พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2062/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง: การสั่งให้ทำงานวันเสาร์ แม้เคยมีวันหยุดสลับวันเสาร์ ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
โจทก์ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ให้พนักงานทั่วไปทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน และมีวันหยุดประจำสัปดาห์ 1 วัน คือวันอาทิตย์ การที่โจทก์ให้พนักงานบางแผนกหยุดสลับกันในวันเสาร์โดยมิได้ประกาศหรือมีคำสั่งว่าวันเสาร์เว้นวันเสาร์เป็นวันหยุดแต่อย่างใดยังถือไม่ได้ว่า โจทก์มีเจตนาเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยให้วันเสาร์เว้นวันเสาร์เป็นวันหยุดสัปดาห์เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง การที่โจทก์ประกาศให้ลูกจ้างมาทำงานทุกวันเสาร์ จึงเป็นการสั่งให้ลูกจ้างปฏิบัติงานในวันทำงานตามปกติ ลูกจ้างย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายจ้างกำหนดวันหยุดตามประเพณีและการเลิกจ้างลูกจ้างที่ละทิ้งหน้าที่
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 9 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้อำนาจนายจ้างที่จะกำหนดวันหยุดตามประเพณีได้เองปีละไม่น้อยกว่าสิบสามวัน โดยไม่ต้องไปทำความตกลงกับลูกจ้าง จึงมิใช่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 18, 20 จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างสามารถกำหนด วันหยุดตามประเพณีได้ตามกฎหมาย
จำเลยออกประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้ไม่มีวันที่ประกาศใช้และไม่มี ลายมือชื่อกรรมการผู้จัดการหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยก็ไม่ทำให้ประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณี ตกเป็นโมฆะเนื่องจากกฎหมายมิได้กำหนดแบบไว้ ประกาศดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลย ให้ต้องปฏิบัติตาม
จำเลยออกประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้ไม่มีวันที่ประกาศใช้และไม่มี ลายมือชื่อกรรมการผู้จัดการหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยก็ไม่ทำให้ประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณี ตกเป็นโมฆะเนื่องจากกฎหมายมิได้กำหนดแบบไว้ ประกาศดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลย ให้ต้องปฏิบัติตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2235/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนตำแหน่งหัวหน้างานของลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน: อำนาจของนายจ้างและข้อจำกัดตามกฎหมาย
ผู้กล่าวหาเป็นลูกจ้างตำแหน่งระดับหัวหน้าซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของโจทก์ผู้กล่าวหาจะเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างอื่นได้จัดตั้งขึ้นหรือเป็นสมาชิกอยู่ไม่ได้ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 95 วรรคสองการที่ผู้กล่าวหาเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานของลูกจ้างอื่น ย่อมทำให้การเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานนั้นไม่มีผลตามกฎหมาย เพราะขัดต่อบทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ดังกล่าวแต่ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของโจทก์ไม่ได้กำหนดให้โจทก์มีอำนาจเพิกถอนตำแหน่งระดับหัวหน้าของลูกจ้าง ในกรณีที่ลูกจ้างนั้นสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานของลูกจ้างอื่น และไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้อำนาจโจทก์ที่จะกระทำการเช่นว่านั้นได้โจทก์จึงเพิกถอนตำแหน่งระดับหัวหน้าของผู้กล่าวหาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4107/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้เมื่อกระทำผิดวินัยร้ายแรง แม้ข้อบังคับไม่ได้กำหนดขั้นตอนการลงโทษ
ข้อบังคับการทำงานของผู้ร้องกำหนดประเภทการลงโทษ ไว้โดยมิได้ระบุขั้นตอนการลงโทษไว้ ผู้ร้องจึงไม่จำต้อง ลงโทษตามขั้นตอนในข้อบังคับการทำงานผู้ร้องอาจ เลือกวิธีใด ๆ ตามข้อบังคับการทำงาน โดยพิจารณา จากความหนักเบาของความผิดของพนักงานแต่ละคนผู้คัดค้านกระทำผิดในขณะปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ทำงานโดยไม่ยำเกรงต่อข้อบังคับการทำงานของผู้ร้องการกระทำของผู้คัดค้านไม่เป็นเยี่ยงอย่างอันดี ทำให้แตกความสามัคคี ยากแก่การปกครองบังคับบัญชากรณีจึงมีเหตุสมควรให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายพนักงานข้ามแผนกไม่ถือเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้าง หากไม่มีข้อตกลงผูกมัดและงานอยู่ในระดับเดียวกัน
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาหรือมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ห้ามโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งของโจทก์ทั้งหก แม้ตามสำเนาใบสมัครงานของโจทก์ที่ 1โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3 และโจทก์ที่ 5 จะระบุว่าโจทก์ที่ 1 สมัครทำงานในตำแหน่งพนักงานห้องซักผ้า โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3 และโจทก์ที่ 5 สมัครทำงานในตำแหน่งพนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ก็ตาม ก็เป็นเรื่องโจทก์แสดงความประสงค์จะทำงานในตำแหน่งดังกล่าวเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ประกาศรับสมัครพนักงานในตำแหน่งดังกล่าว เมื่อจำเลยรับโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เข้าทำงานและให้ทำงานในตำแหน่งพนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทำสัญญาว่าจะให้โจทก์ทั้งสี่ดังกล่าวทำงานในตำแหน่งพนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่อย่างเดียว เช่นเดียวกับเมื่อจำเลยรับโจทก์ที่ 4 และโจทก์ที่ 6 เข้าทำงาน โดยเฉพาะโจทก์ที่ 4 และโจทก์ที่ 6 นั้นเมื่อสมัครเข้าทำงานกับจำเลยก็มิได้ระบุว่าจะขอทำงานในตำแหน่งใดแผนกใด ดังนี้ การที่จำเลยจะรับโจทก์ทั้งหกเข้าทำงานและให้ทำงานในตำแหน่งพนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ตลอดมา ก็ไม่เป็นการผูกมัดจำเลยว่าจะต้องให้โจทก์ทั้งหกทำงานในตำแหน่งพนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ตลอดไป นอกจากนี้งานในตำแหน่งพนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่แผนกห้องผ้าหรือซักรีด และงานตำแหน่งพนักงานทำความสะอาด แผนกทำความสะอาด ต่างก็อยู่ในระดับเดียวกัน และเป็นงานที่ไม่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเป็นพิเศษ พนักงานในแผนกหนึ่งย่อมสามารถสับเปลี่ยนไปทำงานในอีกแผนกหนึ่งได้ และเหตุที่จำเลยย้ายโจทก์ไปอยู่แผนกทำความสะอาดก็เพราะพนักงานรีดผ้าโดยเครื่องรีดและพับผ้าอัตโนมัติที่จำเลยติดตั้งใหม่ไม่ต้องใช้ความชำนาญมากดังแต่ก่อน และเป็นเรื่องที่จำเลยจัดการบริหารงานบุคคลเพื่อลดค่าใช้จ่ายของจำเลย ส่วนค่าจ้างและผลประโยชน์ต่าง ๆ ของโจทก์ทั้งหกเมื่อย้ายไปอยู่แผนกทำความสะอาดก็มิได้ลดลงกว่าเดิม ทั้งจำเลยย้ายโจทก์ทั้งหกไปอยู่แผนกทำความสะอาดนี้มิได้เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งหก การที่จำเลยย้ายโจทก์ทั้งหกจากแผนกห้องผ้าหรือซักรีดไปอยู่แผนกทำความสะอาดจึงไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างของโจทก์ทั้งหก จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีอำนาจกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโยกย้ายลูกจ้าง: นายจ้างมีอำนาจใช้ดุลพินิจโยกย้ายได้หากไม่ขัดต่อสัญญาจ้าง
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างห้ามเปลี่ยนแปลตำแหน่งหรือหน้าที่ของลูกจ้าง นายจ้างย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งลูกจ้างเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ อันเป็นอำนาจของนายจ้างโดยเฉพาะได้ และไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างอันไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโยกย้ายลูกจ้าง: นายจ้างมีอำนาจบริหารงานและเปลี่ยนแปลงตำแหน่งได้ หากไม่มีข้อตกลงห้าม
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างห้ามเปลี่ยนแปลตำแหน่งหรือหน้าที่ของลูกจ้าง นายจ้างย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งลูกจ้างเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ อันเป็นอำนาจของนายจ้างโดยเฉพาะได้ และไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างอันไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการจ่ายโบนัสพิเศษของนายจ้างตามระเบียบและข้อตกลง สิทธิลูกจ้างขึ้นอยู่กับเกณฑ์ประเมินผล
โบนัสพิเศษเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือไปจากที่นายจ้างจะต้องจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานนายจ้างจะจ่ายโบนัสพิเศษให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ และถ้าจะจ่ายด้วยวิธีการและหลักเกณฑ์อย่างใดก็แล้วแต่นายจ้างจะกำหนดหรือตามสัญญาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างโจทก์ได้กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายโบนัสพิเศษไว้ในระเบียบว่าด้วยการจ่ายเบี้ยกรรมการและโบนัส ข้อ 10 ว่า 'การจ่ายเงินโบนัสสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้มีความชอบพิเศษ ฯลฯ ให้คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้พิจารณาจ่ายให้สำหรับผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภา ส่วนที่เหลือให้ผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภา (จำเลยที่ 2) เป็นผู้พิจารณาจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ชั้นรองลงมาตามที่เห็นสมควร โดยอนุมัติคณะกรรมการองค์การค้าของคุรุสภา ฯลฯ' ซึ่งตามระเบียบดังกล่าว การจ่ายโบนัสพิเศษให้โจทก์เป็นอำนาจของจำเลยที่ 2 ดังนั้น การที่ผลการปฏิบัติงานของโจทก์อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์ปานกลางและจำเลยที่ 2 เห็นว่าโจทก์ไม่ควรได้รับโบนัสพิเศษโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการองค์การค้าของคุรุสภาโดยชอบด้วยระเบียบดังกล่าว จึงหาใช่จำเลยที่ 2 กระทำตามอำเภอใจโดยไม่ได้กระทำตามกรอบข้อบังคับที่วางไว้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างโจทก์ได้กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายโบนัสพิเศษไว้ในระเบียบว่าด้วยการจ่ายเบี้ยกรรมการและโบนัส ข้อ 10 ว่า 'การจ่ายเงินโบนัสสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้มีความชอบพิเศษ ฯลฯ ให้คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้พิจารณาจ่ายให้สำหรับผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภา ส่วนที่เหลือให้ผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภา (จำเลยที่ 2) เป็นผู้พิจารณาจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ชั้นรองลงมาตามที่เห็นสมควร โดยอนุมัติคณะกรรมการองค์การค้าของคุรุสภา ฯลฯ' ซึ่งตามระเบียบดังกล่าว การจ่ายโบนัสพิเศษให้โจทก์เป็นอำนาจของจำเลยที่ 2 ดังนั้น การที่ผลการปฏิบัติงานของโจทก์อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์ปานกลางและจำเลยที่ 2 เห็นว่าโจทก์ไม่ควรได้รับโบนัสพิเศษโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการองค์การค้าของคุรุสภาโดยชอบด้วยระเบียบดังกล่าว จึงหาใช่จำเลยที่ 2 กระทำตามอำเภอใจโดยไม่ได้กระทำตามกรอบข้อบังคับที่วางไว้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4853-4854/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายจ้างในการโยกย้ายงาน และขอบเขตการพิจารณาของศาลแรงงานในกรณีละเมิด
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ห้ามโยกย้างสับเปลี่ยนตำแหน่งของโจทก์ จำเลยนายจ้างย่อมมีอำนาจโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ได้ ไม่เป็นการผิดสัญญาเกี่ยวกับสภาพการจ้างและไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ทั้งโจทก์ยังมิได้ถูกเลิกจ้าง กรณีจึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 49 การโยกย้ายเช่นนี้หามีกฎหมายให้อำนาจแก่ศาลที่จะพิจารณาเป็นประการใดไม่
หากผลของการโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ก่อให้เกิดการดูหมิ่นเกลียวชัง เสียชื่อเสียง ขาดความเชื่อถือแก่โจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นการละเมิดจริง ก็ไม่เป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดที่เกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน การละเมิดเช่นว่านี้หาอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานที่จะพิจารณาพิพากษาไม่
หากผลของการโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ก่อให้เกิดการดูหมิ่นเกลียวชัง เสียชื่อเสียง ขาดความเชื่อถือแก่โจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นการละเมิดจริง ก็ไม่เป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดที่เกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน การละเมิดเช่นว่านี้หาอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานที่จะพิจารณาพิพากษาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: การกำหนดวันทำงานใหม่ต้องไม่เพิ่มภาระและสอดคล้องกับสภาพการจ้างเดิม
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างในขณะที่เลิกจ้าง เดิมโจทก์ทำงานตำแหน่งหัวหน้าผู้ควบคุมบัญชีของบริษัทจำเลยที่เมืองพัทยา ทำงานเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตำแหน่งเดิม แต่ให้ไปปฏิบัติหน้าที่ ณ สำนักงานที่กรุงเทพมหานครโดยกำหนดให้โจทก์ปฏิบัติงานตามคำสั่งของผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารของบริษัทจำเลย โดยให้โจทก์มีหน้าที่เฉพาะตรวจและให้คำแนะนำในทางบัญชีตามที่ได้รับมอบหมายเป็นครั้งคราว เป็นเรื่องที่นายจ้างมอบหมายงานที่เห็นสมควรให้ทำจำเลยมีอำนาจทำได้ ส่วนสถานที่ทำงาน เมื่อโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานครย่อมเป็นการสะดวกแก่โจทก์ยิ่งขึ้น โจทก์ก็มิได้อ้างว่าเป็นการเพิ่มภาระ จำเลยจึงมีคำสั่งได้เช่นกัน แต่การกำหนดให้โจทก์ทำงานในวันศุกร์และวันเสาร์ โดยที่ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์โจทก์มีภาระที่อื่นประจำอยู่แล้วจึงไม่ถูกต้องตามสภาพการจ้างเดิมและก่อภาระหน้าที่ให้แก่โจทก์ จำเลยต้องให้โจทก์ทำงานเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์