พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกาศห้ามนำสุกรชำแหละเข้าเขตเทศบาลเกิน 4 ก.ก. เป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขตของ พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร
ประกาศของคณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควรห้ามมิให้ผู้ใดนำสุกรชำแหละเข้ามาในเขตเทศบาลกรุงเทพฯ เว้นแต่การนำติดตัวเข้ามาเพื่อบริโภครวมกันไม่เกิน 4 ก.ก. โดยอ้างว่าเพื่อสวัสดิภาพของประชาชนผู้บริโภค เพราะว่าสุกรมีชีวิตที่ส่งเข้ามาในเขตเทศบาลฯมีจำนวนเพียงพอแก่ความต้องการแล้วนั้น ดังนี้ พึงเห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการค้ากำไรเกินควรตามความในพ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 มาตรา 8(6)(8) แต่อย่างใดเลย เพราะถ้ามีเนื้อสุกรชำแหละในเขตเทศบาลมาก ๆ กลับจะทำให้ราคาเนื้อสุกรชำแหละถูกลง ประกาศของคณะกรรมการฯฉบับนี้จึงเป็นการนอกเหนืออำนาจ แม้จำเลยทำการฝ่าฝืนก็เอาผิดแก่จำเลยไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์ใช้อำนาจเกินขอบเขตในการตัดสินคดี, การย้อนสำนวนให้ศาลเดิม
ศาลอุทธรณ์สั่งให้ศาลเดิมสืบพะยานใหม่แล้วตัดสิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัวแทนเกินขอบเขต สัญญาซื้อขายสมบูรณ์เมื่อผู้ซื้อไม่รู้ถึงมติยกเลิกการซื้อ
จำเลยเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลฯ มาตรา 43 ซึ่งความประสงค์ของจำเลยย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง จำเลยออกประกาศสอบราคาซื้อรถยนต์ ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2544 โจทก์ยื่นคำเสนอราคารถยนต์เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2544 และทำสัญญาซื้อขายรถยนต์กับ ส. ประธานกรรมการบริหารของจำเลย เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2544 ความเกี่ยวพันระหว่างโจทก์ จำเลย กับ ส. ตัวแทนของจำเลยต้องพิจารณาตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 การออกประกาศซื้อรถยนต์ของจำเลยซึ่งเป็นตัวการโดย ส. ซึ่งเป็นตัวแทน เป็นเรื่องที่อยู่ในขอบอำนาจที่ตัวแทนทำได้ แต่เมื่อมีมติที่ประชุมจำเลยยกเลิกความต้องการดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2544 ย่อมเป็นเรื่องที่ตัวแทนทำการอันเกินอำนาจตัวแทน กรณีจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ซึ่งสัญญาซื้อขายดังกล่าวจะใช้บังคับระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกกับจำเลยซึ่งเป็นตัวการได้หรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับว่าในทางปฏิบัติของจำเลยทำให้โจทก์มีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการซื้อขายรถยนต์คันพิพาทอยู่ในขอบอำนาจของ ส. ตัวแทนของจำเลยหรือไม่
ขณะต้องการซื้อรถยนต์ได้มีประกาศของจำเลยให้บุคคลภายนอกทั่วไปทราบแล้ว การจะให้บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องทราบมติยกเลิกความต้องการดังกล่าวย่อมสมควรทำโดยประกาศหรือวิธีการอื่นใดในลักษณะเดียวกัน แต่จำเลยไม่เคยแจ้งมติยกเลิกการสอบราคาไปยังโจทก์ และไม่ปรากฏว่าได้มีการประกาศมติดังกล่าวให้บุคคลภายนอกทราบ การมีมติดังกล่าวมีลักษณะเป็นการภายในอันไม่สามารถถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกควรรู้ และแม้ว่า ส. จะลงชื่อในสัญญาซื้อขายโดยมิได้กำกับไว้ว่าทำการแทนจำเลย แต่ในตอนเริ่มต้นของสัญญาก็ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าเป็นการทำสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยสัญญาซื้อขายจึงมีผลสมบูรณ์ผูกพันระหว่างโจทก์จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ประกอบมาตรา 820 การที่ ส. มิได้นำรถยนต์คันพิพาทไปขึ้นทะเบียนครุภัณฑ์ของทางราชการและนำรถยนต์ไปใช้ส่วนตัว เป็นเรื่องการภายในของจำเลยที่ต้องไปว่ากล่าวกันเอง หามีผลทำให้ความรับผิดที่มีต่อโจทก์เปลี่ยนแปลงไปไม่
ขณะต้องการซื้อรถยนต์ได้มีประกาศของจำเลยให้บุคคลภายนอกทั่วไปทราบแล้ว การจะให้บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องทราบมติยกเลิกความต้องการดังกล่าวย่อมสมควรทำโดยประกาศหรือวิธีการอื่นใดในลักษณะเดียวกัน แต่จำเลยไม่เคยแจ้งมติยกเลิกการสอบราคาไปยังโจทก์ และไม่ปรากฏว่าได้มีการประกาศมติดังกล่าวให้บุคคลภายนอกทราบ การมีมติดังกล่าวมีลักษณะเป็นการภายในอันไม่สามารถถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกควรรู้ และแม้ว่า ส. จะลงชื่อในสัญญาซื้อขายโดยมิได้กำกับไว้ว่าทำการแทนจำเลย แต่ในตอนเริ่มต้นของสัญญาก็ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าเป็นการทำสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยสัญญาซื้อขายจึงมีผลสมบูรณ์ผูกพันระหว่างโจทก์จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ประกอบมาตรา 820 การที่ ส. มิได้นำรถยนต์คันพิพาทไปขึ้นทะเบียนครุภัณฑ์ของทางราชการและนำรถยนต์ไปใช้ส่วนตัว เป็นเรื่องการภายในของจำเลยที่ต้องไปว่ากล่าวกันเอง หามีผลทำให้ความรับผิดที่มีต่อโจทก์เปลี่ยนแปลงไปไม่