พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7115/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ/จดข้อความเท็จ: ความเสียหายในตัวของผู้ถูกอ้างถึง เป็นหลัก แม้จำเลยมีวิธีอื่น และโจทก์อาจได้ประโยชน์
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยทั้งสองแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดข้อความอันเป็นเท็จลงในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน มิได้บรรยายว่าจำเลยทั้งสองแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดข้อความอันเป็นเท็จลงในบันทึกถ้อยคำ แต่การดำเนินการของเจ้าพนักงานที่ดินตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน ก็เป็นการดำเนินการสืบเนื่องจากบันทึกถ้อยคำ ในเมื่อทั้งหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินและบันทึกถ้อยคำต่างเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารทั้งหมดที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการในการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินเช่นนี้ คำว่าสัญญาซื้อขายที่โจทก์อ้างในฟ้องจึงย่อมมีความหมายอยู่ในตัวถึงเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งบันทึกถ้อยคำด้วย เมื่อการให้ถ้อยคำในบันทึกถ้อยคำเป็นการให้ถ้อยคำในฐานะผู้ซื้อที่ดินซึ่งเป็นบริษัทจำกัด โดยในบันทึกถ้อยคำดังกล่าวระบุว่าประสงค์จะซื้อที่ดินและจดแจ้งด้วยว่าได้ยื่นเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งรายงานการประชุมของคณะกรรมการบริษัท การให้ถ้อยคำดังกล่าวย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าการดำเนินการของบริษัทได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทตามเอกสารที่ยื่นนั่นเอง ดังนั้นแม้ข้อความในบันทึกถ้อยคำจะมิได้มีข้อความระบุการเข้าประชุมของโจทก์ก็ถือได้ว่ามีการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานและมีการแจ้งข้อความให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จแล้ว
ความมุ่งหมายของความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานและฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารคือ เพื่อคุ้มครองความเด็ดขาดของอำนาจรัฐ แม้กฎหมายกำหนดให้ถือเอาความเสียหายที่อาจมีแก่ผู้อื่นเป็นองค์ประกอบของความผิดอยู่ด้วย แต่ความเสียหายดังกล่าวก็ต้องเป็นความเสียหายในตัวเองจากการแจ้งความเท็จหรือจากการแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จนั้น มิใช่ความเสียหายอื่นซึ่งอยู่ห่างไกล โจทก์ในฐานะเป็นบุคคลที่ถูกจำเลยทั้งสองอ้างต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โจทก์ย่อมเสียหายอยู่ในตัวแล้ว โดยมิพักต้องคำนึงว่าจำเลยทั้งสองมีวิธีอื่นที่จะให้ได้มาซึ่งมติของคณะกรรมการบริษัทโดยไม่ต้องปลอมรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทหรือไม่ และโจทก์จะได้รับผลประโยชน์จากการกระทำของจำเลยทั้งสองในรูปของกำไรหรือการลดภาระภาษีหรือไม่ หาเป็นข้อสำคัญแต่ประการใดไม่
ความมุ่งหมายของความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานและฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารคือ เพื่อคุ้มครองความเด็ดขาดของอำนาจรัฐ แม้กฎหมายกำหนดให้ถือเอาความเสียหายที่อาจมีแก่ผู้อื่นเป็นองค์ประกอบของความผิดอยู่ด้วย แต่ความเสียหายดังกล่าวก็ต้องเป็นความเสียหายในตัวเองจากการแจ้งความเท็จหรือจากการแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จนั้น มิใช่ความเสียหายอื่นซึ่งอยู่ห่างไกล โจทก์ในฐานะเป็นบุคคลที่ถูกจำเลยทั้งสองอ้างต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โจทก์ย่อมเสียหายอยู่ในตัวแล้ว โดยมิพักต้องคำนึงว่าจำเลยทั้งสองมีวิธีอื่นที่จะให้ได้มาซึ่งมติของคณะกรรมการบริษัทโดยไม่ต้องปลอมรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทหรือไม่ และโจทก์จะได้รับผลประโยชน์จากการกระทำของจำเลยทั้งสองในรูปของกำไรหรือการลดภาระภาษีหรือไม่ หาเป็นข้อสำคัญแต่ประการใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8224/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยชอบด้วยกฎหมาย: อำนาจของรัฐในการดำเนินการเวนคืนเพื่อสาธารณูปโภค
การกระทำของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายปกครอง แม้มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิ เสรีภาพ หรือประโยชน์อันชอบธรรมของโจทก์ซึ่งเป็นเอกชน แต่เมื่อเป็นการกระทำที่มีกฎหมายให้อำนาจให้กระทำได้ และได้กระทำการดังกล่าวภายในกรอบที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายได้กำหนดไว้ จำเลยย่อมมีอำนาจกระทำได้โดยชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่ให้เพิกถอนการกระทำดังกล่าวของจำเลยได้
ขณะเกิดเหตุ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521มาตรา 33 วรรคสาม บัญญัติว่า การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อการผังเมือง หรือเพื่อการพัฒนาการเกษตร หรือการอุตสาหกรรม หรือเพื่อการปฏิรูปที่ดิน หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายในการเวนคืนนั้นทั้งนี้ตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย และมี พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 ใช้บังคับ มาตรา 5 บัญญัติให้รัฐเมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการใด ๆ อันจำเป็นเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติหรือเพื่อการผังเมือง หรือเพื่อการพัฒนาการเกษตรหรือการอุตสาหกรรม หรือเพื่อการปฏิรูปที่ดินหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น ถ้ามิได้ตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่นให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ส่วนในกรณีที่มีบทบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนไว้ในกฎหมายอื่นโดยเฉพาะแล้ว ถ้าจะต้องดำเนินการเวนคืนเพื่อกิจการตามกฎหมายดังกล่าว เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะมีมติให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้แทนก็ได้ และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเวนคืนตามวรรคหนึ่งจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ก่อนก็ได้ และสำหรับ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนต้องระบุความประสงค์ของการเวนคืน เจ้าหน้าที่เวนคืน กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเท่าที่จำเป็น กับให้มีแผนที่หรือแผนผังประเมินเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนและแสดงเขตที่ดินที่อยู่ในบริเวณที่ประเมินนั้น ติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกานั้น ..."และสำหรับ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าวเขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพ-มหานคร พ.ศ.2533 ก็ได้ตราขึ้นใช้บังคับตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ทุกประการ ซึ่ง พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ดังกล่าวได้ระบุความประสงค์ของการเวนคืนไว้ว่า เพื่อประโยชน์สาธารณะในการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา - อาจณรงค์ เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภคโดยกำหนดให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน และมีแผนที่แผนผังประเมินเขตที่ดินติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกา โดยมีมติของคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการสร้างทางดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าทางหลวงคู่ขนานที่กรุงเทพมหานครสร้างซึ่งอยู่ในแนวเขตที่ดินที่ถูกเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่290 ข้อ 1 ได้กำหนดความหมายของ "ทางพิเศษ" ไว้ว่า หมายถึงทางหรือถนนซึ่งจัดสร้างขึ้นใหม่ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน เหนือพ้นพื้นดิน หรือพื้นน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเป็นพิเศษ... ดังนั้น การที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สร้างทางพิเศษในรูปทางด่วนและมีถนนคู่ขนานตลอดแนวทางด่วน ทั้งทางด่วนและถนนคู่ขนานหรือทางหลวงคู่ขนานดังกล่าวก็ยังถือได้ว่าเป็นทางพิเศษตามความหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 นั้นอยู่นั่นเอง และต่อมาเมื่อได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ได้ ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์แจ้งการเข้าครอบครองหรือใช้อสังหา-ริมทรัพย์ และโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว กับจำเลยที่ 1 ได้แจ้งการวางเงินค่าทดแทนและกำหนดเวลาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ให้โจทก์ทราบแล้ว ดังนี้จำเลยที่ 1 จึงได้ดำเนินการตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แล้ว
ขณะเกิดเหตุ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521มาตรา 33 วรรคสาม บัญญัติว่า การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อการผังเมือง หรือเพื่อการพัฒนาการเกษตร หรือการอุตสาหกรรม หรือเพื่อการปฏิรูปที่ดิน หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายในการเวนคืนนั้นทั้งนี้ตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย และมี พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 ใช้บังคับ มาตรา 5 บัญญัติให้รัฐเมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการใด ๆ อันจำเป็นเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติหรือเพื่อการผังเมือง หรือเพื่อการพัฒนาการเกษตรหรือการอุตสาหกรรม หรือเพื่อการปฏิรูปที่ดินหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น ถ้ามิได้ตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่นให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ส่วนในกรณีที่มีบทบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนไว้ในกฎหมายอื่นโดยเฉพาะแล้ว ถ้าจะต้องดำเนินการเวนคืนเพื่อกิจการตามกฎหมายดังกล่าว เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะมีมติให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้แทนก็ได้ และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเวนคืนตามวรรคหนึ่งจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ก่อนก็ได้ และสำหรับ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนต้องระบุความประสงค์ของการเวนคืน เจ้าหน้าที่เวนคืน กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเท่าที่จำเป็น กับให้มีแผนที่หรือแผนผังประเมินเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนและแสดงเขตที่ดินที่อยู่ในบริเวณที่ประเมินนั้น ติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกานั้น ..."และสำหรับ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าวเขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพ-มหานคร พ.ศ.2533 ก็ได้ตราขึ้นใช้บังคับตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ทุกประการ ซึ่ง พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ดังกล่าวได้ระบุความประสงค์ของการเวนคืนไว้ว่า เพื่อประโยชน์สาธารณะในการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา - อาจณรงค์ เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภคโดยกำหนดให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน และมีแผนที่แผนผังประเมินเขตที่ดินติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกา โดยมีมติของคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการสร้างทางดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าทางหลวงคู่ขนานที่กรุงเทพมหานครสร้างซึ่งอยู่ในแนวเขตที่ดินที่ถูกเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่290 ข้อ 1 ได้กำหนดความหมายของ "ทางพิเศษ" ไว้ว่า หมายถึงทางหรือถนนซึ่งจัดสร้างขึ้นใหม่ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน เหนือพ้นพื้นดิน หรือพื้นน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเป็นพิเศษ... ดังนั้น การที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สร้างทางพิเศษในรูปทางด่วนและมีถนนคู่ขนานตลอดแนวทางด่วน ทั้งทางด่วนและถนนคู่ขนานหรือทางหลวงคู่ขนานดังกล่าวก็ยังถือได้ว่าเป็นทางพิเศษตามความหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 นั้นอยู่นั่นเอง และต่อมาเมื่อได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ได้ ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์แจ้งการเข้าครอบครองหรือใช้อสังหา-ริมทรัพย์ และโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว กับจำเลยที่ 1 ได้แจ้งการวางเงินค่าทดแทนและกำหนดเวลาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ให้โจทก์ทราบแล้ว ดังนี้จำเลยที่ 1 จึงได้ดำเนินการตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7627/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่การเวนคืนที่ดินของรัฐและการฟ้องร้องค่าทดแทน
จำเลยที่ 1 เป็นกระทรวง มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และนโยบายของรัฐ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นกรมในสังกัดของจำเลยที่ 1 มีอธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนในนามของจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองมีอำนาจหน้าที่จัดให้มีหรือสร้างทางหลวง ตลอดจนการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงทางหลวง การดำเนินการสำรวจเพื่อเวนคืนที่ดินตาม พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน-หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524ก็เพื่อให้ได้ที่ดินมาสร้างทางหลวง ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยทั้งสองตามนโยบายของรัฐ เมื่อเวนคืนแล้ว พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก...เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง พ.ศ.2532มาตรา 4 ให้อสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตกเป็นของจำเลยที่ 2 เงินค่าทดแทนที่จ่ายให้แก่โจทก์เป็นเงินงบประมาณของจำเลยทั้งสองซึ่งได้รับจากรัฐ เหตุที่กฎหมายกำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนก็เพราะจำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลไม่อาจแสดงเจตนาและกระทำการเองได้ จำเป็นต้องแสดงเจตนาและกระทำโดยอธิบดีกรมทางหลวงซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 2 การกระทำหรือการดำเนินการใด ๆเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินของโจทก์ จึงถือได้ว่าเป็นการดำเนินการของจำเลยทั้งสองนั่นเอง ส่วนที่ต้องมีคณะกรรมการทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนค่าทดแทนของอสังหาริมทรัพย์ และคณะกรรมการทำหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ค่าทดแทนนั้น เป็นเพียงกลไกของกฎหมายเพื่อกลั่นกรองงานเสนอต่อเจ้าหน้าที่เวนคืนและรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.หรือ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์พิจารณาสั่งการให้ดำเนินการต่อไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย นอกจากนี้การดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของประชาชนถือว่าเป็นการกระทำในทางปกครองอย่างหนึ่ง และตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ก็มีบทบัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.หรือ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์แล้วแต่กรณี และฟ้องคดีต่อศาลได้ ดังนี้ หาใช่คดีมีข้อพิพาทในทางแพ่งสามัญทั่ว ๆไปที่ต้องคำนึงถึงการโต้แย้งสิทธิไม่ เมื่อจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนการเวนคืนให้แก่โจทก์จำนวนหนึ่ง แต่โจทก์ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนนั้นและไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีโดยเห็นว่ายังไม่เป็นธรรม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้แม้ พ.ร.บ.ดังกล่าวมิได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าให้ฟ้องผู้ใดก็ย่อมหมายถึงบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเวนคืนซึ่งก็คือจำเลยทั้งสองนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจออกหมายเรียกตรวจเลือกทหารกองเกิน แม้เคยเข้ารับการตรวจเลือกแล้ว แต่กระบวนการไม่ครบถ้วน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา86วรรคสองและมาตรา104ศาลชั้นต้นมีอำนาจงดชี้สองสถานและงดสืบพยานหลักฐานได้เมื่อศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้จึงให้งดชี้สองสถานแล้วพิพากษาคดีไปในวันนั้นโดยไม่สืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว การตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการต้องกระทำให้ครบกระบวนการตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ.2497มาตรา23ที่บัญญัติว่าการที่จะเรียกทหารกองเกินเข้ารับราชการกองประจำการเมื่อใดอายุใดบ้างและกี่ครั้งนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งได้มีกฎกระทรวงฉบับที่9(พ.ศ.2498)กำหนดว่าทหารกองเกินซึ่งจะเรียกเข้ารับราชการกองประจำการตามมาตรา23คือ(2)ทหารกองเกินซึ่งมีอายุเกินกว่า21ปีบริบูรณ์ในปีที่จะเข้ากองประจำการซึ่ง(ก)ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจเลือกและตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ.2497มาตรา28ทวิวรรคสองบัญญัติว่าหน้าที่ของกรรมการตรวจเลือกและวิธีการตรวจเลือกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งได้มีกฎกระทรวงฉบับที่37(พ.ศ.2518)แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่47พ.ศ.2518กำหนดวิธีการตรวจเลือกไว้คือเรียกชื่อทหารกองเกินซึ่งถูกเรียกมาตรวจเลือกวัดขนาดตรวจร่างกายถ้ามีทหารกองเกินมากกว่าจำนวนที่ต้องการก็ให้จับสลากเมื่อโจทก์ยังไม่ได้จับสลากจึงยังไม่ครบกระบวนการการตรวจเลือกโจทก์ยังไม่พ้นจากหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ.2497และกฎกระทรวงดังกล่าวจำเลยในฐานะนายอำเภอจึงมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์ให้มาตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างถนนย่อมชอบด้วยกฎหมาย แม้ที่ดินนั้นเป็นโบราณสถาน เพราะมีวัตถุประสงค์ต่างกัน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 และ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงสี่พระยา แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรักกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 ไม่ขัดแย้งกับ พ.ร.บ. โบราณสถาน โบราณวัตถุศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 เพียงแต่ตามสภาพของการเวนคืนที่ดินเพื่อทำถนนหรือทางสาธารณประโยชน์จำเป็นต้องรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ขวางถนนหรือทางสาธารณประโยชน์นั้น แม้อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ต้องรื้อจะเป็นโบราณสถาน วัด มัสยิด หรือปูชนียสถานที่คนเคารพนับถือก็ตาม ก็ต้องรื้อไปจึงจะสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมาได้ การสร้างสิ่งใหม่หรือการทำถนนเพื่อสาธารณประโยชน์และการผังเมืองตามความจำเป็นเพื่อแก้ปัญหาความคับคั่งของการจราจรจึงทำได้โดยอาศัยอำนาจนิติบัญญัติหรือกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใหม่เพื่อการนั้น โดยมีวัตถุประสงค์แตกต่างไปจาก พ.ร.บ.โบราณสถาน ฯ พ.ศ.2504 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองดูแลรักษาบูรณะและซ่อมแซมโบราณสถาน โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ กับปราบปรามและลงโทษผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการลักลอบ บุกรุก ขุดค้น และทำลายโบราณสถาน ลักลอบนำหรือส่งโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่มีคุณค่าทางศิลป ประวัติศาสตร์หรือโบราณคดีออกนอกราชอาณาจักรเป็นสำคัญ พ.ร.ฎ. และประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวจึงมิได้มีความประสงค์จะลบล้างบทบัญญัติตาม พ.ร.บ. โบราณสถาน ฯ พ.ศ.2504 แต่อย่างใดทั้งการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เวนคืนที่ดินพิพาทก็โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงสี่พระยา ฯ พ.ศ.2528 ซึ่งออกเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2528 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 7สิงหาคม 2528 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2528 อันเป็นวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาดังกล่าว ทั้งนี้ ตามมาตรา 2 แห่งพ.ร.ฎ.ฉบับนี้ ซึ่งเป็นวันก่อนที่อธิบดีกรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนบ้านพิพาทเป็นโบราณสถานเรือนทรงไทยเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2528 ทั้งได้มีการตั้งคณะกรรมการเจรจาค่าทดแทนที่ดิน อาคาร และสิ่งปลูกสร้างในแนวถนนที่จะสร้างไว้แล้ว หากต้องสร้างถนนเบี่ยงเบนออกไปจากบ้านพิพาทก็ต้องมีการเวนคืนที่ดินของผู้อื่นเพิ่มขึ้นจากเดิมย่อมทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินผู้อื่นที่ไม่ทราบมาก่อนว่าที่ดินจะต้องถูกเวนคืน และจำต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสำรวจแนวถนนใหม่ ประกอบกับหากต้องสร้างถนนเบี่ยงเบนไปถนนตรงบริเวณนั้นจะเป็นทางโค้ง อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนและเกิดความไม่คล่องตัวของการจราจรได้ นอกจากนี้ยังปรากฏว่าบ้านพิพาทสามารถถอดแยกเป็นส่วนต่าง ๆ และนำไปประกอบเป็นรูปทรงเดิมได้ ดังนี้การที่จำเลยที่ 1และที่ 2 ไม่ยอมสร้างทางเบี่ยงเบนออกไปจากบ้านพิพาท จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ดุลพินิจตามอำนาจที่กฎหมายให้ไว้โดยชอบแล้ว
โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 63, 65, 66วรรคแรก, 67 วรรคแรก และวรรคท้าย กับเมื่อมี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงสี่พระยา ฯ พ.ศ.2428 ใช้บังคับ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดทางหลวงที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วนแล้วเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน2528 ซึ่งตามบทกฎหมายดังกล่าวนี้ ให้อำนาจเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เมื่อชำระค่าทดแทนแล้วมีอำนาจเข้าครอบครองบ้านพิพาทและรื้อถอนบ้านพิพาทได้เมื่อปรากฏว่ามีการแต่งตั้งคณะกรรมการเจรจาค่าที่ดิน อาคาร และสิ่งปลูกสร้างในแนวถนนโครงการจากถนนสี่พระยาถึงถนนสุรวงศ์ตามคำสั่งกรุงเทพมหานครที่624/2526 จัดทำแผนที่กำหนดแนวเขตที่ดินที่เวนคืน แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาทำความตกลงเรื่องค่าทดแทนตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 484/2528กับได้กำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินและบ้านพิพาท และแจ้งกำหนดวันเข้าครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ทราบแล้ว จำเลยทั้งสามจึงมีสิทธิและอำนาจที่จะเข้าครอบครองและดำเนินการในอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ได้
คณะกรรมการดำเนินการตัดถนนทางหลวงเทศบาลตามพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงสี่พระยา ฯ พ.ศ.2528 ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนแล้ว ซึ่งต่อมาไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ไปทำความตกลงในเรื่องค่าทดแทนกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กรณีเป็นเรื่องที่ยังไม่ได้มีการตกลงกันในเรื่องค่าทดแทน จำเลยทั้งสามจึงยังไม่มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางศาลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 63
โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 63, 65, 66วรรคแรก, 67 วรรคแรก และวรรคท้าย กับเมื่อมี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงสี่พระยา ฯ พ.ศ.2428 ใช้บังคับ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดทางหลวงที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วนแล้วเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน2528 ซึ่งตามบทกฎหมายดังกล่าวนี้ ให้อำนาจเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เมื่อชำระค่าทดแทนแล้วมีอำนาจเข้าครอบครองบ้านพิพาทและรื้อถอนบ้านพิพาทได้เมื่อปรากฏว่ามีการแต่งตั้งคณะกรรมการเจรจาค่าที่ดิน อาคาร และสิ่งปลูกสร้างในแนวถนนโครงการจากถนนสี่พระยาถึงถนนสุรวงศ์ตามคำสั่งกรุงเทพมหานครที่624/2526 จัดทำแผนที่กำหนดแนวเขตที่ดินที่เวนคืน แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาทำความตกลงเรื่องค่าทดแทนตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 484/2528กับได้กำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินและบ้านพิพาท และแจ้งกำหนดวันเข้าครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ทราบแล้ว จำเลยทั้งสามจึงมีสิทธิและอำนาจที่จะเข้าครอบครองและดำเนินการในอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ได้
คณะกรรมการดำเนินการตัดถนนทางหลวงเทศบาลตามพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงสี่พระยา ฯ พ.ศ.2528 ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนแล้ว ซึ่งต่อมาไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ไปทำความตกลงในเรื่องค่าทดแทนกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กรณีเป็นเรื่องที่ยังไม่ได้มีการตกลงกันในเรื่องค่าทดแทน จำเลยทั้งสามจึงยังไม่มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางศาลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 63
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5728/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนประทานบัตรเพื่อประโยชน์สาธารณะและการใช้อำนาจของรัฐในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตประทานบัตร
การวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ กระทำเพื่อประโยชน์แก่การอันเป็นสาธารณูปโภคและเพื่อประโยชน์สาธารณะของรัฐ การสร้างท่าเรือน้ำลึกก็เป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไปและประเทศชาติ ถือได้ว่ากระทำไปเพื่อประโยชน์สาธารณะของรัฐ จำเลยที่ 2 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีจึงมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ในเขตประทานบัตรของโจทก์ทั้งสองได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5728/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนประทานบัตรเพื่อประโยชน์สาธารณะ รัฐมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ผู้ถือประทานบัตรไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
การวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ กระทำเพื่อประโยชน์แก่การอันเป็นสาธารณูปโภคและเพื่อประโยชน์สาธารณะของรัฐ การสร้างท่าเรือน้ำลึกก็เป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไปและประเทศชาติ ถือได้ว่ากระทำไปเพื่อประโยชน์สาธารณะของรัฐ จำเลยที่ 2 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีจึงมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ในเขตประทานบัตรของโจทก์ทั้งสองได้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขู่ให้เซ็นเช็คโดยอ้างอำนาจรัฐเป็นโมฆะ การใช้สิทธิตามกฎหมายต้องสุจริตและชอบธรรม
การที่นายตำรวจขู่ให้โจทก์ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ให้จำเลย มิฉะนั้นจะจับโจทก์ไปขังในฐานะเป็นบุคคลซึ่งเป็นภัยต่อสังคมนั้น ไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายหรือตามปกตินิยม
แม้บุคคลภายนอกจะเป็นผู้ข่มขู่ ก็ย่อมทำให้เช็คนั้นเสื่อมเสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 128 และเมื่อได้บอกล้างแล้วจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 138
แม้บุคคลภายนอกจะเป็นผู้ข่มขู่ ก็ย่อมทำให้เช็คนั้นเสื่อมเสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 128 และเมื่อได้บอกล้างแล้วจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 138
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 401/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวง และขอบเขตการรบกวนการใช้ประโยชน์ที่ดินเดิม
ที่ดินที่ขุดคูพิพาทเป็นที่ดินที่ถูกเวนคืนมาเป็นของรัฐเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน กรมทางหลวงจำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจที่จะดำเนินการสร้างทางหลวงบนที่ดินที่ถูกเวนคืนนั้นเพื่อประโยชน์การจราจรสาธารณะทางบกได้ซึ่งรวมถึงการทำรางระบายน้ำ ร่องน้ำ กำแพงกั้นดิน ฯลฯ ตาม พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2482 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2497 มาตรา 3 แม้การขุดคูของจำเลยทั้งสามขวางหน้าที่ดินโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่ได้ความสะดวกที่จะใช้ถนน แต่สิทธิในการใช้ถนนกับความไม่สะดวกในการใช้ถนนเป็นคนละอย่างคนละเรื่องกัน หากโจทก์ขัดข้องไม่ได้ความสะดวกเกี่ยวกับการใช้อย่างไร ก็ชอบที่จะปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรา30 แห่ง พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2482 เมื่อจำเลยไม่เคยหวงห้ามโจทก์มิให้ใช้ถนน และการขุดคูก็ได้ทำไปเพื่อประโยชน์แก่งานทางหลวงเพราะเป็นความจำเป็นเพื่อทดแทนทางน้ำเดิมที่สูญไป การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์เกี่ยวกับการใช้ถนนหลวงและไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 โจทก์จะฟ้องขอให้จำเลยกลบคูคลองที่จำเลยขุดขึ้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405-410/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงประโยชน์ที่ดินสาธารณประโยชน์: อำนาจรัฐในการหวงห้ามที่ดินใหม่ย่อมลบล้างการหวงห้ามเดิม
เดิมอำเภอได้ประกาศหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าไว้สำหรับราษฎรใช้เลี้ยงสัตว์ร่วมกัน ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่รกร้างว่างเปล่าบริเวณเดียวกันนั้นเพื่อประโยชน์ราชการทหาร ที่รกร้างว่างเปล่านั้นก็ยังคงเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าอยู่ในสภาพเดิมเป็นแต่เปลี่ยนประโยชน์ที่ใช้เสียใหม่จากการใช้สำหรับราษฎรเลี้ยงสัตว์มาเป็นใช้ประโยชน์ในราชการทหารการหวงห้ามเดิมย่อมหมดสภาพไปทั้งตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามนั้นก็กำหนดให้เจ้ากรมแผนที่เป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการหวงห้ามที่ดินตามพระราชกฤษฎีกานั้นด้วยดังนี้ อำเภอย่อมไม่มีหน้าที่ดูแลตรวจตราที่ดินนั้นต่อไปนายอำเภอจึงไม่มีอำนาจสั่งให้จำเลยออกจากที่ดินในเขตหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกานั้นเมื่อจำเลยฝ่าฝืนหามีความผิดฐานขัดคำสั่งของนายอำเภอไม่