พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7030/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแย้งและการแก้ไขข้อบกพร่องเอกสารแต่งตั้งทนายความที่ศาลมีอำนาจแก้ไขเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
แม้ใบแต่งทนายความของจำเลยจะลงชื่อส. หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยเพียงคนเดียวไม่เป็นไปตามข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการที่ระบุให้ส. ลงลายมือชื่อร่วมกับค. และประทับตราห้างจำเลยตามหนังสือรับรองนิติบุคคลซึ่งทำให้อำนาจของผู้แทนนิติบุคคลในการดำเนินคดีของจำเลยบกพร่องก็ตามแต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้ใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา66ให้ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องโดยการร้องขอต่อศาลตั้งผู้แทนชั่วคราวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา73และให้จัดทำใบแต่งทนายความขึ้นมาใหม่ซึ่งเป็นอำนาจที่ศาลอุทธรณ์กระทำได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจให้แก้ไขข้อบกพร่องนี้ได้เมื่อพบเห็นเองส่วนการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งส. เป็นผู้แทนชั่วคราวของจำเลยตามที่จำเลยยื่นคำร้องขอมาโดยค.ยังเป็นหุ้นส่วนของจำเลยผู้มีอำนาจลงชื่อร่วมกับส.ในการทำนิติกรรมต่างๆของห้างอยู่แต่ปรากฎว่าค.แสดงตนเป็นปฏิปักษ์กับจำเลยไม่ยอมลงชื่อในใบแต่งทนายความร่วมกับส.ตามข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการพฤติการณ์เช่นนี้ย่อมเกิดความเสียหายแก่จำเลยได้และไม่มีทางใดที่จะบังคับค. ได้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของจำเลยการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งส. เป็นผู้แทนชั่วคราวของจำเลยและจำเลยได้เสนอใบแต่งทนายความฉบับใหม่ตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์แล้วย่อมทำให้อำนาจฟ้องที่บกพร่องนั้นเป็นอำนาจฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมายมาตั้งแต่เริ่มแรกจำเลยจึงมีอำนาจให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6499/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ, อากรแสตมป์, อำนาจฟ้องแย้ง: การมอบอำนาจดำเนินคดีเฉพาะเรื่อง และการใช้สิทธิฟ้องแย้งของผู้รับมอบอำนาจ
หนังสือมอบอำนาจระบุว่า จำเลยมอบอำนาจให้ ว.ดำเนินคดีนี้แทนและระบุเลขคดี ชื่อศาล กับชื่อคู่ความไว้โดยให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในทางจำหน่ายสิทธิ เช่น ยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้องการประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิการใช้สิทธิในการอุทธรณ์ ฎีกา การขอให้พิจารณาใหม่ รวมทั้งมีอำนาจรับเอกสารคืนจากศาล การแต่งตั้งตัวแทนช่วงเพื่อการนี้ด้วย เป็นการที่จำเลยมอบ อำนาจให้ ดำเนินคดีแทนเฉพาะคดีนี้ ถือว่ามอบอำนาจให้กระทำการ ครั้งเดียว ต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7(ก) การที่จำเลยมอบอำนาจให้ ว. มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตามหนังสือมอบอำนาจ ย่อมหมายถึงให้มีอำนาจในการต่อสู้คดีซึ่งรวมถึงมีอำนาจฟ้องแย้งมาในคำให้การได้ด้วยและผู้รับมอบอำนาจย่อมตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแย้งของตัวแทนที่ไม่มีใบมอบอำนาจ: ตัวแทนย่อมไม่มีอำนาจฟ้องแย้งแทนตัวการ
จำเลยเป็นเพียงตัวแทนของบริษัทยิบอินซอย จำกัด และฟ้องแย้งโดยไม่ปรากฏว่ามีใบมอบอำนาจจากบริษัทดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแย้งของตัวแทนที่ไม่ได้รับมอบอำนาจ: ตัวแทนย่อมไม่มีอำนาจฟ้องแย้งแทนตัวการหากไม่มีใบมอบอำนาจ
จำเลยเป็นเพียงตัวแทนของบริษัทยิบอินซอย จำกัด และฟ้องแย้งโดยไม่ปรากฏว่ามีใบมอบอำนาจจากบริษัทดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1973/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแย้งของตัวแทน: ตัวแทนมีอำนาจฟ้องแย้งได้หากมีอำนาจทำแทนตัวการตามหนังสือมอบอำนาจ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้รับมอบอำนาจจากตัวการให้ทำสัญญาจำนองทรัพย์สินของตัวการไว้กับโจทก์ ขอให้จำเลยไถ่ถอนการจำนองและโจทก์ได้เสนอสำเนาหนังสือมอบอำนาจพร้อมกับฟ้อง ซึ่งข้อหนึ่งแห่งหนังสือมอบอำนาจมีว่า "มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีทั้งหลายแทนตัว ข้าพเจ้า ฯลฯ และมีอำนาจปราณีปรานอมยอมความ ทั้งมีอำนาจแต่งทนายแก้ต่างว่าต่างได้ด้วย" ดังนี้ จำเลยย่อมมีอำนาจฟ้องแย้ง ให้โจทก์ไปจดทะเบียนการไถ่ถอนจำนองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1973/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแย้งของตัวแทนตามหนังสือมอบอำนาจ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้รับมอบอำนาจจากตัวการให้ทำสัญญาจำนองทรัพย์สินของตัวการไว้กับโจทก์ ขอให้จำเลยไถ่ถอนการจำนองและโจทก์ได้เสนอสำเนาหนังสือมอบอำนาจพร้อมกับฟ้อง ซึ่งข้อหนึ่งแห่งหนังสือมอบอำนาจมีว่า "มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีทั้งหลายแทนตัวข้าพเจ้าฯลฯ และมีอำนาจประนีประนอมยอมความ ทั้งมีอำนาจแต่งทนายแก้ต่างว่าต่างได้ด้วย" ดังนี้จำเลยย่อมมีอำนาจฟ้องแย้ง ให้โจทก์ไปจดทะเบียนการไถ่ถอนจำนองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแย้งของนิติบุคคลอาคารชุด: การบังคับภาระจำยอมและการลบล้างผลทางกฎหมายจากการทิ้งคำร้อง
จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีหมายเลขแดงที่ 2572/2550 ของศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ 1 แม้จะเป็นผู้ร้องในคดีดังกล่าว แต่เมื่อคดีดังกล่าวศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะจำเลยที่ 1 ทิ้งคำร้องขอ จึงย่อมมีผลเป็นการลบล้างผลแห่งการยื่นคำร้องขอ รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาภายหลังการยื่นคำร้องขอนั้น ทำให้จำเลยที่ 1 กลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนมิได้มีการยื่นคำร้องขอเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 คดีดังกล่าวยังมิได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 หาได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดไว้เฉพาะตามมาตรา 33 วรรคสอง ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางตามมติของเจ้าของร่วมเท่านั้น แต่นิติบุคคลอาคารชุดยังมีอำนาจตามมาตรา 39 ซึ่งบัญญัติว่า "นิติบุคคลอาคารชุดอาจใช้สิทธิของเจ้าของร่วมครอบไปถึงทรัพย์ส่วนกลางทั้งหมดในการต่อสู้บุคคลภายนอก... เพื่อประโยชน์ของเจ้าของร่วมทั้งหมดได้" เมื่อเจ้าของห้องชุดในอาคารชุด เป็นเจ้าของร่วมในที่ดินอันเป็นที่ตั้งอาคารชุด ทั้งนี้ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนั้น หากเจ้าของร่วมมีสิทธิฟ้องบังคับภาระจำยอมเอาจากที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ย่อมมีอำนาจใช้สิทธินั้นได้ตามบทบัญญัติมาตรา 39 ดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้องแย้ง
การเป็นตัวแทนของจำเลยทั้งสองเป็นผลของกฎหมาย กล่าวคือจำเลยที่ 1 มีอำนาจตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 39 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 36 (3) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่จำต้องตั้งตัวแทนตามบทกฎหมายในเรื่องนิติกรรมสัญญาอีก จำเลยทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องแย้ง
ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 หาได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดไว้เฉพาะตามมาตรา 33 วรรคสอง ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางตามมติของเจ้าของร่วมเท่านั้น แต่นิติบุคคลอาคารชุดยังมีอำนาจตามมาตรา 39 ซึ่งบัญญัติว่า "นิติบุคคลอาคารชุดอาจใช้สิทธิของเจ้าของร่วมครอบไปถึงทรัพย์ส่วนกลางทั้งหมดในการต่อสู้บุคคลภายนอก... เพื่อประโยชน์ของเจ้าของร่วมทั้งหมดได้" เมื่อเจ้าของห้องชุดในอาคารชุด เป็นเจ้าของร่วมในที่ดินอันเป็นที่ตั้งอาคารชุด ทั้งนี้ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนั้น หากเจ้าของร่วมมีสิทธิฟ้องบังคับภาระจำยอมเอาจากที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ย่อมมีอำนาจใช้สิทธินั้นได้ตามบทบัญญัติมาตรา 39 ดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้องแย้ง
การเป็นตัวแทนของจำเลยทั้งสองเป็นผลของกฎหมาย กล่าวคือจำเลยที่ 1 มีอำนาจตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 39 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 36 (3) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่จำต้องตั้งตัวแทนตามบทกฎหมายในเรื่องนิติกรรมสัญญาอีก จำเลยทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแย้งและการครอบครองที่ดิน: ผลของการจำนองและเจตนาสละการครอบครอง
ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจฟ้องแย้ง แม้เป็นปัญหาที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องแย้งเป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาหรือวินิจฉัยในส่วนข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็นเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย แต่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินการสืบพยานโจทก์และจำเลยจนเสร็จสิ้นกระแสความแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยข้อเท็จจริงอันนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวเสียเองโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ของจำเลยมีข้อกำหนดห้ามโอนภายในสิบปีตาม มาตรา 31 แห่ง ป.ที่ดิน และที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินดังกล่าว จำเลยเคยนำที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ ส. โดยมีข้อตกลงว่า เมื่อพ้นกำหนด 10 ปีแล้ว ให้ที่ดินหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจำนอง เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการไถ่ถอนจำนอง จึงถือว่าจำเลยเจตนาสละการครอบครองและส่งมอบการครอบครองที่ดินแก่ ส. แล้ว นับแต่วันพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนจำนอง ส. ย่อมมีอำนาจนำที่ดินพิพาทไปขายให้โจทก์ได้ ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ของจำเลยอีกต่อไป จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง
ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ของจำเลยมีข้อกำหนดห้ามโอนภายในสิบปีตาม มาตรา 31 แห่ง ป.ที่ดิน และที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินดังกล่าว จำเลยเคยนำที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ ส. โดยมีข้อตกลงว่า เมื่อพ้นกำหนด 10 ปีแล้ว ให้ที่ดินหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจำนอง เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการไถ่ถอนจำนอง จึงถือว่าจำเลยเจตนาสละการครอบครองและส่งมอบการครอบครองที่ดินแก่ ส. แล้ว นับแต่วันพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนจำนอง ส. ย่อมมีอำนาจนำที่ดินพิพาทไปขายให้โจทก์ได้ ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ของจำเลยอีกต่อไป จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15984/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าใหม่หลังข้อตกลงเดิมไม่เป็นผล และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต รวมถึงอำนาจฟ้องแย้ง
คดีก่อน โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงจะไปจดทะเบียนหย่ากันและต่างฝ่ายจะถอนฟ้องและถอนฟ้องแย้งซึ่งกันและกัน โดยศาลชั้นต้นจดข้อตกลงดังกล่าวไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว และโจทก์จำเลยที่ 1 ได้ถอนฟ้องแล้วตามข้อตกลง แต่ต่อมาโจทก์ไม่ไปจดทะเบียนหย่า ภายหลังกลับมาฟ้องหย่าเป็นคดีนี้ ไม่ถือว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องโดยใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เพราะมีเหตุใหม่และเป็นคนละประเด็นกับคดีเดิม ปัญหาว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือไม่ เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องและเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ก็มีสิทธิยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และ 249 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นบันทึกข้อเท็จจริงหรือการกระทำใดๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการนั่งพิจารณาไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 48 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นบันทึกว่าโจทก์ตกลงหย่ากับจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่า รายงานกระบวนพิจารณาเป็นหนังสือหย่าโดยความยินยอม และผู้พิพากษาหรือผู้พิพากษาสมทบที่ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็เป็นลงลายมือชื่อตามที่กฎหมายบัญญัติ ถือไม่ได้ว่าเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะพยาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1514 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นบันทึกข้อเท็จจริงหรือการกระทำใดๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการนั่งพิจารณาไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 48 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นบันทึกว่าโจทก์ตกลงหย่ากับจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่า รายงานกระบวนพิจารณาเป็นหนังสือหย่าโดยความยินยอม และผู้พิพากษาหรือผู้พิพากษาสมทบที่ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็เป็นลงลายมือชื่อตามที่กฎหมายบัญญัติ ถือไม่ได้ว่าเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะพยาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1514 วรรคสอง