คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อุทธรณ์ข้อเท็จจริง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีฟ้องแย้ง ศาลพิจารณาคดีฝ่ายเดียวได้ และการห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224
ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน ในวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลยไม่มาศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและได้สืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวจนเสร็จสิ้นแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาย่อมถือได้ว่าจำเลยขาดนัดทั้งสองฐานะ คือทั้งที่เป็นจำเลยและที่เป็นโจทก์ฟ้องแย้งด้วยเมื่อโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนได้นำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์ไปจนเสร็จสิ้นแล้ว จึงถือได้ว่าโจทก์ในฐานะจำเลยฟ้องแย้งได้แจ้งให้ศาลทราบโดยปริยายว่าโจทก์ในฐานะจำเลยฟ้องแย้งได้ขอดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 201 (เดิม) แล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวและพิพากษาคดีในส่วนฟ้องแย้งจึงชอบด้วยกฎหมาย หาใช่ต้องจำหน่ายคดีสำหรับฟ้องแย้งของจำเลยออกจากสารบบความไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิอุทธรณ์ข้อเท็จจริง, ขาดนัดพิจารณา, การพิจารณาคดีฝ่ายเดียว, ฟ้องแย้ง, ค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่ามีค่าเช่าเดือนละ 24,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้ว่าค่าเช่ามีเพียงเดือนละ 2,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างชำระแก่โจทก์เดือนละ 2,000 บาท โจทก์ไม่อุทธรณ์ข้อเท็จจริงจึงฟังยุติว่าอาคารพิพาทมีค่าเช่าเดือนละ 2,000 บาท และในส่วนฟ้องแย้งนั้นจำเลยมีคำขอบังคับให้โจทก์คืนเงินมัดจำ 50,000 บาท แก่จำเลยพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ คดีตามฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยไม่มาศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาย่อมถือได้ว่าจำเลยขาดนัดทั้งสองฐานะ คือทั้งที่เป็นจำเลยและที่เป็นโจทก์ฟ้องแย้งด้วย เมื่อโจทก์ได้นำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นตามฟ้องและคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์จนเสร็จแล้ว จึงถือได้ว่าโจทก์ในฐานะจำเลยฟ้องแย้งได้แจ้งให้ศาลทราบโดยปริยายว่าโจทก์ในฐานะจำเลยฟ้องแย้งได้ขอดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ตาม ป.วิ.พ. 201 (เดิม) แล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวและพิพากษาคดีในส่วนฟ้องแย้งจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5012/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อโกง: การปกปิดภาระหนี้สินและข้อเท็จจริงสำคัญในการซื้อขายที่ดิน ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกายกฟ้องเนื่องจากเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายรายพิพาทจำเลยทั้งสี่ไม่อาจทราบเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนดขึ้นในภายหลังทั้งที่ดินและอาคารตามสัญญาจะซื้อจะขายรายพิพาทก็ไม่ใช่ที่ดินที่จำเลยที่ 3 นำไปประกันหนี้ในคดีแพ่งที่จำเลยที่ 3 ถูกธนาคารฟ้องบังคับจำนอง และจำเลยที่ 3 เคยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารที่เคยขายให้แก่โจทก์ได้มาแล้ว กรณีเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสี่กระทำผิดตามฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยทั้งสี่ไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 3 ถูกธนาคารฟ้องเป็นคดีแพ่งไม่แจ้งให้โจทก์ทราบจำนวนเงินที่จำเลยที่ 3 เป็นหนี้ธนาคาร ปกปิดข้อเท็จจริงในการชำระหนี้ตามข้อตกลงที่ทำไว้ จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ขวนขวายขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้ให้แก่ธนาคารและนำที่ดินพิพาทมาโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการเพียงพอที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5346/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งคำร้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาเป็นของศาลฎีกา การวินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย
การสั่งคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาซึ่งอ้างว่าเป็นการผิดระเบียบในชั้นฎีกาเป็นอำนาจของศาลฎีกา ที่ศาลแรงงานกลางสั่งยกคำร้องของโจทก์โดยไม่ส่งมาให้ศาลฎีกาสั่ง จึงเป็นการไม่ชอบ และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งในเรื่องดังกล่าวเป็นที่สุด ที่ศาลแรงงานกลางสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการไม่ชอบ จึงให้ยกคำสั่งของศาลแรงงานกลางดังกล่าวเสีย และคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้วเห็นสมควรพิจารณาคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาผิดระเบียบของโจทก์ โดยเห็นว่า คำพิพากษาศาลฎีกาถึงที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านให้คู่ความฟังจะเพิ่มเติมแก้ไขมิได้ เว้นแต่กรณีมีข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย คดีนี้ศาลฎีกาพิพากษายกอุทธรณ์โจทก์โดยวินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหมดเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยหรือไม่ อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง จึงไม่รับวินิจฉัย คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงวินิจฉัยครบถ้วนตามประเด็นในอุทธรณ์ของโจทก์แล้วมิได้มีข้อผิดพลาดหรือผิดหลง โจทก์จึงไม่อาจขอให้เพิ่มเติมแก้ไขได้
(คำสั่งคำร้อง)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงและการกำหนดประเด็นข้อพิพาท ศาลต้องพิจารณาตามประเด็นที่กำหนดและจำกัดขอบเขตการวินิจฉัย
เมื่อคดีโจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่า โจทก์มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ การที่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่จำต้องมีการรับรองให้อุทธรณ์ จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลง และเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ แต่การที่จะสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหรือไม่นั้นเป็นดุลพินิจของศาลที่สั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นฎีกาในข้อเท็จจริงประเด็นเดียวกับที่อุทธรณ์ และได้ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับรอง แต่ไม่มีผู้ใดรับรองให้ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะสั่งเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงว่า จำเลยมีสิทธิอยู่ในบ้านพิพาทหรือไม่ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นจึงต้องถือว่าประเด็นข้อพิพาทมีอยู่ตามที่ได้กำหนดไว้ดังกล่าว และจำเลยย่อมนำสืบให้ปรากฏได้ว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในบ้านพิพาทโดยอาศัยสิทธิของผู้อื่นที่มิใช่โจทก์ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์และสามีจำเลยต่างครอบครองและถือสิทธิในบ้านพิพาทเป็นส่วนสัดแยกจากกัน โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นแห่งคดีแล้ว ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีสินสอดที่ทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และมิใช่คดีสิทธิในครอบครัว เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยตกลงสมรสกันโดยไม่มีการหมั้น แต่มีสินสอด คือ เงินและ สร้อยคอทองคำ เมื่อไม่มีการสมรสโดยมีพฤติกรรมที่ฝ่ายจำเลยต้องรับผิดชอบ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องคืนสินสอดแล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระค่าสินสอดเป็นเงินคืนแก่โจทก์ทั้งสามจำนวน 35,000 บาท พร้อมด้วยสร้อยคอทองคำหนัก 1 บาท หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน เป็นเงิน 5,300 บาท จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ว่าเงินและสร้อยคอทองคำไม่ใช่สินสอดขอให้ยกฟ้อง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์มีเพียง 40,300 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว คดีจึงต้องห้ามมิให้ คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242(1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกา เพราะเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาโจทก์ทั้งสามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8290/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตเบียดบังทรัพย์สินเป็นสาระสำคัญของความผิดฐานยักยอก การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนแล้ววินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองฝาสูบตัวอย่างของโจทก์เพื่อโต้แย้งสิทธิกันในทางแพ่งถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาเบียดบังฝาสูบตัวอย่างเป็นของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์อุทธรณ์โดยอ้างข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อฟังว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการเบียดบังฝาสูบตัวอย่างของโจทก์ไปโดยสุจริตนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายถือเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ คดีของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 22 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5877/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด หากไม่ดำเนินการตามกำหนดเวลา แม้จะมีเหตุผล ก็ไม่สามารถขยายเวลาอุทธรณ์ได้
คดีต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่รับรองให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยอธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอำนาจมิได้เป็นคณะในคำสั่งนั้นหากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต่อไป จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษานั้น ภายใน 7 วันเพื่อให้มีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 230 วรรคสาม แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ กลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้วโดยอ้างเหตุว่าจะได้มีเวลาขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอีกคนหนึ่งรับรองให้อุทธรณ์ จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยและไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ และการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งสำเนาคำร้อง
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่อุทธรณ์ของจำเลยเป็นการอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงไม่ถูกต้อง ไม่ฟังข้อเท็จจริงตามที่ควรจะฟัง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์มีโอกาสคัดค้านก่อน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิ วรรคท้ายจึงไม่เป็นประโยชน์ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยและที่อนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1228/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัย และขอบเขตการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแรงงาน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่จำเลยลงโทษตัดค่าจ้างโจทก์และให้คืนเงินค่าจ้างที่ตัดไปแก่โจทก์ มิใช่โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นเพื่อการงานที่ทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(8)(9) ซึ่งกรณีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
ศาลแรงงานได้พิจารณาคำเบิกความของพยานโจทก์และพยานจำเลยประกอบเอกสารต่าง ๆ ในสำนวน แล้ววินิจฉัยว่าพยานโจทก์มีน้ำหนักมากกว่าพยานจำเลย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ไม่ได้กระทำผิดตามที่จำเลยกล่าวอ้างอันเป็นการวินิจฉัยรวมไปถึงเหตุต่าง ๆ ทั้งหมดที่จำเลยอ้างแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยได้อ้างคำเบิกความของพยานจำเลยประกอบกับพยานเอกสารเพื่อให้ฟังว่าโจทก์กระทำผิดและจำเลยมีสิทธิลงโทษโจทก์ตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย ถือเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
of 5