด็กหญิง ท. โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือความยินยอมจากบิดามารดาของเด็กหญิง ท. นั่นเอง ซึ่งผลของการกระทำของจำเลยเช่นนี้ย่อมทำให้อำนาจปกครองดูแลบุตรผู้เยาว์ของบิดามารดาที่มีต่อเด็กหญิง ท. ได้ถูกพรากจากไปโดยปริยาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
ความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตาม ป.อ. มาตรา 317 กฎหมายมีเจตนาที่จะปกป้องคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กมิให้ผู้ใดมาก่อการรบกวนหรือกระทำการใดๆ อันเป็นการกระทบกระทั่งต่ออำนาจปกครอง เมื่อการกระทำของจำเลยทำให้อำนาจปกครองของบิดามารดาถูกพรากจากไปเสียโดยปริยาย แม้การกระทำของจำเลยนั้น เด็กจะเต็มใจหรือสมัครใจไปกับจำเลยด้วย ก็หามีผลทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดไม่
ความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตาม ป.อ. มาตรา 317 กฎหมายมีเจตนาที่จะปกป้องคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กมิให้ผู้ใดมาก่อการรบกวนหรือกระทำการใดๆ อันเป็นการกระทบกระทั่งต่ออำนาจปกครอง เมื่อการกระทำของจำเลยทำให้อำนาจปกครองของบิดามารดาถูกพรากจากไปเสียโดยปริยาย แม้การกระทำของจำเลยนั้น เด็กจะเต็มใจหรือสมัครใจไปกับจำเลยด้วย ก็หามีผลทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7847/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสหลังกระทำความผิดทางเพศกับเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี: ผลกระทบต่อการลงโทษ
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครสวรรค์มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยและผู้เสียหายที่ 1 สมรสกัน ดังนั้น ความผิดในข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก จำเลยไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 277 วรรคท้าย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1258/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ความผิดตามมาตรา 317 วรรคแรก เหตุอันสมควร และข้อยกเว้นความผิด
ความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317เพื่อเอาโทษแก่ผู้ที่พรากเด็ก แม้เด็กเต็มใจไปด้วยการพรากเด็กตามมาตรานี้มิได้จำกัดว่าพรากไปโดยวิธีการอย่างใด ถ้าเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีแล้วย่อมเป็นความผิดแม้เด็กจะมีรูปร่างใหญ่โต มีความรู้สึกผิดชอบเกินกว่า ปกติก็ตาม และการพรากก็มิได้จำกัดว่าพรากไปเพื่อประสงค์ใด หรือประโยชน์อย่างใดเพียงแต่มีเจตนาพรากเด็กไปเสียจาก บิดามารดาก็เป็นความผิดแล้ว แต่ถ้าจำเลยพรากเด็กไปโดยมีเหตุอันสมควรก็ไม่มีความผิดตามมาตรานี้ ปรากฏว่าผู้เสียหายกำลังศึกษาเล่าเรียนยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา การที่จำเลยพราก ผู้เสียหายไปเสียจากบิดามารดาขณะที่บิดามารดาจำต้อง อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่าง ที่เป็นผู้เยาว์และมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรอันเป็นสิทธิ และหน้าที่ของบิดามารดาและบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การกระทำของจำเลยจึงปราศจากเหตุอันสมควร จึงเป็น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก แต่เมื่อจำเลยกับผู้เสียหายรักกันด้วยความสุจริตใจ ต่างมีเจตนาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาและศาลมีคำสั่ง อนุญาตให้สมรสและมีบุตรด้วยกัน การกระทำของจำเลย ขาดเจตนากระทำเพื่อการอนาจาร จึงไม่มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6207/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพาเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปทำงานโดยไม่สุจริต ไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็ก
เด็กชาย ด.มีอายุไม่เกิน 15 ปี หลังจากบิดามารดาของเด็กชาย ด.ถึงแก่ความตาย ผู้เสียหายซึ่งเป็นพี่สาวของบิดาเด็กชาย ด.เป็นผู้ดูแลเด็กชาย ด.ตลอดมา การที่ผู้เสียหายเป็นผู้อนุญาตให้จำเลยพาเด็กชาย ด.ไปทำงานที่กรุงเทพมหานครตามที่จำเลยร้องขอ ไม่ปรากฏเลศนัยอันส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตของจำเลย ดังนี้ การที่จำเลยพาเด็กชาย ด.ไป การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคแรก ส่วนกรณีที่เด็กชาย ด.ได้หายไปหลังจากไปอยู่กรุงเทพมหานครนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ไม่ทำให้จำเลยต้องรับผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6207/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ต้องพิจารณาการยินยอมของผู้ปกครองหรือผู้ดูแล หากมีการยินยอม การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด
เด็กชาย ด. มีอายุไม่เกิน 15 ปี หลังจากบิดามารดาของเด็กชาย ด. ถึงแก่ความตาย จ. ผู้เสียหายซึ่งเป็นพี่สาวของบิดาเด็กชาย ด.ได้เป็นผู้ดูแลเด็กชายด. ตลอดมา จ. อนุญาตให้จำเลยพาเด็กชาย ด. ไปทำงานที่กรุงเทพมหานครตามที่จำเลยร้องขอ ไม่ปรากฏว่า การขออนุญาตของจำเลยดังกล่าวมีเลศนัยอันส่อให้เห็น ถึงความไม่สุจริตของจำเลยแต่อย่างใด การที่ จ. อนุญาตให้จำเลยพาเด็กชาย ด. ไป ทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจาก ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก ส่วนกรณีที่เด็กชาย ด. ได้หายไปหลังจากไปอยู่กรุงเทพมหานครกับจำเลยนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ไม่ทำให้จำเลย ต้องรับผิดตามบทมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6207/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี: การยินยอมของผู้ดูแลทำให้ไม่เป็นความผิด
เด็กชายด. มีอายุไม่เกิน 15 ปี หลังจากบิดามารดาของเด็กชายด. ถึงแก่ความตาย ผู้เสียหายซึ่งเป็นพี่สาวของบิดาเด็กชายด.เป็นผู้ดูแลเด็กชายด.ตลอดมาการที่ผู้เสียหายเป็นผู้อนุญาตให้จำเลยพาเด็กชายด. ไปทำงานที่กรุงเทพมหานครตามที่จำเลยร้องขอ ไม่ปรากฏเลศนัยอันส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตของจำเลย ดังนี้ การที่จำเลยพาเด็กชายด. ไป การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจาก ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรกส่วนกรณีที่เด็กชายด. ได้หายไปหลังจากไปอยู่กรุงเทพมหานครนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ไม่ทำให้จำเลยต้องรับผิด ตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10228/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจปกครอง ถือเป็นความผิดอาญา
ผู้เสียหายออกจากบ้านโดยหลบหนีมารดาแล้วไปกับจำเลยย. และ ป.เอง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากมารดา ผู้เสียหายขณะเกิดเหตุมีอายุเพียง ๑๓ ปีเศษ อยู่ในอำนาจปกครองของมารดา การที่จำเลยกับ ย.และ ป.ได้พาผู้เสียหายไปโดยมารดาผู้เสียหายมิได้ยินยอมด้วยนั้น ย่อมเป็นการล่วงอำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายจะสมัครใจยินยอมไปกับจำเลยและพวกก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมเห็นชอบจากมารดาผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าว จึงเป็นการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปี ไปเสียจากมารดาแล้ว ทั้งเมื่อจำเลย และ ย.ได้หลบหนีออกจากบ้านงานไปก่อนโดยไม่นำผู้เสียหายกลับบ้าน ประกอบกับบ้านงานมีการเลี้ยงสุราและดมกาวซึ่งเป็นสารระเหย ทั้งบ้านงานก็ไม่มีผู้หญิง มีแต่พวกของจำเลยซึ่งเป็นชายทั้งหมด ดังนั้นการที่จำเลยกับพวกได้ร่วมกันพรากผู้เสียหายไป จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา ๓๑๗ วรรคหนึ่ง, ๘๓
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10228/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากตัวเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง และเจตนาเข้าร่วมกระทำผิด
ผู้เสียหายออกจากบ้านโดยหลบหนีมารดาแล้วไปกับจำเลยย. และป. เองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากมารดาผู้เสียหายขณะเกิดเหตุมีอายุเพียง13ปีเศษอยู่ในอำนาจปกครองของมารดาการที่จำเลยกับย. และป. ได้พาผู้เสียหายไปโดยมารดาผู้เสียหายมิได้ยินยอมด้วยนั้นย่อมเป็นการล่วงอำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหายแม้ผู้เสียหายจะสมัครใจยินยอมไปกับจำเลยและพวกก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมเห็นชอบจากมารดาผู้เสียหายการกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าวจึงเป็นการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน15ปีไปเสียจากมารดาแล้วทั้งเมื่อจำเลยและย. ได้หลบหนีออกจากบ้านงานไปก่อนโดยไม่นำผู้เสียหายกลับบ้านประกอบกับบ้านงานมีการเลี้ยงสุราและดมกาวซึ่งเป็นสารระเหยทั้งบ้านงานก็ไม่มีผู้หญิงมีแต่พวกของจำเลยซึ่งเป็นชายทั้งหมดดังนั้นการที่จำเลยกับพวกได้ร่วมกันพรากผู้เสียหายไปจึงถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา317วรรคหนึ่ง,83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7673/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี: การกระทำที่เข้าข่ายความผิดและข้อยกเว้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ให้อำนาจศาลอุทธรณ์ภาค 5 ยกปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยขึ้นวินิจฉัยเองได้ การวินิจฉัยว่าการกระทำใดเป็นความผิดฐานใดหรือไม่ เป็นการปรับข้อเท็จจริงเข้าสู่กฎหมาย เป็นปัญหาข้อกฎหมายและเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงมีอำนาจวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมา ไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 ได้
ผู้เสียหายที่ 1 อายุ 12 ปีเศษ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ บิดามารดาเลิกร้างกัน พักอาศัยอยู่กับผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นมารดาผู้เสียหายที่ 1 จึงอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 จำเลยเคยแอบปีนหน้าต่างห้องนอนเข้าไปกระทำอนาจารและกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ในบ้านของผู้เสียหายที่ 2 ในเวลาวิกาลมาแล้วหลายครั้งได้นัดให้ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งพบกันขณะผู้เสียหายที่ 1 ไปส่งเพื่อให้ไปพบจำเลยที่โรงเรียนแล้วพาผู้เสียหายที่ 1 ไปกระทำชำเราที่ข้างอาคารเรียน แม้ผู้เสียหายที่ 1 จะสมัครใจไปกับจำเลยก็เป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 และเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม
จำเลยนั่งดื่มสุรากับเพื่อนอยู่ที่บ้าน ว. อยู่ก่อน ผู้เสียหายที่ 1 ไปที่บ้าน ว. และไปเข้าห้องน้ำหลังบ้าน ว. เอง โดยจำเลยไม่ได้นัดแนะหรือบอกให้ผู้เสียหายที่ 1 ทำเช่นนั้น จำเลยเพียงแต่ฉวยโอกาสลุกจากวงสุราตามเข้าไปขอกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ในห้องน้ำดังกล่าวโดยผู้เสียหายที่ 1 ยินยอม เสร็จแล้วจำเลยก็ออกจากห้องน้ำกลับไปนั่งดื่มสุราต่อ โดยไม่ได้กระทำการอื่นใดแก่ผู้เสียหายที่ 1 อีก จำเลยมุ่งที่จะกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 เพียงอย่างเดียว มิได้มีเจตนาที่จะล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม
ผู้เสียหายที่ 1 อายุ 12 ปีเศษ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ บิดามารดาเลิกร้างกัน พักอาศัยอยู่กับผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นมารดาผู้เสียหายที่ 1 จึงอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 จำเลยเคยแอบปีนหน้าต่างห้องนอนเข้าไปกระทำอนาจารและกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ในบ้านของผู้เสียหายที่ 2 ในเวลาวิกาลมาแล้วหลายครั้งได้นัดให้ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งพบกันขณะผู้เสียหายที่ 1 ไปส่งเพื่อให้ไปพบจำเลยที่โรงเรียนแล้วพาผู้เสียหายที่ 1 ไปกระทำชำเราที่ข้างอาคารเรียน แม้ผู้เสียหายที่ 1 จะสมัครใจไปกับจำเลยก็เป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 และเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม
จำเลยนั่งดื่มสุรากับเพื่อนอยู่ที่บ้าน ว. อยู่ก่อน ผู้เสียหายที่ 1 ไปที่บ้าน ว. และไปเข้าห้องน้ำหลังบ้าน ว. เอง โดยจำเลยไม่ได้นัดแนะหรือบอกให้ผู้เสียหายที่ 1 ทำเช่นนั้น จำเลยเพียงแต่ฉวยโอกาสลุกจากวงสุราตามเข้าไปขอกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ในห้องน้ำดังกล่าวโดยผู้เสียหายที่ 1 ยินยอม เสร็จแล้วจำเลยก็ออกจากห้องน้ำกลับไปนั่งดื่มสุราต่อ โดยไม่ได้กระทำการอื่นใดแก่ผู้เสียหายที่ 1 อีก จำเลยมุ่งที่จะกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 เพียงอย่างเดียว มิได้มีเจตนาที่จะล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม