คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจถอดถอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7230/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจแต่งตั้งถอดถอนกรรมการมัสยิด: คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีอำนาจเด็ดขาด คำสั่งคณะกรรมการกลางไม่มีผลผูกพัน
ตาม พ.ร.บ.มัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 มาตรา 8 ให้การแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการมัสยิดเป็นอำนาจเฉพาะของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะมีคำสั่ง ไม่มีบทบัญญัติใดของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีอำนาจแก้ไขคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดดังนั้น เมื่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้ใช้อำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวถอดถอนผู้ร้องที่ 2 จากตำแหน่งอิหม่าม กับถอดถอนบุคคลอีกหกคนจากตำแหน่งกรรมการของมัสยิดผู้ร้องที่ 1 แล้ว แม้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจะสั่งแก้ไขคำสั่งถอดถอนดังกล่าวและให้ผู้ร้องที่ 2 กับบุคคลทั้งหกเข้าดำรงตำแหน่งตามเดิม ก็หามีผลให้ผู้ร้องที่ 2 กับบุคคลทั้งหกเป็นกรรมการมัสยิดผู้ร้องที่ 1 ไม่และสำหรับผู้ร้องที่ 2 นั้น เนื่องจากมีคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดให้ผู้ดำรงตำแหน่งอิหม่ามรักษาการในตำแหน่งคอเต็บ เมื่อผู้ร้องที่ 2 ถูกถอดถอนจากตำแหน่งอิหม่าม ผู้ร้องที่ 2 จึงไม่มีฐานะเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งคอเต็บตามคำสั่งดังกล่าว ผู้ร้องที่ 2 กับบุคคลทั้งหกดังกล่าวจึงมิใช่เป็นกรรมการของมัสยิดผู้ร้องที่ 1 ตามคำร้อง ผู้ร้องที่ 2 และผู้ร้องที่ 1 โดยผู้ร้องที่ 2 กับบุคคลทั้งหกจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการแต่งตั้ง/ถอดถอนกรรมการมัสยิด: คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีอำนาจเฉพาะ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยไม่มีอำนาจ
โจทก์ฟ้องคดีนี้มีใจความสำคัญว่า โจทก์ทั้งเจ็ดกับพวกในฐานะที่เป็นคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้ประชุมและมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ถอดถอน พ. กับพวกซึ่งเป็นกรรมการประจำมัสยิดออกจากตำแหน่งเนื่องจากกระทำการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ศาสนสมบัติ และเสื่อมเสียประโยชน์ของมัสยิด ทำให้เกิดการแตกแยกต่อมาจำเลยในฐานะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้ประชุมมีมติและคำสั่งให้แก้ไขมติและคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดดังกล่าวเป็นว่าให้ภาคทัณฑ์ พ.กับพวกและให้กลับเข้าดำรงตำแหน่งต่อไปดังเดิม เช่นนี้เห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องคดีในฐานะที่เป็นคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ซึ่งถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง มิได้ฟ้องในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการมัสยิดเป็นอำนาจเฉพาะของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะกระทำได้ตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 8 โดยมีระเบียบการแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (สุเหร่า) และวิธีดำเนินการอันเกี่ยวแก่ศาสนกิจของมัสยิด (สุเหร่า) พ.ศ. 2492 ใช้บังคับซึ่งในหมวด 2 ของระเบียบดังกล่าวนี้บัญญัติในเรื่องการแต่งตั้งและถอดถอนให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดโดยเฉพาะโดยมิได้ระบุให้สิทธิกรรมการที่ถูกถอดถอนยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้ ต่างกับหมวด 3 ในข้อ 21 เรื่องจริยาของกรรมการอิสลามประจำมัสยิดที่ว่า กรณีที่กรรมการอิสลามประจำมัสยิดถูกถอดถอนจากตำแหน่งเพราะละเมิดจริยาตามหมวด 3มีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเพื่อวินิจฉัย และคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้เมื่อปรากฏว่าตามคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้วินิจฉัยให้ พ.ออกจากตำแหน่งอิหม่ามมัสยิดร.ด้วยสาเหตุตามหมวด 2 ของระเบียบดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการขาดคุณสมบัติตามหมวด 1เป็นส่วนใหญ่และส่วนสำคัญ โดยอาศัยสาเหตุแห่งการละเมิดจริยาตามหมวด3 เป็นข้ออ้างเพิ่มเติมเท่านั้นคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจึงไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขมติและคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในส่วนที่เกี่ยวกับ พ.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3051/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจถอดถอนหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัด: สิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด
ป.พ.พ.หมวดว่าด้วยห้างหุ้นส่วนจำกัดหาได้บัญญัติถึงการถอดถอนหุ้นส่วนผู้จัดการไม่จึงต้องนำมาตรา1036ในบทบัญญัติว่าด้วยห้างหุ้นส่วนสามัญมาใช้บังคับแต่จะต้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนั้นเองเป็นผู้ถอดถอน จะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดซึ่งไม่มีสิทธิมีส่วนในการจัดการเข้ามาถอดถอนผู้จัดการซึ่งตั้งโดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหาได้ไม่เว้นแต่จะได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2359/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนบุตรบุญธรรมสมบูรณ์ตามกฎหมาย และอำนาจถอดถอนผู้จัดการมรดกเมื่อมีทายาทอันดับหนึ่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 (แก้ไขใหม่ มาตรา1598/25) ประกอบกับพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 22 บัญญัติแต่เพียงว่า การจดทะเบียนบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเท่านั้น ไม่ได้บังคับว่าจะต้อง ลงลายมือชื่อด้วยตนเอง ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานได้บันทึกไว้ว่า คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมได้มีหนังสือให้ความยินยอมถึง คณะกรมการอำเภอย่อมเป็นการเพียงพอแล้ว การจดทะเบียนรับ บุตรบุญธรรมสมบูรณ์ตามกฎหมาย
การที่ศาลจะสั่งถอดถอนผู้จัดการมรดกได้ ไม่จำเป็นว่าผู้จัดการมรดกจะต้องมีความผิด เมื่อศาลตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกนั้นยังไม่ปรากฏทายาทอันดับหนึ่ง แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องเป็นทายาทอันดับหนึ่งมีสิทธิรับมรดกแต่ผู้เดียว ผู้คัดค้านมิได้เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายและมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก จึงไม่มีสิทธิจัดการมรดกต่อไป ศาลมีอำนาจถอดถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการมัสยิด และการกระทำที่เป็นเหตุให้ถูกถอดถอน
พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 มาตรา 8 กำหนดให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนกรรมการมัสยิด ส่วนการแต่งตั้งและถอดถอนนั้น ได้มีระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (สุเหร่า) และวิธีดำเนินการเกี่ยวกับศาสนกิจของมัสยิด (สุเหร่า) พ.ศ.2492 กำหนดไว้ ตามกฎหมายและระเบียบดังกล่าว อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ต่างก็คือกรรมการอิสลามประจำมัสยิดคนหนึ่งในจำนวนไม่เกิน 15 คน ตามระเบียบข้อ 4 ที่ว่าอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น เป็นกรรมการโดยตำแหน่งนั้น หมายความว่าบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นอิหม่าม คอเต็บ มิหลั่น ไม่ต้องออกตามวาระ 4 ปี ตามระเบียบข้อ 12 เมื่อถึงวาระเลือกตั้งใหม่ ถ้าบุคคลที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวมีตัวอยู่และดำรงตำแหน่งหน้าที่เรียบร้อยก็ไม่ต้องเลือกตั้งเฉพาะตำแหน่งนั้น ๆ ถ้าดำรงตำแหน่งหน้าที่โดยเรียบร้อยก็ไม่ต้องเลือกตั้งเฉพาะตำแหน่งนั้น ๆ ถ้าดำรงตำแหน่งหน้าที่โดยเรียบร้อยก็อยู่ได้ตลอดไปจนชรา ทุพพลภาพ หรือพิการ และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดจะพิจารณาให้พ้นจากตำแหน่ง แล้วยกขึ้นเป็นกิติมศักดิ์ในตำแหน่งเดิม แต่ถ้าดำรงตำแหน่งหน้าที่ไม่เรียบร้อย คณะกรรมการดังกล่าวอาจพิจารณาให้พ้นจากตำแหน่งได้ โดยที่อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ต่างก็เป็นกรรมการอิสลามประจำมัสยิดดังกล่าวแล้ว จึงต้องอยู่ภายใต้ระเบียบที่จะต้องพ้นจากตำแหน่งได้ตามระเบียบข้อ 13 หาใช่ว่าเป็นอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น แล้วจะได้เป็นอยู่จนชรา ทุพพลภาพหรือพิการเสมอไปทุกคนไม่
โจทก์ดำรงตำแหน่งเป็นคอเต็บ มัสยิดสวนพลู ก็เป็นกรรมการประจำมัสยิดนั้นคนหนึ่ง ย่อมอยู่ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่กำหนดไว้ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร และมีอำนาจอยู่ ตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 เมื่อได้ความว่าโจทก์เจตนาหน่วงเหนี่ยวการทำทะเบียนสัปปุรุษไว้เพื่อมิให้มีการเลือกตั้งอิหม่าม บิหลั่น และกรรมการประจำมัสยิด อันอาจเสื่อมเสียประโยชน์ของมัสยิดตามระเบียบข้อ 13 (ฉ) จำเลยจึงชอบที่จะออกคำสั่งถอดถอนโจทก์ออกจากตำแหน่งคอเต็บได้ ไม่เป็นละเมิด