พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2203/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกกรรมการบริษัทมีผลทันทีต่ออำนาจการกระทำแทน แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน และไม่มีผลต่อสิทธิลูกจ้าง
ความเกี่ยวพันกันระหว่างบริษัทจำเลยกับ น. ผู้เป็นกรรมการนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1167 บัญญัติให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน ดังนั้น การที่ น. ลาออกจากตำแหน่งกรรมการของบริษัทจำเลยซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับการบอกเลิกเป็นตัวแทนย่อมบอกเลิกเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่จำเลยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826, 827 หาใช่มีผลต่อเมื่อจำเลยได้นำไปจดทะเบียนไม่ ส่วนเรื่องการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการบริษัทจะต้องกระทำโดยที่ประชุมใหญ่ และการแต่งตั้งกรรมการบริษัทจะต้องนำความไปจดทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1151 และ 1157 เท่านั้น ส่วนกรณีกรรมการบริษัทลาออกไม่มีบทกฎหมายบังคับไว้ เมื่อปรากฏว่าขณะที่ น. บอกเลิกจ้างโจทก์เป็นเวลาภายหลังที่ น. ลาออกจากบริษัทจำเลย น. ย่อมพ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการจำเลยแล้ว จึงไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินต่าง ๆ อันเนื่องจากการเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5671/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันบุคคลภายนอกคดี แม้ผู้ทำสัญญาจะมีอำนาจกระทำการแทนบุคคลภายนอก
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้โจทก์จำเลยหย่าขาดและแบ่งทรัพย์สินกัน โดยมีข้อตกลงข้อหนึ่งว่าให้จำเลยโอนที่ดินที่มีชื่อบริษัท ม. ซึ่งจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการและมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทได้ให้แก่โจทก์ จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ในฐานะส่วนตัวมิได้ทำในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัทดังกล่าว ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ผูกพันบริษัท ม. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท ม. มีมติคัดค้านการโอนที่ดิน การที่จะบังคับให้จำเลยชำระหนี้ในส่วนนี้จึงกลายเป็นพ้นวิสัยศาลบังคับคดีในส่วนนี้ให้ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13509/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกองทุนรวม: การตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือมอบอำนาจและอำนาจกระทำการแทน
แม้จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้ว่า หนังสือมอบอำนาจและหนังสือมอบอำนาจช่วงเป็นเอกสารปลอมอันถือได้ว่าจำเลยทั้งสามคัดค้านการนำเอกสารมาสืบโดยเหตุที่ว่าต้นฉบับปลอมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 วรรคสอง แต่โจทก์นำต้นฉบับเอกสารมาแสดงต่อศาลในวันสืบพยานและอ้างส่งสำเนาต่อศาลแทนต้นฉบับเอกสาร ซึ่งก่อนจะส่งสำเนาโจทก์ให้โอกาสจำเลยทั้งสามตรวจดูแล้ว จำเลยทั้งสามมิได้คัดค้านว่าสำเนาเอกสารไม่ถูกต้องตรงกับต้นฉบับ ประกอบกับต้นฉบับเอกสารโจทก์ต้องใช้เป็นประจำ การที่ศาลชั้นต้นรับสำเนาเอกสารไว้แทนต้นฉบับ เท่ากับอนุญาตให้รับคืนต้นฉบับเอกสารและส่งสำเนาเอกสารไว้แทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 ทวิ จึงรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานได้