คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อุปกรณ์ไฟฟ้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสัญญา การชำระหนี้ และการผิดสัญญาซื้อขายอุปกรณ์ไฟฟ้า พร้อมการแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยได้ทำสัญญาซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าจากโจทก์ และโจทก์รับจ้างจำเลยประกอบตู้ไฟฟ้า โดยจำเลยได้รับอุปกรณ์ไฟฟ้าครบถ้วนและได้ชำระเงินให้โจทก์บางส่วนแล้ว คงค้างชำระค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าและค่าจ้างประกอบตู้ไฟฟ้างวดที่ 4 ซึ่งจำเลยอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบเสนอราคาที่ระบุว่าโจทก์จะต้องให้การไฟฟ้านครหลวงยอมรับอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียก่อน เห็นว่าหากโจทก์จำเลยมีเจตนาให้นำเงื่อนไขดังกล่าวมาใช้บังคับด้วยก็น่าจะระบุลงไว้ในสัญญาที่ทำขึ้นในภายหลังให้ชัดเจน เช่นเดียวกับเงื่อนไขอื่น ๆ อีกทั้งจำเลยก็ไม่ควรรับมอบอุปกรณ์ไฟฟ้าจากโจทก์จนกว่าการไฟฟ้านครหลวงจะได้รับรองอุปกรณ์ไฟฟ้าดังกล่าว แสดงว่าโจทก์ จำเลยไม่ได้ตกลงเงื่อนไขดังกล่าวไว้ ส่วนที่ว่าโจทก์ไม่ได้ออกหนังสือรับประกันให้นั้น ปรากฏว่าในสัญญามีข้อความเขียนด้วยลายมือว่า "โดยมีระยะเวลารับประกัน 1 ปีฯ" ถือว่าโจทก์ได้รับประกันให้จำเลยแล้ว จึงฟังได้ว่าโจทก์ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าและค่าจ้างประกอบตู้ไฟฟ้างวดที่ 4 ให้โจทก์ ส่วนที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยโดยให้นับถัดจากวันฟ้อง ทั้งที่ระบุในคำวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เมื่อผิดนัดเห็นได้ชัดว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาโดยผิดพลาดหรือพลั้งเผลอ เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาบังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบต่อความเสียหายจากอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มเติม: ผู้ใช้ต้องระมัดระวังควบคุมอุปกรณ์เอง
โจทก์ซื้อกระแสไฟฟ้า 220 โวลท์จากจำเลย จำเลยส่งกระแสไฟฟ้าตกลงมากรับโทรทัศน์ไม่ได้ โจทก์จึงต้องเพิ่มไฟโดยหม้อเพิ่มไฟเพื่อให้ได้รับภาพได้ตามปกติ แล้วไฟฟ้าดับลง ต่อมาไฟจึงติดขึ้นใหม่ แรงขึ้นสูงในทันทีทันใด ทำให้เครื่องปรับอัตโนมัติโทรทัศน์ของโจทก์เสีย ระหว่างที่ไฟฟ้าดับนั้น โจทก์ไม่ได้ลดหรือปลดหม้อเพิ่มไฟและไม่ได้ปิดเครื่องรับโทรทัศน์ ดังนี้ เห็นว่าโจทก์เป็นผู้นำเอาหม้อเพิ่มไฟมาใช้เองเป็นพิเศษ โจทก์ต้องมีหน้าที่ระมัดระวังควบคุมหม้อเพิ่มไฟนั้น จะถือว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่หรือขาดความระมัดระวังเป็นการประมาทเลินเล่อไม่ได้.