พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากผู้บุกรุกที่ดินเช่า โดยเจ้าของที่ดินและผู้รับโอนสิทธิเช่ามีอำนาจฟ้องร่วมกัน
เดิมเจ้าของที่ดินตกลงให้ ท. เช่าที่ดินเพื่อปรับปรุงก่อสร้างอาคารพาณิชย์โดยให้กรรมสิทธิ์ในสิ่งก่อสร้างตกเป็นของเจ้าของที่ดินนับแต่วันสร้างเสร็จ และให้ ท.มีสิทธิเก็บผลประโยชน์ได้เป็นเวลา 12 ปีนับแต่วันครบกำหนดก่อสร้าง ต่อมา ท.ได้โอนสิทธิตามสัญญาเช่าให้โจทก์ตามที่มีข้อตกลงอนุญาตไว้ เจ้าของที่ดินได้แจ้งให้จำเลยออกไปจากที่ดิน จำเลยไม่ยอมขนย้ายออกไปทำให้โจทก์เข้าก่อสร้างในที่ดินที่เช่าไม่ได้ โจทก์จึงฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยเรียกเจ้าของที่ดินเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม พร้อมกับยื่นคำฟ้อง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยเข้าอยู่ในที่เช่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วม อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วม โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอยู่ในที่เช่าโดยละเมิดได้ โดยไม่จำต้องบอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากที่เช่าก่อน และแม้โจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยโดยลำพัง โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้ศาลเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีเพื่อศาลจะได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างผู้เป็นคู่กรณีทั้งหลายรวมไปเป็นคดีเดียวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 477 และ 549 ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์บริบูรณ์ขึ้นได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1053/2509)
ในกรณีดังกล่าว เมื่อจำเลยกระทำผิด ย่อมต้องมีความเสียหายเกิดขึ้นเพราะผลแห่งการละเมิด และศาลจะบังคับให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนสถานใดเพียงใดนั้น ย่อมแล้วแต่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด และค่าสินไหมทดแทนนั้นรวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ ที่จำเลยได้ก่อขึ้นนั้นด้วย ฉะนั้นการที่จำเลยไม่ยอมออกจากที่เช่า เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถปลูกตึกแถวในที่เช่าให้เช่าหาประโยชน์ตามสัญญาที่ผูกพันกันระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วม ซึ่งจำเลยได้รับการบอกกล่าวให้ทราบแล้ว จึงต้องถือว่าเป็นความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดของจำเลย เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดี จำเลยจึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
ในกรณีดังกล่าว เมื่อจำเลยกระทำผิด ย่อมต้องมีความเสียหายเกิดขึ้นเพราะผลแห่งการละเมิด และศาลจะบังคับให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนสถานใดเพียงใดนั้น ย่อมแล้วแต่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด และค่าสินไหมทดแทนนั้นรวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ ที่จำเลยได้ก่อขึ้นนั้นด้วย ฉะนั้นการที่จำเลยไม่ยอมออกจากที่เช่า เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถปลูกตึกแถวในที่เช่าให้เช่าหาประโยชน์ตามสัญญาที่ผูกพันกันระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วม ซึ่งจำเลยได้รับการบอกกล่าวให้ทราบแล้ว จึงต้องถือว่าเป็นความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดของจำเลย เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดี จำเลยจึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: อำนาจฟ้องร่วม และผลผูกพันต่อเจ้าหนี้แต่ละราย
โจทก์หลายคนฟ้องจำเลยโดยอาศัยหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยทำให้โจทก์ในฉบับเดียวรวมกัน มิได้แยกการชำระหนี้ไว้ต่างหากจากกัน ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ว่าจำเลยยอมชำระเงินให้โจทก์ทุกคนรวม 6,664 บาท แม้มูลหนี้ เดิมของโจทก์แต่ละคนจะเป็นหนี้คนละราย คนละจำนวน ไม่ใช่เจ้าหนี้ร่วมก็ดี แต่โดยที่ผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ถือได้ว่า จำเลยได้ยอมรับว่า ได้เป็นหนี้โจทก์แต่ละคนแล้ว โจทก์ทุกคนจึงมีอำนาจเข้าชื่อร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในสำนวนเดียวกันได้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีว่า จำเลยยอมชำระหนี้ให้โจทก์ รวม 22 คน เป็นกรณีที่เกิดจากการที่โจทก์บางคนได้ร้องทุกข์กล่าวหาในคดีอาญาว่า จำเลยฉ้อโกง แม้โจทก์ที่ไปร้องทุกข์นั้นจะไม่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์คนอื่นให้ทำสัญญายอมนั้น ก็ตาม ในการดำเนินคดีแพ่งตามสัญญายอมนั้น โจทก์ไม่จำต้องอาศัยคำร้องทุกข์ในคดีอาญานั้นเลย เมื่อจำเลยทำหนังสือสัญญายอมไว้ว่า จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามรายชื่อรวม 22 คน จำเลยก็ต้องรับผิดต่อบุคคลแล้วนั้น ตามสัญญานั้น แม้ว่าเจ้าหนี้บางคนจะมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญายอมดังกล่าว เจ้าหนี้บางคนเช่นว่านั้น ก็มีอำนาจฟ้องความตามสัญญานั้นได้ ไม่เกี่ยวกับว่าเจ้าหนี้ทั้ง 22 คน จะต้องมอบฉันทะให้ผู้หนึ่งผู้ใด ทำสัญญายอมดังกล่าว กับจำเลยด้วยหรือไม่
สัญญาประนีประนอมยอมความมีว่า จำเลยยอมชำระหนี้ให้โจทก์ รวม 22 คน เป็นกรณีที่เกิดจากการที่โจทก์บางคนได้ร้องทุกข์กล่าวหาในคดีอาญาว่า จำเลยฉ้อโกง แม้โจทก์ที่ไปร้องทุกข์นั้นจะไม่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์คนอื่นให้ทำสัญญายอมนั้น ก็ตาม ในการดำเนินคดีแพ่งตามสัญญายอมนั้น โจทก์ไม่จำต้องอาศัยคำร้องทุกข์ในคดีอาญานั้นเลย เมื่อจำเลยทำหนังสือสัญญายอมไว้ว่า จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามรายชื่อรวม 22 คน จำเลยก็ต้องรับผิดต่อบุคคลแล้วนั้น ตามสัญญานั้น แม้ว่าเจ้าหนี้บางคนจะมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญายอมดังกล่าว เจ้าหนี้บางคนเช่นว่านั้น ก็มีอำนาจฟ้องความตามสัญญานั้นได้ ไม่เกี่ยวกับว่าเจ้าหนี้ทั้ง 22 คน จะต้องมอบฉันทะให้ผู้หนึ่งผู้ใด ทำสัญญายอมดังกล่าว กับจำเลยด้วยหรือไม่