พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจขอถอนทนายความของจำเลยที่ถูกถอนชื่อออกจากทะเบียนบริษัท และบทบาทของผู้ชำระบัญชี
ขณะที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอถอนทนายความนั้นศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์แล้ว คดีจึงอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ผู้มีอำนาจสั่งคำร้องคือศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งคำร้อง
จำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตน เป็นการแต่งตั้งตัวแทน ตาม ป.พ.พ.ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทนมาตรา 797 และย่อมมีสิทธิขอถอนทนายความซึ่งเป็นตัวแทนเมื่อใดก็ได้ตามป.พ.พ. มาตรา 827 วรรคหนึ่ง หากทนายความเสียหายอย่างไรชอบที่จะว่ากล่าวเอาแก่คู่ความที่ตั้งตนเป็นทนายตาม ป.พ.พ. มาตรา 827 วรรคสอง
ขณะที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอถอนทนายความเป็นเวลาที่จำเลยที่ 1 ถูกนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางถอนชื่อออกจากทะเบียน อันถือได้ว่าบริษัทได้เลิกแล้ว แต่ ป.พ.พ. มาตรา 1249 ก็บัญญัติว่าให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี จำเลยที่ 2 และที่ 6 เป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชี และมีอำนาจอยู่เช่นเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251, 1252 กับมีอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา1259 ตราบใดที่ยังไม่มีการตั้งผู้ชำระบัญชีจำเลยที่ 1 ขึ้นมาใหม่ จำเลยที่ 2 และที่ 6 ในฐานะผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนทนายความแทนจำเลยที่ 1 ได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตน เป็นการแต่งตั้งตัวแทน ตาม ป.พ.พ.ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทนมาตรา 797 และย่อมมีสิทธิขอถอนทนายความซึ่งเป็นตัวแทนเมื่อใดก็ได้ตามป.พ.พ. มาตรา 827 วรรคหนึ่ง หากทนายความเสียหายอย่างไรชอบที่จะว่ากล่าวเอาแก่คู่ความที่ตั้งตนเป็นทนายตาม ป.พ.พ. มาตรา 827 วรรคสอง
ขณะที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอถอนทนายความเป็นเวลาที่จำเลยที่ 1 ถูกนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางถอนชื่อออกจากทะเบียน อันถือได้ว่าบริษัทได้เลิกแล้ว แต่ ป.พ.พ. มาตรา 1249 ก็บัญญัติว่าให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี จำเลยที่ 2 และที่ 6 เป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชี และมีอำนาจอยู่เช่นเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251, 1252 กับมีอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา1259 ตราบใดที่ยังไม่มีการตั้งผู้ชำระบัญชีจำเลยที่ 1 ขึ้นมาใหม่ จำเลยที่ 2 และที่ 6 ในฐานะผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนทนายความแทนจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายพนักงานไปทำงานแผนกอื่น ไม่เป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้าง หากงานมีความใกล้เคียงกันและไม่ทำให้เสียหาย
การที่จำเลยรับโจทก์ทั้งหกเข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ตลอดมาไม่เป็นการผูกมัดจำเลยว่าจะต้องให้โจทก์ทั้งหกทำงานในตำแหน่งนั้น ตลอดไป งานในตำแหน่งพนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่แผนกห้องผ้าหรือซักรีดและงานตำแหน่งพนักงานทำความสะอาดต่างก็ใช้พนักงานระดับต่ำสุดเป็นงานระดับเดียวกันไม่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเป็นพิเศษ พนักงานสามารถสับเปลี่ยนแผนกได้ จำเลยย้ายโจทก์ไปอยู่แผนกทำความสะอาดเพราะพนักงานรีดผ้าโดยเครื่องอัตโนมัติที่ติดตั้งใหม่ไม่ต้องใช้ความชำนาญมากและมีพนักงานจากบริษัทอื่นรับจ้างทำหน้าที่ดังกล่าวในค่าจ้างที่ถูกกว่า เป็นเรื่องที่จำเลยจัดการบริหารงานบุคคลเพื่อลดค่าใช้จ่ายค่าจ้างและผลประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกก็มิได้ลดลงเมื่อย้ายแผนก และไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยย้ายโจทก์ทั้งหกเป็นการกลั่นแกล้ง จึงไม่ถือเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้าง จำเลยมีอำนาจทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: จำเลยมีสิทธิคัดค้านหากราคาต่ำกว่าราคาประเมิน
การที่จำเลยในคดีล้มละลายยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีของตน เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 146 ไม่ใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 แม้การขายทอดตลาดจะดำเนินการตามขั้นตอนโดยชอบด้วยกฎหมายแต่การที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายในขณะนั้นและต่ำกว่าราคาประเมินของสำนักงานวางทรัพย์กลาง และปรากฏว่าเป็นการขายทอดตลาดครั้งแรกและผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองได้คัดค้านว่าเป็นราคาต่ำไป จึงไม่สมควรที่จะอนุญาตให้ขายไปควรให้เลื่อนการขายทอดตลาดไปก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3467/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเช่าสร้างและการฉ้อฉล: ศาลฎีกาพิพากษาเพิกถอนการโอนสิทธิและยืนยันอำนาจจำเลยในการอนุมัติการโอน
คำฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสามทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่สุจริต โอนสิทธิดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 โดยไม่มีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารดังกล่าว ทำให้โจทก์เสียสิทธินั้น เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องโดยอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1ขอให้ศาลเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ได้โอนให้แก่จำเลยที่ 3 โดยจำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วว่าการโอนดังกล่าวเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 และการโอนสิทธิดังกล่าวจะสำเร็จบริบูรณ์ได้ก็โดยผู้รับโอนซึ่งได้สิทธินั้นต้องทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 2 การเพิกถอนการฉ้อฉลดังกล่าวจึงต้องเพิกถอนนิติกรรมสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสามตามฟ้องโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ก่อนในสิทธิการเช่าสร้างนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และเพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ได้
จำเลยที่ 1 ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ยื่นเรื่องราวขอโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวต่อจำเลยที่ 2และจำเลยที่ 2 ได้รับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 ขอระงับการโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่โจทก์และขอโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่ง เรียกให้ชำระเงินตามเช็ค โดยได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา และขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินในคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2527 ในคำร้องดังกล่าวระบุว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิการเช่าสร้างตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 ขอโอนสิทธิดังกล่าวให้แก่โจทก์ ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 ขายหรือจำหน่ายสิทธิดังกล่าวและขอให้ศาลสั่งอายัดสิทธิดังกล่าวต่อจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 2 งดเว้นการจำหน่ายสิทธิดังกล่าวแก่โจทก์หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วก็ฟังข้อเท็จจริงได้ตามนั้น และจำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่4 กรกฎาคม 2527 อันเป็นเวลาภายหลังจากศาลชั้นต้นได้มีหนังสือถอนหมายห้ามชั่วคราว จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 3 รับโอนสิทธิการเช่าสร้างจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยทั้งสามได้ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่โจทก์ก่อนแล้ว การโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่จำเลยที่ 3 ในพฤติการณ์เช่นนี้จึงถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยทั้งสามได้กระทำไปโดยไม่สุจริตเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ต้องเสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ และเมื่อโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดังได้วินิจฉัยมาแล้วโจทก์ก็มีอำนาจขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ด้วย เพราะจำเลยที่ 3 รับโอนสิทธิการเช่าสร้างมาจากจำเลยที่ 1 โดยการฉ้อฉล โดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงเป็นคู่สัญญาเช่าที่จะกระทำกันกับผู้ได้สิทธิภายหลังจากสร้างอาคารเสร็จเป็นผู้พิจารณาโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าว
สัญญาเช่าสร้างอาคารระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 มีข้อความระบุว่า"...ผู้เช่าสัญญาว่าจะไม่โอนสิทธิหรือหน้าที่ใด ๆ ให้บุคคลภายนอกจัดการแทนตามความผูกพันที่ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติต่อผู้ให้เช่าตามสัญญานี้... เว้นแต่ผู้ให้เช่าจะอนุญาตให้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร"ข้อสัญญาตามหนังสือสัญญาดังกล่าวแสดงว่าแม้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าสร้างอาคารจากจำเลยที่ 2มีสิทธิขอโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ก็มีอำนาจพิจารณาว่าจะอนุมัติให้โอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวได้หรือไม่ มิใช่ต้องยินยอมให้จำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่ผู้รับโอนเสมอไป สัญญาเช่าสร้างอาคารดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาที่จำเลยที่ 1ตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาให้โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารตามสัญญาเช่าสร้างตามฟ้องได้ โจทก์และจำเลยที่ 1 จะต้องไปดำเนินการขอโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างกันต่อจำเลยที่ 2 และการที่จำเลยที่ 2 จะอนุมัติให้โจทก์ได้รับโอนสิทธิการเช่าสร้างจากจำเลยที่ 1และให้โจทก์เช่าที่ดินและอาคารหรือไม่นั้น ก็เป็นสิทธิของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ
จำเลยที่ 1 ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ยื่นเรื่องราวขอโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวต่อจำเลยที่ 2และจำเลยที่ 2 ได้รับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 ขอระงับการโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่โจทก์และขอโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่ง เรียกให้ชำระเงินตามเช็ค โดยได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา และขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินในคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2527 ในคำร้องดังกล่าวระบุว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิการเช่าสร้างตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 ขอโอนสิทธิดังกล่าวให้แก่โจทก์ ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 ขายหรือจำหน่ายสิทธิดังกล่าวและขอให้ศาลสั่งอายัดสิทธิดังกล่าวต่อจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 2 งดเว้นการจำหน่ายสิทธิดังกล่าวแก่โจทก์หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วก็ฟังข้อเท็จจริงได้ตามนั้น และจำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่4 กรกฎาคม 2527 อันเป็นเวลาภายหลังจากศาลชั้นต้นได้มีหนังสือถอนหมายห้ามชั่วคราว จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 3 รับโอนสิทธิการเช่าสร้างจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยทั้งสามได้ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่โจทก์ก่อนแล้ว การโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่จำเลยที่ 3 ในพฤติการณ์เช่นนี้จึงถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยทั้งสามได้กระทำไปโดยไม่สุจริตเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ต้องเสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ และเมื่อโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดังได้วินิจฉัยมาแล้วโจทก์ก็มีอำนาจขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ด้วย เพราะจำเลยที่ 3 รับโอนสิทธิการเช่าสร้างมาจากจำเลยที่ 1 โดยการฉ้อฉล โดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงเป็นคู่สัญญาเช่าที่จะกระทำกันกับผู้ได้สิทธิภายหลังจากสร้างอาคารเสร็จเป็นผู้พิจารณาโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าว
สัญญาเช่าสร้างอาคารระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 มีข้อความระบุว่า"...ผู้เช่าสัญญาว่าจะไม่โอนสิทธิหรือหน้าที่ใด ๆ ให้บุคคลภายนอกจัดการแทนตามความผูกพันที่ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติต่อผู้ให้เช่าตามสัญญานี้... เว้นแต่ผู้ให้เช่าจะอนุญาตให้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร"ข้อสัญญาตามหนังสือสัญญาดังกล่าวแสดงว่าแม้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าสร้างอาคารจากจำเลยที่ 2มีสิทธิขอโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ก็มีอำนาจพิจารณาว่าจะอนุมัติให้โอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวได้หรือไม่ มิใช่ต้องยินยอมให้จำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่ผู้รับโอนเสมอไป สัญญาเช่าสร้างอาคารดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาที่จำเลยที่ 1ตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาให้โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารตามสัญญาเช่าสร้างตามฟ้องได้ โจทก์และจำเลยที่ 1 จะต้องไปดำเนินการขอโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างกันต่อจำเลยที่ 2 และการที่จำเลยที่ 2 จะอนุมัติให้โจทก์ได้รับโอนสิทธิการเช่าสร้างจากจำเลยที่ 1และให้โจทก์เช่าที่ดินและอาคารหรือไม่นั้น ก็เป็นสิทธิของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่ลูกจ้างออกจากงานฐานประพฤติผิดวินัยร้ายแรง แม้ก่อนหน้านี้จะสั่งพักงานฐานเกษียณอายุ
จำเลยตั้งกรรมการสอบสวนพนักงานรถไฟซึ่งปฏิบัติงานในเขตสถานีรถไฟซึ่งโจทก์ประจำอยู่ด้วยทั้งหมดโดยมิได้ ระบุตัวผู้ถูกกล่าวหา ต่อมาจำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงานฐานสูงอายุ (อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์) ตามระเบียบของจำเลยหลังจากนั้นคณะกรรมการรายงานผลการสอบสวนว่าโจทก์กระทำผิดโดยเรียกเก็บเงินค่ากรรมกรขนของขึ้นตู้สินค้าเกินกว่าที่ทางราชการกำหนด ดังนี้ จำเลยมีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้โจทก์ออกจากงานฐานสูงอายุเป็นให้ออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการพิจารณาถึงที่สุดได้และต่อมาเมื่อผู้ว่าการของจำเลยทราบผลการสอบสวนแล้วเห็นว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นการประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามระเบียบของจำเลยก็ย่อมมีอำนาจที่จะออกคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่ลูกจ้างออกจากงานฐานประพฤติผิดวินัยร้ายแรงหลังเกษียณอายุ – อำนาจจำเลยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยตั้งกรรมการสอบสวนพนักงานรถไฟซึ่งปฏิบัติงานในเขตสถานีรถไฟซึ่งโจทก์ประจำอยู่ด้วยทั้งหมดโดยมิได้ระบุตัวผู้ถูกกล่าวหา ต่อมาจำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงานฐานสูงอายุ(อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์) ตามระเบียบของจำเลยหลังจากนั้นคณะกรรมการรายงานผลการสอบสวนว่าโจทก์กระทำผิดโดยเรียกเก็บเงินค่ากรรมกรขนของขึ้นตู้สินค้าเกินกว่าที่ทางราชการกำหนด ดังนี้จำเลยมีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้โจทก์ออกจากงานฐานสูงอายุเป็นให้ออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการพิจารณาถึงที่สุดได้และต่อมาเมื่อผู้ว่าการของจำเลยทราบผลการสอบสวนแล้วเห็นว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นการประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามระเบียบของจำเลยก็ย่อมมีอำนาจที่จะออกคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดร้านค้าเพิ่มเติมในสัญญาเช่า สัญญาไม่มีข้อห้ามชัดเจน การเปิดร้านค้าเพิ่มเติมจึงไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
สัญญาให้โจทก์เช่าร้านค้าหนึ่งร้านในสวนสัตว์ดุสิตซึ่งมี4 ร้าน องค์การสวนสัตว์ฯจำเลยเปิดร้านค้าให้เช่าขึ้นอีก 1 ร้านระหว่างที่ร้านหนึ่งในสี่ร้านไม่ยอมออกไป เพื่อให้ผู้ที่ประมูลได้ขายอาหารระหว่างที่องค์การฯฟ้องขับไล่ ไม่เป็นการผิดสัญญาที่ให้โจทก์เช่า