พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5989/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์: บิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมีอำนาจปกครอง หากมีการอุปการะเลี้ยงดูต่อเนื่อง
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ. มาตรา 319 หมายความว่า ผู้กระทำความผิดได้กระทำการอันเป็นการละเมิดต่ออำนาจปกครองของบิดามารดาหรือต่อผู้ปกครองหรือต่อผู้ดูแลของผู้เยาว์ คดีนี้บิดาของผู้เสียหายมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาผู้เสียหายจึงมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่บิดาและมารดาของผู้เสียหายได้เลิกร้างกันมานานถึง 17 ปี โดยผู้เสียหายอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามาตลอด บิดาของผู้เสียหายจึงเป็นผู้ปกครองผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเสียจากผู้ปกครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4156/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าจากเหตุละทิ้งร้างและไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูตามฐานะสามีภริยา
โจทก์กับจำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้วอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาเพียงสองเดือน ต่อมาจำเลยไปรับราชการทหารและปลดเป็นกองหนุนเมื่อปี 2531 หลังจากที่จำเลยปลดประจำการทหารแล้วจำเลยมิได้กลับไปอยู่กินด้วยกันกับโจทก์ฉันสามีภริยา จนกระทั่งปี 2533 โจทก์จึงไปอยู่กินฉันสามีภริยากับ ฉ. จนมีบุตรด้วยกัน พฤติการณ์ของจำเลยเป็นเรื่องที่จำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไปเกิน 1 ปี ตั้งแต่จำเลยปลดประจำการทหารในปี 2531 โจทก์จึงฟ้องหย่าจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3922/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอยู่ในอุปการะตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน ต้องมีความเดือดร้อนจากการขาดอุปการะ การให้เงินเพียงเล็กน้อยไม่ถือว่าอยู่ในอุปการะ
ผู้ตายเคยให้เงินโจทก์บางเดือน เดือนละประมาณ 1,000 บาท ถึง 1,500 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินไม่มากนัก โดยให้ในช่วงผู้ตายได้งานทำในระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งปี การให้ดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นเพียงแต่ทำให้โจทก์ได้รับความสะดวกสบายในชีวิตครอบครัวเพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ต้องได้รับความเดือดร้อนเพราะไม่ได้รับเงินจากผู้ตายในบางเดือน การที่โจทก์ได้รับเงินจากผู้ตายดังกล่าวจึงไม่ถึงขั้นที่จะถือว่าโจทก์อยู่ในความอุปการะของผู้ตายตามความหมายของ พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 20 วรรคท้าย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2958/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแทนผู้เยาว์: กรณีบิดาให้ความอุปการะเลี้ยงดูแทนมารดาที่หนีไป
พ. มิได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ น.ได้เป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277แม้ตามคำฟ้องจะระบุว่า น.ผู้เยาว์โดย พ.บิดาผู้ปกครองผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นโจทก์ แต่ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า น.เป็นบุตรของโจทก์อันเกิดกับ ร.ภรรยาของโจทก์ ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย และ ร.หนีออกจากบ้านตั้งแต่ น.ยังเล็กอยู่ พ.เป็นผู้ให้ความอุปการะเลี้ยงดู ให้การศึกษา และให้ น.ใช้นามสกุลกรณีเป็นเรื่องมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของ น.ผู้เยาว์ไม่สามารถจะทำการตามหน้าที่ได้ ดังนั้น ญาติของ น.ผู้เยาว์หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องจึงอาจร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้ตั้งเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 6 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ถือได้โดยปริยายว่า ศาลชั้นต้นตั้งให้ พ.เป็นผู้แทนเฉพาะคดีตามกฎหมายอีกทั้งยังปรากฏว่าก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาศาลชั้นต้นยังมีคำสั่งตั้ง พ.เป็นผู้แทนเฉพาะคดีอีกด้วยเช่นนี้พ.จึงมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยแทน น. ผู้เยาว์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเงินทดแทน: ความเดือดร้อนจากสัญญาค้ำประกัน ไม่ใช่การขาดอุปการะ
การที่โจทก์ถูกทวงถามจากผู้ให้เช่าซื้อให้ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์เป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อทวงถามโจทก์ให้ปฏิบัติตามสัญญาค้ำประกันในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อดังกล่าว ดังนั้น แม้จะถือว่าโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของผู้ตาย และได้รับความเดือดร้อนจากการที่ถูกผู้ให้เช่าซื้อทวงถามจริง ก็เป็นกรณีที่โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเพราะโจทก์ถูกบังคับตามสัญญาค้ำประกัน ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะจากผู้ตายตาม พ.ร.บ.เงินทดแทนพ.ศ.2537 มาตรา 20 วรรคท้าย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเงินทดแทน: ความเดือดร้อนจากสัญญาค้ำประกัน มิใช่การขาดอุปการะ
การที่โจทก์ถูกทวงถามให้ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ที่ผู้ตายเช่าซื้อเป็นกรณีที่ผู้ใช้เช่าซื้อทวงถามโจทก์ให้ปฏิบัติตามสัญญาค้ำประกันในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเดือนร้อนเพราะขาดอุปการะจากผู้ตายจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าเสียหายจากการขาดอุปการะ: ผู้ตายขับรถสองแถวโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ถือเป็นการทำงานตามกฎหมาย
ก่อนตายผู้ตายมีรายได้จากการขับรถยนต์สองแถวรับจ้างนำรายได้มาเลี้ยงครอบครัวของโจทก์ผู้เป็นมารดา แต่ขณะถึงแก่ความตายผู้ตายมีอายุ 19 ปี ซึ่งตามพระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ. 2522 ต้องห้ามมิให้ขับรถยนต์สองแถวรับจ้างการขับรถยนต์สองแถวรับจ้างของผู้ตายถือไม่ได้ว่าเป็นการทำงาน ตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(3) โจทก์ไม่มีสิทธิใช้ให้ผู้ตายทำงานดังกล่าว ฉะนั้น รายได้จากการขับรถยนต์สองแถว รับจ้างที่ผู้ตายได้รับจึงมิใช่รายได้ที่เกิดจากการที่ผู้ตาย มีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่โจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในครัวเรือนตามมาตรา 445 โจทก์จึง เรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2561-2562/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่า: การให้อภัยในความผิด, การอุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่น, สิทธิในทรัพย์สิน และค่าเลี้ยงชีพ
แม้จะฟังได้ว่าข้อกล่าวหาของโจทก์เป็นเหตุหย่าตามกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้ให้อภัยในการกระทำของจำเลยแล้ว สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์ย่อมหมดไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1518
โจทก์นำ จ. มาอยู่ในบ้านโจทก์และอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาจนมีบุตรด้วยกัน 1 คน โดยโจทก์ให้ใช้นามสกุลของโจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์อุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภรรยา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ให้อภัยในการกระทำของโจทก์ จำเลยจึงมีเหตุฟ้องหย่าโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา1516 (1)
เหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของโจทก์ฝ่ายเดียว ทั้งจำเลยไม่ได้ประกอบอาชีพอะไรโดยโจทก์เคยให้เงินจำเลยเป็นค่าใช้จ่าย การที่โจทก์หย่ากับจำเลยทำให้จำเลยยากจนลง จำเลยจึงมีสิทธิได้รับค่าเลี้ยงชีพจากโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1526
โจทก์นำ จ. มาอยู่ในบ้านโจทก์และอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาจนมีบุตรด้วยกัน 1 คน โดยโจทก์ให้ใช้นามสกุลของโจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์อุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภรรยา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ให้อภัยในการกระทำของโจทก์ จำเลยจึงมีเหตุฟ้องหย่าโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา1516 (1)
เหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของโจทก์ฝ่ายเดียว ทั้งจำเลยไม่ได้ประกอบอาชีพอะไรโดยโจทก์เคยให้เงินจำเลยเป็นค่าใช้จ่าย การที่โจทก์หย่ากับจำเลยทำให้จำเลยยากจนลง จำเลยจึงมีสิทธิได้รับค่าเลี้ยงชีพจากโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1526
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะ แม้ผู้รับมรดกมีฐานะดี ผู้ตายยังมีหน้าที่อุปการะตามควรแก่พฤติการณ์
โจทก์ที่ 1 มีความเป็นอยู่อย่างสุขสบายไม่เดือดร้อน ก็ยังมีสิทธิได้รับอุปการะจากภริยาและบุตรโจทก์ที่ 1 ตามควรแก่พฤติการณ์จึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยอันเนื่องมาจากการละเมิดที่ทำให้ภริยาและบุตรโจทก์ที่ 1 ถึงแก่ความตายตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าเนื่องจากจำเลยไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูและมีพฤติกรรมเหยียดหยามบุพการีโจทก์
หลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว จำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุให้เกิดความระหองระแหงในครอบครัว ด้วยการไปรับบุตรสาวซึ่งเกิดจากภริยาเก่ามาเลี้ยงดูอยู่ในบ้านเดียวกัน อันเป็นการผิดถ้อยคำพูดที่จำเลยเคยให้ไว้แก่โจทก์ว่าจำเลยไม่เคยมีภริยาและบุตรมาก่อนแล้วหลังจากนั้นจำเลยก็ไม่จ่ายเงินเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์และครอบครัวเช่นที่เคยปฏิบัติมา เป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำเงินเดือนแต่ละเดือนของโจทก์มาใช้จ่ายเลี้ยงดูครอบครัวจำเลยเกือบหมดทั้งจำเลยยังติดต่อกับภริยาเก่าและแสดงกิริยาวาจาเหยียดหยามมารดาของโจทก์จนกระทั่งโจทก์ไม่สามารถอยู่ร่วมกับจำเลยต่อไปได้เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ตามสมควรอันประกอบด้วยเหตุอื่น ๆ อีกถึงขนาดที่โจทก์เดือดร้อนเกินสมควรที่โจทก์จะอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยากับจำเลยต่อไปได้อันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(6) การหย่าโดยคำพิพากษานั้น พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 มาตรา 16 บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองถูกต้องต่อนายทะเบียน และขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่านั้นไว้ในทะเบียน โดยคู่สมรสไม่จำต้องไปแสดงเจตนาขอจดทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียนอีก ศาลจึงไม่ต้องสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา