คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจสืบสวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7008/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจ 191: อำนาจสืบสวนคดีอาญา แม้เป็นผู้รับแจ้งเหตุ
การที่เจ้าพนักงานตำรวจ 191 มีหน้าที่รับโทรศัพท์เป็นหน้าที่เฉพาะตามที่ทางราชการแต่งตั้งให้ปฏิบัติ แต่โดยทั่วไปแล้วเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 17 การที่จำเลยโทรศัพท์แจ้งเจ้าพนักงานตำรวจ 191 ว่ามีการวางระเบิดที่ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาสุขสวัสดิ์ และสถานที่อื่นอีกหลายแห่ง โดยรู้อยู่ว่ามิได้มีการกระทำความผิดอาญา จึงเป็นการแจ้งความแก่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6880/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสืบสวนนอกเขตท้องที่และการจับกุมผู้กระทำผิดซึ่งหน้า: ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง
ป.วิ.อ.มาตรา 2 (16) บัญญัติว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หมายความถึงเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และมาตรา 17 บัญญัติว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงว่าเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจสืบสวนคดีอาญานอกเขตท้องที่ของตนได้ ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนแล้วพบการกระทำความผิดในลักษณะซึ่งหน้า เจ้าพนักงานตำรวจก็มีสิทธิจับผู้กระทำความผิดซึ่งหน้าได้แม้อยู่นอกเขตท้องที่ของตน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานจำหน่ายเฮโรอีนจำคุก 5 ปีฐานมีเฮโรอีนในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปี รวมจำคุก 10 ปี จำเลยที่ 1ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสี่คงจำคุก 7 ปี 6 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จะวินิจฉัยว่าการค้นในที่รโหฐานของร้อยตำรวจโท น.กับพวกได้กระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตกหรือไม่ จำเป็นต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ลงมือค้นตั้งแต่เวลาใด การฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาข้อนี้ขึ้นมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน: ความผิดตามมาตรา 172/173 เกิดขึ้นเมื่อแจ้งความต่อผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาเท่านั้น
แจ้งความเท็จต่อรัฐมนตรีช่วยว่าการมหาดไทย ซึ่งขณะนั้นเป็นรองอธิบดีกรมตำรวจมีอำนาจสืบสวนคดีอาญาด้วย แต่แจ้งความในฐานะรัฐมนตรี ไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 172,173
ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานแจ้งความเท็จและหมิ่นประมาทดูหมิ่นเจ้าพนักงาน จำคุก 1 ปี ปรับ 600 บาท ให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์20,000 บาท ศาลเห็นควรรอการลงโทษจำคุกไว้ 3 ปี เพราะเป็นความผิดเล็กน้อยและเสียค่าสินไหมทดแทนสูงพอที่จะทำให้รู้สำนึกแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2878/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง: อำนาจสืบสวน คดีระงับ และหลักฐานสนับสนุน
ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 49 วรรคสอง (1) (2) ได้บัญญัติระยะเวลามีผลใช้บังคับวิธีการหาเสียงเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้เป็น 2 กรณี กรณีแรกที่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปอันเนื่องมาจากการครบอายุของสภาผู้แทนราษฎรให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่เก้าสิบวันก่อนวันครบอายุจนถึงวันเลือกตั้ง ส่วนกรณีที่สองเป็นกรณีที่เป็นการเลือกตั้ง อันเนื่องมาจากเหตุอื่นนอกจากกรณีแรกให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจนถึงวันเลือกตั้ง กรณีของผู้คัดค้านเป็นกรณีเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างเนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยให้ผู้คัดค้านพ้นสภาพจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นระยะเวลาที่ใช้บังคับวิธีการหาเสียงกรณีของผู้คัดค้านจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2553 อันเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นที่ทราบทั่วกัน ซึ่งถือว่าเป็นวันที่ได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 49 วรรคสอง (2)
แม้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 106 บัญญัติว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงเมื่อ (1)...มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรและข้อเท็จจริงเป็นดังที่ผู้คัดค้านอ้าง แต่การยุบสภามีผลเพียงทำให้สมาชิกภาพของผู้คัดค้านซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงเท่านั้น ซึ่งหากผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่เพราะเหตุที่มีการกระทำตามคำร้อง การวินิจฉัยและมีคำสั่งโดยศาลฎีกาก็จะไม่เป็นประโยชน์อีกต่อไป คดีนี้ผู้ร้องมีคำขอเพียงประการเดียวคือ ขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้คัดค้านเป็นเวลาห้าปี ซึ่งเป็นคนละส่วนไม่เกี่ยวข้องกับการสิ้นสมาชิกภาพของผู้คัดค้าน ผู้ร้องจึงยังคงร้องขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งในกรณีนี้ได้ หาได้ระงับไปเพราะเหตุที่มีการยุบสภาไม่