พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกระทรวงมหาดไทยกำหนดจ่ายเงินชดเชยจากการเลิกจ้างตามประกาศคณะปฏิวัติและบทนิยามค่าจ้าง
กรมแรงงานจำเลยที่ 1 เป็นกรมในรัฐบาลเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย อันความประสงค์ของจำเลยที่ 1 ย่อมแสดงปรากฏจากผู้แทนคืออธิบดีกรมแรงงานซึ่งเป็นผู้แทนโดยตำแหน่ง เมื่ออธิบดีกรมแรงงานซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 พิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับลูกจ้างเกี่ยวด้วยเงินชดเชยซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการตามตำแหน่งหน้าที่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ หาจำต้องฟ้องอธิบดีกรมแรงงานในฐานะบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ไม่ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เจ้าหน้าที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19ได้ออกคำสั่งให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างนับว่าเกิดมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลขึ้นแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและโจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งที่จำเลยทั้งสองออกมาบังคับแก่โจทก์ตกเป็นโมฆะ มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 2 และไม่ใช่กรณีละเมิด จึงไม่ต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปในทางการที่จ้าง
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดเวลาทำงานฯลฯ ข้อ 27 เป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ที่กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้างเท่ากับค่าจ้างไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในเมื่อได้จ้างติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ซึ่งคำว่า 'เลิกจ้าง' มีบทนิยามไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 3 หมายความถึงให้ลูกจ้างออกจากงานด้วยการให้ออกปลดออก หรือไล่ออกและรวมถึงการที่นายจ้างไม่ยินยอมให้ลูกจ้างปฏิบัติงานและไม่จ่ายค่าจ้างให้ฯลฯ ตามคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างนั้นระบุว่าเป็นเรื่องโจทก์นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 4 ที่ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน พ.ศ. 2514 มาตรา 3 ซึ่งว่าด้วยวิธีการในเรื่องข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงาน ค่าจ้าง และการงดจ้างเท่านั้น หาเกี่ยวกับเงินชดเชยซึ่งลูกจ้างจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากนายจ้างเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ไม่
ตามบทนิยามในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ เงินชดเชยนั้นเนื้อแท้ก็เป็น 'ค่าจ้าง' ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นพิเศษตามความมุ่งหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 นั่นเอง แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 จะมิได้กล่าวถึงเงินชดเชยไว้ กระทรวงมหาดไทยก็มีอำนาจที่จะกำหนดการปฏิบัติในเรื่องนี้ได้ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 เกี่ยวด้วยเงินชดเชยจึงมีผลบังคับ
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดเวลาทำงานฯลฯ ข้อ 27 เป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ที่กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้างเท่ากับค่าจ้างไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในเมื่อได้จ้างติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ซึ่งคำว่า 'เลิกจ้าง' มีบทนิยามไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 3 หมายความถึงให้ลูกจ้างออกจากงานด้วยการให้ออกปลดออก หรือไล่ออกและรวมถึงการที่นายจ้างไม่ยินยอมให้ลูกจ้างปฏิบัติงานและไม่จ่ายค่าจ้างให้ฯลฯ ตามคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างนั้นระบุว่าเป็นเรื่องโจทก์นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 4 ที่ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน พ.ศ. 2514 มาตรา 3 ซึ่งว่าด้วยวิธีการในเรื่องข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงาน ค่าจ้าง และการงดจ้างเท่านั้น หาเกี่ยวกับเงินชดเชยซึ่งลูกจ้างจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากนายจ้างเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ไม่
ตามบทนิยามในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ เงินชดเชยนั้นเนื้อแท้ก็เป็น 'ค่าจ้าง' ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นพิเศษตามความมุ่งหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 นั่นเอง แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 จะมิได้กล่าวถึงเงินชดเชยไว้ กระทรวงมหาดไทยก็มีอำนาจที่จะกำหนดการปฏิบัติในเรื่องนี้ได้ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 27 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 เกี่ยวด้วยเงินชดเชยจึงมีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99-101/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกระทรวงมหาดไทยในการกำหนดจ่ายค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามประกาศคณะปฏิวัติฯ
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ข้อ 2 ที่ให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจกำหนดการจ่ายค่าจ้างของลูกจ้างนั้น คำว่า "ค่าจ้าง" มิได้มีบทนิยามไว้ จึงต้องเข้าใจตามความหมายสามัญ คือหมายถึงสินจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ หรือนัยหนึ่งหมายถึงสินจ้างที่ให้ตอบแทนการทำงานของลูกจ้าง
ประกาศของกระทรวงมหาดไทยที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 2 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ได้กำหนดบทนิยามคำว่า "ค่าจ้าง" "ค่าล่วงเวลา" และ "ค่าล่วงเวลาในวันหยุด" ขึ้นเพื่อสะดวกแก่การดำเนินให้เป็นไปตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ในส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างโดยจำแนกชื่อค่าจ้างหรือสินจ้างที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้าง และหลักเกณฑ์การจ่ายต่างกับคำว่า "ค่าจ้าง" ตามที่กำหนดไว้ในประกาศของกระทรวงมหาดไทย ส่วนที่บทนิยามคำว่า "ค่าจ้าง" ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยไม่รวม "ค่าล่วงเวลา" และ "ค่าล่วงเวลาในวันหยุด" เพราะได้มีบทนิยามไว้อีกส่วนหนึ่งต่างหาก ฉะนั้น คำว่า "ค่าล่วงเวลา" และ "ค่าล่วงเวลาในวันหยุด" จึงเป็นค่าจ้างตามความมุ่งหมายในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ประกาศของกระทรวงหมาดไทยที่กำหนดการปฏิบัติในเรื่องการจ่ายค่าจ้างโดยจำแนกชื่อสินจ้างต่างกันไป จึงไม่ได้ออกนอกเหนืออำนาจที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 กำหนดให้
ประกาศของกระทรวงมหาดไทยที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 2 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ได้กำหนดบทนิยามคำว่า "ค่าจ้าง" "ค่าล่วงเวลา" และ "ค่าล่วงเวลาในวันหยุด" ขึ้นเพื่อสะดวกแก่การดำเนินให้เป็นไปตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ในส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างโดยจำแนกชื่อค่าจ้างหรือสินจ้างที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้าง และหลักเกณฑ์การจ่ายต่างกับคำว่า "ค่าจ้าง" ตามที่กำหนดไว้ในประกาศของกระทรวงมหาดไทย ส่วนที่บทนิยามคำว่า "ค่าจ้าง" ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยไม่รวม "ค่าล่วงเวลา" และ "ค่าล่วงเวลาในวันหยุด" เพราะได้มีบทนิยามไว้อีกส่วนหนึ่งต่างหาก ฉะนั้น คำว่า "ค่าล่วงเวลา" และ "ค่าล่วงเวลาในวันหยุด" จึงเป็นค่าจ้างตามความมุ่งหมายในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ประกาศของกระทรวงหมาดไทยที่กำหนดการปฏิบัติในเรื่องการจ่ายค่าจ้างโดยจำแนกชื่อสินจ้างต่างกันไป จึงไม่ได้ออกนอกเหนืออำนาจที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 กำหนดให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99-101/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกระทรวงมหาดไทยในการกำหนดค่าจ้างและค่าล่วงเวลาตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 19
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ข้อ 2 ที่ให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจกำหนดการจ่ายค่าจ้างของลูกจ้างนั้น. คำว่า'ค่าจ้าง' มิได้มีบทนิยามไว้ จึงต้องเข้าใจตามความหมายสามัญ. คือหมายถึงสินจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้. หรือนัยหนึ่งหมายถึงสินจ้างที่ให้ตอบแทนการทำงานของลูกจ้าง.
ประกาศของกระทรวงมหาดไทยที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ2 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ได้กำหนดบทนิยามคำว่า 'ค่าจ้าง''ค่าล่วงเวลา'และ'ค่าล่วงเวลาในวันหยุด'ขึ้นเพื่อสะดวกแก่การดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ในส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างโดยจำแนกชื่อค่าจ้างหรือสินจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง. และหลักเกณฑ์การจ่ายต่างกันไปตามเวลาหรือวันที่ลูกจ้างทำงานให้ คำว่า 'ค่าล่วงเวลา'และ'ค่าล่วงเวลาในวันหยุด'เป็นค่าจ้างหรือสินจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานเกินเวลาปกติ หรือทำงานในวันหยุดในอัตราพิเศษ. อันมีลักษณะและหลักเกณฑ์ในการจ่ายต่างกับคำว่า 'ค่าจ้าง' ตามที่กำหนดไว้ในประกาศของกระทรวงมหาดไทย. ส่วนที่บทนิยามคำว่า 'ค่าจ้าง'ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยไม่รวม.'ค่าล่วงเวลา'และ'ค่าล่วงเวลาในวันหยุด' เพราะได้มีบทนิยามไว้อีกส่วนหนึ่งต่างหาก ฉะนั้น คำว่า 'ค่าล่วงเวลา' และ'ค่าล่วงเวลาในวันหยุด' จึงเป็นค่าจ้างตามความมุ่งหมายในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ประกาศของกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดการปฏิบัติในเรื่องการจ่ายค่าจ้างโดยจำแนกชื่อสินจ้างต่างกันไป. จึงไม่ได้ออกนอกเหนืออำนาจที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 กำหนดให้.
ประกาศของกระทรวงมหาดไทยที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ2 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ได้กำหนดบทนิยามคำว่า 'ค่าจ้าง''ค่าล่วงเวลา'และ'ค่าล่วงเวลาในวันหยุด'ขึ้นเพื่อสะดวกแก่การดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ในส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างโดยจำแนกชื่อค่าจ้างหรือสินจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง. และหลักเกณฑ์การจ่ายต่างกันไปตามเวลาหรือวันที่ลูกจ้างทำงานให้ คำว่า 'ค่าล่วงเวลา'และ'ค่าล่วงเวลาในวันหยุด'เป็นค่าจ้างหรือสินจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานเกินเวลาปกติ หรือทำงานในวันหยุดในอัตราพิเศษ. อันมีลักษณะและหลักเกณฑ์ในการจ่ายต่างกับคำว่า 'ค่าจ้าง' ตามที่กำหนดไว้ในประกาศของกระทรวงมหาดไทย. ส่วนที่บทนิยามคำว่า 'ค่าจ้าง'ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยไม่รวม.'ค่าล่วงเวลา'และ'ค่าล่วงเวลาในวันหยุด' เพราะได้มีบทนิยามไว้อีกส่วนหนึ่งต่างหาก ฉะนั้น คำว่า 'ค่าล่วงเวลา' และ'ค่าล่วงเวลาในวันหยุด' จึงเป็นค่าจ้างตามความมุ่งหมายในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ประกาศของกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดการปฏิบัติในเรื่องการจ่ายค่าจ้างโดยจำแนกชื่อสินจ้างต่างกันไป. จึงไม่ได้ออกนอกเหนืออำนาจที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 กำหนดให้.