พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6732/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานสอบสวน: การแต่งตั้งพนักงานสอบสวนเพิ่มเติมโดยผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชอบด้วยกฎหมาย
เหตุคดีนี้เกิดขึ้นที่ตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน ซึ่งอยู่ในเขตการสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรอำเภอสูงเนินซึ่งมีพันตำรวจโท ข. เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 ส่วนที่มีพันตำรวจโท ว. เข้ามาเป็นพนักงานสอบสวนในเรื่องนี้ด้วยก็เป็นเรื่องที่พลตำรวจตรี ถ. ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา แต่งตั้งเป็นพิเศษเกี่ยวกับการสอบสวนพยานหลักฐานในคดีนี้โดยอาศัยอำนาจตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยระเบียบการดำเนินคดีอาญา พ.ศ. 2523 ข้อ 2.3 ตามคำสั่งตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมาที่ 310/2542 เรื่องแต่งตั้งพนักงานสอบสวนคดีอาญา ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2542 พันตำรวจโท ว. จึงมีอำนาจหน้าที่เป็นพนักงานสอบสวน และมีอำนาจในการรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9378/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการสอบสวนคดีอาญาและการกำหนดโทษพยายามฆ่าเกินอัตราตามกฎหมาย
ตาม ป.วิ.อ. การสอบสวนคดีอาญาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการตามที่เห็นสมควรภายในขอบเขตบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ในการสอบสวนคดีนี้ไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้กระทำผิดกฎหมายหรือผิดหน้าที่อย่างใด ทั้ง ป.วิ.อ.ก็มิได้บัญญัติห้ามมิให้บุคคลอื่นหรือพยานปากอื่นเข้าฟังการสอบสวน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนสอบปากคำพยานโจทก์ทั้งห้าปากพร้อมกัน และพันตำรวจโท อ.พยานโจทก์ปากหนึ่งตรวจดูบันทึกคำให้การพยานโจทก์ชั้นสอบสวนทุกปาก พร้อมทั้งนั่งฟังการสอบสวนด้วยจึงหาทำให้การสอบสวนเสียไปไม่
โทษฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 288 กำหนดโทษไว้เป็น3 ประการ คือ โทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต และจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีโดยให้ศาลเลือกพิจารณาลงโทษตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี ในคดีนี้เป็นการพยายามกระทำความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งศาลชั้นต้นได้พิจารณาเลือกกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยคือโทษตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ฉะนั้นโทษสูงสุดของอัตราโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ 20 ปีดังกล่าวที่สามารถจะลงโทษในข้อหาฐานพยายามได้ในกรณีนี้คือ 13 ปี 4 เดือนการที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยข้อหาฐานพยายามฆ่า 15 ปี และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็นการลงโทษเกินสองในสามส่วนของโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สมควรแก้ไขโทษเสียให้เป็นการถูกต้อง
โทษฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 288 กำหนดโทษไว้เป็น3 ประการ คือ โทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต และจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีโดยให้ศาลเลือกพิจารณาลงโทษตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี ในคดีนี้เป็นการพยายามกระทำความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งศาลชั้นต้นได้พิจารณาเลือกกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยคือโทษตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ฉะนั้นโทษสูงสุดของอัตราโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ 20 ปีดังกล่าวที่สามารถจะลงโทษในข้อหาฐานพยายามได้ในกรณีนี้คือ 13 ปี 4 เดือนการที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยข้อหาฐานพยายามฆ่า 15 ปี และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็นการลงโทษเกินสองในสามส่วนของโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สมควรแก้ไขโทษเสียให้เป็นการถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจพนักงานสอบสวนในการกำหนดจำนวนเงินประกันตัวคดีเช็ค และผลบังคับใช้สัญญาประกันเกินอำนาจ
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 5(2) ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาที่กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวโดย มีประกันหรือหลักประกันไม่เกินจำนวนเงินตามเช็ค เมื่อผู้ต้องหาออกเช็คเป็นความผิดจำนวนเงิน 93,000 บาท จำเลยเป็นผู้ขอประกัน พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจกำหนดจำนวนเงินให้ผู้ประกันชดใช้เมื่อมีการผิดสัญญาประกันเพียงไม่เกินจำนวนเงิน 93,000 บาท การที่พนักงานสอบสวนกำหนดจำนวนเงินให้ผู้ประกันชดใช้เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน 200,000 บาทซึ่งเกินกว่าจำนวนเงินตามเช็ค เป็นการกระทำที่เกินอำนาจของพนักงานสอบสวน จึงใช้บังคับผู้ประกันได้เพียงเท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้คือ 93,000 บาท ตามจำนวนเงินในเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2619/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวเกินจำนวนเงินเช็ค: อำนาจจำกัดของพนักงานสอบสวนและผลต่อความสมบูรณ์ของสัญญา
การที่พนักงานสอบสวนสั่งปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวโดยกำหนดจำนวนเงินให้นายประกันต้องรับผิดชดใช้เมื่อมีการผิดสัญญาประกันเกินจำนวนเงินตามเช็ค อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 5 (2) นั้น เป็นแต่เพียงการกระทำที่เกินอำนาจพนักงานสอบสวน ใช้บังคับนายประกันได้เพียงเท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้คือตามจำนวนเงินในเช็ค ไม่ทำให้สัญญาประกันมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันจะทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2619/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจพนักงานสอบสวนในการกำหนดจำนวนเงินประกันตัวและการบังคับใช้สัญญาประกัน
การที่พนักงานสอบสวนสั่งปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวโดยกำหนดจำนวนเงินให้นายประกันต้องรับผิดชดใช้เมื่อมีการผิดสัญญาประกันเกินจำนวนเงินตามเช็ค อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 5(2) นั้นเป็นแต่เพียงการกระทำที่เกินอำนาจพนักงานสอบสวน ใช้บังคับนายประกันได้เพียงเท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้คือตามจำนวนเงินในเช็คไม่ทำให้สัญญาประกันมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันจะทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในฐานะบุคคลอันธพาลต้องมีข้อหาละเมิดกฎหมายและต้องมีการสอบสวน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
(1)ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 นั้นมุ่งหมายให้อำนาจพนักงานสอบสวนที่จะควบคุมบุคคลอันธพาลผู้กระทำละเมิดกฎหมายได้มากขึ้นโดยให้อำนาจควบคุมครั้งแรกถึง 30 วันกล่าวคือ เป็นการขยายอำนาจการควบคุมครั้งแรกในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 นั้นเองแต่หาได้มุ่งหมายให้อำนาจที่จะควบคุมบุคคลอันธพาลไว้เฉยๆโดยไม่มีข้อหาว่าละเมิดกฎหมายและโดยไม่มีการสอบสวนไม่ เพราะฉะนั้นเจ้าพนักงานจึงไม่อาจที่จะควบคุมผู้ใดโดยอ้างว่าเป็นบุคคลอันธพาลแต่ปราศจากข้อกล่าวหาว่าผู้นั้นได้กระทำการละเมิดต่อกฎหมาย
(2)ด้วยเหตุผลในข้อ 1 ข้างบนนี้เมื่อได้ความชัดว่าจำเลยถูกควบคุมมา 30 วันฐานเป็นบุคคลอันธพาลนั้นก็เพราะเนื่องมาจากถูกกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดกฎหมายเช่น ลักทรัพย์หรือรับของโจรเป็นต้น ก็ชอบที่จะต้องหักวันที่ถูกควบคุมในฐานเป็นบุคคลอันธพาล 30 วันนั้นออกจากกำหนดโทษตามคำพิพากษาให้จำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2508)
(2)ด้วยเหตุผลในข้อ 1 ข้างบนนี้เมื่อได้ความชัดว่าจำเลยถูกควบคุมมา 30 วันฐานเป็นบุคคลอันธพาลนั้นก็เพราะเนื่องมาจากถูกกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดกฎหมายเช่น ลักทรัพย์หรือรับของโจรเป็นต้น ก็ชอบที่จะต้องหักวันที่ถูกควบคุมในฐานเป็นบุคคลอันธพาล 30 วันนั้นออกจากกำหนดโทษตามคำพิพากษาให้จำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2508)