คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจสั่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5346/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งคำร้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาเป็นของศาลฎีกา การวินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย
การสั่งคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาซึ่งอ้างว่าเป็นการผิดระเบียบในชั้นฎีกาเป็นอำนาจของศาลฎีกา ที่ศาลแรงงานกลางสั่งยกคำร้องของโจทก์โดยไม่ส่งมาให้ศาลฎีกาสั่ง จึงเป็นการไม่ชอบ และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งในเรื่องดังกล่าวเป็นที่สุด ที่ศาลแรงงานกลางสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการไม่ชอบ จึงให้ยกคำสั่งของศาลแรงงานกลางดังกล่าวเสีย และคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้วเห็นสมควรพิจารณาคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาผิดระเบียบของโจทก์ โดยเห็นว่า คำพิพากษาศาลฎีกาถึงที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านให้คู่ความฟังจะเพิ่มเติมแก้ไขมิได้ เว้นแต่กรณีมีข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย คดีนี้ศาลฎีกาพิพากษายกอุทธรณ์โจทก์โดยวินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหมดเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยหรือไม่ อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง จึงไม่รับวินิจฉัย คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงวินิจฉัยครบถ้วนตามประเด็นในอุทธรณ์ของโจทก์แล้วมิได้มีข้อผิดพลาดหรือผิดหลง โจทก์จึงไม่อาจขอให้เพิ่มเติมแก้ไขได้
(คำสั่งคำร้อง)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5475/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งอุทธรณ์: อำนาจสั่งและหน้าที่ของโจทก์ในการดำเนินการส่งหมาย
คดีแพ่ง เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วต้องถือว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ การที่จะสั่งว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ต้องเป็นผู้สั่ง
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ ให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วันเพื่อดำเนินการต่อไป มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ โจทก์เซ็นชื่อรับทราบคำสั่งในตรายางประทับซึ่งมีข้อความว่า ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 6 มิถุนายน 2542 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว พนักงานเดินหมายรายงานเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2542 ว่านำสำเนาอุทธรณ์เพื่อส่งให้แก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2542 ไม่พบจำเลยทั้งสองจึงส่งไม่ได้ ต่อมาวันที่ 2 มิถุนายน 2542 เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า โจทก์มิได้ยื่นคำแถลงภายในเวลาที่ศาลกำหนด ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้แถลงขอให้ปิดหมายและเสียค่าธรรมเนียมในการปิดหมายให้แก่เจ้าหน้าที่แล้วไม่อาจรับฟังได้ เมื่อโจทก์ยอมรับในฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยด้วยตนเองแต่ส่งให้จำเลยไม่ได้ การที่โจทก์ไม่แถลงต่อศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดถือว่าโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบ ตามป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246 ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์และสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3320/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการกรณีจำเลยถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณา: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งการเข้าเป็นคู่ความแทนที่
เมื่อจำเลยที่ 1 ตายขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมเป็นอำนาจของศาลดังกล่าวที่จะสั่งคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ศาลชั้นต้นจะต้องเลื่อนอ่านคำพิพากษาและไต่สวนให้ได้ความจริง แล้วส่งคำร้องพร้อมสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อสั่ง การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตการเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่เอง แล้วอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้คู่ความฟัง จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8647/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งถอนฟ้องในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว: ศาลฎีกา vs. ศาลชั้นต้น
คดีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ย่อมเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะพิจารณาสั่ง ศาลชั้นต้นหามีอำนาจสั่งไม่ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง และจำหน่ายคดีจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวเสีย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อจำเลยทั้งสองไม่คัดค้านคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ ศาลฎีกาจึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6353/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่เสียชีวิต: อำนาจสั่งของศาลอุทธรณ์และการส่งสำนวน
จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ย่อมเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นนัดพิจารณาคำร้องโดยให้ผู้ร้องแสดงพยานหลักฐานการถึงแก่กรรมของจำเลยที่ 1 และฐานะของผู้ร้องแล้ว ต้องส่งพยานหลักฐานพร้อมสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3เพื่อพิจารณาสั่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 แล้วอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้ฟัง จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6061/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารและการบังคับตามกฎหมายควบคุมอาคาร: การรับฟังพยานหลักฐานและการแจ้งคำสั่ง
การที่ผู้ร้องนำสืบแสดงสำเนาคำสั่งเอกสารหมาย ร.1ต่อศาลผู้คัดค้านก็มิได้นำสืบโต้แย้งว่าผู้ร้องมิได้ส่งต้นฉบับคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 เมื่อศาลวินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือได้ว่าศาลได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้ในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2) แล้ว โดยผู้ร้องไม่จำต้องขออนุญาตศาลก่อนและการที่ส.หัวหน้าเขตหรือผู้อำนวยการเขตมาเบิกความยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจตามสำเนาคำสั่งเอกสารหมายร.1 จากผู้ร้อง ก็เป็นอันเพียงพอให้รับฟังได้ว่า ผู้ร้องมอบอำนาจให้หัวหน้าเขตหรือผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนตามสำเนาคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 ผู้อำนวยการเขตจึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนผู้ร้องตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ผู้ร้องจัดให้มีการส่งคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของผู้คัดค้านตามสำเนาทะเบียนบ้านโดยปรากฏว่าเป็นการส่งให้แก่บุคคลที่มีชื่อกับที่อยู่ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับ และมีผู้รับแทนเป็นพี่ของผู้คัดค้านกับคนในบ้านของผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านมิได้นำสืบโต้เถียงความถูกต้องแท้จริงแห่งสำเนาเอกสารดังกล่าวจึงเพียงพอรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านทราบคำสั่งของผู้ร้องแล้วตามวิธีการแจ้งคำสั่งที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 47 ก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อผู้ร้องได้ออกคำสั่งถูกต้องตามขั้นตอนชอบด้วยกฎหมายและผู้คัดค้านทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว เพิกเฉยไม่รื้อถอนอาคารพิพาทภายในเวลาที่กำหนดไว้ในคำสั่ง ผู้ร้องชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ขอให้จับกุมและกักขังผู้คัดค้านซึ่งมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งให้รื้อถอนดังกล่าวได้โดยให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยผู้ร้องไม่จำต้องทำเป็นคำฟ้องและไม่จำต้องร้องขอออกคำบังคับแก่ผู้คัดค้าน กับไม่ต้องคำนึงว่าผู้ร้องมีอำนาจรื้อถอนอาคารพิพาทอยู่แล้ว หรือผู้คัดค้านขัดขวางการรื้อถอนอาคารพิพาทหรือไม่ ทั้งนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 43(1) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งมอบหมายงานพิเศษหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่ถือเป็นการลงโทษทางวินัย นายจ้างมีอำนาจออกคำสั่งได้
คำสั่งของผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างที่ให้ผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไปทำความสะอาดแคร่หรือหางรถเทรลเลอร์ครั้งละ 1 วัน เป็นคำสั่งที่ผู้ร้องใช้ปฏิบัติตามประเพณีของทางแผนกขนส่งของผู้ร้องในกรณีที่พนักงานขับรถของผู้ร้องไปเกิดอุบัติเหตุในขณะปฏิบัติงานในหน้าที่ตลอดมาและพนักงานอื่นของผู้ร้องที่เป็นพนักงานขับรถก็ยอมรับปฏิบัติตามเช่นนี้ กรณีถือได้ว่าเป็นระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างหนึ่งของผู้ร้องแม้จะมิได้ระบุเป็นลายลักษณ์อักษรก็ใช้บังคับได้ทั้งตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าการทำความสะอาดแคร่เป็นการลงโทษทางวินัยของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องมอบหมายให้พนักงานขับรถรวมทั้งผู้คัดค้านที่ขับรถไปเกิดอุบัติเหตุ ล้างแคร่หรือหางรถเทรลเลอร์จึงมิใช่เป็นการลงโทษ แต่เป็นการมอบหมายงานเป็นกรณีพิเศษ ผู้ร้องจึงมีอำนาจที่จะออกคำสั่งมอบหมายงานดังกล่าวได้ ซึ่งพนักงานขับรถทุกคนและผู้คัดค้านมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเมื่อผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ร้องที่ออกโดยชอบ ผู้ร้องจึงมีสิทธิลงโทษผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4125/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งอนุญาตลาออกของอธิการบดี, การสิ้นสุดสิทธิลูกจ้าง, และการบังคับใช้กฎหมายตามระยะเวลา
คำฟ้องของโจทก์กล่าวเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามพ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2530 จำเลยที่ 2 เป็นผู้บริหารงานจำเลยที่ 1ในตำแหน่งอธิการบดี จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวไม่จ่ายเงินเดือนและเงินช่วยเหลือบุตรให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการของจำเลยที่ 1ขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์มิได้กล่าวในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัวเพราะเหตุใดโจทก์จะอ้างว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวด้วยนั้น เป็นการนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว
พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507มาตรา 3, 4 ประกอบกับข้อ 10 ข้อ 24 (2) แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2519)ออกตามความใน พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507และมาตรา 95 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 กำหนดให้อธิการบดีผู้บังคับบัญชาโดยอนุมัติของ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเป็นผู้มีอำนาจสั่งให้ผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่ระดับ 9ลงมาออกจากราชการได้ และข้อ 7 วรรคสี่ แห่งกฎทบวงดังกล่าวกำหนดว่าอ.ก.ม.มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎทบวงนี้ และมีหน้าที่ช่วย ก.ม.ปฏิบัติการตามที่ ก.ม.มอบหมาย ข้อ 8 อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยมีอำนาจตั้งกรรมการเฉพาะกิจเพื่อทำการตามที่ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยมอบหมาย แสดงว่า อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรที่มีอำนาจตั้งบุคคลอื่นปฏิบัติการตามที่ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยมอบหมายได้เมื่อที่การประชุม อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีมติอนุมัติในหลักการมอบอำนาจให้อธิการบดี ประธาน อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้พิจารณาอนุมัติให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่ระดับ 9 ลงมาลาออกจากราชการแทน อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตให้โจทก์ลาออกจากราชการได้
การที่โจทก์ไม่ได้ลงวันเดือนปีที่เริ่มรับราชการในหนังสือขอลาออกจากราชการ เป็นเพียงรายละเอียด ไม่ทำให้หนังสือขอลาออกของโจทก์ไม่สมบูรณ์แต่อย่างใด ส่วนหลักเกณฑ์ว่าด้วยการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ซึ่งได้กำหนดขึ้นโดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งประสงค์จะขอลาออกจากราชการปฏิบัติเพื่อให้ระยะเวลาสำหรับผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาการสั่งอนุญาตการลาออกว่าจะสั่งอนุญาตให้ผู้ขอลาออกจากราชการหรือจะสั่งยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกโดยดำเนินการ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงเหตุผลและความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการเป็นสำคัญ ฉะนั้น แม้ผู้ขอลาออกจะไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตสละประโยชน์แห่งระยะเวลาดังกล่าวโดยสั่งอนุญาตให้ผู้นั้นลาออกจากราชการตามความประสงค์ของผู้ขอลาออกแล้ว คำสั่งนั้นย่อมมีผลสมบูรณ์ โดยไม่จำต้องแจ้งคำสั่งอนุญาตการลาออกให้โจทก์ทราบล่วงหน้าก่อน 30 วัน ตามระเบียบดังกล่าว และที่และเมื่อระเบียบดังกล่าวกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามมาตรา 94 (4)และ (5) เท่านั้น ส่วนกรณีของโจทก์ โจทก์ออกจากราชการตามมาตรา 94 (3)กล่าวคือ โจทก์ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามมาตรา 95 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน ดังนี้ ระเบียบดังกล่าวจึงนำมาใช้บังคับแก่คดีนี้ไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 2เป็นผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตการลาออกอนุญาตให้โจทก์ออกจากราชการในวันที่ 15มกราคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ขอลาออก ย่อมมีผลให้โจทก์ออกจากราชการตั้งแต่วันขอลาออก ส่วนกรณีที่โจทก์ยังคงรับราชการต่อมาเพราะยังไม่ทราบคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ลาออกจากราชการก็มีผลเพียงทำให้โจทก์ได้รับสิทธิตามพ.ร.ฎ.การจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ.2522 มาตรา 18 (1) ที่ให้สิทธิแก่โจทก์ไว้เท่านั้น
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2535มาตรา 18 ที่บัญญัติว่า พ.ร.บ.นี้ไม่ใช้บังคับแก่บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ และให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ยื่นฟ้องบังคับแก่คดีดังกล่าวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เมื่อ พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2535 และคดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองวันที่ 4 มิถุนายน2535 ดังนี้ในเรื่องการยื่นบัญชีระบุพยานจึงต้องบังคับตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88เดิม ซึ่งกำหนดให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7857/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งทิ้งอุทธรณ์: ศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งเอกสาร แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม อำนาจสั่งทิ้งอุทธรณ์เป็นของศาลอุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้แล้วมีคำสั่งให้โจทก์คัดสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดงเพื่อจะสั่งเรื่องการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 2 ตามคำแถลงของโจทก์แต่โจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อำนาจหน้าที่ที่จะสั่งว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์หรือไม่ จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลอุทธรณ์ที่จะเป็นผู้สั่งไม่ใช่เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งคำร้องถอนทนาย และสิทธิในการแต่งตั้ง/ถอนทนายเมื่อคดีอยู่ระหว่างพิจารณา
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และได้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์คดีจึงอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งคำร้องขอถอนทนายของจำเลยที่1และที่2 จำเลยที่1และที่2มีสิทธิแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา60ซึ่งเป็นการแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา797และการแต่งตั้งผู้ใดเข้าเป็นทนายความขึ้นอยู่กับความไว้วางใจของจำเลยที่1และที่2เป็นสำคัญฉะนั้นจำเลยที่1และที่2ย่อมมีสิทธิจะขอถอนทนายความซึ่งเป็นตัวแทนเมื่อใดก็ได้ตามมาตรา827วรรคหนึ่งหากทนายจำเลยที่1และที่2เสียหายอย่างไรชอบที่จะว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่1และที่2ตามที่มาตรา827วรรคสองให้สิทธิไว้ บริษัทจำเลยที่1ถูกถอนชื่อออกจากทะเบียนอันถือได้ว่าบริษัทได้เลิกแล้วแต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1249ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีจำเลยที่2และที่6เป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่1ย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีและมีอำนาจอยู่เช่นเดิมตามมาตรา1251,1252กับมีอำนาจตามมาตรา1259ตราบใดที่ยังไม่มีการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีจำเลยที่1ขึ้นมาใหม่จำเลยที่2และที่6ในฐานะผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนทนายความแทนจำเลยที่1ได้
of 3