พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2514/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งรื้ออาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ต้องพิจารณาความสามารถในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่ผิดกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ขอให้ลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 มาตรา 66 ทวิ วรรคสอง ซึ่งความผิดฐานขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารได้ตามกฎหมายหรือนัยหนึ่งคำสั่งดังกล่าวต้องเป็นคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายและได้มีการแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
อำนาจในการสั่งให้รื้อถอนอาคาร พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 บัญญัติว่า ถ้าการกระทำตามมาตรา 40 เป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ หรือเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 41 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ดำเนินการรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยให้ดำเนินการรื้อถอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 (11)หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ข้อเท็จจริงที่ว่าอาคารส่วนที่ก่อสร้างโดยผิดกฎหมายของจำเลยสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่จึงเป็นสาระสำคัญในการพิจารณาถึงอำนาจในการออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารของเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่ฟ้องโจทก์บรรยายเพียงว่า จำเลยได้บังอาจก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเทศบาลเมืองอุดรธานีและเป็นแบบแปลนที่ไม่อาจอนุญาตให้ก่อสร้างได้อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ย่อมไม่พอแปลหรือไม่อาจอนุมานได้ว่าเป็นกรณีเดียวกันกับที่กฎหมายบัญญัติว่า ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นการตีความให้เป็นผลร้ายเพื่อลงโทษจำเลย เมื่อฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่า การกระทำของจำเลยเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามบทบัญญัติใน มาตรา 42 กรณีย่อมรับฟังไม่ได้ว่า มีกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะใช้อำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ การที่จำเลยไม่รื้อถอนอาคารจึงไม่มีความผิด
ปัญหาที่ว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารชอบหรือไม่ ย่อมกระทบกระเทือนถึงความสงบสุขและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร แต่ดำเนินการก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต จึงไม่อาจปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 ซึ่งเป็นกรณีก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตด้วย
อำนาจในการสั่งให้รื้อถอนอาคาร พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 บัญญัติว่า ถ้าการกระทำตามมาตรา 40 เป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ หรือเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 41 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ดำเนินการรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยให้ดำเนินการรื้อถอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 (11)หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ข้อเท็จจริงที่ว่าอาคารส่วนที่ก่อสร้างโดยผิดกฎหมายของจำเลยสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่จึงเป็นสาระสำคัญในการพิจารณาถึงอำนาจในการออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารของเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่ฟ้องโจทก์บรรยายเพียงว่า จำเลยได้บังอาจก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเทศบาลเมืองอุดรธานีและเป็นแบบแปลนที่ไม่อาจอนุญาตให้ก่อสร้างได้อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ย่อมไม่พอแปลหรือไม่อาจอนุมานได้ว่าเป็นกรณีเดียวกันกับที่กฎหมายบัญญัติว่า ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นการตีความให้เป็นผลร้ายเพื่อลงโทษจำเลย เมื่อฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่า การกระทำของจำเลยเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามบทบัญญัติใน มาตรา 42 กรณีย่อมรับฟังไม่ได้ว่า มีกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะใช้อำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ การที่จำเลยไม่รื้อถอนอาคารจึงไม่มีความผิด
ปัญหาที่ว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารชอบหรือไม่ ย่อมกระทบกระเทือนถึงความสงบสุขและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร แต่ดำเนินการก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต จึงไม่อาจปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 ซึ่งเป็นกรณีก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8379/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างผิดแบบ และอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ด้านหน้าอาคารพิพาทมิได้ร่นแนวอาคาร และด้านหลังอาคารพิพาทมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งปกคลุมผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 72 วรรคสาม และข้อ 76(1) และ (4) ตามลำดับซึ่งโดยสภาพเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ ส่วนชั้นลอยที่ต่อเติมจากแบบแปลนซึ่งตามแบบแปลนชั้นลอยอยู่ช่วงหลังของอาคารระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นสองของอาคารถูกต่อเติมพื้นจนจดด้านหน้าของอาคารมีลักษณะเป็นการเพิ่มขึ้นของอาคารขึ้นอีกหนึ่งชั้นมีเนื้อเกินกว่าร้อยละสี่สิบของพื้นที่ทั้งหมดของห้อง ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 35 วรรคท้าย ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้เช่นกัน โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของอาคารพิพาทรื้อถอนอาคารทั้งสามส่วนดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 42 วรรคหนึ่ง (เดิม) และมีอำนาจร้องขอให้ศาลบังคับให้มีการรื้อถอนตาม มาตรา 42 วรรคสาม (เดิม) สำหรับชั้นดาดฟ้าซึ่งถูกก่อสร้างต่อเติมผิดไปจากแบบแปลนซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นการผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 30(1) นั้น เป็นกรณีที่อาจขออนุญาตได้ โจทก์ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง (เดิม) คือสั่งให้จำเลยที่ 3 แก้ไขเปลี่ยนแปลงชั้นดาดฟ้านั้นให้ถูกต้องเสียก่อนหากจำเลยที่ 3 ไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงชั้นดาดฟ้าให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด โจทก์จึงจะมีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 3รื้อถอนชั้นดาดฟ้าที่ก่อสร้างไม่ถูกตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตได้ตามมาตรา 43 วรรคสาม (เดิม) เมื่อโจทก์ยังมิได้ดำเนินการตาม มาตรา 43(เดิม) จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งรื้ออาคารต้องเป็นไปตามกฎหมายควบคุมอาคาร หากไม่ผิดกฎหมายหรือแก้ไขได้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีอำนาจสั่งรื้อ
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มีทั้งบทบัญญัติที่เป็นส่วนแพ่งและส่วนอาญา โดยมีบทบัญญัติให้ลงโทษทางอาญาแก่ผู้ฝ่าฝืนในบางกรณีด้วย แต่โจทก์หาได้ฟ้องขอให้ลงโทษทางอาญาไม่ คงฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคาร ซึ่งเป็นบทบัญญัติในส่วนแพ่งเท่านั้นโจทก์จึงฟ้องและดำเนินคดีที่ศาลแพ่งได้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่มีการก่อสร้าง หรือต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและการก่อสร้างหรือต่อเติมนั้นผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นซึ่งระบุไว้ใน พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 42เท่านั้น ทั้งต้องเป็นกรณีที่การก่อสร้าง หรือต่อเติมนั้นไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นด้วย หากการก่อสร้างหรือต่อเติมนั้นไม่ผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือผิดแต่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ เจ้าพนักงานจะมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารหาได้ไม่ เมื่อการก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารของจำเลยไม่ผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น โจทก์ก็ไม่อาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารได้ กรณีของจำเลยต้องด้วยพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 43 ที่อาจยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้องได้ แม้จำเลยจะเคยยื่นคำขออนุญาตต่อเติมอาคารชั้นที่ 5และไม่ได้รับอนุญาต เพราะโจทก์อ้างว่าความสูงของอาคารไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะอนุญาตให้ได้เมื่อจำเลยมิได้ก่อสร้างต่อเติมฝ่าฝืนกฎหมายจำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเติมอาคารให้โจทก์พิจารณาในเหตุอื่นได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 910-920/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าหน้าที่สั่งรื้ออาคาร, เหตุผลทางกฎหมาย, สิทธิผู้เช่า, คำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้มีอำนาจสั่งแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารที่โจทก์เช่าอยู่อาศัยได้โดยเด็ดขาด เป็นที่สุดฉะนั้น ศาลจึงย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทในคดีพิพาทระหว่างผู้เช่าอาคารกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้
ตามพระราชบัญญัติควมคุมการก่อสร้างอาคาร ฯลฯ มิได้ถือเอาสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจของอาคารพิพาทเป็นลักษณะสำคัญ อันเป็นที่ตั้งแห่งการวินิจฉัยที่จะให้อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสั่งรื้อถอนอาคารพิพาท
คำว่า " ไม่มั่นคงแข็งแรงไม่ปลอดภัย อันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน" คำว่า "อาจ" ไม่มีความหมายตรงกันกับคำว่า "น่า" เพราะโอกาสที่จะเป็นอันตราย ฯลฯ ตามความหมายแห่งถ้อยคำทั้งสองดังกล่าวนั้นต่างกัน กล่าวคือ ตามพจนานุกรมคำว่า "น่า" แปล-ว่า "ควร ฯลฯ" ซึ่งมีความหมายแน่นอนกว่า "อาจ" ซึ่งแปลงเพียงว่า"เป็นได้ ฯลฯ" เท่านั้น ฉะนั้น เมื่อคดีได้ความว่า อาคารพิพาทอยู่ในสภาพมั่นคงพอที่อยู่อาศัยได้ตามปกติโดยปลอดภัย คำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารพิพาทจึงมิได้ตั้งอยู่บนเหตุผลและไม่มีมูลฐานตามกฎหมาย
คำสั่งของจำเลยที่ 891/2506 สั่งให้บริษัท น. รื้อถอนอาคารของบริษัท น. ที่โจทก์เช่าอยู่ มิได้บังคับโจทก์อย่างใด จึงไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวแก่คำสั่งนี้กับโจทก์ ฉะนั้นโจทก์จะยกขึ้นอ้างเป็นมูลฟ้องหาได้ไม่ ส่วนคำสั่งของจำเลยที่ 3643/2506 ได้อ้างถึงคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ 762/1 และสั่งให้โจทก์ผู้ครอบครองอาคารเลิกใช้อาคาร กับให้จัดการขนย้าย ฯลฯ โจทก์จึงมีสิทธิยกขึ้นเป็นมูลฟ้องได้
คดีมีปัญหาโต้แย้งกันขึ้นว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทหรือไม่ และคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ซึ่งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของจำเลย ดังนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้
ตามพระราชบัญญัติควมคุมการก่อสร้างอาคาร ฯลฯ มิได้ถือเอาสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจของอาคารพิพาทเป็นลักษณะสำคัญ อันเป็นที่ตั้งแห่งการวินิจฉัยที่จะให้อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสั่งรื้อถอนอาคารพิพาท
คำว่า " ไม่มั่นคงแข็งแรงไม่ปลอดภัย อันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน" คำว่า "อาจ" ไม่มีความหมายตรงกันกับคำว่า "น่า" เพราะโอกาสที่จะเป็นอันตราย ฯลฯ ตามความหมายแห่งถ้อยคำทั้งสองดังกล่าวนั้นต่างกัน กล่าวคือ ตามพจนานุกรมคำว่า "น่า" แปล-ว่า "ควร ฯลฯ" ซึ่งมีความหมายแน่นอนกว่า "อาจ" ซึ่งแปลงเพียงว่า"เป็นได้ ฯลฯ" เท่านั้น ฉะนั้น เมื่อคดีได้ความว่า อาคารพิพาทอยู่ในสภาพมั่นคงพอที่อยู่อาศัยได้ตามปกติโดยปลอดภัย คำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารพิพาทจึงมิได้ตั้งอยู่บนเหตุผลและไม่มีมูลฐานตามกฎหมาย
คำสั่งของจำเลยที่ 891/2506 สั่งให้บริษัท น. รื้อถอนอาคารของบริษัท น. ที่โจทก์เช่าอยู่ มิได้บังคับโจทก์อย่างใด จึงไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวแก่คำสั่งนี้กับโจทก์ ฉะนั้นโจทก์จะยกขึ้นอ้างเป็นมูลฟ้องหาได้ไม่ ส่วนคำสั่งของจำเลยที่ 3643/2506 ได้อ้างถึงคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ 762/1 และสั่งให้โจทก์ผู้ครอบครองอาคารเลิกใช้อาคาร กับให้จัดการขนย้าย ฯลฯ โจทก์จึงมีสิทธิยกขึ้นเป็นมูลฟ้องได้
คดีมีปัญหาโต้แย้งกันขึ้นว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทหรือไม่ และคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ซึ่งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของจำเลย ดังนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 910-920/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าหน้าที่สั่งรื้ออาคาร: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยหากไม่มีกฎหมายให้อำนาจเด็ดขาด และคำสั่งต้องมีเหตุผลตามกฎหมาย
ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้มีอำนาจสั่งแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารที่โจทก์เช่าอยู่อาศัยได้โดยเด็ดขาด เป็นที่สุดฉะนั้น ศาลจึงย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทในคดีพิพาทระหว่างผู้เช่าอาคารกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้
ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฯลฯ มิได้ถือเอาสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจของอาคารพิพาทเป็นลักษณะสำคัญอันเป็นที่ตั้งแห่งการวินิจฉัยที่จะให้อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสั่งรื้อถอนอาคารพิพาท
คำว่า "ไม่มั่นคงแข็งแรงไม่ปลอดภัย อันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน" คำว่า "อาจ" ไม่มี ความหมายตรงกันกับคำว่า "น่า" เพราะโอกาสที่จะเป็นอันตราย ฯลฯ ตามความหมายแห่งถ้อยคำทั้งสองดังกล่าวนั้นต่างกัน กล่าวคือ ตามพจนานุกรมคำว่า "น่า" แปลว่า"ควร ฯลฯ " ซึ่งมีความหมายแน่นอนกว่า "อาจ" ซึ่งแปลงเพียงว่า " เป็นได้ ฯลฯ" เท่านั้น ฉะนั้น เมื่อคดีได้ความว่า อาคารพิพาทอยู่ใน สภาพมั่นคงพอที่อยู่อาศัยได้ตามปกติโดยปลอดภัย คำสั่งของจำเลย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารพิพาทจึงมิได้ตั้งอยู่บนเหตุผล และไม่มีมูลฐานตามกฎหมาย
คำสั่งของจำเลยที่ 891/2506 สั่งให้บริษัท น. รื้อถอนอาคารของบริษัท น. ที่โจทก์เช่าอยู่ มิได้บังคับโจทก์อย่างใด จึงไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวแก่คำสั่งนี้กับโจทก์ฉะนั้นโจทก์จะยกขึ้นอ้างเป็นมูลฟ้องหาได้ไม่ ส่วนคำสั่งของจำเลยที่ 3643/2506 ได้อ้างถึงคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ 762/1 และสั่งให้โจทก์ผู้ครอบครองอาคารเลิกใช้อาคาร กับให้จัดการขนย้าย ฯลฯ โจทก์จึงมีสิทธิยกขึ้นเป็นมูลฟ้องได้
คดีมีปัญหาโต้แย้งกันขึ้นว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทหรือไม่ และคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ซึ่งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของจำเลย ดังนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้
ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฯลฯ มิได้ถือเอาสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจของอาคารพิพาทเป็นลักษณะสำคัญอันเป็นที่ตั้งแห่งการวินิจฉัยที่จะให้อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสั่งรื้อถอนอาคารพิพาท
คำว่า "ไม่มั่นคงแข็งแรงไม่ปลอดภัย อันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน" คำว่า "อาจ" ไม่มี ความหมายตรงกันกับคำว่า "น่า" เพราะโอกาสที่จะเป็นอันตราย ฯลฯ ตามความหมายแห่งถ้อยคำทั้งสองดังกล่าวนั้นต่างกัน กล่าวคือ ตามพจนานุกรมคำว่า "น่า" แปลว่า"ควร ฯลฯ " ซึ่งมีความหมายแน่นอนกว่า "อาจ" ซึ่งแปลงเพียงว่า " เป็นได้ ฯลฯ" เท่านั้น ฉะนั้น เมื่อคดีได้ความว่า อาคารพิพาทอยู่ใน สภาพมั่นคงพอที่อยู่อาศัยได้ตามปกติโดยปลอดภัย คำสั่งของจำเลย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารพิพาทจึงมิได้ตั้งอยู่บนเหตุผล และไม่มีมูลฐานตามกฎหมาย
คำสั่งของจำเลยที่ 891/2506 สั่งให้บริษัท น. รื้อถอนอาคารของบริษัท น. ที่โจทก์เช่าอยู่ มิได้บังคับโจทก์อย่างใด จึงไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวแก่คำสั่งนี้กับโจทก์ฉะนั้นโจทก์จะยกขึ้นอ้างเป็นมูลฟ้องหาได้ไม่ ส่วนคำสั่งของจำเลยที่ 3643/2506 ได้อ้างถึงคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ 762/1 และสั่งให้โจทก์ผู้ครอบครองอาคารเลิกใช้อาคาร กับให้จัดการขนย้าย ฯลฯ โจทก์จึงมีสิทธิยกขึ้นเป็นมูลฟ้องได้
คดีมีปัญหาโต้แย้งกันขึ้นว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทหรือไม่ และคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ซึ่งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของจำเลย ดังนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าหน้าที่สั่งรื้ออาคารต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์กฎหมาย และสิทธิของผู้ยื่นขออนุญาต
ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 มาตรา 11 ทวิ ซึ่งได้แก้ไขโดยพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2504 และมาตรา 12 ทวิ มิได้บัญญัติโดยเด็ดขาดว่าคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นหรือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวแก่การก่อสร้างอาคาร ให้เป็นที่สุด และเห็นได้ว่าได้ให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมีอำนาจสั่งการอย่างอื่นได้ด้วย เช่น จะสั่งแต่เพียงให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยไม่ต้องรื้อแทนก็ได้ (อ้างฎีกาที่ 1219/2504) วัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารซึ่งปรากฏในคำปรารภมีว่า เพื่อต้องการควบคุมเพื่อประโยชน์ในความมั่นคง แข็งแรง การอนามัย การสุขาภิบาล การป้องกันอัคคีภัยและการผังเมือง ส่วนการให้ขออนุญาตก่อสร้างนั้นเป็นแต่เพียงวิธีดำเนินการ มิใช่วัตถุประสงค์โดยตรง จึงไม่ใช่นโยบายของกฎหมายว่าเพียงแต่ไม่ขออนุญาตก็ต้องสั่งให้รื้อ โดยไม่คำนึงว่าอาคารนั้นผิดวัตถุประสงค์หรือไม่ ถ้าเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนอาคารของโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าได้ก่อสร้างผิดวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฯ ก็อาจเป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขต ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนคำสั่งนั้นเสียได้ และเมื่อโจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องแล้วว่า คำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะสั่งให้รื้อถอนอาคารของโจทก์โดยไม่พิจารณาตรวจคำขออนุญาตปลูกอาคารของโจทก์ หรือให้เหตุผลว่าอาคารของโจทก์ปลูกสร้างขึ้นไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎหมายอย่างใด จึงเป็นฟ้องที่ต้องรับไว้พิจารณา
คำสั่งจะรื้อถอนอาคารของจำเลยมีถึงภริยาโจทก์ แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ให้ภริยาโจทก์ยื่นขออนุญาตปลูกอาคารรายนี้ จึงแสดงว่าโจทก์ได้ให้ภริยาเป็นผู้ยื่นคำขออนุญาตแทนโจทก์ ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468 และ 1469 โจทก์ก็มีอำนาจจัดการสินบริคณห์และมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ คำสั่งของจำเลยจึงกระทบกระเทือนสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นสามี การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2509)
คำสั่งจะรื้อถอนอาคารของจำเลยมีถึงภริยาโจทก์ แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ให้ภริยาโจทก์ยื่นขออนุญาตปลูกอาคารรายนี้ จึงแสดงว่าโจทก์ได้ให้ภริยาเป็นผู้ยื่นคำขออนุญาตแทนโจทก์ ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468 และ 1469 โจทก์ก็มีอำนาจจัดการสินบริคณห์และมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ คำสั่งของจำเลยจึงกระทบกระเทือนสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นสามี การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2509)