พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4929/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการฟ้องคดีแทนโจทก์: การมอบอำนาจช่วงและข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง
บทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง ที่ห้ามมิให้ผู้รับมอบอำนาจว่าความอย่างทนายความเพื่อป้องกันมิให้บุคคลภายนอกอันมิได้มีอาชีพเป็นทนายความมาว่าความในศาลอย่างทนายความ แต่กรณีที่ผู้รับมอบอำนาจมีอาชีพเป็นทนายความและมีสิทธิว่าความในศาลได้อยู่แล้ว หากประสงค์จะว่าความอย่างทนายความก็ชอบที่จะแต่งตั้งตนเองเป็นทนายความได้ตามมาตรา 61 และ 62 เมื่อ ย. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยมีอาชีพทนายความ ย. ย่อมมีสิทธิที่จะตั้งแต่งตนเองเป็นทนายความอีกฐานะหนึ่งได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 60 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5858/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการฎีกา: การตรวจสอบขอบเขตอำนาจตามใบแต่งทนายความ
คำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกา คำร้องขอให้รับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรฎีกาได้และคำฟ้องฎีกาของจำเลย ที่ บ. ทนายเป็นผู้ยื่นคำร้องและฎีกาแทนจำเลย แต่ตามใบแต่งทนายความที่จำเลยแต่งให้ บ. ทนายความของจำเลยไม่ได้ระบุให้มีอำนาจใช้สิทธิในการฎีกา บ. ทนายความของจำเลยจึงไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการฎีกาคดีนี้แทนจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 คำร้องขอขยายระยะเวลา คำร้องขอให้รับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรฎีกาได้ และคำฟ้องฎีกา จึงเป็นคำร้องและคำฟ้องไม่ชอบ แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฎีกาและมีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกาและมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยมา ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2795/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการฎีกา: การแต่งตั้งทนายความใหม่ทำให้ทนายความเดิมหมดอำนาจ
คำฟ้องฎีกาและคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 รับรองฎีกาของจำเลยที่นาย พ. ทนายความเป็นผู้ฎีกาและผู้ยื่นคำร้องแทนจำเลย ทนายความดังกล่าวจะต้องมีอำนาจในการฎีกาด้วย เมื่อจำเลยมิได้แต่งให้นาย พ. เป็นทนายความในชั้นฎีกา จึงเป็นการดำเนินคดีแทนจำเลยโดยไม่มีอำนาจ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกาและมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยมา ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการอุทธรณ์ การแก้ไขข้อบกพร่อง และผลของการรับอุทธรณ์ไว้พิจารณา
โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยมี ส. ทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แทน แต่ในใบแต่งทนายความของโจทก์ไม่ได้ระบุให้ ทนายความมีอำนาจอุทธรณ์ จึงเป็นกรณีที่ ส. ลงชื่อในอุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย กฎหมาย ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขอำนาจของ ทนายความ หรือจะสั่งไม่รับอุทธรณ์ก็ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้น สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์โดยเหตุที่ผู้ลงชื่อในอุทธรณ์ไม่มี อำนาจเป็นทนายความของโจทก์นั้น จึงเป็นการปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 232 โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 234 พร้อมกับยื่นใบแต่งทนายความใหม่ที่ให้อำนาจทนายโจทก์ในการ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่า แม้คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ จะไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อโจทก์แก้ไขอำนาจของทนายความโจทก์ ให้มีอำนาจโดยชอบในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์แล้วคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป จึงเท่ากับว่าเป็นการอนุญาตให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องที่ ไม่ถูกต้องนั้นอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการยื่นอุทธรณ์: กรณีใบแต่งทนายความไม่ได้ระบุอำนาจ
โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยมีทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แทนเมื่อใบแต่งทนายความไม่ได้ระบุให้ทนายความมีอำนาจอุทธรณ์ จึงเป็นกรณีที่ทนายความลงชื่อในอุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การยื่นอุทธรณ์ของทนายความมิใช่กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบที่ศาลแรงงานจะมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 แห่งป.วิ.พ.ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 แต่เป็นกรณีที่ศาลแรงงานผู้ตรวจรับอุทธรณ์มีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์ทั้งสองแก้ไขอำนาจของทนายความผู้ยื่นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา18 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 หรือมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการยื่นอุทธรณ์ - การแก้ไข/ไม่อนุญาตแก้ไขกระบวนพิจารณา - ศาลแรงงาน
ทนายความของโจทก์ทั้งสองลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แทนโดยไม่มีอำนาจอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองจึงไม่ชอบและมิใช่กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบที่ศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนหรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา31แต่เป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางผู้ตรวจรับอุทธรณ์มีอำนาจสั่งให้โจทก์ทั้งสองแก้ไขอำนาจของทนายความผู้ยื่นอุทธรณ์หรือมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีกรณีที่ศาลแรงงานกลางจะต้องสั่งให้เพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนพิจารณาใดๆอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการยื่นอุทธรณ์ – การแก้ไข/ไม่รับอุทธรณ์กรณีไม่มีอำนาจ
โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยมีทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แทนเมื่อใบแต่งทนายความไม่ได้ระบุให้ทนายความมีอำนาจอุทธรณ์จึงเป็นกรณีที่ทนายความลงชื่อในอุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจอุทธรณ์ของโจทก์เป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายการยื่นอุทธรณ์ของทนายความมิใช่กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบที่ศาลแรงงานจะมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนหรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา27แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31แต่เป็นกรณีที่ศาลแรงงานผู้ตรวจรับอุทธรณ์มีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์ทั้งสองแก้ไขอำนาจของทนายความผู้ยื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา18ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31หรือมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหลังมีคำพิพากษา: การแจ้งหมายเรียกและอำนาจทนายความ
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โดยอ้างว่าไม่มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 มิได้มอบอำนาจให้มารดาดำเนินคดีแทนทั้งมารดาจำเลยที่ 1ก็ไม่เคยตั้งทนายความให้ดำเนินคดีแต่ประการใด ดังนี้ หากข้อเท็จจริงเป็นดังคำร้องของจำเลยที่ 1 กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นย่อมเป็นการไม่ชอบเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นหลงผิด มีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แพ้คดี จำเลยที่ 1 จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27วรรคแรก กรณีไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 27 วรรคสอง เพราะจำเลยที่ 1เพิ่งทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างของการผิดระเบียบนั้นภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความและการลงลายมือชื่อในคำร้อง: การแต่งตั้งทนายความที่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องทั้งสองมี ฉ. ลงชื่อเป็นผู้ร้องและผู้เรียงพิมพ์แต่ในใบแต่งทนายความของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ทั้งสองฉบับที่ระบุแต่งตั้งให้ น. เป็นทนายความของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2กับมี ฉ. ทนายความผู้มีใบอนุญาต ลงลายมือชื่อในคำรับเป็นทนายความไม่ใช่ น. เมื่อผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 มิได้มีเจตนาแต่งตั้งให้ ฉ.เป็นทนายความก็ต้องถือว่าฉ. ลงลายมือชื่อในคำรับเป็นทนายความโดยไม่มีสิทธิ ฉ. จึงมิใช่ทนายความของผู้ร้องทั้งสองและไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในคำร้องขัดทรัพย์แทนผู้ร้องทั้งสองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 อย่างไรก็ตามคำร้องขัดทรัพย์เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1(3) ต้องลงลายมือชื่อของผู้ร้องทั้งสองตาม มาตรา 67(5)หรือลายมือชื่อของทนายความที่ผู้ร้องทั้งสองแต่งตั้งตาม มาตรา 62เมื่อคำร้องขัดทรัพย์มี ฉ. ลงลายมือชื่อโดยผู้ร้องทั้งสองมิได้แต่งตั้งให้เป็นทนายความ มิใช่เป็นกรณีที่คำร้องไม่มีลายมือชื่อของผู้ร้องตาม มาตรา 67(5) อันจะสั่งให้แก้ไขได้ตามมาตรา 18วรรคหนึ่ง ศาลจึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องทั้งสองโดยไม่ต้องส่งคืนคำร้องนั้นไปให้แก้ไขมาก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลย และความรับผิดของเจ้าของกิจการต่อลูกจ้างที่ตัวแทนจ้าง
ทนายความที่จำเลยที่ 1 แต่งตั้งให้เข้ามาดำเนินคดีแทนมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนจำเลยที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 การที่ศาลแรงงานกลางสอบถามข้อเท็จจริงจากทนายจำเลยในวันพิจารณาเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นข้อพิพาทและทนายจำเลยที่ 1 แถลงรับข้อเท็จจริงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งซึ่งอยู่ในอำนาจของทนายจำเลยที่ 1 ที่จะกระทำได้โดยชอบ คำแถลงหรือข้อเท็จจริงที่ทนายจำเลยที่ 1 แถลงรับต่อศาลจึงรับฟังได้
จำเลยที่ 1 เจ้าของกิจการเรือประมงได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ไต้ก๋งเรือดำเนินกิจการโดยให้มีอำนาจหน้าที่จัดหาหรือว่าจ้างลูกเรือหรือคนงาน จำเลยที่ 1 มีหน้าที่จ่ายค่าจ้าง ดังนี้เป็นการที่จำเลยที่ 1 แต่งตั้งจำเลยที่ 2 ให้เป็นผู้ดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นกรณีจำเลยที่ 2 รับเหมากิจการเรือประมงของจำเลยที่ 1 ไปดำเนินการ เมื่อจำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์เป็นลูกเรือต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะได้รับค่าจ้างสำหรับลูกเรือไปจากจำเลยที่ 1 แล้วไม่นำไปจ่ายให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ไม่พ้นความรับผิด
จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับค่าจ้างครบถ้วนแล้วหรือไม่ไว้เป็นประเด็นในคำให้การ ต้องถือว่าข้อเท็จจริงยุติตามฟ้อง
จำเลยที่ 1 เจ้าของกิจการเรือประมงได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ไต้ก๋งเรือดำเนินกิจการโดยให้มีอำนาจหน้าที่จัดหาหรือว่าจ้างลูกเรือหรือคนงาน จำเลยที่ 1 มีหน้าที่จ่ายค่าจ้าง ดังนี้เป็นการที่จำเลยที่ 1 แต่งตั้งจำเลยที่ 2 ให้เป็นผู้ดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นกรณีจำเลยที่ 2 รับเหมากิจการเรือประมงของจำเลยที่ 1 ไปดำเนินการ เมื่อจำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์เป็นลูกเรือต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะได้รับค่าจ้างสำหรับลูกเรือไปจากจำเลยที่ 1 แล้วไม่นำไปจ่ายให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ไม่พ้นความรับผิด
จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับค่าจ้างครบถ้วนแล้วหรือไม่ไว้เป็นประเด็นในคำให้การ ต้องถือว่าข้อเท็จจริงยุติตามฟ้อง