พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4659/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดีแรงงานที่มิได้โต้แย้ง ถือเป็นที่สิ้นสุด และอำนาจเลิกจ้างของนิติบุคคล
คำสั่งศาลแรงงานกลางที่กำหนดประเด็นข้อพิพาท เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้ จึงไม่สามารถอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาล-แรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
จำเลยเป็นนิติบุคคล น.ได้รับอำนาจจากกรรมการของจำเลยน.จึงเป็นผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล มีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ด้วย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 น.มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้
จำเลยเป็นนิติบุคคล น.ได้รับอำนาจจากกรรมการของจำเลยน.จึงเป็นผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล มีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ด้วย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 น.มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4659/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและการมีอำนาจเลิกจ้างในคดีแรงงาน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นที่จำเลยมิได้โต้แย้ง
คำสั่งศาลแรงงานกลางที่กำหนดประเด็นข้อพิพาท เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้จึงไม่สามารถอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 จำเลยเป็นนิติบุคคล น. ได้รับอำนาจจากกรรมการของจำเลย น. จึงเป็นผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล มีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ด้วยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2น. มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเลิกจ้างพนักงาน: ภรรยาผู้บริหารไม่มีอำนาจ
ภรรยาของกรรมการผู้จัดการของจำเลยมิใช่กรรมการผู้จัดการของจำเลยที่จะมีอำนาจเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยได้ และภรรยาของกรรมการผู้จัดการของจำเลยมิได้รับมอบหมายจากกรรมการผู้จัดการของจำเลยให้มีอำนาจเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย ภรรยาของกรรมการผู้จัดการของจำเลยจึงไม่มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงาน การที่ภรรยากรรมการผู้จัดการของจำเลยบอกโจทก์ไม่ให้มาทำงานต่อไป ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างป่วยอัมพาต นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แม้ระเบียบธนาคารจะให้อำนาจเลิกจ้างได้
ลูกจ้างป่วยเป็นอัมพาตเนื่องจากเส้นเลือดในสมองตีบ ไม่สามารถปฏิบัติงานได้เป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แม้ตามระเบียบธนาคารออมสินจะให้อำนาจนายจ้างปลดลูกจ้างออกจากงานได้เมื่อลูกจ้างลาครบกำหนดระยะเวลาแล้วก็ตาม ก็เป็นเพียงให้สิทธิที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเท่านั้น จะถือว่าลูกจ้างกระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอย่างร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47 หาได้ไม่ เมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง (บำเหน็จ) เป็นเงินที่นายจ้างผูกพันต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามระเบียบของนายจ้าง ส่วนค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ46 บังคับให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างสิทธิของลูกจ้างที่จะได้เงินบำเหน็จและค่าชดเชยจึงกำหนดให้โดยอาศัยกฎหมายและระเบียบต่างกัน ทั้งตามระเบียบดังกล่าวกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งมีเวลาทำงานต่ำกว่า 5 ปี ไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จ จึงเห็นได้ว่า ระเบียบของนายจ้างกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จแตกต่างกับประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ซึ่งกำหนดให้ลูกจ้างประจำซึ่งทำงานติดต่อกันเพียงครบ 120 วัน ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้วดังนี้เงินทุนเลี้ยงชีพและค่าชดเชยเป็นเงินคนละประเภท การที่นายจ้างจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพให้ลูกจ้างแล้ว ไม่ทำให้นายจ้างพ้นความรับผิดที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอีก.(ที่มา-ส่งเสริม)
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง (บำเหน็จ) เป็นเงินที่นายจ้างผูกพันต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามระเบียบของนายจ้าง ส่วนค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ46 บังคับให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างสิทธิของลูกจ้างที่จะได้เงินบำเหน็จและค่าชดเชยจึงกำหนดให้โดยอาศัยกฎหมายและระเบียบต่างกัน ทั้งตามระเบียบดังกล่าวกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งมีเวลาทำงานต่ำกว่า 5 ปี ไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จ จึงเห็นได้ว่า ระเบียบของนายจ้างกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จแตกต่างกับประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ซึ่งกำหนดให้ลูกจ้างประจำซึ่งทำงานติดต่อกันเพียงครบ 120 วัน ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้วดังนี้เงินทุนเลี้ยงชีพและค่าชดเชยเป็นเงินคนละประเภท การที่นายจ้างจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพให้ลูกจ้างแล้ว ไม่ทำให้นายจ้างพ้นความรับผิดที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอีก.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5453/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิดซ้ำ และการรับฟังพยานหลักฐานสำเนาในคดีแรงงาน
แม้ตามข้อบังคับหรือคำสั่งของจำเลยจะไม่ได้กำหนดตัวผู้มีอำนาจลงโทษตักเตือนลูกจ้างไว้ แต่การออกใบเตือนโจทก์ทั้งสองฉบับก็มีผู้จัดการทั่วไปกับหัวหน้าแผนกอาหารและเครื่องดื่มผู้บังคับบัญชาโดยตรงของโจทก์เป็นผู้ลงชื่อ แล้วเสนอใบเตือนให้กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยลงชื่อรับทราบเป็นทางปฎิบัติเช่นนี้ตลอดมา เมื่อเกิดเหตุคดีนี้ขึ้นผู้จัดการแผนกบุคคลได้เสนอผู้จัดการทั่วไปให้ปลดโจทก์ออกจากงานผู้จัดการทั่วไปได้มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงาน แล้วสำเนาคำสั่งแจ้งกรรมการผู้จัดการ กรรมการบริหาร กับหัวหน้าแผนกอาหารและเครื่องดื่มทราบทั้งได้ปิดประกาศแจ้งให้พนักงานทั่วไปทราบด้วยพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่ากรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยมอบอำนาจโดยปริยายให้ผู้จัดการทั่วไปมีอำนาจออกใบเตือนให้โจทก์ทั้งสองฉบับดังกล่าวแล้ว เมื่อโจทก์กระทำผิดซ้ำในเรื่องเดียวกันกับเรื่องที่เคยถูกเตือนนั้นอีก โดยละทิ้งหน้าที่กลับก่อนเวลาเลิกงาน จำเลยชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นการกระทำผิดประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ใบเตือนเป็นหนังสือของจำเลยผู้เป็นนายจ้างแจ้งให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทราบว่า โจทก์ได้กระทำผิดระเบียบข้อบังคับและว่ากล่าวตักเตือนไม่ให้โจทก์กระทำผิดอีก ต้นฉบับใบเตือนจึงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ จำเลยย่อมไม่สามารถนำต้นฉบับมาแสดงต่อศาลได้ ทั้งเมื่อจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อน ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลเพื่อใช้ยันโจทก์ โจทก์ก็ไม่คัดค้านว่าต้นฉบับเอกสารไม่มีหรือเอกสารปลอม หรือสำเนาไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 125 ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจรับฟังสำเนาพยานเอกสารแทนต้นฉบับได้ ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่กำหนดว่าเมื่อลูกจ้างกระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจะถูกพิจารณาลงโทษตักเตือนเป็นหนังสือ ตัดค่าจ้าง ลดค่าจ้างพักงาน หรือเลิกจ้างตามควรแก่กรณี ไม่ใช่กำหนดขั้นตอนการลงโทษจำเลยจะลงโทษลูกจ้างสถานใดย่อมเป็นดุลพินิจของจำเลยตามที่สมควร ตามความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดของลูกจ้างโดยจำต้องลงโทษลูกจ้างเรียงตามลำดับโทษที่กำหนดไว้ การที่จำเลยลงโทษเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยหลายครั้ง จึงไม่ใช่ลงโทษข้ามขั้นตอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3617-3618/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: อำนาจเลิกจ้างแม้การสอบสวนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ หากพิสูจน์ได้ว่าลูกจ้างกระทำผิดวินัย
เมื่อโจทก์อ้างว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้นจำเลยมิได้ทำการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ได้ความว่ามีกฎหมายและข้อบังคับตามที่โจทก์อ้างโจทก์จะถือเอาความควรหรือไม่ควรโดยให้อนุโลมเอากฎหมายหรือข้อบังคับอื่นซึ่งมิได้ใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์มาใช้หาได้ไม่ส่วนการสอบสวนทางวินัยและการลงโทษทางวินัยก็มีหลักเกณฑ์และวิธีการแตกต่างไปจากการสอบสวนและลงโทษในคดีอาญา ดังนั้นเมื่อสอบสวนได้ความว่าโจทก์กระทำผิดวินัย แม้จะมิใช่ด้วยมูลโดยตรงที่ตั้งกรรมการสอบสวนก็ตาม จำเลยก็มีอำนาจลงโทษเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างฐานหย่อนสมรรถภาพ ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบ หากมีข้อบังคับให้อำนาจเลิกจ้างได้
เมื่อจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ฐานหย่อนสมรรถภาพในการปฏิบัติงานและมีความบกพร่องในการปฏิบัติงานอยู่เนือง ๆ ตามข้อบังคับของจำเลยที่ให้อำนาจผู้จัดการเลิกจ้างพนักงานในกรณีดังกล่าวได้ ดังนี้ การที่โจทก์หย่อนสมรรถภาพและมีความบกพร่องในการปฏิบัติงานจึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ถือไม่ได้ว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างในกรณีฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47(3)