คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อาหาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2513/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อาหารเป็นสวัสดิการ ไม่ถือเป็นค่าจ้าง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
อาหารวันละ 3 มื้อ ที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้างที่ไปทำงานปกติรับประทาน โดยลูกจ้างซึ่งไม่ได้ไปทำงานหรือเป็นวันหยุดจะไม่ได้รับประทานด้วยนั้น อาหารดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการช่วยการครองชีพของลูกจ้างซึ่งมาทำงานให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง อันมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างอย่างหนึ่งเท่านั้น มิใช่ค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ต่อมาเมื่อ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีผลบังคับใช้ทำให้ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวถูกยกเลิก ความหมายคำว่า "ค่าจ้าง" จึงต้องใช้ตามมาตรา 5 ซึ่งหมายถึง "เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ ?" ดังนั้น อาหารวันละ 3 มื้อ ที่จำเลยจัดให้แก่โจทก์จึงมิใช่เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงาน จึงไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวความผิดหลายบท – อาหารผิดมาตรฐานและไม่บริสุทธิ์ – ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาทั้งหมด
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ก็ตามจำเลยก็หยิบยกขึ้นในชั้นฎีกาได้
แม้ความผิดฐานผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารผิดมาตรฐานตามฟ้องข้อ ก. อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 25 (3), 60 และความผิดฐานผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารไม่บริสุทธิ์ตามฟ้องข้อ ข. อันเป็นความผิดตามมาตรา 25 (1), 58 จะเป็นความผิดที่มีองค์ประกอบความผิดและบทลงโทษแตกต่างกันก็ตาม เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารผิดมาตรฐานและอาหารไม่บริสุทธิ์ตามฟ้องทั้งสองข้อดังกล่าวในวันเดียวกัน และอาหารที่ผลิตเพื่อจำหน่ายก็เป็นอาหารกระป๋องซึ่งภายในบรรจุปลาเกล็ดขาวทอดกรอบอย่างเดียวกัน อีกทั้งไม่ปรากฏตามคำฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องทั้งสองข้อดังกล่าวด้วยเจตนาต่างกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90 หาใช่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามมาตรา 91 ไม่
ปัญหาว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน รวมทั้งปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยสูงเกินสมควรนั้น ล้วนเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาด้วยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท อาหารผิดมาตรฐานและไม่บริสุทธิ์ ศาลฎีกาแก้โทษจำเลย
ปัญหาที่ว่า การกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยที่ 2 ก็ยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ ความผิดฐานผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารผิดมาตรฐาน อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25(3),60และความผิดฐานผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารไม่บริสุทธิ์ อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25(1),58 เป็นความผิดที่มีองค์ประกอบความผิดและบทลงโทษแตกต่างกัน แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารผิดมาตรฐานและอาหารไม่บริสุทธิ์ในวันเดียวกัน และอาหารที่ผลิตเพื่อจำหน่ายก็เป็นอาหารกระป๋องซึ่งภายในบรรจุปลาเกล็ดขาวทอดกรอบอย่างเดียวกันอีกทั้งไม่ปรากฏตามคำฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองข้อหาด้วยเจตนาต่างกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ปัญหาว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันซึ่งศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท อาหารผิดมาตรฐาน - ไม่บริสุทธิ์ ศาลฎีกาแก้ไขโทษปรับ/จำคุก
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ก็ตาม จำเลยก็หยิบยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ แม้ความผิดฐานผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารผิดมาตรฐานตามฟ้องข้อ ก. อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา25(3),60 และความผิดฐานผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารไม่บริสุทธิ์ตามฟ้องข้อ ข. อันเป็นความผิดตามมาตรา 25(1),58 จะเป็นความผิดที่มีองค์ประกอบความผิดและบทลงโทษแตกต่างกันก็ตาม เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารผิดมาตรฐานและอาหารไม่บริสุทธิ์ตามฟ้องทั้งสองข้อดังกล่าวในวันเดียวกันและอาหารที่ผลิตเพื่อจำหน่ายก็เป็นอาหารกระป๋องซึ่งภายในบรรจุปลาเกล็ดขาวทอดกรอบอย่างเดียวกัน อีกทั้งไม่ปรากฏตามคำฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องทั้งสองข้อดังกล่าวด้วยเจตนาต่างกันการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 หาใช่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามมาตรา 91 ไม่ ปัญหาว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันรวมทั้งปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยสูงเกินสมควรนั้นรวมทั้งปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยสูงเกินสมควรนั้นล้วนเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาด้วยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา-ความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตและจำหน่ายน้ำปลาไม่ได้มาตรฐานตาม พ.ร.บ.อาหาร ถือเป็นความผิด 2 กรรม แม้ไม่ก่อให้เกิดอันตราย
น้ำปลาของกลางที่จำเลยผลิตขึ้นมีปริมาณไนโตรเจน ซึ่งช่วยเสริมสร้างโปรตีนให้ร่างกายต่ำกว่ามาตรฐานระหว่างร้อยละ 30.5ถึงร้อยละ 72 แสดงว่าน้ำปลาดังกล่าวไม่ได้มาตรฐานมีคุณค่าทางอาหารขาดเกินกว่าร้อยละ 30 ถือได้ว่าเป็นอาหารปลอมตามพระราชบัญญัติอาหารพ.ศ. 2522 มาตรา 27(2) แล้ว แม้ไม่ก่อให้เกิดโทษหรืออันตรายต่อผู้บริโภคก็ตาม พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4 บัญญัตินิยามคำว่า"จำหน่าย" หมายความรวมถึงขาย จ่าย แจก หรือแลกเปลี่ยน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือการมีไว้เพื่อจำหน่ายด้วย ในชั้นจับกุมจำเลยรับว่าผลิตน้ำปลาเพื่อจำหน่ายน้ำปลาของกลาง เชื่อได้ว่าจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายถือว่าเป็นการจำหน่ายด้วย การผลิตอาหารปลอมคือน้ำปลาของจำเลย มีกรรมวิธีต่าง ๆจนกระทั่งเป็นน้ำปลาบรรจุขวดเพื่อจำหน่ายได้ เป็นการกระทำอันหนึ่งเป็นกรรมหนึ่ง ส่วนการจำหน่ายซึ่งรวมถึงการมีไว้เพื่อจำหน่ายด้วยตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4 เป็นการกระทำอีกอันหนึ่งเป็นอีกกรรมหนึ่งหลังจากกระทำการปลอมอาหารแล้วเป็นสองกรรมต่างกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2877/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ น้ำนมถั่วเหลืองแลคตาซอยไม่ใช่ 'อาหาร' แต่เป็น 'เครื่องดื่ม' จึงได้รับการยกเว้นภาษีการค้าตาม พ.ร.ก. ลดหย่อนภาษี
ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517มิได้ให้ความหมายของคำว่าอาหารหรือเครื่องดื่มไว้ จึงต้องถือตามความหมายทั่วไปของคำดังกล่าว จะถือตามความหมายของกฎหมายอื่นไม่ได้ น้ำนมถั่วเหลืองแลคตาซอยไม่ใช่ของกินที่มีลักษณะเพื่อค้ำจุนชีวิตหรือเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตจึงไม่ใช่อาหาร แต่เป็นเครื่องดื่มเพราะสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำ แม้จะมีส่วนผสมคือ ถั่วเหลือง น้ำตาล นมผง และไขมันพืชอยู่ด้วยถึงร้อยละ21.2 และมีคำว่า "อาหารเสริม" อยู่ที่กล่องบรรจุก็ตาม ก็แสดงเพียงว่าเป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของอาหารอยู่ด้วยเท่านั้นไม่ใช่ "อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหาร" ตามบัญชีที่ 1 หมวด 1(4)(ข)ท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว และไม่เป็น "อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากแป้งหรือถั่ว" ตามบัญชีที่ 1 หมวด 1(10) ด้วยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำนมถั่วเหลืองแลคตาซอยจึงได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา 5(8) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2877/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทสินค้า (น้ำนมถั่วเหลือง) เพื่อการยกเว้นภาษีการค้า พิจารณาจากลักษณะการบริโภคและส่วนประกอบ
ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่54) พ.ศ. 2517 มิได้ให้ความหมายของคำว่าอาหารหรือเครื่องดื่มไว้ จึงต้องถือตามความหมายทั่วไปของคำดังกล่าวจะถือตามความหมายของกฎหมายอื่นไม่ได้ น้ำนมถั่วเหลืองแลคตาซอยไม่ใช่ของกินที่มีลักษณะเพื่อค้ำจุนชีวิตหรือเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตจึงไม่ใช่อาหารแต่เป็นเครื่องดื่มเพราะสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำ แม้จะมีส่วนผสมคือ ถั่วเหลือง น้ำตาล นมผง และไขมันพืชอยู่ด้วยถึงร้อยละ 21.2 และมีคำว่า 'อาหารเสริม' อยู่ที่กล่องบรรจุก็ตาม ก็แสดงเพียงว่าเป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของอาหารอยู่ด้วยเท่านั้น ไม่ใช่ 'อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหาร' ตามบัญชีที่ 1 หมวด 1(4) ข ท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว และไม่เป็น 'อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากแป้งหรือถั่ว'ตามบัญชีที่ 1 หมวด 1(10) ด้วย โจทก์ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำนมถั่วเหลืองแลคตาซอยจึงได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา 5(8) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1134/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นมเปรี้ยวยาคูลท์จัดเป็น 'อาหาร' ไม่ใช่ 'เครื่องดื่ม' ต้องเสียภาษีการค้า
สินค้านมสดเปรี้ยวยาคูลท์ของโจทก์ประกอบด้วยนมสดเป็นส่วนใหญ่ ต้องถือว่าเป็นอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหาร จึงเป็นสินค้าที่มีระบุไว้ในบัญชี 1 หมวด 1(4) ท้ายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 หาใช่เป็นเครื่องดื่มที่ผลิตในประเทศตามบัญชีที่ 1 หมวด 1(6) ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว โจทก์ผู้ประกอบการค้าเป็นผู้ผลิตจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้า และต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1(ก) ในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ
คำว่าอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มใช้ในประมวลรัษฎากรและพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 54 จะนำวิเคราะห์ศัพท์หรือความหมายใน พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหาร และพระราชบัญญัติภาษีเครื่องดื่มมาใช้ก็ไม่ได้ เพราะเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติเหล่านี้ต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำว่า 'บริโภค' ในเทศบัญญัติควบคุมการค้าอาหารและน้ำแข็ง การขายน้ำแข็งให้เรือประมงเพื่อแช่ปลาไม่ต้องขออนุญาต
เทศบัญญัติ ฯ ข้อ 5 มีความว่า ห้ามมิให้ผู้ใดตั้งหรือใช้สถานที่เอกชนแห่งใดเป็นที่ขายอาหารหรือน้ำแข็ง หรือทำ หรือประกอบ หรือปรุงและสะสมอาหารหรือน้ำแข็งสำหรับขายให้บุคคลบริโภคภายในเขตเทศบาลเมืองกระบี่เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
จำเลยขายน้ำแข็งให้แก่พวกเรือประมง เพื่อเอาไปแช่ปลาสด ไม่ต้องขออนุญาตตามเทศบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1686/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งอาหารล่วงหน้าและเลี้ยงนอกสถานที่ ไม่ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 345 แต่เป็นผิดสัญญาทางแพ่ง
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 345 เป็นเรื่องสั่งซื้ออาหารและบริโภคด้วย อันเป็นการกระทำต่อเนื่องกันในเวลานั้น ซึ่งตามปกติก็บริโภคกันที่ร้านขายอาหารนั่นเอง โดยเป็นที่เข้าใจกันว่าผู้สั่งซื้อสามารถจะชำระค่าอาหารได้
จำเลยจะแต่งงานบุตรสาวจึงไปติดต่อสั่งอาหารล่วงหน้า 18 โต๊ะ ๆ ละ 200 บาท และให้นำไปเลี้ยงกันในสถานที่อีกแห่งหนึ่ง ดังนี้ มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างเหมา เมื่อจำเลยไม่ชำระราคาก็เป็นผิดสัญญาทางแพ่ง หาผิดอาญาไม่