คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจนายอำเภอ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7729/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจยึดทรัพย์สินค่าภาษีค้างชำระของนายอำเภอและการคุ้มครองการบังคับคดี
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 นายอำเภอแห่งท้องที่มีอำนาจสั่งยึดทรัพย์สินที่ดินของโจทก์ผู้ต้องรับผิดค่าภาษีอากรค้างได้ โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้อำนาจในเหตุที่ว่านี้มีสิทธิขอให้ศาลใช้วิธีคุ้มครองโดยให้งดการบังคับคดีของกรมสรรพากรในระหว่างขอขยายเวลาอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือในระหว่างพิจารณาคดีของศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 264 แต่อย่างใด ดังนั้น การขายทอดตลาดที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือตามที่นายอำเภอสั่งยึดตามฟ้อง ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 12 จึงอยู่ในดุลพินิจของนายอำเภอ เพียงแต่นายอำเภอจะต้องระมัดระวังใช้อำนาจมิให้ขัดกับคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งจะมีมาในภายหลังเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4018/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงวัน-สถานที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน: อำนาจนายอำเภอและหลักการแปลกฎหมาย
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457มาตรา 19ข้อ 2 ที่แก้ไขแล้ว บัญญัติว่า ถ้าผู้ใหญ่บ้านหมู่ใดว่างลงให้คัดเลือกผู้ใหญ่บ้านขึ้นภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบการว่างนั้น สำหรับวัน เวลาและที่เลือกผู้ใหญ่บ้านมีข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้านพ.ศ.2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวข้อ 6กำหนดให้นายอำเภอประกาศให้ราษฎรในหมู่บ้านที่จะทำการเลือกผู้ใหญ่บ้านทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันทำการเลือก ตามกฎหมายและข้อบังคับนั้นมิได้กล่าวถึงการเลื่อนการเลือกและการเปลี่ยนที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ผิดกับการเลือกกำนันซึ่งมีระเบียบกระทรวงมหาดไทย กำหนดให้การเปลี่ยนแปลงหน่วยเลือกกำนันต้องกระทำก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ดังนั้นการเปลี่ยนที่เลือกและการเลื่อนการเลือกผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม แต่ควรประกาศล่วงหน้าให้ราษฎรทราบทั่วถึงกันก่อนวันเลือก และเลือกให้ทันภายในกำหนดสิบห้าวัน ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ การแปลกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่ออกตามกฎหมายต้องแปลให้เกิดผล โดยดูถึงเจตนาในการออกกฎหมายและระเบียบข้อบังคับนั้น ๆ ด้วย ข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดให้นายอำเภอประกาศกำหนดวัน เวลา และที่เลือกผู้ใหญ่บ้านให้ราษฎรทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันทำการเลือก จึงหมายถึงการประกาศครั้งแรก
จำเลยประกาศกำหนดวัน เวลา และที่เลือกผู้ใหญ่บ้านครั้งแรกวันที่ 1 เมษายน 2526 กำหนดเลือกที่บ้านนาย ส.ในวันที่ 12เมษายน 2526เวลา 10 นาฬิกา ซึ่งนับจากวันประกาศครบ 7 วันแล้วการที่จำเลยประกาศเปลี่ยนที่เลือกเป็นที่โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ และในวันที่ 12 เมษายน 2526ได้ประกาศเลื่อนวันเลือกเป็นวันที่ 15 เมษายน 2526 ก็เป็นไปตามความจำเป็นและเหมาะสมและเป็นเวลาล่วงหน้าเพียงพอให้ราษฎรทราบทั่วถึงกันแล้วกรณีถือได้ว่าจำเลยได้ประกาศกำหนดวัน เวลา และสถานที่เลือกผู้ใหญ่บ้านไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ก่อนวันทำการเลือก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายอำเภอสั่งแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าพนักงานจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ต้องมีฐานตามกฎหมาย หากไม่มีคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มาตรา 24 มิได้บัญญัติให้อำนาจนายอำเภอแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าพนักงานจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่แต่อย่างใด การที่นายอำเภอมีคำสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าพนักงานสำรวจสำหรับเขตหมู่บ้าน และแต่งตั้งให้มีเจ้าหน้าที่จัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ในหมู่บ้านที่ตนปกครองรับผิดชอบ คำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผลให้จำเลยเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ แม้ต่อมาจำเลยได้จัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่จากราษฎร แล้วเบียดบังเอาเงินดังกล่าวเป็นของตนโดยทุจริตจำเลยก็ไม่มีหลักฐานเป็นเจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227-229/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายอำเภอในการดูแลหนองสาธารณะ: ความชอบธรรมตามกฎหมายปกครองท้องที่ และความสัมพันธ์กับประมวลกฎหมายที่ดิน
หนองสาธารณะที่ทางราชการหวงห้ามไว้เพื่อสาธารณประโยชน์สำหรับคนและสัตว์ใช้อาบกินร่วมกัน นั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะดูแลรักษาตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ.2457 มาตรา 122 ซึ่งต่อมาได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2495 มาตรา 40 วรรคสาม นายอำเภอจึงมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้บุกรุกหนองสาธารณประโยชน์ออกไปจากหนองนั้นได้ผู้ใดขัดขืนย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 122 มิได้ถูกยกเลิกหรือขัดแย้งกับประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 และไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 4