คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจชี้ขาด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4897/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งเพิกถอนสัญญาเมื่อมีข้อต่อสู้เรื่องสำคัญผิด ศาลมีอำนาจชี้ขาดโดยไม่ต้องวินิจฉัยซ้ำ
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยที่โจทก์นำมาฟ้องตกเป็นโมฆะเพราะเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม หากศาลพิจารณาได้ความจริงดังที่จำเลยกล่าวอ้าง ศาลก็มีอำนาจชี้ขาดให้ยกฟ้องโจทก์ ซึ่งมีผลให้จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ได้อยู่แล้ว จำเลยจึงไม่จำต้องฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนและทำลายสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวให้สิ้นผลบังคับต่อกันอันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาดปัญหานั้นซ้ำอีก จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดข้อพิพาทค่าครองชีพและเงินช่วยเหลือครอบครัว รวมถึงการประชุมใหญ่วิสามัญที่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดำเนินการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา34(4) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯนั้น คณะกรรมการฯ มีอำนาจดำเนินการชี้ขาดกำหนดอัตราค่าครองชีพหรือกำหนดเงินช่วยเหลือครอบครัวกรณีที่พนักงานเสียชีวิต อันเป็นข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้
เมื่อข้อบังคับสหภาพแรงงานกำหนดว่า การประชุมใหญ่วิสามัญหมายถึงการประชุมที่สมาชิกไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่า 50 คน ลงลายมือชื่อทำหนังสือร้องขอให้คณะกรรมการเรียกประชุมใหญ่ ดังนี้ แม้จะปรากฏว่ามีการปลอมลายมือชื่อของสมาชิกบางคนในหนังสือเรียกร้องให้สหภาพแรงงานเปิดการประชุมใหญ่วิสามัญ แต่จำนวนสมาชิกที่ลงชื่อในหนังสือดังกล่าวที่เหลือนอกจากนั้นก็มีจำนวนเกิน 50 คน และไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมด สหภาพแรงงานจึงชอบที่จะเปิดประชุมใหญ่วิสามัญได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานเรื่องค่าครองชีพของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และการเป็นที่สุดของคำชี้ขาด
การที่ลูกจ้างเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายค่าครองชีพ เป็นการเรียกร้องเอาค่าจ้างหรือประโยชน์อื่นอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงาน จึงเป็นการเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 เมื่อข้อเรียกร้องนั้นพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ ย่อมกลายเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ตามมาตรา 22 วรรคสามคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะบุคคลตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง แต่งตั้งคณะบุคคลเพื่อชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ลงวันที่ 14ตุลาคม 2519 จึงมีอำนาจชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานนี้ได้
คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินซึ่งมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 6ตุลาคม 2519 และยังไม่ยกเลิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยย่อมแต่งตั้งคณะบุคคลให้ทำการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 25 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดข้อพิพาทเรื่องค่าจ้างและสวัสดิการที่ไม่ขัดกับกฎหมาย
โจทก์กับสหภาพแรงงานมีข้อขัดแย้งซึ่งตกลงกันไม่ได้กรมแรงงานได้รับเรื่องข้อขัดแย้งดังกล่าวส่งให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณา คำชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ชี้ขาดให้โจทก์ปรับปรุงอัตราค่าจ้างลำดับต่ำสุดถึงลำดับอื่น ๆ เป็นการชี้ขาดไปตามข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ จึงมีอำนาจชี้ขาดได้ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ เพราะหาได้ชี้ขาดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่และคำชี้ขาดไม่ขัดกับประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวที่กำหนดให้ปรับอัตราค่าจ้างเฉพาะขั้นต่ำเป็นวันละ 45 บาท โดยมิได้กำหนดให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นอื่น ๆ ด้วยคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จึงมีอำนาจชี้ขาดได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มิได้ให้ความหมายของคำว่า'สวัสดิการ' ไว้ จึงต้องถือตามความหมายทั่วไป ซึ่งหมายความถึงการให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ การที่โรงงานสุรานายจ้างจำหน่ายสุราให้ลูกจ้างในราคาต่ำกว่าราคาที่จำหน่ายทั่วไป ย่อมเป็นการอนุเคราะห์ช่วยเหลือลูกจ้างอย่างหนึ่ง จึงเป็นสวัสดิการซึ่งเป็นสภาพการจ้างตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ ข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในเรื่องนี้เป็นข้อพิพาทแรงงานคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจชี้ขาดได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2064/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนอำนาจชี้ขาดประเมินภาษีโรงเรือนฯ จากอธิบดีกรมสรรพากร มาเป็นคณะเทศมนตรี ตามกฎหมายเทศบาล
อำนาจชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม มาตรา 25 แห่ง พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475ซึ่งเป็นของอธิบดีกรมสรรพากรตกมาเป็นของคณะเทศมนตรีตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และ พระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ.2497

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8664/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทหลังคำชี้ขาดเดิม & สัญญาทางปกครอง vs. สัญญาทั่วไป
ปัญหาที่เกี่ยวกับภาษาที่ใช้ในการทำคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ใช่ปัญหาที่จะทำให้การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ว่าอนุญาโตตุลาการทำคำชี้ขาดเป็นภาษาไทยขัดกับสัญญาที่ให้ทำเป็นภาษาอังกฤษจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เข้าข้อยกเว้นอันจะไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 45 (1) แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
อนุญาโตตุลาการชุดแรกมีคำชี้ขาดให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายติดตั้งเครื่องฝึกบินจนแล้วเสร็จ และให้เวลาแก่ผู้ร้องปฏิบัติและส่งมอบงานตามสัญญาแก่ผู้คัดค้านเป็นระยะเวลา 9 เดือน นับแต่วันทำคำชี้ขาด และให้ผู้ร้องติดตั้งอุปกรณ์สำหรับควบคุมกระแสไฟฟ้าแก่ผู้คัดค้านโดยไม่คิดมูลค่าตามที่ผู้ร้องแสดงความประสงค์ และภายหลังจากที่ผู้ร้องปฏิบัติถูกต้องตามคำชี้ขาดแล้วให้ผู้คัดค้านชำระเงินส่วนที่เหลือตามสัญญาอีกร้อยละ 10 ของมูลค่างานตามสัญญาแก่ผู้ร้อง โดยสิทธิและหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายนอกจากที่ชี้ขาดไว้เป็นอย่างอื่นในคำชี้ขาดให้เป็นไปตามที่ตกลงกันในสัญญา เมื่อผู้ร้องติดตั้งเครื่องฝึกบินแล้วเสร็จให้ผู้คัดค้านคืนเงินค่าประกันการปฏิบัติตามสัญญาจำนวน 228,850 ดอลลาร์สหรัฐ และเงินหลักประกันค่าชำระราคาล่วงหน้าจำนวน 1,144,250 ดอลลาร์สหรัฐ แก่ผู้ร้อง เห็นได้ว่าเป็นการชี้ขาดให้คู่สัญญายังคงมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายติดตั้งเครื่องฝึกบินต่อไปตามเดิมโดยเพียงแต่กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติตามสัญญาของผู้ร้องขึ้นใหม่ ต่อมาเมื่อการปฏิบัติตามสัญญาหลังจากที่อนุญาโตตุลาการชุดแรกมีคำชี้ขาดนั้นเกิดปัญหาพิพาทระหว่างกันอีกเกี่ยวกับเรื่องค่าปรับตามสัญญา ซึ่งเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในการปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดแรกผู้ร้องส่งมอบเครื่องฝึกบินและอุปกรณ์ให้แก่ผู้คัดค้านล่าช้า จึงเกิดปัญหาข้อพิพาทขึ้นใหม่ในเรื่องค่าปรับตามสัญญาซึ่งมิใช่ข้อพิพาทที่อนุญาโตตุลาการชุดแรกได้วินิจฉัยชี้ขาดไว้ แต่เป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ร้องและผู้คัดค้านนอกจากที่อนุญาโตตุลาการชุดแรกชี้ขาดไว้เป็นอย่างอื่นในคำชี้ขาด การระงับข้อพิพาทจึงต้องเป็นไปตามที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านตกลงกันในสัญญา ผู้ร้องย่อมมีสิทธิอาศัยสัญญาซื้อขายติดตั้งเครื่องฝึกบินเสนอข้อพิพาทนี้ให้อนุญาโตตุลาการชุดหลังวินิจฉัยชี้ขาดได้ อนุญาโตตุลาการชุดหลังจึงมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นใหม่เกี่ยวกับการคืนเงินค่าปรับจำนวน 315,813 ดอลลาร์สหรัฐ ตามสัญญาได้ หาใช่เป็นการที่อนุญาโตตุลาการชุดหลังมีคำชี้ขาดอันมีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือขยายระยะเวลาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดแรกไม่
แม้กองทัพอากาศผู้คัดค้านจะเป็นส่วนราชการและมีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งถือเป็นหน่วยงานทางปกครอง และสัญญาซื้อขายติดตั้งเครื่องฝึกบินระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านจะเป็นสัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของผู้คัดค้านโดยเฉพาะไม่มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทานหรือสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ จึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครองตามความหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542