พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4380/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัวแทนเชิดในการอุทธรณ์ภาษี และการคำนวณรายได้ตามเกณฑ์เงินสด
ห้างโจทก์เดิมมี อ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ต่อมาห้างโจทก์เปลี่ยนหุ้นส่วนผู้จัดการเป็น น. แต่การดำเนินงานแทนห้างโจทก์อ. ยังเป็นผู้ดำเนินการแทนเมื่อห้างโจทก์อุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และได้ลงชื่ออ.เป็นผู้อุทธรณ์เช่นนี้ถือได้ว่าห้างโจทก์เชิดอ.เป็นตัวแทนของห้างโจทก์โดยปริยาย และการเป็นตัวแทนเชิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821,797 ไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 798 การตั้งตัวแทนในกรณีเช่นนี้จึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ แม้ประมวลรัษฎากรจะได้กำหนดให้การอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดซึ่งได้กำหนดให้ทำเป็นหนังสือก็ตาม กรณีของโจทก์เป็นกรณีที่เกิดขึ้นก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรในปี พ.ศ. 2527 ประมวลรัษฎากร มาตรา 65ในขณะพิพาทกำหนดให้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิและเงินได้พึงประเมินนั้น มาตรา 39 ให้หมายถึง เงิน ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับมาแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีมิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้อง เช่นนี้ ไม่ว่าห้างโจทก์จะใช้ระบบบัญชีเกณฑ์สิทธิหรือไม่ก็ตาม การคำนวณรายได้ของห้างโจทก์ต้องใช้เกณฑ์เงินสด มิใช่ใช้เกณฑ์สิทธิดังที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ในปี พ.ศ. 2527ฉะนั้นการถือเอาค่าเช่าที่ห้างโจทก์ยังไม่ได้รับมาคำนวณรายได้ให้โจทก์ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การบัญชีจากสิทธิเป็นเงินสดสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุมิได้บัญญัติว่าการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องใช้เกณฑ์สิทธิ์หรือเกณฑ์เงินสด แต่เป็นที่เห็นได้ว่า คำว่า'กิจการที่กระทำ' ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 แห่ง ประมวลรัษฎากรนั้น ย่อมหมายความถึงกิจการที่กระทำจนได้เงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นมาเป็นเงินได้แล้ว กล่าวคือ ต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้ว มิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นในภายหน้า การคำนวณกำไรสุทธิโดยใช้เกณฑ์เงินสดจึงชอบที่จะทำได้
ตามหลักการบัญชีไม่มีข้อห้ามว่า เมื่อใช้เกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งแล้วจะเปลี่ยนไปใช้อีกเกณฑ์หนึ่งไม่ได้ การที่โจทก์เปลี่ยนจากเกณฑ์สิทธิมาใช้เกณฑ์เงินสดสำหรับเบี้ยประกันชีวิตตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2520 เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน จึงชอบที่จะทำได้ และถือได้ว่าวิธีการทำบัญชีของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปีหลัง ๆ เป็นการยึดถือหลักความสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นไปตามหลักการบัญชีที่ถูกต้องเหมาะสมและเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้ว โจทก์จึงไม่ต้องนำเบี้ยประกันชีวิตที่ยังไม่ได้รับมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี.(ที่มา-ส่งเสริม)
ตามหลักการบัญชีไม่มีข้อห้ามว่า เมื่อใช้เกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งแล้วจะเปลี่ยนไปใช้อีกเกณฑ์หนึ่งไม่ได้ การที่โจทก์เปลี่ยนจากเกณฑ์สิทธิมาใช้เกณฑ์เงินสดสำหรับเบี้ยประกันชีวิตตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2520 เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน จึงชอบที่จะทำได้ และถือได้ว่าวิธีการทำบัญชีของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปีหลัง ๆ เป็นการยึดถือหลักความสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นไปตามหลักการบัญชีที่ถูกต้องเหมาะสมและเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้ว โจทก์จึงไม่ต้องนำเบี้ยประกันชีวิตที่ยังไม่ได้รับมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เกณฑ์สิทธิ์ vs. เกณฑ์เงินสด การรับรู้รายได้เมื่อได้รับเงินจริง
โจทก์ปรับปรุงทางเท้าและทำถนนตามที่รับจ้างจากหน่วยราชการเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2516 แต่ได้รับค่าจ้างเมื่อเดือนมกราคม 2517 และรวมคำนวณกำไรสุทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2517 แล้ว ย่อมเป็นการเสียภาษีที่ถูกต้อง ที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้นำค่าจ้างดังกล่าวไปรวมคำนวณกำไรสุทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2516 นั้นไม่ถูกต้อง เพราะขณะนั้นไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องนำเกณฑ์สิทธิ์มาใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิ.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณกำไรสุทธิภาษีเงินได้นิติบุคคล: สิทธิในการเลือกใช้เกณฑ์สิทธิ์หรือเงินสด แม้จะยังไม่ได้รับเงิน
การคำนวณกำไรสุทธิในการเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ปี พ.ศ. 2519 ถึงปี พ.ศ. 2521 ต้องเป็นไปตามมาตรา 65 แห่ง ป.รัษฎากรในขณะพิพาท ซึ่งบัญญัติว่า "เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือ กำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี ฯลฯ" กิจการในที่นี้จึงหมายถึงกิจการที่กระทำจนได้เงินมาเป็นเงินได้แล้ว ฉะนั้นการที่โจทก์มีสิทธิเพียงแต่จะได้รับดอกเบี้ย แต่ยังไม่ได้รับมาจริงจึงยังไม่ใช่รายรับอันจะนำมาคำนวณเป็นกำไรสุทธิ แม้โจทก์จะปฏิบัติทางบัญชีโดยลงบัญชีรายรับค่าดอกเบี้ยค้างรับในระบบเกณฑ์สิทธิ์ตลอดมาก็ตาม โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะไม่นำดอกเบี้ยที่ยังไม่ได้รับจริงมาคำนวณเป็นกำไรสุทธิได้ เพราะกฎหมายในเรื่องนี้ขณะพิพาทไม่ได้บัญญัติทำนองเดียวกับที่บัญญัติไว้ในเรื่องภาษีการค้าตามมาตรา 79 จัตวา และเมื่อโจทก์มีสิทธิจะใช้เกณฑ์สิทธิ์หรือเกณฑ์เงินสดได้อยู่แล้ว จึงไม่มีปัญหาเรื่องหนี้สูญ และความจำเป็นในการบัญญัติมาตรา 65 ทวิ (9).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล: เกณฑ์เงินสด vs. เกณฑ์สิทธิ และการประเมินรายได้จากการขายที่ดิน
ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุคดีนี้ (พ.ศ.2518-2519) มิได้บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งว่ารายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นจะจัดทำกันโดยใช้ระบบเกณฑ์สิทธิหรือเกณฑ์เงินสด จึงต้องนำมาตรา 39 ว่าด้วยข้อความทั่วไปของภาษีเงินได้มาใช้บังคับ ซึ่งเห็นได้ว่าเงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีนั้นจะเป็นเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นก็ดีต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้วมิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นในภายหน้า ฉะนั้นการที่โจทก์จัดทำบัญชีค่าเช่าเป็นรายได้โดยใช้ระบบเกณฑ์เงินสดคือนำค่าเช่าที่ได้รับมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณกำไรสุทธิจึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล: เกณฑ์เงินสด vs. เกณฑ์สิทธิ การประเมินรายได้จากค่าเช่าและทรัพย์สิน
ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุคดีนี้ (พ.ศ.2518-2519) มิได้บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งว่ารายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นจะจัดทำกันโดยใช้ระบบเกณฑ์สิทธิหรือเกณฑ์เงินสด จึงต้องนำมาตรา 39 ว่าด้วยข้อความทั่วไปของภาษีเงินได้มาใช้บังคับ ซึ่งเห็นได้ว่าเงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีนั้นจะเป็นเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นก็ดีต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้วมิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นในภายหน้า ฉะนั้นการที่โจทก์จัดทำบัญชีค่าเช่าเป็นรายได้โดยใช้ระบบเกณฑ์เงินสดคือนำค่าเช่าที่ได้รับมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณกำไรสุทธิจึงเป็นการชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2529 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องใช้เกณฑ์เงินสดก่อนมีการแก้ไขประมวลรัษฎากรปี 2527
ในการคำนวณรายได้ของนิติบุคคลเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี 2515 ถึง 2517 หรือก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรในปี 2527 นั้นต้องใช้เกณฑ์เงินสดไม่ใช่เกณฑ์สิทธิ์ ทั้งนี้ เพราะประมวลรัษฎากร มาตรา 65 กำหนดให้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี และเงินได้พึงประเมินนั้นมาตรา 39 ให้หมายถึง เงินทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นที่ได้รับมาแล้วในรอบระยะเวลาบัญชี มิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นในรอบระยะเวลาบัญชีฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือเอาค่าเช่าที่โจทก์ยังไม่ได้รับมาคำนวณเป็นรายได้ให้โจทก์เสียภาษีเงินได้จึงเป็นการมิชอบ (อ้างฎีกาที่ 580/2506 และ 793/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องใช้เกณฑ์เงินสดก่อนปี 2527 แม้จะมีสิทธิเรียกร้องยังไม่ได้รับเงิน
ในการคำนวณรายได้ของนิติบุคคลเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี 2515 ถึง 2517 หรือก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากรในปี 2527 นั้น ต้องใช้เกณฑ์เงินสดไม่ใช่เกณฑ์สิทธิ์ ทั้งนี้ เพราะป.รัษฎากร มาตรา 65 กำหนดให้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีและเงินได้พึงประเมินนั้นมาตรา 39 ให้หมายถึง เงิน ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นที่ได้รับมาแล้วในรอบระยะเวลาบัญชี มิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นในรอบระยะเวลาบัญชี ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือเอาค่าเช่าที่โจทก์ยังไม่ได้รับมาคำนวณเป็นรายได้ให้โจทก์เสียภาษีเงินได้จึงเป็นการมิชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องใช้เกณฑ์เงินสดก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร ปี 2527
ในการคำนวณรายได้ของนิติบุคคลเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี2515ถึง2517หรือก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติมป.รัษฎากรในปี2527นั้นต้องใช้เกณฑ์เงินสดไม่ใช่เกณฑ์สิทธิ์ทั้งนี้เพราะป.รัษฎากรมาตรา65กำหนดให้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีและเงินได้พึงประเมินนั้นมาตรา39ให้หมายถึงเงินทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นที่ได้รับมาแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีมิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นในรอบระยะเวลาบัญชีฉะนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือเอาค่าเช่าที่โจทก์ยังไม่ได้รับมาคำนวณเป็นรายได้ให้โจทก์เสียภาษีเงินได้จึงเป็นการมิชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องใช้เกณฑ์เงินสด ไม่ใช่เกณฑ์สิทธิ์
ในการคำนวณรายได้ของนิติบุคคลเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี2515ถึง2517หรือก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรในปี2527นั้นต้องใช้เกณฑ์เงินสดไม่ใช่เกณฑ์สิทธิ์ทั้งนี้เพราะประมวลรัษฎากรมาตรา65กำหนดให้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีและเงินได้พึงประเมินนั้นมาตรา39ให้หมายถึงเงินทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นที่ได้รับมาแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีมิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นในรอบระยะเวลาบัญชีฉะนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือเอาค่าเช่าที่โจทก์ยังไม่ได้รับมาคำนวณเป็นรายได้ให้โจทก์เสียภาษีเงินได้จึงเป็นการมิชอบ(อ้างฎีกาที่580/2506และ793/2523).