พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8046/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ต้องห้าม – ผลประโยชน์ร่วมกัน – การคำนวณทุนทรัพย์ – ศาลสั่งรับอุทธรณ์โดยมิชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสิบสองร่วมเล่นแชร์วงพิพาท โจทก์ทั้งสิบสองได้ส่งเงินค่างวดให้แก่จำเลยครบตามข้อตกลงรวม 24 เดือน ต่อมาเมื่อเดือนมกราคม 2540 จำเลยได้ขอให้โจทก์ทั้งสิบสองและลูกวงแชร์ที่ยังไม่ได้ประมูลหยุดส่งเงิน โดยจำเลยจะเป็นผู้เรียกเก็บเงินพร้อมดอกแชร์จากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปก่อนแล้วมาชำระให้โจทก์ทั้งสิบสองจนครบ โดยจำเลยแบ่งลูกแชร์ออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มของโจทก์ 12 คน จำเลยเป็นผู้รับผิดชอบชำระเงินให้เดือนละ 18,627.50 บาท เป็นเวลา 26 เดือน ส่วนอีก 25,800 บาท โจทก์ทั้งสิบสองจะเป็นผู้เรียกเก็บจากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปแล้วซึ่งรับราชการอยู่ที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชและรับผิดชอบเงินจำนวนดังกล่าวเอง โดยให้กลุ่มของโจทก์ทั้งสิบสองจัดการแบ่งเงินแต่ละเดือนกันเอง จำเลยได้นำเงินที่เรียกเก็บจากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปแล้วส่งให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองถึงเดือนมกราคม 2541 เพียง 13 เดือนเท่านั้น ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2541 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2542 จำเลยได้เรียกเก็บเงินค่างวดจากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปแล้ว แต่ไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ทั้งสิบสอง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 242,157.50 บาท โจทก์ทั้งสิบสองทวงถามให้จำเลยชำระเงินค่างวดและดอกแชร์ดังกล่าวแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบสองดังกล่าวจะเห็นได้ว่า แม้โจทก์ทั้งสิบสองจะร่วมเล่นแชร์ในวงแชร์มีจำเลยเป็นนายวง แต่โจทก์แต่ละคนก็ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 การคำนวณทุนทรัพย์จึงต้องแยกตามจำนวนเงินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องให้จำเลยรับผิด เมื่อโจทก์แต่ละคนไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่เรียกร้อง ก็ต้องถือว่าโจทก์แต่ละคนเรียกร้องจำนวนเงินเท่า ๆ กัน ซึ่งคือคนละ 20,179.75 บาท คดีของโจทก์แต่ละคนจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยได้ชำระเงินค่าแชร์ให้โจทก์ทั้งสิบสองครบถ้วนแล้ว ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4281/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายที่ไม่อนุญาตขยายเวลาอุทธรณ์ ถือเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามตามกฎหมาย
คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ให้ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไม่ใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดที่ได้รับยกเว้นให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้าม และเมื่อไม่มีเหตุที่จะรับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 26 วรรคสี่ ศาลฎีกาจึงไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง และการมีอำนาจฟ้องกรณีการรอนสิทธิจากสัญญาเช่า
แม้โจทก์จะฟ้องเรียกค่าเสียหายวันละ 1,400 บาท ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างว่าที่พิพาทอาจให้เช่าเดือนละ 42,000 บาท ได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ 3,000 บาท และโจทก์มิได้อุทธรณ์ ถือได้ว่าที่พิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
เมื่อสัญญาเช่าที่พิพาทระหว่างจำเลยกับโจทก์ร่วมระงับไป แต่จำเลยยังคงอยู่ในที่พิพาทต่อไปอีก จึงเป็นการอยู่โดยไม่มีสิทธิ แม้จะเป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วมผู้ให้เช่า มิได้เป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินรวมทั้งที่พิพาทก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ร่วมมิได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากจำเลยเป็นผู้รอนสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท และเรียกค่าเสียหายโดยขอให้ศาลเรียกโจทก์ร่วมผู้ให้เช่าเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 477 ประกอบมาตรา 549 การวินิจฉัยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ต้องพิจารณาถึงสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ในขณะที่ยื่นคำฟ้องเป็นสำคัญ แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นดังที่จำเลยอ้างว่าระหว่างพิจารณาโจทก์ร่วมบอกเลิกสัญญาเช่าแก่โจทก์แล้ว ก็ไม่มีผลกระทบต่ออำนาจฟ้องของโจทก์ให้หมดสิ้นไป
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เช่าที่ดินจากโจทก์ร่วม แต่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากมีอาคารของจำเลยปลูกอยู่บนที่พิพาทโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนอาคารออกจากที่พิพาทแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้วว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วม ซึ่งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือการที่จำเลยเพิกเฉยไม่รื้อถอนอาคารเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ คำฟ้องจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยไม่สิทธิตามกฎหมายอย่างไรนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ทั้งจำเลยก็ให้การต่อสู้ว่าจำเลยอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิแห่งสัญญาเช่าที่จำเลยทำกับโจทก์ร่วม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำเลยเข้าใจฟ้องโจทก์และสามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
เมื่อสัญญาเช่าที่พิพาทระหว่างจำเลยกับโจทก์ร่วมระงับไป แต่จำเลยยังคงอยู่ในที่พิพาทต่อไปอีก จึงเป็นการอยู่โดยไม่มีสิทธิ แม้จะเป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วมผู้ให้เช่า มิได้เป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินรวมทั้งที่พิพาทก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ร่วมมิได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากจำเลยเป็นผู้รอนสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท และเรียกค่าเสียหายโดยขอให้ศาลเรียกโจทก์ร่วมผู้ให้เช่าเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 477 ประกอบมาตรา 549 การวินิจฉัยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ต้องพิจารณาถึงสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ในขณะที่ยื่นคำฟ้องเป็นสำคัญ แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นดังที่จำเลยอ้างว่าระหว่างพิจารณาโจทก์ร่วมบอกเลิกสัญญาเช่าแก่โจทก์แล้ว ก็ไม่มีผลกระทบต่ออำนาจฟ้องของโจทก์ให้หมดสิ้นไป
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เช่าที่ดินจากโจทก์ร่วม แต่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากมีอาคารของจำเลยปลูกอยู่บนที่พิพาทโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนอาคารออกจากที่พิพาทแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้วว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วม ซึ่งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือการที่จำเลยเพิกเฉยไม่รื้อถอนอาคารเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ คำฟ้องจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยไม่สิทธิตามกฎหมายอย่างไรนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ทั้งจำเลยก็ให้การต่อสู้ว่าจำเลยอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิแห่งสัญญาเช่าที่จำเลยทำกับโจทก์ร่วม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำเลยเข้าใจฟ้องโจทก์และสามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลแรงงานในการอนุญาตถอนฟ้อง: อุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจเป็นอุทธรณ์ต้องห้าม
แม้จำเลยจะคัดค้านการขอถอนฟ้องของโจทก์ก็ตามแต่ศาลแรงงานจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่อนุญาต หรือจะอนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงาน อุทธรณ์ของจำเลยที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของศาลแรงงาน จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1428/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีแรงงาน: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยยุติได้หากพยานหลักฐานเพียงพอ และการอุทธรณ์ดุลพินิจเป็นอุทธรณ์ต้องห้าม
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ใบสำคัญการรับเงินค่าชดเชยเอกสารหมายล.2 โจทก์เป็นผู้ทำและกรอกข้อความเองทั้งหมด พอตีความในเนื้อความดังกล่าวได้ว่าโจทก์มีเจตนายอมรับในการที่จำเลยเลิกจ้างและค่าชดเชยที่จำเลยเสนอให้ แม้เอกสารหมาย ล.2 ไม่มีข้อความว่าโจทก์ยอมสละสิทธิเรียกเงินไว้ก็ตาม แต่ที่โจทก์ยอมทำเอกสารหมาย ล.2 ตามข้อเสนอของจำเลยย่อมตีเจตนาของโจทก์ได้ว่า โจทก์ยอมรับค่าชดเชยที่จำเลยเสนอและโจทก์ยอมสละสิทธิเรียกร้องเงินอื่นอีก และการแถลงรับข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลาง ลงวันที่ 17กรกฎาคม 2541 ซึ่งโจทก์รับว่าได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์ไม่โต้เถียงเกี่ยวกับการสละสิทธิเรียกร้องเงินอื่นใดจากจำเลยอีกตามที่จำเลยอ้าง แสดงว่าข้อกล่าวอ้างของจำเลยดังกล่าวนั้นมีจริง เมื่อโจทก์ไม่ปฏิเสธโดยชัดแจ้งต้องถือว่าโจทก์ยอมรับนั้น ศาลแรงงานได้วินิจฉัยแล้วว่าเอกสารหมาย ล.2 ไม่ปรากฏข้อความว่าโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องเงินอื่นใดจากจำเลยทั้งสิ้นดังที่จำเลยให้การ แม้โจทก์จะแถลงรับว่าโจทก์ได้รับเงินค่าชดเชยตามที่จำเลยจ่าย 3 เดือน โดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างเดือนละ 10,224 บาท ก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยส่วนที่ขาดและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า อุทธรณ์จำเลยดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ป.วิ.พ.มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น ซึ่งบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวอนุโลมใช้กับคดีแรงงานด้วยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ดังนี้การที่ศาลแรงงานสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความประกอบเอกสารในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ แล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับเพียงพอที่จะฟังเป็นยุติและพอวินิจฉัยได้แล้วจึงสั่งงดสืบพยานแล้ววินิจฉัยคดีตามที่คู่ความรับกันถือได้ว่าศาลแรงงานได้ใช้ดุลพินิจวิเคราะห์พยานหลักฐานในการรับฟังข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นการชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแล้ว
ป.วิ.พ.มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น ซึ่งบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวอนุโลมใช้กับคดีแรงงานด้วยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ดังนี้การที่ศาลแรงงานสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความประกอบเอกสารในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ แล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับเพียงพอที่จะฟังเป็นยุติและพอวินิจฉัยได้แล้วจึงสั่งงดสืบพยานแล้ววินิจฉัยคดีตามที่คู่ความรับกันถือได้ว่าศาลแรงงานได้ใช้ดุลพินิจวิเคราะห์พยานหลักฐานในการรับฟังข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นการชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1428/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจศาลแรงงานเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานและการสละสิทธิเรียกร้องเงินค่าชดเชย ถือเป็นการอุทธรณ์ต้องห้าม
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ใบสำคัญการรับเงินค่าชดเชยเอกสารหมาย ล.2 โจทก์เป็นผู้ทำและกรอกข้อความเองทั้งหมดพอตีความในเนื้อความดังกล่าวได้ว่าโจทก์มีเจตนายอมรับในการที่จำเลยเลิกจ้างและค่าชดเชยที่จำเลยเสนอให้ แม้เอกสารหมาย ล.2 ไม่มีข้อความว่าโจทก์ยอมสละสิทธิเรียกเงินไว้ก็ตาม แต่ที่โจทก์ยอมทำเอกสารหมาย ล.2 ตามข้อเสนอของจำเลยย่อมตีเจตนาของโจทก์ได้ว่า โจทก์ยอมรับค่าชดเชยที่จำเลยเสนอและโจทก์ยอมสละสิทธิเรียกร้องเงินอื่นอีก และการแถลงรับข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงาน ซึ่งโจทก์รับว่าได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์ไม่โต้เถียงเกี่ยวกับการสละสิทธิเรียกร้องเงินอื่นใดจากจำเลยอีกตามที่จำเลยอ้าง แสดงว่าข้อกล่าวอ้างของจำเลยดังกล่าวนั้นมีจริง เมื่อโจทก์ไม่ปฏิเสธโดยชัดแจ้ง ต้องถือว่าโจทก์ยอมรับนั้นศาลแรงงานได้วินิจฉัยแล้วว่าเอกสารหมาย ล.2ไม่ปรากฏข้อความว่าโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องเงินอื่นใดจากจำเลยทั้งสิ้นดังที่จำเลยให้การ แม้โจทก์จะแถลงรับว่าโจทก์ได้รับเงินค่าชดเชยตามที่จำเลยจ่าย 3 เดือน โดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างเดือนละ 10,224 บาท ก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยส่วนที่ขาดและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า อุทธรณ์จำเลยดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้นซึ่งบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวอนุโลมใช้กับคดีแรงงานด้วยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ดังนี้การที่ศาลแรงงานสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความประกอบเอกสารในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์แล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับเพียงพอที่จะฟังเป็นยุติและพอวินิจฉัยได้แล้วจึงสั่งงดสืบพยานแล้ววินิจฉัยคดีตามที่คู่ความรับกันถือได้ว่าศาลแรงงานได้ใช้ดุลพินิจวิเคราะห์พยานหลักฐานในการรับฟังข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นการชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 111/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการวินิจฉัยพยานหลักฐานและการงดสืบพยาน อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา104ให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่แล้วพิพากษาคดีให้เป็นไปตามนั้นซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวอนุโลมใช้กับคดีแรงงานด้วยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา31ฉะนั้นการที่ศาลแรงงานกลางสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความแล้ววินิจฉัยคดีตามที่คู่ความรับกันถือได้ว่าศาลแรงงานกลางได้ใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานแล้วข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางพิจารณาเพียงบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาและมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยนั้นจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ต้องห้ามในคดีอาญา: คำสั่งระหว่างพิจารณาและผลกระทบต่อสิทธิในการฎีกา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ให้ยกคำร้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งต่อไปว่าจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดให้ออกหมายจับ ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความจับจำเลยได้เมื่อใดให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ก็เป็นเพียงคำสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราวอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเช่นกัน ไม่ใช่กรณีศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญแล้ว ดังนั้นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่นำส่งหมายเรียกตามคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการทิ้งฟ้องจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 196
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ต้องห้าม: การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องการส่งหมายเรียกไม่ใช่เหตุแห่งการทิ้งฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326,328ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่า"คดีมีมูลให้ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาหมายเรียกจำเลยแก้คดีและให้นัดสืบพยานโจทก์ในวันเดียวกันแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบโดยให้โจทก์นำส่งภายใน3วันมิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง"แต่โจทก์มิได้นำส่งหมายเรียกจำเลยแก้คดีและหมายนัดสืบพยานโจทก์ตามคำสั่งจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ทิ้งฟ้องและขอให้ จำหน่ายคดีออกจากสารบบความการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า"ทนายจำเลยมาศาลในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องและลงลายมือชื่อรับทราบในรายงานกระบวนพิจารณาที่ศาลมีคำสั่งว่าคดีโจทก์มีมูลและนัดจำเลยแก้คดีและนัดสืบพยานโจทก์แล้วถือได้ว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วจึงไม่อาจถือว่าโจทก์ ทิ้งฟ้อง ให้ยกคำร้อง"นั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวนเพราะคดีจะต้องพิจารณาต่อไปแม้ว่าศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งต่อไปว่า"จำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดให้ออกหมายจับให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความจับจำเลยได้เมื่อใดให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่"ก็เป็นเพียงคำสั่งให้ จำหน่ายคดีชั่วคราวอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเช่นกันไม่ใช่เป็นกรณีศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญแล้วดังนั้นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่นำส่งหมายเรียกตามคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการทิ้งฟ้องจึงเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา196
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาไม่เป็นอุปสรรคการอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้ยกคำร้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งต่อไปว่าจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดให้ออกหมายจับให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความจับจำเลยได้เมื่อใดให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ก็เป็นเพียงคำสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราวอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเช่นกันไม่ใช่กรณีศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญแล้วดังนั้นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่นำส่งหมายเรียกตามคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการทิ้งฟ้องจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา196