คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจลงโทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7721/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากข่มขืนเป็นกระทำชำเราตามกฎหมายอาญา ศาลมีอำนาจลงโทษตามความผิดที่ปรากฏจากการพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก โดยอ้างว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายอายุ 14 ปีเศษ ซึ่งไม่ใช่ภริยาจำเลย โดยใช้กำลังประทุษร้าย และผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรก อันเป็นความผิดที่รวมการกระทำตามที่โจทก์ฟ้องอยู่ด้วยแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามความผิดที่พิจารณาได้ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย ได้ หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเภทวัตถุออกฤทธิ์และการมีอำนาจลงโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ แม้มีการเปลี่ยนแปลงประกาศ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขายอีเฟดรีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 13 ทวิ,89 แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 แม้โจทก์จะอ้างประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 51(พ.ศ. 2531) ที่กำหนดให้อีเฟดรีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 และประกาศฉบับดังกล่าวได้ถูกยกเลิกโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 71(พ.ศ. 2534) แล้วก็ตาม แต่จำเลยมิได้หลงต่อสู้ และประกาศฉบับหลังได้ระบุให้อีเฟดรีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือวันที่ 27 มิถุนายน 2534 เมื่อจำเลยกระทำผิดหลังจากประกาศฉบับนี้ใช้บังคับแล้ว ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฟ้องได้มิใช่เรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลย จำเลยมีอีเฟดรีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ไว้เพื่อขายเป็นจำนวนมากถึง 600 เม็ด หนัก82,229 กรัม นับเป็นผู้ก่อพิษภัยอันร้ายแรงต่อเยาวชนและต่อสังคมโทษจำคุก 6 ปีนับว่าเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวน, การครอบครองยาเสพติด, และอำนาจศาลในการลงโทษตามความผิดที่เบากว่า
ในชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยว่ามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยก็ให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของ น.ที่นำมาฝากจำเลยไว้ คำให้การดังกล่าวพนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นในวันเดียวกันกับที่จำเลยถูกจับกุม ตามพฤติการณ์เชื่อได้ว่าจำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนด้วยความสัตย์จริง โดยไม่ทันมีเวลาคิดไตร่ตรองหาลู่ทางแก้ตัวให้พ้นผิดจึงใช้เป็นหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาของศาลได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 134
ตามคำเบิกความของพยานโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ ตรงกันข้ามกลับมีใจความตรงกับคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ซึ่งระบุว่า จำเลยให้การรับต่อพนักงานสอบสวนว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของ น.ที่นำไปฝากจำเลยไว้ เมื่อ น.อยากเสพเวลาใดก็จะไปเอาจากจำเลยมาเสพครั้งละ 1 ซองบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลย เป็นพยานเอกสารที่โจทก์อ้างส่งต่อศาลเพื่อสนับสนุนคำพยานบุคคลของโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยปรุงแต่งเรื่องราวขึ้นเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริง จึงต้องรับฟังว่าจำเลยให้การในชั้นสอบสวนไปตามความสัตย์จริงดังกล่าวแล้ว พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังได้ว่าจำเลยเพียงแต่รับฝากเมทแอมเฟตามีนของกลางจาก น. เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบถึงพฤติการณ์แวดล้อมกรณีว่าจำเลยครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ โดยมีเจตนาเพื่อขาย จ่ายแจก แลกเปลี่ยน หรือให้บุคคลหนี่งบุคคลใด จึงไม่อาจสันนิษฐานในทางเป็นผลร้ายแก่จำเลยว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนมากเกินความจำเป็นที่จำเลยมีไว้เพื่อเสพเองแสดงว่าจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายโดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน จึงไม่ชอบ
ปัญหาที่ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 ความผิดตามฟ้องของโจทก์จึงรวมถึงการมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 67 อยู่ด้วยถือได้ว่าความผิดตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งมีระวางโทษเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการลงโทษข้าราชการอัยการต้องเป็นไปตามกฎหมายและเจตนารมณ์ของกฎหมายที่วางกรอบการถ่วงดุลอำนาจอย่างชัดเจน
เจตนารมณ์ของกฎหมายประสงค์ให้ประธานก.อ.ที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ถ่วงดุลยอำนาจของอัยการสูงสุดไม่ให้มีอิทธิพลเหนือข้าราชการอัยการทั้งปวงมากเกินไปอันเป็นการการปกป้องคุ้มครองข้าราชการอัยการให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยอิสระปราศจากอิทธิพลครอบงำใดๆเพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรมและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงดังนั้นการที่จะแปลกฎหมายตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการพ.ศ.2521มาตรา15ตรีวรรคสี่ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่49ข้อ5และมาตรา20วรรคสองที่บัญญัติเป็นข้อยกเว้นให้อัยการสูงสุดในฐานะรองประธานก.อ.ทำหน้าที่ประธานก.อ.ได้ชั่วคราวในระหว่างที่ประธานก.อ.พ้นจากตำแหน่งหรือไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้โดยให้หมายความรวมถึงให้รองประธานก.อ.ทำหน้าที่ประธานก.อ.ได้ในระหว่างที่ประธานก.อ.ยังไม่พ้นจากตำแหน่งย่อมเป็นการแปลขยายความเพิ่มอำนาจให้แก่อัยการสูงสุดให้มีอำนาจตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการอัยการที่ถูกกล่าวหาว่าทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงได้ทุกระดับชั้นจึงขัดต่อพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการฯมาตรา54และขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งหมายให้มีการถ่วงดุลย์อำนาจซึ่งกันและกันเพราะมิฉะนั้นจะเปิดโอกาสให้มีการอ้างเหตุว่าประธานก.อ.ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่ว่าโดยทางใดแล้วใช้อำนาจของประธานก.อ.นั้นไปในทางที่ไม่ชอบไม่ควรรวมทั้งอาจใช้อำนาจสั่งพักราชการข้าราชการอัยการคนหนึ่งคนใดตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการฯมาตรา57อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทฐานความผิดจากใช้ให้ผู้อื่นลักทรัพย์เป็นรับของโจร ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐาน ลักทรัพย์หรือ รับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานลักทรัพย์ยกฟ้องฐานรับของโจรจำเลยอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ฎีกาศาลฎีกาวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานลักทรัพย์แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจรดังนี้แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจะต่างกันระหว่างการกระทำผิดฐานลักทรัพย์และรับของโจรก็ไม่ถือว่าต่างกันในสาระสำคัญและจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ทั้งข้อเท็จจริงดังกล่าวศาลล่างทั้งสองก็ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วเพียงแต่ปรับบทฐานความผิดต่างกันเท่านั้นศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐาน รับของโจรตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสามไม่ถือว่าพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิกรรมการสหภาพแรงงาน: การโต้แย้งสิทธิ, ขั้นตอนการจดทะเบียน, และอำนาจในการลงโทษ
โจทก์ได้รับเลือกตั้งให้เป็นกรรมการสหภาพแรงงาน แต่จำเลยที่ 2 อธิบดีกรมแรงงานปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนแสดงว่าโจทก์เป็นกรรมการสหภาพแรงงาน แม้สหภาพแรงงานนั้นจะเป็นผู้ขอจดทะเบียนและจำเลยที่ 2 ปฏิเสธไปยังสหภาพแรงงานก็ตาม ย่อมมีผลโดยตรงต่อโจทก์ เพราะโจทก์ไม่ได้เป็นกรรมการสหภาพแรงงาน ทำให้ไม่ได้สิทธิและประโยชน์อันจะพึงได้รับจากการเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน โจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 91 ที่บัญญัติให้ผู้ขอจดทะเบียนอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อนมาฟ้องศาลนั้น เป็นเรื่องของร่างข้อบังคับเมื่อแรกจัดตั้งสหภาพแรงงาน และกรณีตามมาตรา 94 ซึ่งเป็นเรื่องของการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับโดยให้นำมาตรา 91มาใช้บังคับโดยอนุโลม ก็เป็นเรื่องของข้อบังคับเช่นเดียวกัน ส่วนการเปลี่ยนแปลงตัวกรรมการซึ่งพ้นตำแหน่งไปตามวาระหรือตามข้อบังคับ เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยบุคคลไม่ใช่ข้อบังคับจะนำบทบัญญัติมาตรา 91 และ 94 มาใช้ไม่ได้ กรณีนี้ไม่มีบทมาตราใดกำหนดขั้นตอนไว้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางโดยไม่ต้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อน
ระเบียบปฏิบัติงานว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัยกำหนดโทษผิดวินัยมีเพียง 6 สถานคือ ไล่ออก ปลดออก ให้ออก ลดขั้นเงินเดือนตัดเงินเดือน และภาคทัณฑ์ ดังนี้การว่ากล่าวตักเตือนจึงไม่เป็นโทษทางวินัย ส่วนทัณฑ์บนเป็นถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาที่ผู้ใต้บังคับบัญชาทำถึงผู้บังคับบัญชา มิใช่เป็นคำสั่งของผู้บังคับบัญชาว่ากล่าวเอาแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ต่างกับการภาคทัณฑ์ จึงไม่ใช่โทษทางวินัย การที่โจทก์มีอำนาจว่ากล่าวตักเตือนหรือมีอำนาจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาทำทัณฑ์บน แม้จะมีผลนำไปประกอบการพิจารณาความดีความชอบของลูกจ้างก็หาใช่เป็นอำนาจในการลงโทษตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 95 วรรคสองไม่ เพราะอำนาจลงโทษตามมาตรานี้จะต้องเป็นอำนาจโดยตรง มิใช่ถือเอาแต่ผลหรือถือเอาแต่เพียงมีอำนาจรายงานหรือเสนอต่อผู้บังคับบัญชาระดับเหนือขึ้นไป ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาตามมาตราดังกล่าว และไม่ขาดคุณสมบัติในการเป็นกรรมการสหภาพแรงงานตามมาตรา 101 (1)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1677 - 1678/2526 และ 2471/2527)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิกรรมการสหภาพแรงงาน: การโต้แย้งสิทธิ, การจดทะเบียน, และอำนาจในการลงโทษ
โจทก์ได้รับเลือกตั้งให้เป็นกรรมการสหภาพแรงงาน แต่จำเลยที่ 2 อธิบดีกรมแรงงานปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนแสดงว่าโจทก์เป็นกรรมการสหภาพแรงงาน แม้สหภาพแรงงานนั้นจะเป็นผู้ขอจดทะเบียนและจำเลยที่ 2 ปฏิเสธไปยังสหภาพแรงงานก็ตาม ย่อมมีผลโดยตรงต่อโจทก์ เพราะโจทก์ไม่ได้เป็นกรรมการสหภาพแรงงานทำให้ไม่ได้สิทธิและประโยชน์อันจะพึงได้รับจากการเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน โจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 91 ที่บัญญัติให้ผู้ขอจดทะเบียนอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อนมาฟ้องศาลนั้น เป็นเรื่องของร่างข้อบังคับเมื่อแรกจัดตั้งสหภาพแรงงาน และกรณีตามมาตรา 94ซึ่งเป็นเรื่องของการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับโดยให้นำมาตรา91มาใช้บังคับโดยอนุโลม ก็เป็นเรื่องของข้อบังคับเช่นเดียวกัน ส่วนการเปลี่ยนแปลงตัวกรรมการซึ่งพ้นตำแหน่งไปตามวาระหรือตามข้อบังคับ เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยบุคคลไม่ใช่ข้อบังคับจะนำบทบัญญัติมาตรา 91 และ 94 มาใช้ไม่ได้ กรณีนี้ไม่มีบทมาตราใดกำหนดขั้นตอนไว้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางโดยไม่ต้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อน
ระเบียบปฏิบัติงานว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัยกำหนดโทษผิดวินัยมีเพียง 6 สถานคือ ไล่ออก ปลดออก ให้ออก ลดขั้นเงินเดือนตัดเงินเดือน และภาคทัณฑ์ ดังนี้การว่ากล่าวตักเตือนจึงไม่เป็นโทษทางวินัย ส่วนทัณฑ์บนเป็นถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาที่ผู้ใต้บังคับบัญชาทำถึงผู้บังคับบัญชา มิใช่เป็นคำสั่งของผู้บังคับบัญชาว่ากล่าวเอาแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ต่างกับการภาคทัณฑ์ จึงไม่ใช่โทษทางวินัย การที่โจทก์มีอำนาจว่ากล่าวตักเตือนหรือมีอำนาจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาทำทัณฑ์บน แม้จะมีผลนำไปประกอบการพิจารณาความดีความชอบของลูกจ้างก็หาใช่เป็นอำนาจในการลงโทษตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา95 วรรคสองไม่ เพราะอำนาจลงโทษตามมาตรานี้จะต้องเป็นอำนาจโดยตรง มิใช่ถือเอาแต่ผลหรือถือเอาแต่เพียงมีอำนาจรายงานหรือเสนอต่อผู้บังคับบัญชาระดับเหนือขึ้นไป ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาตามมาตราดังกล่าว และไม่ขาดคุณสมบัติในการเป็นกรรมการสหภาพแรงงานตามมาตรา 101(1) (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1677-1678/2526 และ 2471/2527)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจลงโทษนักศึกษาและการพิสูจน์ความผิดวินัย จำเป็นต้องมีการสืบพยานเพื่อหาข้อเท็จจริง
ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ.2521 มาตรา 21(8)จำเลยที่ 2 ในฐานะอธิการบดีมีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยขอนแก่นว่าด้วยวินัยและการปกครองนักศึกษา พ.ศ.2521 ข้อ 22 กำหนดให้อธิการบดีเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับ ดังนั้น ในกรณีที่นักศึกษากระทำผิดวินัยอธิการบดีย่อมมีอำนาจที่จะสั่งลงโทษได้ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่า ร่วมกันทำละเมิดมีคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์โจทก์ซึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นฐานกระทำผิดวินัย โดยโจทก์มิได้กระทำผิดวินัยไม่ได้ทุจริตหรือปกปิดเกี่ยวกับเงินส่วนลดของค่าเช่ารถไปแข่งขันกีฬาจำเลยทั้งสองบิดเบือนความจริง กลั่นแกล้งโจทก์ เพราะสาเหตุเนื่องจากโจทก์เป็นนายกสโมสรนักศึกษาและเป็นผู้นำนักศึกษาคนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการปฏิบัติงานอันไม่ถูกต้องของจำเลยที่ 2 ในฐานะอธิการบดี จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธดังนี้ ปัญหาที่ว่าโจทก์กระทำผิดวินัยหรือไม่ยังไม่ยุติชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องสืบพยานทั้งสองฝ่ายจนสิ้นกระแสความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานประกอบกิจการเดียว การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างจังหวัดไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายจ้างมีอำนาจลงโทษวินัยได้
การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยมีผู้ว่าการเป็นผู้บริหารงานและเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานทุกคน ดำเนินการโดยสั่งการจากส่วนกลางไปยังส่วนภูมิภาคมิได้มีการแบ่งหน่วยงานที่ดำเนินกิจการโดยลำพังเป็นหน่วย ๆ จึงเป็นสถานประกอบกิจการเพียงหน่วยเดียวและมีคณะกรรมการลูกจ้างได้เพียงคณะเดียว พนักงานของจำเลยจึงจะแยกเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในแต่ละเขตการเดินรถหรือแต่ละจังหวัดไม่ได้
เมื่อคำสั่งของสหภาพแรงงานจำเลยที่แต่งตั้งโจทก์กับพวกเป็นกรรมการลูกจ้างประจำจังหวัดเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยจึงมีอำนาจลงโทษทางวินัยแก่โจทก์โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677-1678/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมาชิกสหภาพแรงงาน: ผู้จัดการธนาคารสาขาไม่มีอำนาจลงโทษ/ให้บำเหน็จโดยตรง จึงมีสิทธิเป็นสมาชิกสหภาพได้
การสอบสวนวินัยของคณะกรรมการสอบสวนวินัยของธนาคารออมสินมิใช่เป็นการประชุมที่ทางราชการกำหนด การที่สหภาพแรงงานธนาคารออมสินโจทก์ส่งผู้แทนเข้าสังเกตการณ์การสอบสวนดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 102 ผู้แทนโจทก์ที่เข้าสังเกตการณ์จึงไม่มีสิทธิลาโดยไม่ถือเป็นวันลา
ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการให้บำเหน็จหรือการลงโทษที่ต้องห้ามมิให้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 มาตรา 95 วรรคสองนั้น หมายถึงผู้มีอำนาจในการให้บำเหน็จความชอบหรือเป็นผู้มีอำนาจลงโทษลูกจ้างโดยตรง มิใช่เป็นเพียงผู้รายงานขอบำเหน็จความชอบหรือเสนอขอให้ลงโทษหรือกล่าวโทษพนักงานผู้กระทำผิดวินัย
of 2