พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1582/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้ว่าฯ เพิกถอน น.ส.3 คลาดเคลื่อน: ปกป้องที่สาธารณะประโยชน์
ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 บัญญัติว่า เมื่อปรากฏว่าได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขได้ กฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติไว้ในลักษณะให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจที่จะพิจารณาว่ากรณีใดควรจะสั่งเพิกถอนหรือแก้ไข การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ของโจทก์ทั้งฉบับเนื่องจากระบุอาณาเขตด้านทิศตะวันตก คลาดเคลื่อน ทั้งที่ตามความเป็นจริงจดที่สาธารณประโยชน์ อันจะมีผลให้ที่สาธารณประโยชน์ดังกล่าวหายไป คำสั่งให้เพิกถอนดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775-3776/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้ว่าฯ ในการเลิกจ้างลูกจ้างที่ทุจริตต่อหน้าที่โดยไม่ต้องตั้งกรรมการสอบสวน
โจทก์ให้การรับสารภาพต่อผู้บังคับบัญชาว่าทุจริตต่อหน้าที่เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงอันเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามข้อบังคับของจำเลยผู้ว่าการมีอำนาจพิจารณาสั่งลงโทษไล่ออกหรือให้ออกได้โดยไม่ต้องตั้งกรรมการสอบสวนอำนาจนี้เป็นอำนาจที่สมบูรณ์ของผู้ว่าการจำเลยแม้จำเลยจะตั้งกรรมการขึ้นสอบสวนโดยไม่มีผู้แทนของสหภาพแรงงานเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วยตามข้อตกลงระหว่างสหภาพแรงงานกับจำเลยก็ไม่มีผลลบล้างอำนาจที่สมบูรณ์สิทธิขาดนั้นเสียได้การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาร่างเทศบัญญัติงบประมาณที่สภาไม่รับหลักการ ผู้ว่าฯ มีอำนาจสั่งให้ร่างนั้นตกไปได้
เมื่อพระราชบัญญัติเทศบาล ฯ มาตรา 62 ทวิ ได้บัญญัติถึงกรณีที่สภาเทศบาลไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณไว้โดยเฉพาะแล้ว ย่อมต้องปฏิบัติตามนั้น จะนำระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาเทศบาล พ.ศ. 2496 ข้อ 49 ซึ่งใช้แก่ญัตติร่างเทศบัญญัติทั่ว ๆ ไปมาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์ที่ 1 เป็นนายกเทศมนตรี โจทก์ที่ 2 เป็นเทศมนตรี ในการประชุมสภาเทศบาลสมัยที่ 1 ครั้งแรก สภาเทศบาลได้มีมติไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2526 แต่ประธานสภาเทศบาลมิได้ส่งร่างเทศบัญญัตินั้นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด กลับอนุญาตให้นำร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ซึ่งมีข้อความเหมือนกับร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่สภาลงมติไม่รับหลักการดังกล่าว (ยกเว้นข้อความในรายละเอียดบางประการที่ไม่เหมือนกัน) เข้าพิจารณาในการประชุมสมัยที่ 1 ครั้งที่ 2 เพื่อจะเอามติในการประชุมครั้งหลังนี้ไปลบล้างมติครั้งแรก อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเทศบาล ฯ มาตรา 62 ทวิ ดังนั้นแม้สภาเทศบาลจะลงมติรับหลักการร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมดังกล่าวในการประชุมครั้งที่ 2 จำเลยในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีอำนาจควบคุมดูแลเทศบาลในจังหวัดให้ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมายตาม มาตรา 71 ย่อมมีอำนาจเรียกรายงานการประชุมสภาเทศบาลและร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่สภาเทศบาลไม่รับหลักการจากประธานสภาเทศบาลได้และเมื่อจำเลยได้พิจารณาร่างเทศบัญญัติดังกล่าวแล้วเห็นชอบด้วยกับสภาเทศบาลที่ไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัตินั้น ร่างเทศบัญญัตินั้นก็ตกไปตามที่ มาตรา 62 ทวิ บัญญัติไว้เทศมนตรีทั้งคณะต้องออกจากตำแหน่ง และจำเลยในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจแต่งตั้งคณะเทศมนตรีชั่วคราวได้ ตาม มาตรา 45 การที่จำเลยมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์ที่ 1 เป็นนายกเทศมนตรี โจทก์ที่ 2 เป็นเทศมนตรี ในการประชุมสภาเทศบาลสมัยที่ 1 ครั้งแรก สภาเทศบาลได้มีมติไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2526 แต่ประธานสภาเทศบาลมิได้ส่งร่างเทศบัญญัตินั้นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด กลับอนุญาตให้นำร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ซึ่งมีข้อความเหมือนกับร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่สภาลงมติไม่รับหลักการดังกล่าว (ยกเว้นข้อความในรายละเอียดบางประการที่ไม่เหมือนกัน) เข้าพิจารณาในการประชุมสมัยที่ 1 ครั้งที่ 2 เพื่อจะเอามติในการประชุมครั้งหลังนี้ไปลบล้างมติครั้งแรก อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเทศบาล ฯ มาตรา 62 ทวิ ดังนั้นแม้สภาเทศบาลจะลงมติรับหลักการร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมดังกล่าวในการประชุมครั้งที่ 2 จำเลยในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีอำนาจควบคุมดูแลเทศบาลในจังหวัดให้ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมายตาม มาตรา 71 ย่อมมีอำนาจเรียกรายงานการประชุมสภาเทศบาลและร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่สภาเทศบาลไม่รับหลักการจากประธานสภาเทศบาลได้และเมื่อจำเลยได้พิจารณาร่างเทศบัญญัติดังกล่าวแล้วเห็นชอบด้วยกับสภาเทศบาลที่ไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัตินั้น ร่างเทศบัญญัตินั้นก็ตกไปตามที่ มาตรา 62 ทวิ บัญญัติไว้เทศมนตรีทั้งคณะต้องออกจากตำแหน่ง และจำเลยในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจแต่งตั้งคณะเทศมนตรีชั่วคราวได้ ตาม มาตรา 45 การที่จำเลยมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3419/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุมัติเงินยืมต้องเป็นไปตามอำนาจของผู้ว่าฯ การยืมเพื่อใช้ราชการมิอาจถือเป็นผู้ยืมตามกฎหมาย
ข้อเท็จจริงได้ความว่า อำนาจอนุมัติเงินยืมเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 2 ผู้เป็นปลัดจังหวัดจะสั่งอนุมัติได้ต่อเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ และตามระเบียบราชการผู้ขอยืมเงินจะต้องขอไปใช้ในทางราชการ ผู้มีอำนาจอนุมัติจึงจะอนุมัติให้ยืมได้ ดังนี้ เมื่อฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยที่ 1 ผู้เป็นเสมียนตรานำเงินยืมไปใช้นอกเหนือหน้าที่ราชการและจำเลยที่ 2 ทำนอกเหนือหน้าที่ราชการแต่อย่างใดจึงต้องฟังว่าการที่จำเลยที่ 1 ได้ขอยืมเงินทดรองราชการและจำเลยที่ 2 อนุมัติไปตามฟ้อง เป็นการยืมไปใช้ในราชการ ในกรณีเช่นนี้ จำเลยที่ 1 หาได้อยู่ในฐานะผู้ยืมตามกฎหมายไม่ (อ้างฎีกาที่ 1107/2499) การที่โจทก์กล่าวฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ยืมเงินทดรองราชการไปแล้วไม่ส่งใช้เงินยืมหรือไม่ส่งใบสำคัญหักล้างเงินยืม และจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติราชการของจำเลยที่ 1 เป็นผู้อนุมัติเงินยืม จึงเป็นเรื่องที่กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามระเบียบราชการนั้นเอง หาได้กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำละเมิดต่อโจทก์แต่ประการใดไม่ จึงไม่มีทางที่จะบังคับให้จำเลยรับผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้ว่าฯ ออกประกาศบังคับทำรายงานการค้าข้าว และการริบข้าวที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับความผิด
คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พ.ศ. 2489 ออกประกาศฉบับที่ 69 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2499 แต่งตั้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบการค้าข้าวแจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวได้ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสจึงออกประกาศฉบับที่ 2 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2507 ให้ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าวทำรายงานการค้าข้าวประจำวันให้เสร็จสิ้นในวันรุ่งขึ้นและเก็บไว้ ณ สถานที่ประกอบการค้าข้าว ดังนี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่ารายงานการค้าข้าวประจำวันนั้นก็คือการแจ้งปริมาณข้าวที่คงเหลือในวันหนึ่งๆนั่นเอง ฉะนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสจึงมีอำนาจออกประกาศให้ทำรายงานการค้าข้าวได้ตามอำนาจในประกาศคณะกรรมการฉบับที่ 69 ข้อ 6(5) และผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสย่อมจะมีอำนาจกำหนดระยะเวลาให้ผู้ค้าข้าวทำรายงานดังกล่าวให้เสร็จในวันรุ่งขึ้นได้ด้วยตามอำนาจที่ให้ไว้ในมาตรา 12 ประกอบด้วยมาตรา5 แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พ.ศ. 2489
บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำรายงานการค้าข้าวประจำวันครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2508 โดยลงบัญชีข้าวสารเจ้าเหลือเมื่อสิ้นวัน จำนวน 8,800 กิโลกรัมครั้นต่อมาเมื่อระหว่างตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2508 ตลอดมาถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2508 เวลากลางวัน จำเลย ได้บังอาจละเว้นไม่ทำรายงานการค้าข้าวประจำวันให้เสร็จสิ้นในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2508 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้น และจำเลยได้ฝ่าฝืนมิได้ทำรายงาน การค้าข้าวประจำวันให้เสร็จในวันรุ่งขึ้นตลอดมาจนถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน2508 ฟ้องเช่นนี้ย่อมมีความหมายที่เข้าใจได้ชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่า ล. จำเลยทำรายงานการค้าข้าวครั้งสุดท้ายเพียงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2508 เท่านั้นหลังจากนั้น คือ วันที่ 14 ถึง 19 พฤศจิกายน 2508 ตลอดมา จำเลยมิได้ทำรายงานประจำวันเลย และจำเลยก็ให้การรับสารภาพชี้แจง เหตุผลว่าที่ไม่ได้ทำรายงานเพราะคนทำบัญชีเกิดเจ็บป่วย ตัวจำเลยเองโง่เขลารู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนี้ ย่อมแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาของโจทก์ ดีอยู่แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมอย่างใด ส่วนที่โจทก์กล่าวมาในฟ้อง ด้วยว่าเจ้าพนักงานได้ตรวจพบการกระทำผิดของจำเลยเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2508 นั้นไม่เป็นเหตุให้ฟ้องเสียไปเพราะเจ้าพนักงาน อาจพบว่าจำเลยไม่ทำรายงานการค้าข้าวตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2508นั้นได้ และตราบใดที่จำเลยยังคงไม่ทำรายงาน จำเลยก็ย่อมได้ชื่อว่า กระทำผิดทุกวันตลอดมา
คำว่า 'ข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดให้ริบเสีย' ตามมาตรา 21 ทวิแห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าวฯ นั้น จะต้องเป็นข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดโดยตรงจำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวโดยชอบแล้ว จำเลยทำได้เพียงละเว้นไม่ทำรายงานการค้าข้าวประจำวันเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าข้าวนั้นได้เกี่ยวเนื่องกับความผิดของจำเลยอย่างใด จึงไม่ริบข้าว
บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำรายงานการค้าข้าวประจำวันครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2508 โดยลงบัญชีข้าวสารเจ้าเหลือเมื่อสิ้นวัน จำนวน 8,800 กิโลกรัมครั้นต่อมาเมื่อระหว่างตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2508 ตลอดมาถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2508 เวลากลางวัน จำเลย ได้บังอาจละเว้นไม่ทำรายงานการค้าข้าวประจำวันให้เสร็จสิ้นในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2508 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้น และจำเลยได้ฝ่าฝืนมิได้ทำรายงาน การค้าข้าวประจำวันให้เสร็จในวันรุ่งขึ้นตลอดมาจนถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน2508 ฟ้องเช่นนี้ย่อมมีความหมายที่เข้าใจได้ชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่า ล. จำเลยทำรายงานการค้าข้าวครั้งสุดท้ายเพียงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2508 เท่านั้นหลังจากนั้น คือ วันที่ 14 ถึง 19 พฤศจิกายน 2508 ตลอดมา จำเลยมิได้ทำรายงานประจำวันเลย และจำเลยก็ให้การรับสารภาพชี้แจง เหตุผลว่าที่ไม่ได้ทำรายงานเพราะคนทำบัญชีเกิดเจ็บป่วย ตัวจำเลยเองโง่เขลารู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนี้ ย่อมแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาของโจทก์ ดีอยู่แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมอย่างใด ส่วนที่โจทก์กล่าวมาในฟ้อง ด้วยว่าเจ้าพนักงานได้ตรวจพบการกระทำผิดของจำเลยเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2508 นั้นไม่เป็นเหตุให้ฟ้องเสียไปเพราะเจ้าพนักงาน อาจพบว่าจำเลยไม่ทำรายงานการค้าข้าวตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2508นั้นได้ และตราบใดที่จำเลยยังคงไม่ทำรายงาน จำเลยก็ย่อมได้ชื่อว่า กระทำผิดทุกวันตลอดมา
คำว่า 'ข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดให้ริบเสีย' ตามมาตรา 21 ทวิแห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าวฯ นั้น จะต้องเป็นข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดโดยตรงจำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวโดยชอบแล้ว จำเลยทำได้เพียงละเว้นไม่ทำรายงานการค้าข้าวประจำวันเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าข้าวนั้นได้เกี่ยวเนื่องกับความผิดของจำเลยอย่างใด จึงไม่ริบข้าว