คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,483 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งงดสืบพยานในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ต้องโต้แย้งทันที หากไม่ทำจะถูกห้ามอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งห้า เนื่องจากเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ข้อหาความผิดต่อเจ้าพนักงานและยักยอกทรัพย์ การพิพากษาคดีส่วนแพ่งคดีนี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับจำนองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ โจทก์มิใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์คดีนี้ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าคดีนี้มิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และคดีดังกล่าวศาลยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบ เพียงแต่วินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ศาลชั้นต้นจะนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีดังกล่าวมารับฟังในคดีนี้ไม่ได้เพราะยังมีข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำพยานเข้าสืบว่าจำเลยทั้งห้าต้องร่วมกันคืนทรัพย์แก่โจทก์หรือไม่ ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ (ที่ถูกยก) คำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้ใหม่โดยให้โจทก์และจำเลยทั้งห้านำพยานเข้าสืบต่อไปนั้น อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งหากศาลอุทธรณ์เห็นด้วยก็จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งห้าต่อไป เมื่อคำสั่งงดสืบพยานดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์จึงต้องโต้แย้งคำสั่งไว้จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ แต่โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวแต่อย่างใดจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับ (ที่ถูกยก) คำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณา มิได้ขอให้โจทก์ชนะคดีตามคำฟ้อง จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9072-9074/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นไม่ประทับฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยเห็นว่า โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำการหรือละเว้นกระทำการตามหน้าที่มิให้มีการยกเลิกการใช้ชื่อของโจทก์ในเอกสารของจำเลยที่ 1 พยานหลักฐานโจทก์ยังไม่มีมูลให้พอฟังว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 264, 268 และ 269 จึงเท่ากับศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานโจทก์แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ร่วมรู้เห็นกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และตามกฎหมายความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคล การที่ศาลชั้นต้นประทับฟ้องจำเลยที่ 1 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยนั้น เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่าการกระทำอันเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว เกิดจากการกระทำหรือละเว้นการกระทำตามหน้าที่ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 โดยตรง อันเป็นการโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264, 268 และ 269 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 ประกอบมาตรา 193 ทวิ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวโดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์และการนับวันหยุดราชการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2547 คู่ความย่อมยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์วันที่ 6 มีนาคม 2547 ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม 2547 ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ระยะเวลาที่ขยายออกไปจึงเริ่มนับแต่วันที่ครบกำหนดอุทธรณ์ คือ วันที่ 6 มีนาคม 2547 โดยเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2547 แม้วันดังกล่าวจะเป็นวันหยุดราชการตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง ดังนั้น จำเลยจึงยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 5 เมษายน 2547

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8457/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากเกินกำหนดเวลา และอำนาจศาลในการวินิจฉัยข้อกฎหมายเพื่อความสงบเรียบร้อย
ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2544 จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2545 เกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ มาตรา 246 และมาตรา 247 และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกา ตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8229/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรขึ้นอยู่กับความแน่นอนของมูลหนี้และการอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
จำเลยได้โต้แย้งแบบแจ้งการประเมินให้ชำระภาษีอากรที่ขาด โดยยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินแล้ว ก็เท่ากับจำเลยได้ยอมรับรองแบบแจ้งการประเมินของโจทก์ที่ 1 นั้นโดยปริยาย นอกจากนั้นหลังจากรับแจ้งการประเมินครั้งใหม่แล้วจำเลยยังยื่นอุทธรณ์การประเมินซ้ำอีกครั้งหนึ่งโดยขอถือตามคำอุทธรณ์ฉบับเดิม จึงชอบที่โจทก์ที่ 1 จะเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดำเนินการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 112 ฉ ซึ่งบัญญัติให้สิทธิผู้นำของเข้าอุทธรณ์การประเมินอากรของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ สิทธิในการอุทธรณ์ของผู้นำของเข้าเช่นจำเลยมิได้จำกัดไว้เฉพาะกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรตามมาตรา 112 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากรฯ แต่ยังรวมถึงการประเมินอากรของพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ที่เกิดขึ้นแก่ผู้นำของเข้าทุกกรณี เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยจากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนที่จะมีการนำคดีมาสู่ศาล เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่คัดค้านการประเมินอากร จึงยังไม่แน่นอนว่าจำเลยจะต้องรับผิดตามที่ถูกประเมินหรือไม่ และถือว่าโจทก์ที่ 1 ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับอากรขาเข้า
ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น แม้จะถือไม่ได้ว่าคำอุทธรณ์ที่จำเลยยื่นต่อโจทก์ที่ 1 เป็นการอุทธรณ์การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 30 (1) ด้วย แต่การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีนี้สืบเนื่องจากข้อพิพาทในเรื่องราคาสินค้าที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าอากรขาเข้าเป็นหลัก และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าสินค้านั้น ป.รัษฎากร มาตรา 79/2 กำหนดฐานภาษีไว้ตามมูลค่าของสินค้านำเข้าโดยให้ใช้ราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้าบวกด้วยอากรขาเข้า ภาษีสรรสามิตที่กำหนดในมาตรา 77/1 (19) ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา และในกรณีที่เจ้าพนักงานศุลกากรได้ทำการประเมินราคาเพื่อเสียภาษีอากรขาเข้าใหม่ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ให้ถือราคานั้นเป็นราคาสินค้าในการคำนวณราคา ซี.ไอ.เอฟ. ฉะนั้น ความรับผิดเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายของจำเลยจึงขึ้นอยู่กับคำอุทธรณ์ของจำเลยที่ยื่นไว้ต่อโจทก์ที่ 1 หากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 วินิจฉัยให้ราคาสินค้าและค่าอากรขาเข้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ประเมินไว้ลดลง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ก็ต้องลดลงโดยผลของกฎหมายดังกล่าว โดยจำเลยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากรแต่อย่างใด เมื่อยังไม่แน่นอนว่ามูลค่าของสินค้านำเข้าเป็นเท่าใด ความรับผิดของจำเลยเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มจึงยังไม่แน่นอนไปด้วย โจทก์ที่ 2 ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8200/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ข้อเท็จจริง จำเลยต้องยื่นคำร้องต่ออธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 โดยตรง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับรองให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นถึงอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 ภายใน 7 วัน เพื่อมีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 230 วรรคสาม การที่จำเลยมีคำขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ส่งคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยไปให้อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 พิจารณารับรองให้อุทธรณ์ข้อเท็จจริงจึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7566/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่รับสารภาพแล้ว และการพิพากษาความผิดฐานช่วยเหลือคนต่างด้าว
จำเลยอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพว่า คนต่างด้าวที่จำเลยให้ความช่วยเหลือเป็นคนต่างด้าวที่นายจ้างนำไปขึ้นทะเบียน จึงมีสิทธิที่จะประกอบอาชีพในราชอาณาจักร เป็นการอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยขาดองค์ประกอบความผิด เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ได้ แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ที่ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (6) ประกอบมาตรา 215 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยให้ความช่วยเหลือคนต่างด้าวจำนวน 18 คน ให้พ้นจากการจับกุมแม้เอกสารแนบท้ายอุทธรณ์จะรับฟังได้ว่าคนต่างด้าวจำนวน 4 คน เข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับอนุญาต และขณะเกิดเหตุยังอยู่ภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว ฯ มีผลทำให้การกระทำของจำเลยเกี่ยวกับคนต่างด้าวอีก 4 คน ดังกล่าว ขาดองค์ประกอบความผิดตามฟ้อง แต่ยังคงรับฟังได้ว่าคนต่างด้าวอีก 14 คน ที่จำเลยให้ความช่วยเหลือนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยจึงยังมีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7566/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่รับสารภาพแล้ว และการพิสูจน์สถานะคนต่างด้าวเพื่อยืนยันความผิดฐานช่วยเหลือ
จำเลยอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพว่า คนต่างด้าวที่จำเลยให้ความช่วยเหลือเป็นคนต่างด้าวที่นายจ้างนำไปขึ้นทะเบียน จึงมีสิทธิที่จะประกอบอาชีพในราชอาณาจักร เป็นการอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยขาดองค์ประกอบความผิด เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ได้แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ที่ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (6) ประกอบมาตรา 215 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยให้ความช่วยเหลือคนต่างด้าวจำนวน 18 คน ให้พ้นจากการจับกุมแม้เอกสารแนบท้ายอุทธรณ์จะรับฟังได้ว่าคนต่างด้าวจำนวน 4 คน เข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับอนุญาต และขณะเกิดเหตุยังอยู่ภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 มีผลทำให้การกระทำของจำเลยเกี่ยวกับคนต่างด้าว 4 คน ดังกล่าว ขาดองค์ประกอบความผิดตามฟ้อง แต่ยังคงรับฟังได้ว่าคนต่างด้าวอีก 14 คน ที่จำเลยให้ความช่วยเหลือนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยจึงยังมีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7550/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ อย่างเคร่งครัด
ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ บัญญัติหลักเกณฑ์ในการอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่า ผู้อุทธรณ์จะต้องทำเป็นคำร้องมาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์และส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องแก่จำเลยอุทธรณ์แล้ว หากไม่มีคู่ความอื่นยื่นอุทธรณ์และจำเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคำร้องดังกล่าวภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ ก็ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำร้องนั้นว่าจะอนุญาตหรือไม่และให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด คดีนี้ปรากฏว่าเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายพร้อมคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "เมื่อจำเลยทั้งสี่แก้อุทธรณ์หรือไม่แก้ภายในกำหนดแล้ว ให้ส่งศาลฎีกาโดยเร็ว" ซึ่งมีความหมายว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตคำร้องของโจทก์ไปทันทีโดยที่ยังมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสคัดค้านก่อน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่อาจมีผลทำให้อุทธรณ์ของโจทก์ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวโดยชอบได้ คดีจึงยังไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ให้โจทก์ได้ และการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นถือได้ว่าเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 27 ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่น ๆ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7302/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีอาญาในศาลแขวง: เงื่อนไขการอนุญาตอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง
คดีนี้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงพิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 4)ฯ โจทก์จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ต่อเมื่อกรณีเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 22 ทวิ คือ หากผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นสั่งฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ว่า "โจทก์อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ขยาย รับอุทธรณ์ สำเนาให้อีกฝ่าย ให้เจ้าพนักงานศาลส่งไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิด" เพียงเท่านี้ยังไม่ถือว่าผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะในคำสั่งมิได้ระบุเหตุผลว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และมีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ทวิ
of 349