คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจศาลภาษีอากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3570/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากร: คดีพิพาทหนี้ภาษีอากร แม้เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
คำฟ้องของโจทก์เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้อง ของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร แม้ตามคำฟ้องจะปรากฏว่า โจทก์ เคยฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดว. ในหนี้ดังกล่าว ซึ่งศาลภาษีอากรกลางได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ ห้างหุ้นส่วนจำกัดว. รับผิดในหนี้ดังกล่าวแล้วก็ตามก็หาทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในคดีนี้กลายเป็นหนี้ ตามคำพิพากษาดังที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยไม่ คดีของ โจทก์จึงเป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2817/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากร: คดีความรับผิดในหนี้ภาษีอากรจากการละเมิด มิใช่อำนาจศาลภาษีอากร
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 10 วรรคสอง อำนาจในการวินิจฉัยกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรหรือไม่ เป็นอำนาจของประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัย ศาลฎีกาจึงได้ส่งสำนวนไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย
ตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในหนี้ภาษีอากรกับจำเลยที่ 1 ในทางละเมิด คดีของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ภาษีอากร ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร โจทก์จึงยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ต่อศาลภาษีอากรกลางไม่ได้กระบวนพิจารณาของศาลภาษีอากรกลางในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบศาลฎีกาต้องพิพากษาเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลภาษีอากรกลางตั้งแต่ชั้นรับคำฟ้องจนถึงชั้นมีคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และยกอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทภาษีมูลค่าเพิ่มจากคำแนะนำขัดแย้งของเจ้าพนักงาน ไม่เป็นข้อพิพาทตามอำนาจศาลภาษีอากร
คำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏข้อพิพาทเกี่ยวกับภาษีอากรว่าจำเลยได้นำเงินค่าเช่าซื้อมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มและการที่โจทก์ไม่ได้ยื่นแบบคำขอรับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับยอดลูกค้าเช่าซื้อคงเหลือภายในกำหนดเวลา มิได้เกิดจากคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงาน แต่เป็นการไม่ได้ยื่นเพราะเชื่อตามคำแนะนำชี้แจงของเจ้าพนักงาน และโจทก์ไม่ได้ยืนยันที่จะยื่นในขณะที่ยังอยู่ในกำหนดเวลาที่จะยื่นได้ ถือว่าเจ้าพนักงานยังมิได้มีคำสั่งหรือคำวินิจฉัยในเรื่องนี้ ตามมาตรา 7(1) คดีของโจทก์ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากร: คดีแบ่งคืนทรัพย์สินให้ผู้ถือหุ้น ไม่ใช่ข้อพิพาทภาษีโดยตรง
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในคดีนี้เนื่องจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้ชำระบัญชีแบ่งคืนทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2ถึงที่ 8 ผู้ถือหุ้นโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1269 โดยโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 เรียกทรัพย์สินคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 แล้ว แต่จำเลยที่ 1เพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียประโยชน์ โจทก์จึงใช้สิทธิเรียกร้องในนามของตนเองแทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 ดังนี้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแม้จะเป็นคดีแพ่ง แต่มิใช่คดีแพ่งที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่ศาลภาษีอากรจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 7(2)แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 เพราะเป็นเรื่องที่พิพาทกันว่าจำเลยที่ 2ถึงที่ 8 จะต้องคืนทรัพย์สินให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อที่โจทก์จะได้บังคับชำระหนี้ภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระหรือไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ต่อศาลภาษีอากร การที่ศาลภาษีอากรพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่ม 448,954.74 บาท พร้อมเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษี 326,616.50 บาทนับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์เช่นนี้อาจมีผลทำให้เงินเพิ่มที่คำนวณได้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียอันจะมีผลทำให้จำเลยที่ 1 รับผิดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ได้เพราะประมวลรัษฎากร มาตรา 27 วรรคสาม ให้คำนวณเงินเพิ่มได้แต่มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2619/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากร: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรรมการบริษัทที่ทำให้บริษัทเสียหาย ไม่ใช่คดีภาษี
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคสองโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 มีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ได้ แต่ก็เป็นสิทธิเรียกร้องที่จะเอาค่าสินไหมทดแทน มิใช่ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 จึงมิใช่เป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ กรณีมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯมาตรา 7(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2619/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากร: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรรมการบริษัท ไม่ใช่คดีภาษี
แม้ว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 วรรคสองโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรของบริษัทจำเลยที่ 1 จะมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการที่ทำให้เกิดเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงสิทธิเรียกร้องที่จะเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 เท่านั้น มิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่มีต่อจำเลยที่ 2แต่ประการใด การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 เช่นนี้ จึงมิใช่เป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์โดยตรงคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7(2)โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ต่อศาลภาษีอากรกลาง