พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2130/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเด็ดขาดผู้พิพากษาอนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง: คำสั่งไม่อนุญาตไม่อุทธรณ์ต่อได้
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงฯ เมื่อผู้พิพากษาผู้ซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้อุทธรณ์แล้ว โจทก์ร่วมจะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์อีกไม่ได้ เพราะการที่ผู้พิพากษาผู้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเป็นอำนาจเฉพาะตัวอันเด็ดขาดของผู้พิพากษาผู้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7645/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลรัฐธรรมนูญเป็นเด็ดขาด ผู้มิอาจฟ้องให้คำวินิจฉัยเป็นโมฆะได้ แม้อ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ข้อเท็จจริงที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยทั้งสามได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ล้วนแต่มีความหมายแสดงให้เห็นได้โดยแจ้งชัดว่าเป็นกรณีการใช้ดุลยพินิจในการทำคำวินิจฉัยของจำเลยทั้งสามตามอำนาจหน้าที่ในฐานะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นอำนาจที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพียงแต่คำวินิจฉัยของจำเลยทั้งสามไม่เป็นไปตามทิศทางที่โจทก์ประสงค์เท่านั้น จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย เป็นเหตุให้โจทก์เสียหายหรือจำเลยทั้งสามได้ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ อันจะถือได้ว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 , 421
การฟ้องขอให้คำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นโมฆะ จะกระทำได้ต่อเมื่อมีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ให้กระทำได้เท่านั้น เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มิได้บัญญัติให้อำนาจบุคคลใดฟ้องเช่นนั้นได้ โจทก์จะอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 4 อันเป็นบททั่วไปมาเป็นมูลฐานฟ้องขอให้คำวินิจฉัยของจำเลยทั้งสามเป็นโมฆะหาได้ไม่
การฟ้องขอให้คำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นโมฆะ จะกระทำได้ต่อเมื่อมีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ให้กระทำได้เท่านั้น เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มิได้บัญญัติให้อำนาจบุคคลใดฟ้องเช่นนั้นได้ โจทก์จะอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 4 อันเป็นบททั่วไปมาเป็นมูลฐานฟ้องขอให้คำวินิจฉัยของจำเลยทั้งสามเป็นโมฆะหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9361/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจวินิจฉัยคดีแรงงาน: อธิบดีศาลแรงงานกลางมีอำนาจเด็ดขาดในการพิจารณาว่าคดีใดอยู่ในอำนาจศาลแรงงานหรือไม่
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 9 วรรคสอง ให้อำนาจเฉพาะอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยว่าคดีใดอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ การที่ผู้พิพากษาศาลแรงงานมีคำสั่งว่าคำฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์มิใช่คดีแรงงานเป็นคำสั่งที่วินิจฉัยว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ จึงไม่ชอบ ศาลแรงงานต้องส่งสำนวนให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเสียก่อนว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ แล้วจึงพิจารณาสั่งคำฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: พนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเด็ดขาดในการจำหน่ายทรัพย์สินภายใต้กฎหมายล้มละลาย
คดีล้มละลายเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายแล้วก็เป็นอำนาจของพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวที่จะจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยตามวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายจำเลยจะมาขอให้ทุเลาการบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา231อย่างคดีแพ่งธรรมดาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทุเลาการบังคับคำพิพากษาศาลชั้นต้นระหว่างอุทธรณ์: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเด็ดขาด, ฎีกาไม่อุทธรณ์ได้
การขอไม่ให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่เป็นการร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณา แต่เป็นการขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์อันเป็นอำนาจเฉพาะของศาลอุทธรณ์เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งแล้วคำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดคู่ความจะฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4067/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาบังคับคดีเป็นการขอทุเลาการบังคับคดี ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเด็ดขาด จำเลยฎีกาไม่ได้
การขอขยายระยะเวลาการบังคับคดี มีผลเท่ากับเป็นการขอทุเลาการบังคับคดี และการจะให้ทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์หรือไม่ เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะจำเลยจะฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจอนุญาตฎีกา: อำนาจเด็ดขาดของผู้พิพากษา vs. การพิจารณาของศาลฎีกา
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ที่ว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด นั้นกฎหมายมอบให้เป็นดุลพินิจอันเด็ดขาดของผู้พิพากษาผู้มีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกา(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเด็ดขาดของพระมหากษัตริย์ในคดีมรดก: พระบรมราชโองการมีผลผูกพันและเปลี่ยนแปลงสิทธิในกองมรดก
การตีความในเอกสารอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินเหนือกฎหมาย พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ย่อมมีผลเด็ดขาดตามกฎหมาย โจทก์เป็นหม่อมของ พ.ครั้น พ.สิ้นพระชนม์ รัชชกาลที่ 6 จึงทรงตั้งกรรมการขึ้นจัดการพระมฤดก กรรมการได้ทำรายงานถวายความเห็นว่าโจทก์ควรได้รับแต่เงินค่าเลี้ยงชีพเดือนละ 200 บาท รัชชกาลที่ 6 มีพระบรมราชโองการให้เป็นไปตามนั้นดังนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิจะได้รับพระมฤดกอื่นของ พ.นอกจากเงินเลี้ยงชีพเดือนละ 200 บาทนั้น
การที่บุคคลภายนอกเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์และจำเลยในคดีเรื่องนี้เป็นจำเลยโดยมูลสิทธิแห่งคดีเป็นอย่างเดียวกับคดีเรื่องนี้นั้น ไม่เรียกว่าโจทก์ในคดีนี้ฟ้องซ้ำค่าธรรมเนียม
การที่บุคคลภายนอกเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์และจำเลยในคดีเรื่องนี้เป็นจำเลยโดยมูลสิทธิแห่งคดีเป็นอย่างเดียวกับคดีเรื่องนี้นั้น ไม่เรียกว่าโจทก์ในคดีนี้ฟ้องซ้ำค่าธรรมเนียม